ข้ามไปเนื้อหา

ไอ (อาการ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อาการไอ)
ไอ
รูปแสดงอาการไอ
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10R05.r
ICD-9786.2
MedlinePlus003072
eMedicineENT/1048560

การไอเป็นการขับลมหายใจออกจากทางเดินหายใจอย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยขจัดสารคัดหลั่ง สิ่งระคายเคือง สิ่งแปลกปลอม และจุลินทรีย์ได้ อาจเกิดซ้ำ ๆ จากรีเฟล็กซ์การไอโดยเป็นการป้องกันตัว รีเฟล็กซ์มีสามระยะ คือ การหายใจเข้า การหายใจออกอย่างแรงกระทบกับกล่องเสียงที่ปิดอยู่ และการขับอากาศออกจากปอดอย่างรวดเร็วหลังเปิดกล่องเสียงโดยมักเกิดกับเสียงไอ[1] การไออาจเกิดโดยตั้งใจหรือไม่ก็ได้

การไอบ่อย ๆ ปกติจะชี้ว่ามีโรค ไวรัสและแบคทีเรียหลายชนิดได้ประโยชน์เชิงวิวัฒนาการจากการทำให้โฮสต์ไอ ซึ่งช่วยแพร่กระจายเชื้อไปสู่โฮสต์ใหม่ การไอผิดปกติมักเกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจ แต่ก็อาจเกิดจากการสำลัก การสูบบุหรี่ มลพิษทางอากาศ[1] โรคหืด โรคกรดไหลย้อน เสมหะในคอ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง เนื้องอกในปอด ภาวะหัวใจวาย และยาบางชนิดเช่นสารยับยั้งเอซีอีและยากลุ่มเบตาบล็อกเกอร์[2]

การรักษามักเน้นที่สาเหตุ เช่น การเลิกสูบบุหรี่หรือการหยุดใช้สารยับยั้งเอซีอี แพทย์มักสั่งจ่ายยาแก้ไอเช่นโคดีอีนหรือเดกซ์โทรเมทอร์แฟน แต่ก็ไม่แนะนำสำหรับเด็ก การรักษาอื่น ๆ อาจมุ่งลดการอักเสบของทางเดินหายใจหรือกระตุ้นให้ขับเสมหะ เพราะเป็นรีเฟล็กซ์ป้องกันตัวตามธรรมชาติ การยับยั้งการไอจึงอาจมีผลเสียโดยเฉพาะถ้าไอแบบมีเสมหะ[3]

อาการ

[แก้]
วิดีโอภาพเงา (shadowgraph) ของลมที่กระจายเมื่อไอโดยเปรียบเทียบการไอแบบไม่สวมหน้ากากกับวิธีการปิดปากปิดจมูกต่าง ๆ รวมทั้ง การไอใส่กำปั้น ใส่มือที่ป้องปิดปากปิดจมูก ใส่กระดาษทิชชู ใส่อุปกรณ์ดักการไอ ใส่หน้ากากอนามัย และใส่หน้ากาก N95

ภาวะแทรกซ้อน

[แก้]

ภาวะแทรกซ้อนของการไอสามารถจำแนกได้เป็นแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง แบบเฉียบพลันได้แก่อาการหมดสติจากการไอ (อาการเป็นลมเพราะเลือดไหลไปเลี้ยงสมองลดลงเมื่อไออย่างยาวนานและรุนแรง) นอนไม่หลับ อาเจียนจากการไอ การตกเลือดใต้เยื่อตา อุจจาระราดเพราะไอ และในหญิงที่มดลูกหย่อน ปัสสาวะราดเมื่อไอ ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังที่พบได้บ่อยรวมถึงไส้เลื่อนที่ช่องท้องหรืออุ้งเชิงกราน กระดูกซี่โครงซี่ล่าง ๆ แตกเพราะล้า และการอักเสบของกระดูกอ่อนซี่โครง (costochondritis) การไอเรื้อรังหรือรุนแรงอาจทำกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้เสียหาย แล้วทำให้กระเพาะปัสสาวะหย่อน (cystocele)[4]

การวินิจฉัยแยกโรค

[แก้]

อาการไอในเด็กอาจเป็นรีเฟล็กซ์ปกติหรือมีเหตุแฝง[5] ในเด็กสุขภาพดี การไอวันละสิบครั้งอาจปกติโดยไม่มีโรคใด [5] สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการไอเฉียบพลันหรือกึ่งเฉียบพลันคือการติดเชื้อทางเดินหายใจ[5] ผู้ใหญ่สุขภาพดีไอโดยเฉลี่ยวันละ 18.8 ครั้ง แต่ในกลุ่มประชากรที่มีโรคระบบทางเดินหายใจ ค่ามัชฌิมเรขาคณิตอยู่ที่ 275 ครั้ง/วัน[6] ในผู้ใหญ่ที่ไอเรื้อรัง คือไอนานกว่า 8 สัปดาห์ มากกว่า 90% เกิดจากเสมหะในคอ โรคหืด หลอดลมอักเสบชนิดอีโอซิโนฟิลิก และโรคกรดไหลย้อน[5] สาเหตุของอาการไอเรื้อรังในเด็กก็คล้ายกันโดยเพิ่มโรคหลอดลมอักเสบเหตุติดเชื้อ[5]

การติดเชื้อ

[แก้]

อาการไออาจเป็นผลของการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัดธรรมดา โควิด-19 หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ปอดบวม ไอกรน หรือวัณโรค ในกรณีส่วนใหญ่ การไอเฉียบพลันคือการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์ มีสาเหตุมาจากไข้หวัดธรรมดา[7] ในผู้ป่วยที่มีผลเอกซเรย์ปอดปกติ ทั่วไปจะไม่เป็นวัณโรค โรคไอกรนกำลังยอมรับกันมากขึ้นว่าเป็นสาเหตุของอาการไอที่เป็นปัญหาในผู้ใหญ่

หลังจากการติดเชื้อทางเดินหายใจหายดีขึ้นแล้ว ผู้ป่วยก็อาจยังคงมีอาการไอ ซึ่งมักเป็นการไอแห้ง ไม่ก่อเสมหะ อาการอาจรวมถึงอาการแน่นหน้าอกและคันคอ อาการไออาจคงอยู่เป็นสัปดาห์ ๆ หลังป่วย เหตุอาจเป็นการอักเสบคล้ายกับที่พบในโรคจากการใช้งานซ้ำซาก เช่น กลุ่มอาการคาร์ปัลทันเนล การไอซ้ำ ๆ ก่อการอักเสบ ซึ่งสร้างความไม่สบาย แล้วจึงทำให้ไอมากขึ้น[8] การไอหลังติดเชื้อมักไม่ตอบสนองต่อการรักษาการไอทั่วไป ยาที่ใช้สำหรับอาการไอหลังติดเชื้ออาจรวมถึง ipratropium เพื่อรักษาการอักเสบ[8] และยาแก้ไอเพื่อลดความถี่การไอจนกว่าการอักเสบจะหายไป[9] การอักเสบอาจเพิ่มความไวต่อปัญหาอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว เช่น ภูมิแพ้ ดังนั้น การรักษาสาเหตุอื่นของการไอ (เช่น ด้วยการใช้เครื่องฟอกอากาศหรือยาแก้แพ้) ก็อาจช่วยเร่งการฟื้นตัว[10]

โรคทางเดินหายใจชนิดรีแอกทีฟ

[แก้]

เมื่อการไอเป็นอาการเดียวที่พบในผู้ป่วยที่ผ่าเกณฑ์เป็นโรคหอบหืด (คือหลอดลมไวในการตอบสนองมากผิดปกติโดยสามารถกลับสู่สภาพเดิมได้) นี่คือโรคหืดที่มีอาการไอ (cough-variant asthma) อาการไอจากภูมิแพ้เกี่ยวข้องกับหลอดลมอักเสบชนิดอีโอซิโนฟิลิก อาการไอจากภูมิแพ้จะเกิดในบุคคลที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ มีเม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลจำนวนมากในเสมหะ แต่ทางเดินหายใจทำงานและตอบสนองได้ตามปกติ ส่วนหลอดลมอักเสบชนิดอีโอซิโนฟิลิกมีลักษณะเฉพาะคือมีเซลล์อีโอซิโนฟิลในเสมหะ และในน้ำล้างหลอดลมและถุงลมปอด (bronchoalveolar lavage) โดยหลอดลมจะไม่ไวตอบสนองมากผิดปกติหรือมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว[11] อาการเช่นนี้มักรักษาได้ด้วยคอร์ติโคสเตอรอยด์ อาการไอสามารถแย่ลงได้ในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโดยเป็นการกำเริบเฉียบพลัน (acute exacerbation of chronic obstructive pulmonary disease)

โรคหืดเป็นสาเหตุที่พบบ่อยของอาการไอเรื้อรังในผู้ใหญ่และเด็ก การไออาจเป็นอาการเดียวที่ผู้ป่วยมีจากโรคหืด อาการอื่น ๆ ของโรครวมถึงอาการหายใจมีเสียงวี้ด หายใจลำบาก และรู้สึกแน่นหน้าอก ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค สามารถรักษาได้ด้วยยาขยายหลอดลม (ยาที่ทำให้ทางเดินหายใจขยายตัว) หรือยาสเตียรอยด์ชนิดสูด การรักษาโรคหืดปกติจะทำให้อาการไอหายไป

โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังมีนิยามทางคลินิกว่า เป็นการไอเรื้อรังที่มีเสมหะและน้ำมูกเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน 2 ปี ผู้สูบบุหรี่ที่ไอมักเป็นโรคนี้ ควันบุหรี่ทำให้เกิดการอักเสบ หลั่งเมือกในทางเดินหายใจ และทำให้กำจัดเมือกออกจากทางเดินหายใจได้ยาก การไอช่วยกำจัดสารคัดหลั่งเช่นนี้ออก และอาจรักษาได้โดยการเลิกสูบบุหรี่ แต่ก็อาจเกิดจากโรคฝุ่นจับปอดและการสูดดมควัน/ไอระเหยเป็นเวลานานได้

โรคกรดไหลย้อน

[แก้]

ในผู้ที่ไอโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรพิจารณาโรคกรดไหลย้อน[5] เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อกรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร อาการที่มักพบได้แก่ อาการแสบร้อนกลางอก รสเปรี้ยวในปาก หรือความรู้สึกว่ามีกรดไหลย้อนที่หน้าอก แม้ว่ามากกว่าครึ่งของผู้ที่มีอาการไอจากโรคกรดไหลย้อนจะไม่มีอาการอื่น ๆ การตรวจวัดความเป็นกรดในหลอดอาหารสามารถยืนยันการวินิจฉัยได้ บางครั้งโรคกรดไหลย้อนสามารถทำโรคทางเดินหายใจที่มีอาการไอ เช่น โรคหืดหรือหลอดลมอักเสบ ให้ยุ่งยากมากขึ้น การรักษารวมถึงการใช้ยาลดกรดและการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต โดยจะพิจารณาการผ่าตัดในกรณีที่ควบคุมโรคด้วยวิธีอนุรักษนิยมไม่ได้

มลพิษทางอากาศ

[แก้]

การไออาจมีสาเหตุมาจากมลพิษทางอากาศ รวมถึงควันบุหรี่ ฝุ่นละออง แก๊สระคายเคือง และความชื้นในบ้าน[5] คุณภาพอากาศที่ไม่ดีส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อสุขภาพมนุษย์ ส่วนใหญ่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจและระบบหัวใจและหลอดเลือด แต่ะละคนจะมีปฏิกิริยาต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับมลพิษที่ได้รับ ระดับการสัมผัส สุขภาพ และพันธุกรรม ตัวอย่างเช่น ผู้ออกกำลังกายกลางแจ้งในวันที่อากาศร้อนและมีหมอกควัน ย่อมสัมผัสกับมลพิษอากาศเพิ่ม

สิ่งแปลกปลอม

[แก้]

บางครั้งอาจตั้งความสงสัยได้ว่ามีสิ่งแปลกปลอม เช่น ถ้าอาการไอเริ่มขึ้นทันทีขณะที่ผู้ป่วยกำลังรับประทานอาหาร ในกรณีที่พบน้อย ไหมเย็บแผลที่หลงอยู่ในแขนงหลอดลมก็ทำให้ไอได้ การไอเกิดจากความแห้งเหตุหายใจทางปาก หรือจากอาหารที่เข้าไปในหลอดลมซ้ำ ๆ ในผู้ที่มีปัญหาการกลืน[12][13]

การไอเพราะยา

[แก้]

ยาที่ใช้รักษาโรคอื่นที่ไม่ใช่อาการไอ เช่น สารยับยั้งเอซีอีซึ่งมักใช้รักษาความดันโลหิตสูง สามารถทำให้ไอโดยเป็นผลข้างเคียงได้ ดังนั้น การหยุดยาก็จะทำให้หายไอ[14] ยากลุ่มเบตาบล็อกเกอร์ซึ่งใช้รักษาความดันโลหิตสูง ก็สามารถทำให้ไออย่างไม่พึงประสงค์ได้เช่นกัน[2]

อาการไอแบบทิก

[แก้]

อาการไอแบบทิก (tic cough) ซึ่งเคยเรียกตามภาษาอังกฤษว่า อาการไอแบบเป็นนิสัย เป็นอาการไอที่รักษาได้ด้วยการบำบัดทางพฤติกรรมหรือจิตเวชหลังจากที่ได้แยกสาเหตุทางกายภาพออกแล้ว การไม่ไอขณะนอนหลับเป็นเรื่องสามัญ แต่ก็ใช้เพื่อวินิจฉัยไม่ได้ เชื่อว่าพบได้บ่อยในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่[15]

การไอเพราะระบบประสาท

[แก้]

การไอเรื้อรังบางกรณีอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทรับความรู้สึก[16] การรักษาอาจรวมถึงการใช้ยารักษาอาการปวดประสาท (neuralgia) การไอสามารถเกิดขึ้นในโรคติกส์/โรคที่เกี่ยวกับอาการกระตุก เช่น กลุ่มอาการตูแร็ต แต่ก็ต่างกับการกระแอมที่มีในโรคนี้

อื่น 

[แก้]

การไออาจเกิดจากโรคที่มีผลต่อเนื้อเยื่อปอด เช่น โรคหลอดลมโป่งพอง, ซิสติกไฟโบรซิส, interstitial lung disease และ sarcoidosis การไอยังอาจกระตุ้นได้โดยก้อนเนื้องอกในปอดทั้งที่เป็นหรือไม่เป็นมะเร็ง หรือก้อนเนื้อในเมดิแอสตินัม/ประจันอก ภาวะต่าง ๆ ที่ช่องหูชั้นนอก (เช่น มีขี้หู) สามารถทำให้ประสาทระคายเคืองแล้วทำให้ไอได้ โรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีอาการไอรวมทั้ง ภาวะหัวใจวาย เนื้อเยื่อปอดตาย (pulmonary infarction) และท่อเลือดแดงโป่งพอง การไอเวลากลางคืนสัมพันธ์กับภาวะหัวใจวาย เนื่องจากห้องหัวใจล่างซ้ายไม่สามารถสูบฉีดให้เลือดเดินไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เลือดคั่งในหลอดเลือดดำจากปอด ซึ่งนำไปสู่ภาวะปอดบวมน้ำและการไอต่อมา[17] สาเหตุอื่นของการไอเวลากลางคืนรวมถึงโรคหืด เสมหะในคอ และโรคกรดไหลย้อน[18] สาเหตุอีกประการของการไอที่เกิดขณะนอนหงายคือ การสำลักซ้ำ [17]

เพราะมีคุณสมบัติระคายเคืองเนื้อเยื่อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สารแคปไซซินจึงใช้อย่างแพร่หลายเพื่อกำหนดขีดจำกัดของการไอและเพื่อกระตุ้นการไอในการวิจัยยาแก้ไอทางคลินิก แคปไซซินเป็นสารที่ทำให้พริกมีรสเผ็ด จึงอาจอธิบายได้ว่าทำไมคนงานในโรงงานพริกจึงเกิดอาการไอ

การไอยังอาจใช้เพื่อเหตุผลทางสังคมด้วย ดังนั้นจึงอาจเป็นเรื่องตั้งใจ การไอโดยตั้งใจ เช่น การกระแอม สามารถใช้เรียกความสนใจหรือแสดงความไม่พอใจ โดยเป็นรูปแบบหนึ่งของอวัจนภาษา[19][20]

การเคลียร์ทางเดินหายใจ

[แก้]

การไอและการหายใจแรง ๆ เป็นวิธีสำคัญในการกำจัดเสมหะในโรคหลายอย่าง เช่น โรคซิสติกไฟโบรซิส และโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

พยาธิสรีรวิทยา

[แก้]
การไอถือเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข

การไอเป็นรีเฟล็กซ์ป้องกันตนในคนที่มีสุขภาพดี โดยสภาพทางจิตใจจะมีอิทธิพล[5] รีเฟล็กซ์การไอเริ่มต้นจากการกระตุ้นเส้นใยประสาทนำเข้าสองประเภท ได้แก่ ตัวรับที่ปรับตัวเร็วและมีปลอกไมอีลิน และเส้นใยชนิดซีซึ่งไม่มีปลอกไมอีลินและมีปลายประสาทอยู่ในปอด[21]

แนวทางการวินิจฉัย

[แก้]

ลักษณะของการไอสามารถช่วยวินิจฉัยโรคได้ ตัวอย่างเช่น เสียง "วู้ป" (whoop) ขณะหายใจเข้าเมื่อไอ จะเพิ่มความเป็นไปได้เกือบสองเท่าว่าเป็นโรคไอกรน

เลือดอาจออกในปริมาณเล็กน้อยจากการไอรุนแรงโดยมีสาเหตุได้หลายอย่าง แต่เลือดออกมากอาจบ่งชี้ถึงโรคหลอดลมอักเสบ โรคหลอดลมโป่งพอง วัณโรค หรือมะเร็งปอดปฐมภูมิ[22]

การตรวจเพิ่มอาจรวมการตรวจทางห้องแหล็บ การเอกซเรย์ และการทดสอบการทำงานของปอด (spirometry)[5]

การจำแนกประเภท

[แก้]

การไอสามารถจำแนกได้ตามระยะเวลา ลักษณะ คุณภาพ และช่วงเวลาที่เกิด[5] การไออาจเป็นแบบเฉียบพลัน (เกิดขึ้นทันที) ถ้าเกิดขึ้น <3 สัปดาห์ แบบกึ่งเฉียบพลันถ้าเกิดขึ้น 3–8 สัปดาห์ และแบบเรื้อรังเมื่อเกิดขึ้น >8 สัปดาห์[5] อาจเป็นแบบไม่มีเสมหะ (แห้ง) หรือแบบมีเสมหะ (แบบเกิด phlegm แล้วไอออกมาเป็น sputum) อาจเกิดขึ้นเฉพาะตอนกลางคืน เกิดขึ้นทั้งกลางคืนกลางวัน หรือเกิดขึ้นเฉพาะกลางวันเท่านั้น[5]

มีอาการไอลักษณะเฉพาะหลายอย่าง แม้ลักษณะเหล่านี้จะไม่มีประโยชน์เพื่อวินิจฉัยผู้ใหญ่ แต่ก็มีกับเด็ก[5] การไอเสียงก้องหรือเสียงเห่าเป็นอาการทั่วไปของโรคครุป[23] การไอสั้น ๆ ติด ๆ กัน เป็นลักษณะคลาสสิกของโรคปอดบวมจากเชื้อคลามิเดียในทารกแรกเกิด[24]

การรักษา

[แก้]

การรักษาอาการไอในเด็กจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ 50% จะหายเองภายใน 10 วันและ 90% ภายใน 25 วัน[25]

ตามคำแนะนำของสมาคมวิทยาลัยกุมารแพทย์อเมริกัน (AAP) การใช้ยาแก้ไอเพื่อบรรเทาอาการมีหลักฐานสนับสนุนน้อยมาก จึงไม่แนะนำให้ใช้รักษาอาการไอในเด็ก[5] มีหลักฐานเบื้องต้นว่าการใช้น้ำผึ้งดีกว่าการไม่รักษาหรือการใช้ยาไดเฟนไฮดรามีนเพื่อลดอาการไอ[26] แม้จะบรรเทาอาการไอได้ไม่ดีเท่ากับยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน แต่ก็สามารถลดระยะเวลาของอาการไอได้ดีกว่ายาหลอกและยาซัลบูทามอล[26] ในเด็กที่มีอาการไอเรื้อรังอาจทดลองใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคหลอดลมอักเสบยืดเยื้อเหตุแบคทีเรีย หรือยาสเตียรอยด์ชนิดสูดเพื่อรักษาโรคหืด[5] ไม่มีหลักฐานเพียงพอในการรักษาเด็กที่ไอโดยไม่มีโรคโดยเฉพาะด้วยยาแอนติโคลิเนอร์จิกชนิดสูด[27]

เนื่องจากการไอสามารถแพร่โรคผ่านละอองฝอยที่ติดเชื้อได้ จึงแนะนำให้ปิดปากและจมูกด้วยแขนท่อนล่าง ข้อพับศอกด้านใน กระดาษทิชชู หรือผ้าเช็ดหน้าขณะไอ[28]

ระบาดวิทยา

[แก้]

อาการไอเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในการไปพบแพทย์ปฐมภูมิในประเทศสหรัฐอเมริกา[5]

สัตว์อื่น 

[แก้]
กวางตัวเมียที่กำลังไอ

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทะเล เช่น โลมาและวาฬไม่ไอ[29] สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด เช่นแมลงและแมงมุม ไม่สามารถไอหรือจามได้ จระเข้ตีนเป็ดสามารถไอได้[30] สัตว์เลี้ยงและสัตว์มีกระดูกสันหลังเช่นสุนัขและแมวอาจไอเพราะโรค ภูมิแพ้ ฝุ่น หรือสำลัก[31] โดยเฉพาะแมว ซึ่งอาจไอก่อนจะสำรอกก้อนขนออกมา[31]

สำหรับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ม้าอาจไอเพราะติดเชื้อ หรือเพราะการระบายอากาศไม่ดีและเพราะฝุ่นในที่อากาศไม่ถ่ายเท[32] โรคทางเดินหายใจแบบติตต่อในสุนัข อาจเกิดจากไวรัสหรือแบคทีเรีย

กวางอาจไอคล้ายกับมนุษย์อันเป็นผลจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหลอดลมอักเสบที่เกิดจากพยาธิชนิด Dictyocaulus[33]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Chung, KF; Pavord, ID (April 2008). "Prevalence, pathogenesis, and causes of chronic cough". Lancet. 371 (9621): 1364–1374. doi:10.1016/S0140-6736(08)60595-4. PMID 18424325. S2CID 7810980.
  2. 2.0 2.1 Guidelines, Therapeutic (2021). Cough (ภาษาEnglish). Therapeutic Guidelines Ltd.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  3. Pavord, ID; Chung, KF (April 2008). "Management of chronic cough". Lancet. 371 (9621): 1375–1384. doi:10.1016/S0140-6736(08)60596-6. PMID 18424326. S2CID 30806409.
  4. "Cystocele (Prolapsed Bladder) | NIDDK". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. สืบค้นเมื่อ 2017-12-02.
  5. 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14 5.15 Goldsobel, AB; Chipps, BE (March 2010). "Cough in the pediatric population". J. Pediatr. 156 (3): 352–358.e1. doi:10.1016/j.jpeds.2009.12.004. PMID 20176183.
  6. Nadia, Yousaf; Monteiro, William; Matos, Sergio; Birring, Surinder S.; Pavord, Ian D. (2013). "Cough frequency in health and disease". European Respiratory Journal. 41 (1): 241–243. doi:10.1183/09031936.00089312. PMID 23277523.
  7. Dicpinigaitis, PV; Colice, GL; Goolsby, MJ; Rogg, GI; Spector, SL; Winther, B (2009). "Acute cough: a diagnostic and therapeutic challenge". Cough. 5: 11. doi:10.1186/1745-9974-5-11. PMC 2802352. PMID 20015366. In the vast majority of cases, acute cough is due to acute viral upper respiratory tract infection (URTI), i.e., the common cold.
  8. 8.0 8.1 Braman, SS (January 2006). "Postinfectious cough: ACCP evidence-based clinical practice guidelines". Chest. 129 (1 Suppl): 138S–146S. doi:10.1378/chest.129.1_suppl.138S. PMID 16428703.
  9. "Cystic fibrosis - Diagnosis and treatment - Mayo Clinic". www.mayoclinic.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.
  10. "UpToDate". www.uptodate.com. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.
  11. Niimi, A (February 2011). "Cough and Asthma". Current Respiratory Medicine Reviews. 7 (1): 47–54. doi:10.2174/157339811794109327. PMC 3182093. PMID 22081767.
  12. "Cough". Mayo Clinic (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-27.
  13. "Why You Cough". WebMD (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-27.
  14. Dicpinigaitis, PV (January 2006). "Angiotensin-converting enzyme inhibitor-induced cough: ACCP evidence-based clinical practice guidelines". Chest. 129 (1 Suppl): 169S–173S. doi:10.1378/chest.129.1_suppl.169S. PMID 16428706.
  15. Irwin, RS; Glomb, WB; Chang, AB (January 2006). "Habit cough, tic cough, and psychogenic cough in adult and pediatric populations: ACCP evidence-based clinical practice guidelines". Chest. 129 (1 Suppl): 174S–179S. doi:10.1378/chest.129.1_suppl.174S. PMID 16428707.
  16. Gibson, PG; Ryan, NM (August 2011). "Cough pharmacotherapy: current and future status". Expert Opinion on Pharmacotherapy. 12 (11): 1745–1755. doi:10.1517/14656566.2011.576249. PMID 21524236. S2CID 24560981.
  17. 17.0 17.1 NCBI » Bookshelf » Clinical Methods » The Pulmonary System » Cough and Sputum Production By Sattar Farzan. Extracted from the book Clinical Methods, 3rd edition The History, Physical, and Laboratory Examinations. Edited by H Kenneth Walker, MD, W Dallas Hall, MD, and J Willis Hurst, MD. Boston: Butterworths; 1990.
  18. "C.Chronic Cough". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-01. สืบค้นเมื่อ 2010-10-10. National Lung Health Education Program > C. Chronic Cough] The Snowdrift Pulmonary Foundation, Inc. 2000.
  19. "ahem". Onomatopoeia List. 2013-08-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-04. สืบค้นเมื่อ 2022-04-11.
  20. Nänny, Max; Fischer, Olga (1999). Form Miming Meaning: Iconicity in Language and Literature (ภาษาอังกฤษ). John Benjamins Publishing. ISBN 9789027221797. สืบค้นเมื่อ 2019-07-25.
  21. Mazzone, Stuart B.; Undem, Bradley J. (2016-07-01). "Vagal Afferent Innervation of the Airways in Health and Disease". Physiological Reviews. 96 (3): 975–1024. doi:10.1152/physrev.00039.2015. ISSN 0031-9333. PMC 4982036. PMID 27279650.
  22. Lechtzin, Noah. "Cough in Adults". Merck Manuals. สืบค้นเมื่อ 2017-04-07. Last full review/revision July 2016
  23. Bjornson, CL; John son, DW (July 2007). "Croup in the paediatric emergency department". Paediatr Child Health. 12 (6): 473–477. doi:10.1093/pch/12.6.473. PMC 2528757. PMID 19030411.
  24. Miller, KE (April 2006). "Diagnosis and treatment of Chlamydia trachomatis infection". Am Fam Physician. 73 (8): 1411–6. PMID 16669564.
  25. Thompson, M.; Vodicka, T. A.; Blair, P. S.; Buckley, D. I.; Heneghan, C.; Hay, A. D. (2013-12-11). "Duration of symptoms of respiratory tract infections in children: systematic review". BMJ. 347 (dec11 1): f7027. doi:10.1136/bmj.f7027. PMC 3898587. PMID 24335668.
  26. 26.0 26.1 Oduwole, O; Udoh, EE; Oyo-Ita, A; Meremikwu, MM (2018-04-10). "Honey for acute cough in children". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 4 (12): CD007094. doi:10.1002/14651858.CD007094.pub5. PMC 6513626. PMID 29633783.
  27. Chang, A. B.; McKean, M.; Morris, P. (2004). "Inhaled anti-cholinergics for prolonged non-specific cough in children". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2003 (1): CD004358. doi:10.1002/14651858.CD004358.pub2. ISSN 1469-493X. PMC 8823516. PMID 14974067.
  28. "Coughing and Sneezing". US Centers for Disease Control and Prevention (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-04-24. สืบค้นเมื่อ 2020-09-14.
  29. Woodard, James C.; Zam, Stephen G.; Caldwell, David K.; Caldwell, Melba C. (2016-08-29). "Some Parasitic Diseases of Dolphins". Pathologia Veterinaria. 6 (3): 257–272. doi:10.1177/030098586900600307. PMID 5817449. S2CID 26842976.
  30. "Crocodile 'cough' caught on camera in Florida Everglades". WFLA (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-08-23. สืบค้นเมื่อ 2024-06-13.
  31. 31.0 31.1 "Is It Normal for Cats To Cough?". Pet Health Network. สืบค้นเมื่อ 2018-04-23.
  32. "Coughing in horses explained". Your Horse Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-28. สืบค้นเมื่อ 2018-04-23.
  33. Pyziel, Anna M.; Laskowski, Zdzisław; Demiaszkiewicz, Aleksander W.; Höglund, Johan (2017). "Interrelationships of Dictyocaulusspp. In Wild Ruminants with Morphological Description of Dictyocaulus cervin. Sp. (Nematoda: Trichostrongyloidea) from Red Deer,Cervus elaphus". Journal of Parasitology. 103 (5): 506–518. doi:10.1645/16-75. PMID 28585897. S2CID 25720548.

แม่แบบ:CCBYSASource

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy