Content-Length: 144315 | pFad | https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A3

ซากัวโร - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

ซากัวโร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซากัวโร
ต้นซากัวโรที่อุทยานแห่งชาติซากัวโร ใกล้กับเมืองทูซอน ทางตอนใต้ของรัฐแอริโซนา ในเดือนพฤศจิกายน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Core eudicots
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Cactaceae
วงศ์ย่อย: Cactoideae
เผ่า: Pachycereeae
สกุล: Carnegiea
Britton & Rose
สปีชีส์: C.  gigantea
ชื่อทวินาม
Carnegiea gigantea
Britton & Rose
เขตการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
  • Cereus giganteus Engelm.
  • Pilocereus engelmannii Lem.
  • Pilocereus giganteus Rumpler
ดอกซากัวโร

ซากัวโร (สเปน: Saguaro; ชื่อวิทยาศาสตร์: Carnegiea gigantea) เป็นพืชอวบน้ำจำพวกกระบองเพชรหรือแคกตัสที่มีขนาดใหญ่ เป็นชนิดที่สูงที่สุดของกระบองเพชรที่พบในสหรัฐอเมริกา คำว่า "ซากัวโร" มาจากภาษาสเปน ซึ่งยืมมาจากภาษามาโยอีกทีหนึ่ง เป็นพืชเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Carnegiea [2] พบทางตอนใต้ของแอริโซนา, แคลิฟอร์เนีย และทะเลทรายโซนอรันทางตะวันตกเฉียงเหนือของเม็กซิโก เมื่อต้นสูงขึ้น จะแตกกิ่งก้านสาขาเป็นรูปช่อเชิงเทียน สูงได้ถึง 12 เมตร แต่เพิ่มความสูงได้ช้า ประมาณ 30–50 ปีจึงสูงได้ 1 เมตร ออกดอกตามลำต้นและกิ่งสาขา มีผึ้งและแมลงช่วยผสมเกสร ผลสดเนื้อสีแดง เมล็ดสีดำรับประทานได้

ผลซากัวโรที่รับประทานได้

ซากัวโร ได้รับฉายาว่า "ราชาทะเลทราย" เนื่องจากเป็นพืชที่หายากและมีความโดดเด่น มีความสูงประมาณ 12–18 เมตร อายุยืนราว 150–200 ปี พบได้ตั้งแต่ทะเลทรายในพื้นที่ราบจนถึงพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,220 เมตร หากพบสูงกว่านี้จะพบได้ตามไหล่เขาที่มีแสงแดดส่องถึงเพื่อลดอุณหภูมิความหนาวเย็นในช่วงฤดูหนาว โดยมากซากัวโรจะมีลำต้นแบบลำต้นเดียว บางต้นอาจแตกแขนงออกด้านข้าง แต่มักเป็นต้นที่มีอายุเกิน 50–70 ปี อาจมีแขนงเดียวหรือหลายแขนงก็ได้ และเมื่อโตถึงระดับหนึ่งบนยอดบนสุดจะแตกออกเป็นพุ่มขึ้นไป แต่ทว่าบางต้นอาจจะขยายออกด้านข้างลักษณะแผ่ออกคล้ายหงอน ซึ่งซากัวโรลักษณะแบบนี้ถูกเรียกว่า "คริสเตด" หรือ "คริสเตดซากัวโร" ซึ่งปกติวัดความกว้างได้ 09–1.5 เมตร และหาได้ยากมาก เท่าที่รับทราบในปัจจุบันนี้มีเพียงประมาณ 2,000 ต้นเท่านั้น ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดซากัวโรลักษณะนี้ บ้างก็เชื่อว่าเกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์ บ้างก็เชื่อว่าเกิดเพราะยอดบนโดนฟ้าผ่า และบ้างก็เชื่อว่าเกิดเพราะอุณหภูมิความหนาวเย็นในฤดูหนาวทำให้เกิดความผิดปกติในการเติบโตขึ้นมา[3]

ชาวอินเดียนแดงเผ่าปาปาโกรับประทานเป็นผลไม้สด ชาวโตโฮโนและชาวโอออดแฮมฉลองการเริ่มต้นฤดูร้อนด้วยเครื่องดื่มที่ทำจากผลซากัวโร[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Burquez Montijo, A., Butterworth, C., Baker, M. & Felger, R.S. (2013). Carnegiea gigantea. The IUCN Red List of Threatened Species. Version 2014.2.
  2. "Carnegiea". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  3. หน้า 14 ประชาชื่น-ไอที, 'ซากัวโร' แคคตัสมหัศจรรย์. มติชนปีที่ 40 ฉบับที่ 14305: วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
  4. จารุพันธ์ ทองแถม. พืชมหัศจรรย์โลกวิกฤติ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555 หน้า 67 – 68

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Carnegiea gigantea ที่วิกิสปีชีส์

เอกสารอ่านเพิ่มเติม

[แก้]








ApplySandwichStrip

pFad - (p)hone/(F)rame/(a)nonymizer/(d)eclutterfier!      Saves Data!


--- a PPN by Garber Painting Akron. With Image Size Reduction included!

Fetched URL: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A3

Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy