ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
Department of Marine and Coastal Resources
ภาพรวมกรม
ก่อตั้ง3 ตุลาคม พ.ศ. 2545; 22 ปีก่อน (2545-10-03)
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 120 หมู่ 3 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
บุคลากร1,583 คน (พ.ศ. 2566)
งบประมาณต่อปี1,839,927,800 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
ฝ่ายบริหารกรม
  • ปิ่นสักก์ สุรัสวดี, อธิบดี
  • ชิดชนก สุขมงคล, รองอธิบดี
  • ว่าง, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกรมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เว็บไซต์เว็บไซต์ของกรม

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (อังกฤษ: Department of Marine and Coastal Resources; DMCR) หรือชื่อย่อ ทช. เป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เพื่อความมั่งคั่ง สมดุล และยั่งยืนของทะเลไทยเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน

ประวัติ

[แก้]

จากพัฒนาของประเทศในด้านต่างๆ ตลอดเวลาที่ผ่านมา เช่น การทำประมง อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การพัฒนาแหล่งชุมชนและอื่นๆ ทำให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างมาก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการใช้ที่ดินชายฝั่งทะเลมากจนเกิดความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ และมีการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอย่างรุนแรง พื้นที่ป่าชายเลน ลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากการบุกรุกและเปลี่ยนแปลงสภาพเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ แหล่งปะการังและหญ้าทะเล อยู่ในสภาพเสื่อมโทรมเช่นกัน ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ลดลงอย่างมาก ประกอบกับสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำเสื่อมโทรม ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิต และขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ

ตระหนักว่าการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอดีตที่ผ่านมา ยังไม่มีเอกภาพ ขาดการบูรณาการและไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง หรือมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพ จึงได้มีการปฏิรูประบบราชการและมีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545[2] กำหนดให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีหน้าที่เกี่ยวกับอนุรักษ์ และพื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรวมทั้งประกาศใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน หมวด 9 หมวด 22 และ 23 จัดตั้งหน่วยงานภายใต้กระทรวงอีก 10 หน่วยงาน โดยมีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อยู่ในลำดับที่ 4 เป็นรวมงานที่เกี่ยวข้องในด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จากกรมประมง กรมป่าไม้ และกรมพัฒนาที่ดิน ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาอยู่ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม[3]

ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ดำเนินงานตามภารกิจ เพื่อตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาล และตอบสนองต่อความต้องการของภาคประชาชนอย่างเต็มกำลังความสามารถ มีการเร่งแก้ไขปัญหาเร่งด่วนให้กับประชาชน มุ่งการดำเนินงานเพื่อการสงวนอนุรักษ์ รักษา และป้องกันทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อประโยชน์ของชุมชน สังคม และประเทศชาติ อีกทั้งจะพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและทันต่อสาธารณการณ์ปัจจุบัน

อำนาจและหน้าที่

[แก้]

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้[4]

  1. เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำนโยบายและแผนเพื่อการบริหารจัดการการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
  2. เสนอให้มีการปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมกฎ ระเบียบ และมาตรการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ฟื้นฟู การจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน
  3. กำกับดูแล ประเมิน และติดตามตรวจสอบการอนุรักษ์ การฟื้นฟู การจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการป้องกันการกัดเซาะทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ และมาตรการที่เกี่ยวข้อง
  4. ศึกษา วิจัย และพัฒนาการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งพืชและสัตว์ทะเลที่หายากและใกล้สูญพันธ์ุ
  5. เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ พื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และพื้นที่ที่จะใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งเพื่อประโยชน์ในการสงวน อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตลอดจนแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
  6. ส่งเสริมการมีส่วนรวมและสนับสนุนประชาชน ชุมชน ชายฝั่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการบริหารจัดการการปลูก การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
  7. เป็นศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศ
  8. ประสานความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศและต่างประเทศในด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
  9. ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และมอบอำนาจของกรมหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

หน่วยงานในสังกัด

[แก้]

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีการแบ่งส่วนราชการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2563 ดังต่อไปนี้[5]

  • กลุ่มตรวจสอบภายใน
  • กลุ่มพัฒนาระบบราชการ
  • กลุ่มปฏิบัติราชการประจำ ศรชล.
  • กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม

ทำเนียบอธิบดี

[แก้]
อธิบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ปลอดประสพ สุรัสวดี (รักษาการ) 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 21 ตุลาคม พ.ศ. 2545
2. ไมตรี ดวงสวัสดิ์ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 – 30 กันยายน พ.ศ. 2549
3. นิศากร โฆษิตรัตน์ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2549 – 30 กันยายน พ.ศ. 2551
4. สำราญ รักชาติ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552
5. วิชาญ ทวิชัย 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552 – 30 กันยายน พ.ศ. 2552
6. (1) จตุพร บุรุษพัฒน์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552
7. อดิศักดิ์ ทองไข่มุกต์ 28 เมษายน พ.ศ. 2553 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553
8. เกษมสันต์ จิณณวาโส 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554
9. บุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554 – 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555
10. นพพร ศรีสุข 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
11. ชลธิศ สุรัสวดี 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558
12. สุทธิลักษณ์ ระวิวรรณ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560
6. (2) จตุพร บุรุษพัฒน์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 – 30 กันยายน พ.ศ. 2562
13. โสภณ ทองดี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 – 30 กันยายน พ.ศ. 2565
14. อรรถพล เจริญชันษา 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566
15. ปิ่นสักก์ สุรัสวดี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy