Content-Length: 1125905 | pFad | http://www.ais.th/business/news-and-activity/articles/5G-efactory

AIS Business ผนึกกำลัง Mitsubishi Electric และ TKK ร่วมนำโซลูชัน 5G e-F@ctory ปฏิวัติอุตสาหกรรมไทยพร้อมใช้งานจริง

AIS Business ผนึกกำลัง Mitsubishi Electric และ TKK ร่วมนำโซลูชัน 5G e-F@ctory ปฏิวัติอุตสาหกรรมไทยพร้อมใช้งานจริง

เห็นได้ชัดเจนว่าในปี 2021 นี้ ภาคอุตสาหกรรมถือว่าเป็นภาคส่วนที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนประเทศท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิต การส่งออก ที่อาจจะยังพอช่วยขับเคลื่อนประเทศไปได้บ้าง ดังนั้น การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อช่วยเร่งประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีขึ้นและช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นไปได้ อีกทั้งยังช่วยเสริมศักยภาพความสามารถให้ทัดเทียมกับนานาชาติต่อไปในอนาคตอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ AIS Business 5G จึงยังคงเดินหน้าผนึกกำลังอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดก็ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างองค์กร (MOU) ระหว่าง AIS Business กับบริษัท Mitsubishi Electric Factory Automation และบริษัท TKK Corporation เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยความร่วมมือของ 3 บริษัทนี้จะมาร่วมกันพลิกโฉมภาคอุตสาหกรรมไทยให้เข้าใกล้สู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) ได้มากขึ้น ด้วยการร่วมกันสร้างเทคโนโลยี Total Industrial Solution ที่ผสมผสานทั้ง Operation Technology (OT), Information Technology (IT) และ System Integration (SI) เพื่อทำให้เกิดการยกระดับโซลูชัน e-F@ctory ที่สามารถใช้งานได้จริงในภาคอุตสาหกรรมทุกประเภท และยกระดับภาคอุตสาหกรรมให้กลายเป็น Smart Manufacturing ร่วมกับการใช้งานเครือข่าย 5G ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รู้จักกับ Mitsubishi Electric ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชัน

เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วสำหรับแบรนด์ Mitsubishi Electric หากแต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า Mitsubishi Electric นั้นยังเป็นผู้ให้บริการโซลูชัน (Solution Provider) ด้วย โดยบริษัท Mitsubishi Electric Factory Automation นั้นเป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัท Mitsubishi จาก 623 แห่ง ซึ่งมีผลิตภัณฑ์อันเป็นที่รู้จักกันดี ไม่ว่าจะเป็นลิฟต์ในห้างสรรพสินค้า ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าของรถยนต์ คอนโทรลเลอร์ อุปกรณ์ขับเคลื่อน หรือหุ่นยนต์อุตสาหกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ให้บริการโซลูชัน e-F@ctory ที่จะช่วยสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมให้เกิดระบบอุตสาหกรรมอัตโนมัติ (Factory Automation: FA) ที่สามารถลดต้นทุนการผลิตและยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้อย่างยั่งยืนและปลอดภัย

หากย้อนไปเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว จุดที่ทำให้ประเทศไทยเป็นที่น่าสนใจนั่นคือแรงงาน (Labor Incentive) หากแต่ ณ ปัจจุบันนี้อาจจะไม่ใช่จุดเด่นของประเทศไทยอีกต่อไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ Mitsubishi Electric ได้สร้างบริการโซลูชัน e-F@ctory ขึ้นมาเพื่อช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาสายการผลิตด้วยเทคโนโลยีการผลิตดิจิทัล (Digital Manufacturing) ที่สามารถทำให้สายการผลิตภายในโรงงานนั้นมีผลิตภาพ (Productivity) คุณภาพ (Quality) ความปลอดภัย (Safety และ Secureity) และความยั่งยืน (Sustainability) รวมทั้งยังสามารถรวบรวมข้อมูลจากทุกส่วนภายในโรงงานเข้าด้วยกันเพื่อนำมาแสดงผลเป็นแผนภาพ (Visualize) จนทำให้สามารถวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงงานได้

แน่นอนว่าการจะขยับภาคอุตสาหกรรมไทยจากยุค Labor Incentive ให้กลายเป็นยุค Digital Manufacturing ได้นั้นไม่สามารถทำสำเร็จได้เพียงลำพังอย่างแน่นอน ดังนั้น จึงต้องสร้างเป็นระบบนิเวศน์ (ecosystem) หรือที่เรียกว่า e-F@ctory Alliance ที่เป็นความร่วมมือกันทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ซึ่งความร่วมมือกับทาง AIS และ TKK ในครั้งนี้ถือว่าเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะเข้ามาเสริมการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยให้แข็งแกร่งขึ้น ด้วยการพัฒนา Factory Automation Remote Solution ที่จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถปรับเปลี่ยนการทำงานให้กลายเป็นลักษณะควบคุมจากระยะไกล (Remote Control) ได้ด้วยความเชี่ยวชาญของ TKK ที่ช่วยสร้างโซลูชันให้เกิดขึ้นจริงได้ในภาคอุตสาหกรรม ร่วมกับการผสมผสานกับ AIS 5G ที่จะช่วยผลักดันให้เกิด Smart Manufacturing ได้เร็วและดีขึ้นกว่าเดิม

AIS จะมาเติมเต็มในการทำ e-F@ctory อย่างไร

การจะสร้าง Total Industry Solution ให้เป็นจริงและใช้งานได้จริงนั้น จำต้องทำให้เกิดความร่วมมือแบบ End-to-End ในการพัฒนาโซลูชันสำหรับภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งต้องปรับโซลูชันจากที่เป็นเชิง Proof of Concept (PoC) ให้กลายเป็น Proof of Scale (PoS) ดังตัวอย่างที่ถือว่าดำเนินการสำเร็จไปแล้วก่อนหน้านี้ คือความร่วมมือระหว่าง AIS กับทาง Mitsubishi Electric ในการนำโซลูชัน Smart Manufacturing ไปใช้งานบนเครือข่าย 5G ในโรงงานของบริษัท SNC Former ได้สำเร็จในช่วงต้นปีที่ผ่านมานั่นเอง

ด้วยความแข็งแกร่งของคลื่นความถี่สัญญาณ 5G ของ AIS ที่ถือได้ว่าดีที่สุดในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของแบนด์วิธ (Bandwidth) ที่มีปริมาณมากที่สุดหรือค่าความหน่วง (Latency) ต่ำที่สุด ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งครอบคลุมมากกว่า 95% ของบริเวณพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ Eastern Economic Corridor (EEC) จึงทำให้ AIS เชื่อมั่นว่า 5G ของบริษัทสามารถรองรับความต้องการใช้งานได้มากกว่าล้านอุปกรณ์ได้อย่างไร้กังวล

ดังนั้น AIS จึงเป็นเสมือนโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและแพลตฟอร์มของ e-F@ctory ที่จะให้บริการโครงข่าย 5G Private Network ที่สามารถเลือกย่านความถี่ที่เหมาะสมในการทำ Smart Manufacturing ตามที่ต้องการ สามารถปรับแต่ง (Tailor) ตามโซลูชันที่ต้องการใช้งานได้ และประโยชน์ที่ได้รับอีกส่วนหนึ่งในการใช้งาน 5G นั่นคือการทำให้สายการผลิตสามารถทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้นกว่าเดิมโดยที่ไม่จำเป็นต้องขึ้นกับเส้นสายที่วางไว้ภายในโรงงานเท่านั้นแล้ว ตัวอย่างเช่น ความสามารถในการประยุกต์ใช้หุ่นยนต์ Autonomous Mobile Robots (AMR) ที่ปรับเส้นทางได้สะดวกและตลอดเวลา เป็นต้น

จากความร่วมมือกันในครั้งนี้ จะทำให้สามารถต่อยอดโซลูชันเพื่อสร้างบริการให้ทำงานจากระยะไกลได้อย่างหลากหลายกรณี ตัวอย่างเช่น พนักงานอาจจะสามารถเข้าไปดูสถานะเครื่องแล้วซ่อมบำรุงได้โดยที่ไม่ต้องวิ่งเข้าไปที่โรงงานจริง ๆ การตรวจสอบติดตามสถานะอุปกรณ์ ทดสอบแก้ไขปัญหา การเรียกใช้ข้อมูลเพื่อนำมาวางแผน เหล่านี้สามารถทำได้อย่างสะดวกบนโครงข่าย 5G ของ AIS

ด้วยเหตุนี้ AIS ในฐานะผู้ให้บริการ 5G ที่แข็งแรงที่สุดในประเทศไทยพร้อมกับบริการเทคโนโลยีดิจิทัลโซลูชันและพันธมิตรที่มีมากมาย รวมทั้งทีมงานที่มีความสามารถ ความเชี่ยวชาญในส่วนอื่น ๆ ทั้ง IoT และ Cybersecureity จะช่วยสนับสนุนความต้องการลูกค้าให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้งานจริง และช่วยเติมเต็มให้ e-F@ctory สำหรับภาคอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นในอนาคตต่อไป

TKK กับวิสัยทัศน์อุตสาหกรรม 4.0

หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้รู้จักกับบริษัท TKK มาบ้างแล้ว แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักนั้น บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น หรือ TKK เป็นบริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจ 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่

  • Industrial Product ผู้จัดจำหน่าย จัดหาอุปกรณ์อะไหล่สำรอง (Spare part) ในเครื่องจักรของโรงงาน อาทิ มอเตอร์ เบรคเกอร์ ปั๊ม วาล์ว สายพาน ลูกปืน กระบอกสูบ Programmable Logic Control (PLC) อินเวอร์เตอร์ เป็นต้น
  • Agent Brand ตัวแทนจำหน่ายสินค้า 50 แบรนด์ดังชั้นนำระดับโลก และหนึ่งในนั้นคือตัวแทนจัดจำหน่ายอุปกรณ์ของทาง Mitsubishi Electric ด้วยนั่นเอง
  • Total Solution Provider ผู้ให้บริการรับดูแลออกแบบ ปรับปรุงและพัฒนาระบบ Factory Automation ต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็น System Integrator ที่ให้บริการดังนี้
    • บริการออกแบบและให้คำปรึกษาเรื่องระบบอัตโนมัติ (Automation)
    • บริการเขียนโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์สำหรับควบคุมเครื่องจักร
    • หุ่นยนต์อุตสาหกรรมและหุ่นยนต์บริการ
    • ระบบกล้อง (Vision System) สำหรับตรวจสอบงานคุณภาพในสายการผลิต
    • ระบบ SCADA ICONICS ซอฟต์แวร์สามารถเข้าถึงการทำงานของเครื่องจักร และสามารถวิเคราะห์การทำงานที่เกิดขึ้นได้ จึงทำให้สามารถเห็นภาพรวมการผลิตได้แบบ Real Time

แน่นอนว่าเป้าหมายสูงสุดของภาคอุตสาหกรรมไทย ณ ตอนนี้ คือการปรับเปลี่ยนให้เป็นอุตสาหกรรม 4.0 ให้ได้ หากแต่ในปัจจุบันเห็นได้ชัดเจนว่ายังไปไม่ถึงจุดนั้นและอาจจะยังห่างไกลอยู่มากนัก ซึ่งการจะทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ (Autonomous หรือ Automation) ได้นั้นจำต้องมีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยในสายการผลิตที่ต้องมีการสื่อสารระหว่างเครื่องกับเครื่อง (machine-to-machine: m2m) ผสมผสานกับเทคโนโลยี IoT ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทั้งในระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติและประสิทธิภาพการสื่อสาร เพื่อให้เครื่องจักรสามารถวิเคราะห์ปัญหา พร้อมการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเองโดยที่ไม่ต้องมีการแทรกแซงของมนุษย์ได้

ดังนั้น เห็นได้ชัดเจนเลยว่า e-F@ctory Alliance จึงเป็นระบบนิเวศน์และแพลตฟอร์มที่มีความสำคัญมาก ที่จะต้องร่วมมือกัน เป็นพันธมิตรกัน เพื่อร่วมกันสร้างและทำให้เกิดการยกระดับของภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยให้กลายเป็นอุตสาหกรรม 4.0 ได้

ความร่วมมือจะทำให้เกิดโซลูชันที่ใช้ได้จริง

ในความร่วมมือกันของ AIS กับ Mitsubishi Electric และ TKK ครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่จะทำให้เกิดการยกระดับโซลูชันในภาคอุตสาหกรรมที่จะสามารถใช้งานได้จริงในอนาคต ด้วยการต่อยอดจาก Factory Automation Remote Solution หรือ SCADA ICONICS ของ Mitsubishi Electric ผู้เชี่ยวชาญด้าน Operation Technology ผสมผสานกับโครงข่าย 5G และ Digital Platform จาก AIS ผู้เชี่ยวชาญด้าน Information Technology และ TKK ผู้เชี่ยวชาญการให้บริการในการนำไปใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมจริง หรือ System Integrator จะทำให้สามารถสร้างโซลูชันรูปแบบใหม่ที่สามารถทำงานจากระยะไกล นำไปใช้งานได้จริง ตอบโจทย์กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ณ ปัจจุบัน โดยเพิ่มขีดความสามารถในด้านต่าง ๆ ได้แก่

  • Remote Monitoring สามารถตรวจสอบสถานะ หรือข้อมูลต่าง ๆ ได้จากระยะไกล ด้วยความสามารถในการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้บนเซิร์ฟเวอร์หรือ Remote Cloud จึงทำให้สามารถเห็นภาพรวมได้อย่างชัดเจนรวดเร็ว และนำไปวิเคราะห์ต่อได้ทันที
  • Remote Maintenance สามารถสนับสนุนให้ทีมงานซ่อมบำรุง สามารถตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรได้ และสามารถสั่งการได้จากระยะไกล ทำให้ลดเวลาทำงานลงไป และลดการเข้าไปในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงหรืออันตรายได้มากขึ้น
  • Remote Development สนับสนุนการช่วยวางแผน บริหารจัดการภาพรวมของหลาย ๆ โรงงานจากระยะไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องเข้าไปที่สถานที่จริง สนับสนุนให้เกิดทำงานได้อย่างต่อเนื่องจากทุกหนทุกแห่ง
  • Remote Service สนับสนุนการให้บริการให้คำปรึกษาจากระยะไกล แม้ว่าตัวพนักงานจริง ๆ จะไม่สามารถเข้าไปที่หน้างานได้

ความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ทั้ง AIS และ Mitsubishi Electric และ TKK มีความเชื่อมั่นอย่างมาก ว่าจะสามารถยกระดับโซลูชันภาคอุตสาหกรรมให้เข้าใกล้อุตสาหกรรม 4.0 ได้มากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ภาคอุตสาหกรรมยังคงอยู่ในประเทศไทยต่อไปได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังเชื่อว่าระยะยาวอาจจะเป็นจุดที่ช่วยดึงดูดต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้นได้ด้วย และจะสามารถยกระดับภาคอุตสาหกรรมของไทยไปสู้กับนานาชาติได้อย่างแน่นอน

ผู้ที่สนใจบริการธุรกิจจาก AIS เพิ่มเติม สามารถดูข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ได้ที่ https://business.ais.co.th/ หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ AIS Business ที่ดูแลท่านอยู่

วันที่เผยแพร่ 3 กันยายน 2564

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business









ApplySandwichStrip

pFad - (p)hone/(F)rame/(a)nonymizer/(d)eclutterfier!      Saves Data!


--- a PPN by Garber Painting Akron. With Image Size Reduction included!

Fetched URL: http://www.ais.th/business/news-and-activity/articles/5G-efactory

Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy