ข้ามไปเนื้อหา

ภาคผนวก:อภิธานศัพท์

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

หน้านี้คือศัพท์ที่ใช้อธิบายเนื้อหาของพจนานุกรมแห่งนี้

กริยา, คำ–
คำที่ใช้แสดงกิริยาอาการที่ประธานกระทำหรือถูกกระทำ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน (ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "language_name_link_t" ไม่มีอยู่)
กริยาวิเศษณ์, คำ–
คำที่ใช้แสดงลักษณะหรือสมบัติเพิ่มเติมของคำกริยา คำคุณศัพท์ หรือคำกริยาวิเศษณ์อื่น เช่น เร็ว ช้า แรง เบา (ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "language_name_link_t" ไม่มีอยู่)
กลาง, เพศ–
คำที่ไม่ได้เป็นทั้งเพศชายและเพศหญิง หรือนปุงสกลิงค์ตามไวยากรณ์ (ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "language_name_link_t" ไม่มีอยู่)
กำกับนาม, คำ–
คำบ่งชี้ที่ใช้วางหน้าคำนาม โดยมากจะหมายถึงชี้เฉพาะ คือกล่าวถึงแล้วหรือเป็นที่รู้จัก หรือไม่ชี้เฉพาะ คือทั่วไปไม่เจาะจง เช่น a, an, the ในภาษาอังกฤษ (ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "language_name_link_t" ไม่มีอยู่)
ขั้นกว่า
คำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์ในรูปที่ใช้สำหรับเปรียบเทียบว่ามีลักษณะหรือสมบัติเหนือกว่าอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ดีกว่า มากกว่า สูงกว่า (=comparative)
ขั้นสุด
คำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์ในรูปที่ใช้สำหรับบ่งชี้ว่ามีลักษณะหรือสมบัติเหนือกว่าสิ่งอื่น ๆ เป็นที่สุด เช่น ดีสุด มากสุด สูงสุด (=superlative)
ข้ามภาษา
ใช้รวมกันหลาย ๆ ภาษา หรือไม่ระบุว่าเป็นของภาษาใดโดยเฉพาะ ใช้รหัสภาษาแยกคือ mul (=translingual)
เข้าคู่เสียง-ความหมาย
รับมาจากภาษาอื่น โดยใช้คำที่มีอยู่ในภาษาตนเองประกอบขึ้น ซึ่งมีการออกเสียงและความหมายคล้ายกับคำต้นแบบ (=phono-semantic matching)
คุณศัพท์, คำ–
คำที่ใช้แสดงลักษณะหรือสมบัติเพิ่มเติมของคำนาม เช่น ใหญ่ เล็ก ดำ ขาว สูง ต่ำ (=adjective)
ชาย, เพศ–
คำที่เป็นเพศชายหรือปุลลิงค์ตามไวยากรณ์ ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชายหรือสัตว์ตัวผู้ (=masculine)
ตัดทอน, คำ–

คำที่ถูกตัดให้สั้นลงโดยความหมายหรือชนิดของคำไม่เปลี่ยน อย่าสับสนกับการผันรูปย้อนกลับ (back-formation) ที่ความหมายของคำเปลี่ยน, การละ (ellipsis) ที่คำถูกตัดให้สั้นลงโดยการละเว้นไม่ใช้คำทั้งหมด, การย่อคำ (abbreviation) ที่มักใช้ในการย่อคำหรือวลีในภาษาเขียนมากกว่าภาษาพูด (ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "language_name_link_t" ไม่มีอยู่)

ไตรพจน์
คำที่ใช้กับวัตถุที่มีสามสิ่งหรือสามบุคคล (ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "language_name_link_t" ไม่มีอยู่)
ทวิพจน์
คำที่ใช้กับวัตถุที่มีสองสิ่งหรือสองบุคคล (=dual)
นับได้
คำนามที่ถูกจัดว่านับได้ สามารถแจกแจงเป็นชิ้นเป็นอันได้ (ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "language_name_link_t" ไม่มีอยู่)
นับไม่ได้
คำนามที่ถูกจัดว่านับไม่ได้ หรืออยู่เป็นกลุ่มก้อน ไม่สามารถแจงเป็นชิ้นเป็นอันได้โดยปกติ ต้องมีภาชนะหรือหน่วยสำหรับแจกแจง คำนามนับไม่ได้จะไม่มีรูปพหูพจน์ (ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "language_name_link_t" ไม่มีอยู่)
นาม, คำ–
คำที่ใช้แทนวัตถุทั่วไป เช่น คน สัตว์ พืช สิ่งของ (เรียกว่า สามานยนาม) หรือใช้แทนมโนทัศน์ เช่น ความสุข ความรัก การนั่ง การนอน (เรียกว่า อาการนาม) (ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "language_name_link_t" ไม่มีอยู่)
บ่งชี้, คำ–
คำที่ใช้บ่งชี้ ระบุ ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งใด มีเท่าใด อยู่ที่ใด ของใคร เช่น a/an the some many this that my your (=determiner)
บุพบท, คำ–
คำที่ใช้บ่งชี้ตำแหน่ง สถานที่ หรือสภาพของวัตถุหรือกิริยาอาการ โดยเขียนไว้หน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยา เช่น บน ใน ใต้ ข้าง ที่ ด้วย โดย เพื่อ (=preposition)
บุรุษที่สอง
คำที่ใช้กับตัวผู้ฟังหรือผู้อ่านประโยค (=second person)
บุรุษที่สาม
คำที่ใช้กับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ทั้งผู้พูด/ผู้เขียน และผู้ฟัง/ผู้อ่านประโยค คำนามทั้งหมดโดยทั่วไปถือว่าเป็นบุรุษที่สาม (=third person)
บุรุษที่หนึ่ง
คำที่ใช้กับตัวผู้พูดหรือผู้เขียนประโยค (=first person)
โบราณ
คำหรือความหมายที่ไม่ได้ใช้ทั่วไป แต่ยังคงพบได้ในข้อความร่วมสมัยที่ตั้งใจเขียนแบบโบราณ อย่างเช่นวรรณกรรมเชิงประวัติศาสตร์ คำโบราณนี้มีสภาพอ่อนกว่าคำที่เลิกใช้แล้ว (=archaic)
ปัจจัย
หน่วยคำที่ใช้เติมหลังคำอื่นเพื่อผันรูปหรือเพื่อให้เกิดคำใหม่ (=suffix)
ปัจฉบท, คำ–
คำที่ใช้บ่งชี้ตำแหน่ง สถานที่ หรือสภาพของวัตถุหรือกิริยาอาการ เหมือนคำบุพบทแต่เขียนไว้หลังคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยา (=postposition)
เปรียบเทียบได้
คำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์ที่สามารถเปรียบเทียบระดับของลักษณะหรือสมบัตินั้นกับสิ่งอื่นได้ (=comparable)
เปรียบเทียบไม่ได้
คำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์ที่ไม่สามารถเปรียบเทียบระดับของลักษณะหรือสมบัตินั้นกับสิ่งอื่นได้ (=uncomparable)
แปลตรงตัว
แปลมาจากภาษาอื่นมาโดยตรงคำต่อคำ โดยเฉพาะคำประสม (=calque)
แปลตรงตัวบางส่วน
แปลมาจากภาษาอื่นมาโดยตรงคำต่อคำ แต่มีบางส่วนที่ดัดแปลงหรือใช้คำอื่นแทน (=partial calque; loanblend)
ผันรูปไม่ได้
ศัพท์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงรูปเมื่อไวยากรณ์เปลี่ยนไป (=indeclinable)
พหูพจน์
คำที่ใช้กับวัตถุที่มีหลายสิ่งหรือหลายบุคคล (=plural)
พหูพจน์เท่านั้น
คำที่ใช้กับวัตถุที่มีหลายสิ่งหรือหลายบุคคลเท่านั้น ไม่มีเอกพจน์และพจน์อื่น (=plurale/pluralia tantum)
ยืม(มา)
รับมาจากภาษาอื่นซึ่งไม่ใช่ภาษาบรรพบุรุษ หรือจากคนละตระกูล-กลุ่มภาษา (ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "language_name_link_t" ไม่มีอยู่; loan; loanword)
ยืมโดยกึ่งเรียนรู้
ยืมโดยผ่านการติดต่อทางภาษาและวัฒนธรรม (เช่นเดินทางเข้ามาเผยแพร่หรือค้าขาย) ซึ่งการสะกดและการออกเสียงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มักจะเป็นคำที่ยืมมานานแล้ว (=semi-learned borrowing)
ยืมโดยไม่ดัดแปลง
ยืมโดยไม่มีการดัดแปลงให้สอดคล้องกับกฎทางวากยสัมพันธ์สัณฐาน (morphosyntax) ระบบเสียง (phonology) และ/หรือลำดับเสียง (phonotactics) ของภาษาปลายทาง เช่น cubiculum ในภาษาอังกฤษเป็นคำยืมโดยไม่ดัดแปลงจากภาษาละติน cubiculum ในขณะที่คำว่า cubicle ในภาษาอังกฤษเป็นคำยืมปกติที่มาจากคำเดียวกันในภาษาละติน คำยืมโดยไม่ดัดแปลงมักเป็นคำยืมโดยเรียนรู้ (=unadapted borrowing)
ยืมโดยเรียนรู้
ยืมโดยผ่านการเรียนรู้ โดยที่ไม่ได้ติดต่อกันโดยตรง ซึ่งการสะกดและการออกเสียงไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจุบันมักจะเป็นการทับศัพท์ (=learned borrowing)
ยืมเทียม
เสมือนยืมจากภาษาอื่น แต่แท้จริงแล้วศัพท์ในภาษานั้นไม่มี หรือมีแต่ไม่ได้ใช้เช่นนั้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ วะเซเอโงะ (和製英語) ของภาษาญี่ปุ่น (=pseudo-loan)
ยืมสองครั้ง
ศัพท์ภาษา ก ที่ยืมมาจากภาษา ข ซึ่งศัพท์นั้นในภาษา ข เคยยืมมาจากภาษา ก มาก่อน แต่การสะกดและ/หรือความหมายเปลี่ยนไปจากเดิมกลายเป็นคำใหม่ (=twice-borrowed)
ยืมอักขรวิธี
ยืมรูปเขียนและเปลี่ยนการออกเสียงให้เข้ากับธรรมเนียมของภาษาปลายทาง พบในภาษาเอเชียตะวันออกที่ใช้อักษรจีน เช่น ชื่อในภาษาจีน 毛泽东毛泽东 (Máo Zédōng) ภาษาญี่ปุ่นยืมเชิงอักขรวิธีมาเป็น 毛沢東 (Mō Takutō) สังเกตว่าการสะกดคงเดิมแต่การออกเสียงเปลี่ยนไปตามที่อักษรแต่ละตัวจะออกเสียงในภาษาญี่ปุ่น ทำให้มีการออกเสียงที่ต่างไปจากเดิมได้มาก บางครั้งการออกเสียงคำเดียวกันของภาษาต้นทางกับปลายทางไม่มีความสัมพันธ์ในเชิงศัพทมูลวิทยา เช่น 엽서 (葉書, yeopseo, “ไปรษณียบัตร”) ในภาษาเกาหลีเป็นคำยืมเชิงอักขรวิธีจากภาษาญี่ปุ่น ()(がき) (hagaki, ไปรษณียบัตร) (=orthographic borrowing)
รวม, เพศ–
คำที่สามารถเป็นเพศชายหรือเพศหญิงหรือเพศกลางก็ได้ตามไวยากรณ์ (=common)
รับ(มา)
นำเอามาจากภาษาอื่น ซึ่งอาจเป็นประเภทใดก็ได้ (=derived)
ลักษณนาม, คำ–
คำนามที่ใช้เป็นหน่วยนับของวัตถุอื่น เช่น อัน เล่ม แท่ง แผ่น ใบ (=counter; classifier)
ล้าสมัย
คำหรือความหมายที่ล้าสมัย คือมีการใช้อยู่บ้างในอดีตไม่นานมานี้ แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว เพราะมีคำอื่นใช้แทนเป็นต้น (=dated)
เลิกใช้
คำหรือความหมายที่เลิกใช้แล้ว คือไม่มีการใช้อีกต่อไปในปัจจุบัน อันเนื่องมาจากการประกาศให้เลิกใช้ หรือมีการสะกดหรือความหมายใหม่มาแทนที่ (=obsolete)
วลี
กลุ่มคำที่ประสมขึ้นและมีความหมายพิเศษ กล่าวในอีกทางหนึ่งคือ หากเปลี่ยนคำในวลีนั้นเป็นคำอื่นที่มีความหมายเหมือนกัน ความหมายของวลีก็จะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง (=phrase)
วิสามานยนาม, คำ–
คำที่ใช้แทนวัตถุจำเพาะสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเช่น วิกิพจนานุกรม นาซ่า ยูเนสโก อย่างไรก็ดี คำวิสามานยนามอาจถูกใช้เป็นคำสามานยนามด้วยก็ได้ (=proper noun)
ศูนย์กลางของคำแปล
หน่วยข้อมูลที่ประกอบด้วยหลายคำในภาษาไทยซึ่งไม่ได้เป็นสำนวน (จำนวนรวมของหลายส่วน, sum of parts) มีไว้เพียงแค่เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมคำแปลต่าง ๆ และเพื่ออำนวยความสะดวกในการไปจากหน่วยข้อมูลหนึ่งที่ไม่ใช่ภาษาไทยสู่อีกหน่วยข้อมูลหนึ่งที่ไม่ใช่ภาษาไทยเหมือนกัน ตัวอย่างคือ มีวิวัฒนาการ (=translation hub)
สกรรมกริยา, คำ–
คำกริยาที่จำเป็นต้องมีกรรมมารองรับการกระทำ เช่น กิน ถือ ให้ รับ (=transitive verb)
สรรพนาม, คำ–
คำที่ใช้แทนตัวผู้พูด ผู้ฟัง และผู้อื่นหรือวัตถุอื่นที่ได้กล่าวถึงแล้ว เช่น ผม ฉัน คุณ ท่าน เขา เธอ มัน นี้ นั้น (=pronoun)
สแลง
ถ้อยคำหรือสำนวนที่ใช้เข้าใจกันเฉพาะกลุ่มหรือชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไม่ใช่ภาษาที่ยอมรับกันว่าถูกต้อง (=slang)
สันธาน, คำ–
คำที่ใช้เชื่อมคำกับคำ หรือประโยคกับประโยค โดยมีความหมายสอดคล้อง ขัดแย้ง หรือเป็นเหตุเป็นผลกัน เช่น กับ และ แต่ ดังนั้น จึง (=conjunction)
สำนวน
วลีที่ไม่ได้มีความหมายโดยตรงตามคำที่ประสมขึ้น สามารถพบได้บ่อย เช่น ขวานผ่าซาก กินปูนร้อนท้อง ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ (=idiom)
สำนวนแปลง
สำนวนที่เปลี่ยนถ้อยคำบางส่วนจากสำนวนดั้งเดิมไปตามสถานการณ์ได้ ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้อย่างกว้างขวาง เช่น X is the new Y (X กับ Y เป็นตัวแปร) (=snowclone)
สืบทอด
พัฒนามาจากภาษาที่เป็นบรรพบุรุษ เช่น ภาษาเขมร สืบทอดจากภาษาเขมรกลาง และเขมรเก่า ตามลำดับ (=inherited)
หญิง, เพศ–
คำที่เป็นเพศหญิงหรืออิตถีลิงค์ตามไวยากรณ์ ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องเป็นผู้หญิงหรือสัตว์ตัวเมีย (=feminine)
อกรรมกริยา, คำ–
คำกริยาที่ไม่จำเป็นต้องมีกรรมมารองรับการกระทำ เช่น เดิน วิ่ง นอน พูด (=intransitive verb)
อนุภาค, คำ–
คำไม่ถูกจัดว่าเป็นวจีวิภาคประเภทใด แต่นำไปใช้แต่งเติมคำหรือประโยคเพื่อแสดงน้ำเสียง (=particle)
อาคม
หน่วยคำที่ใช้เติมกลางคำอื่นเพื่อผันรูปหรือเพื่อให้เกิดคำใหม่ (=infix)
อุทาน, คำ–
คำที่ใช้แสดงการอุทาน เช่น อุ๊ย เอ๋ โอ ส่วนมากไม่มีความหมาย แต่แสดงถึงอารมณ์ของผู้พูด (=interjection)
อุปสรรค
หน่วยคำที่ใช้เติมหน้าคำอื่นเพื่อผันรูปหรือเพื่อให้เกิดคำใหม่ (=prefix)
เอกพจน์
คำที่ใช้กับวัตถุที่มีสิ่งเดียวหรือบุคคลเดียว (=singular)
เอกพจน์เท่านั้น
คำที่ใช้กับวัตถุที่มีสิ่งเดียวหรือบุคคลเดียวเท่านั้น ไม่มีพหูพจน์และพจน์อื่น (=singulare/singularia tantum)
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy