Content-Length: 125197 | pFad | http://th.wikipedia.org/wiki/Bibcode_(identifier)

บิบโค้ด - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

บิบโค้ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Bibcode (identifier))
Bibcode
ชื่อเต็มBibliographic code
เริ่มคริสต์ทศวรรษ 1990
จำนวนอักษร19
เลขโดดตรวจสอบnone
ตัวอย่าง1924MNRAS..84..308E

บิบโค้ด (bibcode) หรือ เร็ฟโค้ด (refcode) เป็นตัวระบุย่อที่ใช้ในระบบข้อมูลดาราศาสตร์หลายระบบ เพื่ออ้างอิงวรรณกรรมงานใดงานหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง

การนำไปใช้

[แก้]

โดยดั้งเดิมแล้ว bibcode ซึ่งย่อมาจาก Bibliographic Reference Code (รหัสอ้างอิงบรรณานุกรม) ได้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในระบบ SIMBAD ซึ่งเป็นฐานข้อมูลดาราศาสตร์ของวัตถุที่อยู่นอกระบบสุริยะ และ NED (NASA/IPAC Extragalactic Database) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลของวัตถุที่อยู่นอกดาราจักรทางช้างเผือก แต่ต่อมากลายเป็นมาตรฐานโดยปริยาย และมีการใช้อย่างกว้างขวางมากขึ้น อย่างเช่นในระบบ Astrophysics Data System ซึ่งเป็นฐานข้อมูลออน์ไลน์ของเอกสารดาราศาสตร์และฟิสิกส์กว่า 8 ล้านฉบับ ทั้งจากแหล่งที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันหรือไม่ได้ทบทวน[1][2]

รูปแบบ

[แก้]

รหัสจะยาว 19 อักษรอย่างตายตัวโดยมีรูปแบบ

YYYYJJJJJVVVVMPPPPA

ที่ YYYY เป็นปี ค.ศ. มีสี่หมายเลขของวรรณกรรมที่อ้างอิง และ JJJJJ เป็นรหัสที่บ่งว่า วรรณกรรมที่อ้างอิงได้ตีพิมพ์ในแหล่งไหน ในกรณีที่ตีพิมพ์ในวารสาร VVVV จะเป็นเลขเล่ม (volume number) M จะระบุส่วนของวารสาร (เช่น L ในส่วนจดหมาย) PPPP จะบอกเลขหน้าขึ้นต้น และ A ก็จะเป็นอักษรแรกของนามสกุลอักษรโรมันของผู้เขียนคนแรก สำหรับเขตข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ ระบบจะใช้จุด/มหัพภาคเพื่อเติมเต็มและให้ยาวตายตัว โดยจะเติมทางด้านขวาของรหัสแหล่งตีพิมพ์ และทางด้านซ้ายของเลขเล่มและหน้า[1][2] เลขหน้าที่มากกว่า 9999 จะขยายเข้าไปในส่วน M

ส่วนรหัสบทความยาว 6 หมายเลข (แทนเลขหน้า) ที่ใช้ในวรรณกรรมฟิสิกส์ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 จะปฏิบัติดังต่อไปนี้ คือ เลขสองหลักแรกของรหัสบทความ ซึ่งเท่ากับเลขฉบับ (issue number) จะเปลี่ยนเป็นอักษรตัวเล็ก (01 = a เป็นต้น) แล้วใส่เข้าในส่วน M ส่วนเลข 4 ตัวที่เหลือจะใส่ในส่วนเลขหน้า[2]

ตัวอย่าง

[แก้]

ตัวอย่างของรหัสรวมทั้ง

Bibcode อ้างอิง
1974AJ.....79..819H Heintz, W. D. (1974). "Astrometric study of four visual binaries". The Astronomical Journal. 79: 819–825. Bibcode:1974AJ.....79..819H. doi:10.1086/111614.
1924MNRAS..84..308E Eddington, A. S. (1924). "On the relation between the masses and luminosities of the stars". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society. 84 (5): 308–332. Bibcode:1924MNRAS..84..308E. doi:10.1093/mnras/84.5.308.
1970ApJ...161L..77K Kemp, J. C.; Swedlund, J. B.; Landstreet, J. D.; Angel, J. R. P. (1970). "Discovery of circularly polarized light from a white dwarf". The Astrophysical Journal Letters. 161: L77–L79. Bibcode:1970ApJ...161L..77K. doi:10.1086/180574.
2004PhRvL..93o0801M Mukherjee, M.; Kellerbauer, A.; Beck, D.; และคณะ (2004). "The Mass of 22Mg". Physical Review Letters. 93 (15): 150801. Bibcode:2004PhRvL..93o0801M. doi:10.1103/PhysRevLett.93.150801.

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Schmitz M, Helou G, Dubois P, LaGue C, Madore BF, Corwin Jr. HG, Lesteven S (1995). "NED and SIMBAD Conventions for Bibliographic Reference Coding". ใน Egret, Daniel, Albrecht, Miguel A (บ.ก.). Information & On-Line Data in Astronomy. Kluwer Academic Publishers. ISBN 0-7923-3659-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2011.
  2. 2.0 2.1 2.2 "The ADS Data, help page". NASA ADS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2007.








ApplySandwichStrip

pFad - (p)hone/(F)rame/(a)nonymizer/(d)eclutterfier!      Saves Data!


--- a PPN by Garber Painting Akron. With Image Size Reduction included!

Fetched URL: http://th.wikipedia.org/wiki/Bibcode_(identifier)

Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy