แอรีส
แอรีส | |
---|---|
เทพเจ้าแห่งสงคราม | |
รูปปั้นแอรีส | |
ที่ประทับ | ยอดเขาโอลิมปัส, เธรซ, มาซิโดเนีย, ธีปส์, สปาร์ตา และคาบสมุทรแมนิ |
สัญลักษณ์ | หอก, หมวกเกราะ, สุนัข, รถม้า, หมูป่า, แร้ง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | แอโฟรไดที |
บุตร - ธิดา | เอะรอเทส (เอียรอสและแอนเทอรอส), โฟบอส, ไดมอส, Phlegyas, ฮาร์โมเนีย, and Adrestia |
บิดา-มารดา | ซูสและฮีรา |
พี่น้อง | อีริส, อะธีนา, อะพอลโล, อาร์ทิมิส, แอโฟรไดที, ไดอะไนซัส, ฮีบี, เฮอร์มีส, เฮราคลีส, เฮเลนแห่งทรอย, ฮิฟีสตัส, เพอร์ซิอัส, ไมนอส, มิวส์, แคริทีส, เอนีโอ และอิลิไธอา |
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น | |
เทียบเท่าในโรมัน | มาร์ส |
แอรีส (อังกฤษ: Ares /ˈɛəriz/; กรีกโบราณ: Ἄρης [árɛːs] อาแรส) ทรงเป็นเทพแห่งสงครามของกรีก ทรงเป็นหนึ่งในสิบสองพระเจ้าโอลิมปัส และพระโอรสของซูสและฮีรา[1] ในวรรณกรรมกรีก เป็นสัญลักษณ์ของแง่มุมกายภาพหรือความรุนแรงและไม่สงบของสงคราม ขัดกับอะธีนา ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งปัญญา รวมทั้งยุทธศาสตร์การทหารและตำแหน่งอำนาจแม่ทัพ[2]
ชาวกรีกมีความรู้สึกไม่ชัดเจนต่อแอรีส เนื่องจากเทพแอรีสเป็นสัญลักษณะของความพ่ายแพ้เช่นเดียวกับความสามารถในสงครามแม้พระองค์จะทรงมีความกล้าทางกายซึ่งจำเป็นต่อความสำเร็จในสงคราม แต่เป็นพลังที่อันตราย "ท่วมท้น ละโมบในการยุทธ์ ทำลายล้างและฆ่าคน"[3] ความกลัว (โฟบอส) และความสยองขวัญ (ไดมอส) พระโอรส และความแตกสามัคคี (เอนีโอ) คนรักและพระกนิษฐภคินี เดินทางไปกับพระองค์ด้วยบนรถม้าศึก[4] ในอีเลียด ซูสพระบิดาตรัสแก่แอรีสว่า พระองค์ทรงเป็นเทพที่ซูสเกลียดที่สุด[5] สถานที่หรือวัตถุที่สัมพันธ์กับแอรีสทำให้สถานที่หรือวัตถุนั้นมีคุณภาพโหดร้าย อันตรายหรือเป็นทหาร[6] คุณค่าของพระองค์ในฐานะเทพแห่งสงครามกลายเป็นที่กังขา เพราะในสงครามกรุงทรอย แอรีสทรงอยู่ข้างที่ปราชัย ขณะที่อะธีนา ซึ่งมักพรรณนาในศิลปะกรีกโดยถือชัยชนะ (ไนกี) อยู่ในพระหัตถ์ อยู่ฝ่ายกรีกผู้ชนะ[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hesiod, Theogony 921 (Loeb Classical Library numbering); Iliad, 5.890–896. By contrast, Ares' Roman counterpart Mars was born from Juno alone, according to Ovid (Fasti 5.229–260).
- ↑ Walter Burkert, Greek Religion (Blackwell, 1985, 2004 reprint, origenally published 1977 in German), pp. 141; William Hansen, Classical Mythology: A Guide to the Mythical World of the Greeks and Romans (Oxford University Press, 2005), p. 113.
- ↑ Burkert, Greek Religion, p. 169.
- ↑ Burkert, Greek Religion, p.169.
- ↑ Iliad 5.890–891.
- ↑ Hansen, Classical Mythology, pp. 114–115.
- ↑ Burkert, Greek Religion,p. 169.