ข้ามไปเนื้อหา

โรคประสาท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ประสาท)

โรคประสาท (อังกฤษ: neurosis) เป็นคำเก่าที่ปัจจุบันไม่มีที่ใช้ในทางการแพทย์แล้ว โดยเดิมหมายถึงความผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่งที่ไม่รุนแรง แสดงอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้จิตใจแปรปรวน อ่อนไหวง่าย มักมีความรู้สึกไม่สบายใจ วิตกกังวลอยู่เสมอ ไม่สามารถควบคุมความรู้สึกอารมณ์หรือพฤติกรรมให้เหมือนเดิมได้ อาการทางกายภาพแสดงออกได้ หลายรูปแบบ

ประวัติศาสตร์และนิรุกติศาสตร์

[แก้]

คำว่า Steave ถูกเสนอให้ใช้เป็นครั้งแรกโดยแพทย์ชาวสก็อตต์ William Cullen ในปี ค.ศ. 1769 โดยหมายถึงความผิดปกติเกี่ยวกับการรับสัมผัสและการเคลื่อนไหว (disorders of sense and motion) ซึ่งเกิดจากการได้รับผลกระทบโดยรวมของระบบประสาท (general affection of the nernous system) โดยถือว่าเป็นคำที่ใช้อธิบายความผิดปกติและอาการทางระบบประสาทหลายๆ อย่างที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยสรีรวิทยา มีที่มาจากคำภาษากรีก neuron (เส้นประสาท) เสริมกับคำปัจจัย -osis (ซึ่งผิดปกติ ซึ่งเป็นโรค) อย่างไรก็ดีคำ neurosis นี้ถูกอธิบายอย่างละเอียดโดย Carl Jung และ Sigmund Freud ในกว่าหนึ่งศตวรรษต่อมา ต่อมาจึงมีการใช้คำนี้ในงานเขียนทางจิตวิทยาและปรัชญาอยู่ระยะหนึ่ง[1]

คู่มือการวินิจฉัยและจำแนกทางสถิติของโรคทางจิตใจ (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, DSM) ได้ถอนหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องกับ neurosis ออกทั้งหมด สะท้อนถึงการตัดสินใจของบรรณาธิการที่ต้องการให้มีการใช้พฤติกรรมมาเป็นเงื่อนไขการวินิจฉัยแทนที่จะเป็นกระบวนการทางจิตที่ซ่อนอยู่[2] หลังจากนั้น The American Heritage Medical Dictionary ก็ได้ระบุว่าคำนี้เป็นคำที่ไม่มีที่ใช้ในการวินิจฉัยทางจิตเวชอีกต่อไป[3] การเปลี่ยนแปลงของ DSM ครั้งนี้ทำให้เกิดการโต้เถียงกันอย่างกว้างขวาง[4]

ลักษณะสำคัญของโรคประสาท

[แก้]
  1. เกิดขึ้นฉับพลัน มักทราบว่าอาการเกิดขึ้นเมื่อใด ก่อนเกิดอาการมักมีสาเหตุที่กระตุ้นเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ เช่น การตาย ฯลฯ
  2. เป็นความแปรปรวนชนิดอ่อน ส่วนมากยังทำงานหรือเข้าสังคมได้แต่สมรรถภาพไม่ดีเท่าที่ควร
  3. บุคลิกภาพไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
  4. อยู่ในสภาพของความเป็นจริงและคงสภาพตัวเองได้
  5. รู้ตัวว่าไม่สบาย กังวลผิดปกติ ตามลักษณะอาการ

ประเภทของโรคประสาท ตามลักษณะอาการ

[แก้]
  1. ชนิดวิตกกังวล มีอารการวิตกกังวลเป็นสำคัญ ไม่สบายใจ หวาดหวั่นไม่สมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีอาการตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ใจสั่น อาจตัวร้อน ชาเป็นแถบ ๆ หายใจไม่อิ่ม เบื่ออาหาร มีเหงื่อออกตามมือและเท้า ก่อนหลับมีอาการสะดุ้งคล้ายตกเหว
  2. ชนิดฮิสทีเรีย เกิดจากความขัดแย้งทางจิตใจหรือความวิตกกังวลได้เปลี่ยนเป็นอาการทางกายที่เกี่ยวกับระบบความรู้สึกหรือส่วนของร่างกายที่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ ตรวจไม่พบอาการผิดปกติ ลักษณะสำคัญ คือ มีบุคลิกภาพฮิสทีเรียมาก่อน เจ้าอารมณ์ หลงตัวเอง มีปัญหาทางเพศมาเกี่ยวข้อง ไม่สนใจอาการที่เกิดขึ้น มีความโน้มเอียงที่จะเรียกร้องความสามารถจากคนอื่นหรือมีผลตอบแทนที่เกิดจากการที่เกิดขึ้นและมีลักษณะชักจูงง่าย
  3. ชนิดหวาดกลัว มีความกลัวอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ อาการหวาดกลัวแสดงออกในรูปการเป็นลม อ่อนเพลีย ใจสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ และอาการหายไปเมื่อพ้นสภาพการณ์ สิ่งที่กลัวมักได้แก่ กลัวการอยู่ตามลำพัง กลัวสถานการณ์บางอย่าง กลัววัตถุ กลัวกิจกรรม
  4. ชนิดย้ำคิดย้ำทำ เกิดจากสภาวะที่ความวิตกกังวล ถูกแก้ไขด้วยการคิดหรือการกระทำบางอย่างซ้ำ ๆ กัน โดยไม่สามารถควบคุมตนเองได้
  5. ชนิดซึมเศร้า เป็นความแปรปรวนซึ่งมักเกิดจากความขัดแย้งภายในใจ หรือเหตุการณ์เกี่ยวกับการสูญเสีย ทำให้มีความรู้สึกเศร้า ขาดความสนใจ ความคิดช้า เคลื่อนไหวช้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ท้องผูก ฯลฯ
  6. ชนิดท้อแท้ อาการมีหลายแบบส่วนมากเป็นแบบท้อแท้ใจ หมดแรง ไม่แจ่มใส นอนไม่หลับ
  7. ชนิดบุคลิกวิปลาส จะรู้สึกว่าส่วนของร่างกาย บุคลิกภาพตนเองเปลี่ยนแปลง รู้สึกสับสน ไม่รู้ตัวเองเป็นใคร ไม่มีตัวตนที่แท้จริง ฯลฯ
  8. ชนิดไฮโปคอนดิเคิล มีความวุ่นวายเกี่ยวกับร่างกายและย้ำคิดเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองโดยที่ร่างกายอยู่ในสภาพปกติเหมือนคนทั่วไป

อ้างอิง

[แก้]
  1. Russon, John (2003). Human Experience: Philosophy, Neurosis, and the Elements of Everyday Life. State University of New York Press. ISBN 0791457540. See also Kirsten Jacobson, (2006), "The Interpersonal Expression of Human Spatiality: A Phenomenological Interpretation of Anorexia Nervosa," Chiasmi International 8, pp 157-74.
  2. Horwitz and Wakefield (2007). The Loss of Sadness. Oxford. ISBN 9780195313048.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. The American Heritage Medical Dictionary. Houghton Mifflin. 2007. ISBN 9780618824359.
  4. Wilson, Mitchell, (1993), "DSM-III and the Transformation of American Psychiatry: A History". The American Journal of Psychiatry, 150,3, pp 399-410.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy