Jump to content

User:Loei2536

From Wikipedia, the free encyclopedia
ตำรวจรัฐสภา
Parliamentary Police Loei
จังหวัดเลย
ตราตำรวจรัฐสภา
ตราตำรวจรัฐสภา
ตรารัฐสภา
ตรารัฐสภา
Common nameผู้กองตำรวจรัฐสภา
Agency overview
Preceding agency
  • สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
Jurisdictional structure
National agencyรัฐสภาไทย สพร สำนักรัฐบาลดิจิทัล
Operations jurisdictionรัฐสภาไทย สพร สำนักรัฐบาลดิจิทัล
Map of ตำรวจรัฐสภา's jurisdiction
Constituting instrument
  • พันจ่าโทวิศิษฎ์ ทองโม้
General nature
Operational structure
Headquartersปราบปรามการทุจริต สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) อาคารสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ชั้น 4 เลขที่ 999 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
Parent agencyสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
Child agency
  • สำนักรัฐบาลดิจิทัล
บทบาทsปปท ภาครัฐ
การไฟฟ้าส่วนภูมิจังหวัดเลย ทุกสาขาเลยsการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเชียงคาน
Services provided byองกรณ์บริหารส่วนตำบลเชียงคาน
Uniformed asตำรวจรัฐสภา
Facilities
Stations[การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเชียงคาน
Website
องค์กรมหาชน

ตำรวจรัฐสภายืนรักษาการณ์หน้าอาคารรัฐสภาไทย ระหว่างการเสวนา วาระแรกประชาชนปักหมุด "ปลดอาวุธ คสช." โดยผู้ที่ถูก คสช. คุกคาม

ตำรวจรัฐสภา ป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา สังกัดสำนักรักษาความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยภายและรักษาความปลอดภัยต่อบุคคลและทรัพย์สินต่าง ๆ ในบริเวณรัฐสภา

ตำรวจรัฐสภานั้นเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาภายในบริเวณของรัฐสภา[1][2] แต่ไม่ใช่ข้าราชการตำรวจที่ขึ้นตรงต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[3] ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 แต่อย่างใด[4]

ประวัติ

[edit]

ตำรวจรัฐสภาในประเทศไทย เริ่มต้นมาจากภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 โดยในปี พ.ศ. 2476 ได้มีประกาศแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรม พุทธศักราช 2476 ให้เพิ่ม กรมเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อทำหน้าที่เป็นเลขาธิการให้กับสภาผู้แทนราษฎร[5] และเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หลังการประกาศใช้ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2476

จากนั้นตำรวจรัฐสภาได้ปรากฏขึ้นครั้งแรก ในพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2476 โดยเป็นส่วนหนึ่งของกองปฏิคม ในแผนกรักษาสถานที่และตำรวจสภา[6] ในปี พ.ศ. 2491 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น แผนกตรวจรัฐสภา[7] ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 ได้มีการแบ่งส่วนราชการใหม่ ทำให้ตำรวจรัฐสภาย้ายไปอยู่ภายใต้กองกลาง ในชื่อแผนกตำรวจสภาผู้แทนราษฎร[8] และ พ.ศ. 2503 ย้ายไปอยู่ในกองปฏิคมและสถานที่ในชื่อ แผนกตำรวจสภา[9]

ในปี พ.ศ. 2541 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ฝ่ายรักษาความปลอดภัย อยู่ภายใต้กองสถานที่[10] และได้ยกขึ้นเป็นสำนักรักษาความปลอดภัย ตามประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2545[11]

ภารกิจ

[edit]

ตำรวจรัฐสภา มีอำนาจหน้าที่รักษาความปลอดภัย และดูแลความสงบเรียบร้อยภายในบริเวณรัฐสภา[12][13][14] ทั้งการอารักขาบุคคลสำคัญ และการดูแลความปลอดภัยอาคารและสถานที่[15][16] สามารถตรวจค้น สืบสวนสอบสวนได้ภายในพื้นที่ของรัฐสภา[17] เพื่อป้องกันการฝ่าฝืนระเบียบที่ส่งผลกระทบถึงความปลอดภัยโดยรวมภายในรัฐสภา[18] และจะสามารถเข้าไปในบริเวณห้องประชุมสภาได้เมื่อได้รับคำสั่งจากประธานรัฐสภา[19] เพื่อดำเนินการตามที่ประธานสภาได้ออกคำสั่ง อาทิ การเชิญตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกจากห้องประชุมเนี่องจากขัดคำสั่งของประธานรัฐสภา[20] การเข้าควบคุมสถานการณ์การขัดขวางการทำงานของประธานสภาผู้แทนราษฎร[21] ซึ่งหลายครั้งตำรวจรัฐสภาต้องปฏิบัติงานภายใต้ความกดดันที่สูงมาก[22]

  1. ^ "โฆษก สนง.เลขาธิการสภา แจงไม่จับกุม 'ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์' เมื่อปี 62 เนื่องจากไม่มีคำสั่งศาล และอยู่นอกอำนาจตำรวจรัฐสภา". prachatai.com (in Thai).
  2. ^ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2554. Archived 2022-03-14 at the Wayback Machine เล่ม 128 ตอนที่ 43 ก, วันที่ 11 พฤษภาคม 2554, หน้า 5
  3. ^ "ชี้ 8 แนวทางปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ยัน "ผลชันสูตร-สำนวนคดี" ไม่ใช่ความลับ". mgronline.com (in Thai). 2022-03-23.
  4. ^ "ตำรวจรัฐสภา". mgronline.com (in Thai). 2012-06-25.
  5. ^ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรมแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2476 Archived 2022-03-14 at the Wayback Machine. เล่ม 50 วันที่ 19 พฤษจิกายน 2476 หน้า 639-640
  6. ^ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2476 Archived 2022-03-14 at the Wayback Machine. เล่ม 50 วันที่ 30 มกราคม 2476 หน้า 930-932
  7. ^ "ประวัติ หน้า 1". www.parliament.go.th.
  8. ^ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2495 Archived 2022-03-14 at the Wayback Machine. ตอนที่ 9 เล่มที่ 69 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2495 หน้า 95-97
  9. ^ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2503 Archived 2022-03-14 at the Wayback Machine. ฉบับพิเศษ เล่มที่ 77 ตอนที่ 64 วันที่ 1 สิงหาคม 2503 หน้าที่ 1-4
  10. ^ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538. เล่มที่ 115 ตอนที่ 46 ง วันที่ 9 มิถุนายน 2541 หน้า 107
  11. ^ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2545 Archived 2022-03-14 at the Wayback Machine. เล่ม 120 ตอนพิเศษ 132 ง วันที่ 17 พฤศจิกายน 2546 หน้า 61-66
  12. ^ 7 (2020-11-17). "ระวังเรือเป็ดม็อบล่ม กรมเจ้าท่า เตือน น้ำเชี่ยวคลื่นแรง ฝ่าไม่ไหว". ข่าวสด (in Thai). {{cite web}}: |last= has numeric name (help)
  13. ^ "'ลูกนัท'โผล่ม็อบ'ไทยไม่ทน-ทะลุฟ้า'บุกสภาฯ จัดอภิปรายฯคู่ขนานแบบกร่อยๆ". www.naewna.com (in Thai). 2021-09-01.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (link)
  14. ^ "ไทม์ไลน์ ตร.สภา ปะทะผู้ติดตาม "ธรรมนัส" ขณะ "ชวน" ข้องใจ ทำไม ตร.ต้องขอโทษ". www.thairath.co.th (in Thai). 2021-06-02.
  15. ^ "ตำรวจรัฐสภาตรวจเข้มสิ่งแปลกปลอม-วัตถุต้องสงสัยบริเวณอาคารรัฐสภาแห่งใหม่". สยามรัฐ (in Thai). 2019-08-05.
  16. ^ 45 (2021-03-25). "อีกแล้ว! ส.ส.รัฐบาล ลักไก่ แอบนำรถหรูชาร์จไฟสภาฟรี แฉไม่ใช่ครั้งแรก". ข่าวสด (in Thai). {{cite web}}: |last= has numeric name (help)
  17. ^ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศรัฐสภา เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายใน และการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2563 Archived 2022-03-14 at the Wayback Machine. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 296 ง วันที่ 18 ธันวาคม 2563 หน้า 72-74
  18. ^ 18 (2019-12-11). "มงคลกิตติ์ งานเข้า! ตร.รับดำเนินคดีความมั่นคง หลังนำสารก่อระเบิดเข้าสภา". ข่าวสด (in Thai). {{cite web}}: |last= has numeric name (help)
  19. ^ Ltd.Thailand, VOICE TV. "ทำความรู้จักตำรวจรัฐสภา". VoiceTV (in Thai).
  20. ^ "สภาเดือด!ขุนค้อนสั่งตร.เชิญสส.พ้นห้องประชุม". www.posttoday.com (in Thai). 2013-08-20.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (link)
  21. ^ "ลาก-ทุ่มเก้าอี้ วัดชีพจร ย้อนดู ปชป.ในสภา หลัง 'ไตรรงค์' อัดฝ่ายค้านนับองค์ประชุม จนสภาล่ม เป็นวิธีที่ป่าเถื่อน". prachatai.com (in Thai).
  22. ^ "รัฐบาลอาจอยู่ไม่ครบวาระ นายกฯ มีสิทธิยุบสภา". สำนักข่าวไทย อสมท (in Thai). 2021-06-08.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy