การปรับใช้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการสงคราม

การปรับใช้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการสงคราม

, บทความ

ทุกวันนี้ พลเรือนทั่วโลกต่างพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน รวมไปถึงปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และโครงสร้างพื้นฐานบนอวกาศ ในขณะเดียวกัน ภาคีคู่พิพาทในการขัดกันทางอาวุธก็ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ในทางทหารด้วย หลายปีก่อนหน้านี้ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสงคราม รวมถึงการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการตัดสินใจทางทหาร ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากความเป็นจริงอยู่มาก แต่ในปัจจุบันสถานการณ์ไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไปแล้ว คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศมีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการพึ่งพาระบบอาวุธที่มีความอิสระในระดับต่าง ๆ และระบบที่อาศัยปัญญาประดิษฐ์ในการตัดสินใจกำหนดเป้าหมายและวิธีการโจมตี อีกทั้งยังปรากฏแนวโน้มอันน่าเป็นห่วงในการขัดกันทางอาวุธปัจจุบัน ที่รัฐและฝ่ายที่ไม่ใช่รัฐใช้ปฏิบัติการไซเบอร์เพื่อขัดขวางโครงสร้างพื้นฐานที่กำกับดูแลเทคโนโลยีดิจิทัล บริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และระบบเศรษฐกิจ รวมถึงการนำเครื่องมือสื่อสารแบบดิจิทัลมาใช้เพิ่มการเข้าถึง ความรวดเร็ว ...
การสร้างสมดุลโดยสุจริตระหว่างหลักมนุษยธรรมกับความจำเป็นทางทหารในการสู้รบ

การสร้างสมดุลโดยสุจริตระหว่างหลักมนุษยธรรมกับความจำเป็นทางทหารในการสู้รบ

, บทความ

ความทุกข์ทรมานและหายนะอันเกิดจากการขัดกันทางอาวุธในปัจจุบันนั้นรุนแรงมากจนแทบจะเกินคำบรรยาย ทั้งเมืองถูกทำลายราบคาบ โรงพยาบาลเหลือเพียงซากปรักหักพัง พลเรือนต้องดิ้นรนให้มีชีวิตรอดโดยปราศจากอาหาร น้ำ ไฟฟ้า หรือการดูแลทางการแพทย์ที่เพียงพอ ผู้คนได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพถาวร จิตใจบอบช้ำอย่างแสนสาหัส และถูกสังหาร การขัดกันทางอาวุธยังทำลายระบบนิเวศ และทำให้วิกฤตสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศทั่วโลกทวีความรุนแรงอย่างรวดเร็วมากขึ้น หลักการและกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศว่าด้วยการสู้รบมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองพลเรือนและวัตถุพลเรือนจากอันตรายของปฏิบัติการทางทหาร โดยการพยายามรักษาสมดุลระหว่างความจำเป็นในการบรรลุเป้าหมายทางทหารอันชอบด้วยกฎหมายกับการจำกัดการสูญเสียชีวิต ความทุกข์ทรมาน ​การบาดเจ็บ และการทำลายล้างอันจะเกิดขึ้นจากการขัดกันทางอาวุธ แต่หลักการและกฎเกณฑ์นี้กำลังเผชิญปัญหาจากการถูกตีความอย่างกว้างจนเกินไปซึ่งบ่อนทำลายสมดุลอันละเอียดอ่อนและเจตนารมณ์ดั้งเดิมในการรักษาชีวิต เลี่ยงความเสียหายแก่พลเรือน วัตถุพลเรือน ตลอดจนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ...
การยกระดับประสิทธิภาพในการคุ้มครองประชากรซึ่งตกอยู่ในมือของภาคีคู่พิพาทในการขัดกันทางอาวุธ

การยกระดับประสิทธิภาพในการคุ้มครองประชากรซึ่งตกอยู่ในมือของภาคีคู่พิพาทในการขัดกันทางอาวุธ

, บทความ

การขัดกันทางอาวุธสร้างความทุกข์ทรมานอันไม่อาจเลี่ยงได้ แม้ในสถานการณ์ความขัดแย้งซึ่งกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศได้รับการเคารพอย่างเคร่งครัดก็ยังมีบุคคลถูกคุมขังหรือถูกสังหาร บ่อยครั้งที่ผู้คนต้องพลัดพรากจากครอบครัวหรือสูญหายไปในการสู้รบ การสูญหายของผู้คนหลายพันสร้างความโกรธและทุกข์ทรมานอย่างยาวนานแก่บุคคลอันเป็นที่รัก ส่วนการพรากเด็กจากครอบครัวก็ก่อให้เกิดความเศร้าและความทุกข์ทรมานตามมาเช่นกัน ชุดกฎเกณฑ์ทั้งหลายที่ใช้คุ้มครองบุคคลผู้ได้รับผลกระทบจากการขัดกันทางอาวุธได้รับการพัฒนาขึ้นก็เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายจากความขัดแย้งให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กฎเกณฑ์เหล่านี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าจำเป็นสำหรับการบรรเทาความทุกข์ทรมานและคุ้มครองบุคคลจากการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมหรือการถูกทำให้สูญหายในความขัดแย้ง ถึงกระนั้นก็ตาม กฎเกณฑ์เหล่านี้ได้เผชิญกับบททดสอบและข้อท้าทายมาโดยตลอด ข้อท้าทายบางอย่างมีที่มาจากการที่ภาคีคู่พิพาทในความขัดแย้งพยายามจำกัดขอบเขตความคุ้มครองให้พ้องกับการนำเสนอเรื่องราวที่มุ่งกีดกันไม่ให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่มได้รับความคุ้มครอง ในบางครั้งจึงมีบุคคลที่ถูกคุมขังโดยไม่มีการให้เหตุผลหรือไม่มีกำหนดเวลา ในกรณีเช่นนี้ บุคคลดังกล่าวย่อมตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกปฏิบัติโดยไม่เหมาะสมหรือประสบความยากลำบากทางกายภาพ นอกจากนี้ยังมีข้อท้าทายอื่นอันเกิดขึ้นจากการที่ไม่มีการดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อบังคับใช้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและป้องกันมิให้มีการละเมิดกฎหมายเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น กล่าวโดยสรุปได้ว่า ยังขาดความพยายามที่เพียงพอในการพัฒนากฎหมาย ระบบและกระบวนการอันจำเป็นเพื่อให้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศสามารถใช้คุ้มครองบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องตีความพันธกรณีตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศโดยสุจริตและให้ความสำคัญกับการปรับใช้และปฏิบัติตามกฎหมายทั้งในเชิงนโยบายและกระบวนการภายใน เพื่อให้ความคุ้มครองภายใต้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศได้รับการฟื้นฟู ท้ายที่สุด การบังคับใช้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อคุ้มครองบุคคลจากอันตรายนั้นจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญสองประการ ...
ไอซีอาร์ซีเรียกร้องรัฐเคารพข้อห้ามตามอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล

ไอซีอาร์ซีเรียกร้องรัฐเคารพข้อห้ามตามอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล

, News / ไทย

สุนทรพจน์โดย จิลส์ คาร์บอนนิเยร์ รองประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) ในโอกาสการประชุมทบทวนอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ครั้งที่ 5 ณ จังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 ฯพณฯ ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ฯพณฯ ลี ทุช ประธานการประชุมทบทวนครั้งที่ ...
សុន្ទរកថារបស់អនុប្រធាន ICRC លោក Gilles Carbonnier សន្និសីទត្រួតពិនិត្យឡើងវិញលើកទីប្រាំនៃរដ្ឋភាគី ចំពោះអនុសញ្ញាស្តីពីការហាមឃាត់ការប្រើប្រាស់ ការស្តុកទុក ការផលិត និងការផ្ទេរមីនប្រឆាំងមនុស្ស និងការបំផ្លាញចោល សៀមរាប-អង្គរ ថ្ងៃទី២៥ ខែវិច្ឆិកា ឆ្នាំ២០២៤

សុន្ទរកថារបស់អនុប្រធាន ICRC លោក Gilles Carbonnier សន្និសីទត្រួតពិនិត្យឡើងវិញលើកទីប្រាំនៃរដ្ឋភាគី ចំពោះអនុសញ្ញាស្តីពីការហាមឃាត់ការប្រើប្រាស់ ការស្តុកទុក ការផលិត និងការផ្ទេរមីនប្រឆាំងមនុស្ស និងការបំផ្លាញចោល សៀមរាប-អង្គរ ថ្ងៃទី២៥ ខែវិច្ឆិកា ឆ្នាំ២០២៤

, News / ភាសាខ្មែរ

សម្ដេចមហាបវរធិបតី ហ៊ុន ម៉ាណែត នាយករដ្ឋមន្ត្រីនៃព្រះ​រាជាណាចក្រ​កម្ពុជា ជាទីគោរព ឯក​ឧត្តម​លី ធុជ ប្រធាន​​សន្និសីទ​ត្រួត​ពិនិត្យ​ឡើង​វិញ​លើក​ទី​៥​ ឯក​ឧត្តម លោក​ជំទាវ​ លោក​ លោក​ស្រី​ និង​ក្រុម​ការងារ​ទាំង​អស់​ ជាទីគោរព និងជាទីរាប់អាន ខ្ញុំមានសេចក្តីសោមនស្សរីករាយតំណាងឱ្យ​គណៈកម្មាធិការអន្តរជាតិនៃកាកបាទក្រហម ឡើង​ថ្លែង​សុន្ទរ កថា​នៅ​ក្នុងសន្និសីទត្រួតពិនិត្យឡើង​វិញ​លើកទីប្រាំនៃអនុសញ្ញាហាមប្រាមការ​ប្រើ​ប្រាស់​មីនប្រឆាំងមនុស្ស។ ប្រទេស​កម្ពុជា​ គឺ​ជា​ផ្នែក​មួយ​នៃ​បណ្ដុំ​​ចលនា​សកល​សម្រាប់​ពិភពលោកមួយ​ដែល​​គ្មាន​មីន​ ហើយ​ខ្ញុំ​សូម​ថ្លែង​អំណរ​គុណ​ដល់​ម្ចាស់​ផ្ទះកិច្ច​ប្រជុំ ដែល​បាន​ស្វាគមន៍​ពួក​យើង​មក​កាន់​តំបន់​បេតិកភណ្ឌ​ពិភពលោក​ដ៏​ពិសេស​នេះ​នៅ​ខេត្ត​សៀម​រាប។ ខ្ញុំ​សូម​ចាប់​ផ្ដើម​ ...
ไขข้อสงสัยประเด็นกฎหมาย ‘พื้นที่สีเทา’ ‘การแข่งขัน’ ‘สงครามผสมผสาน’ หรือ ‘สงครามตัวแทน’

ไขข้อสงสัยประเด็นกฎหมาย ‘พื้นที่สีเทา’ ‘การแข่งขัน’ ‘สงครามผสมผสาน’ หรือ ‘สงครามตัวแทน’

, บทความ

สถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์โลกในปัจจุบันถูกกำหนดโดยปัจจัยด้านความตึงเครียดระหว่างรัฐ ความไม่มั่นคงภายในประเทศ การแสดงอำนาจผ่านมาตรการบีบบังคับและมาตรการแอบแฝง รวมไปถึงสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธที่เพิ่มขึ้น ในบางครั้ง มีการอธิบายสภาพการณ์อันซับซ้อนนี้ในเชิงการเมืองและการทหารว่าเป็น ‘การแข่งขัน’ ระหว่างรัฐ ในขณะที่มาตรการต่อต้านถูกนำเสนอว่าเป็น ‘สงครามผสมผสาน’ ส่วนการที่รัฐให้การสนับสนุนทั้งในทางการเมือง การเงินหรือทรัพยากรแก่ภาคีคู่พิพาทในสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธนั้น ถูกนิยามว่าเป็น ‘สงครามตัวแทน’ คำว่า ‘การแข่งขัน (competition)’ มักใช้อธิบายสภาพความเป็นคู่แข่งระหว่างรัฐต่าง ๆ ในทางการเมือง เศรษฐกิจและการทหาร คำว่า ‘ภัยคุกคามผสมผสาน ...
การห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์ ปกป้องมนุษยชาติจากความทุกข์ทรมานเกินพรรณนา

การห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์ ปกป้องมนุษยชาติจากความทุกข์ทรมานเกินพรรณนา

, บทความ

ตั้งแต่ ค.ศ. 1945 เป็นต้นมา กลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International Red Cross and Red Crescent Movement) ได้ออกมาแสดงความกังวลอย่างต่อเนื่องถึงผลกระทบด้านมนุษยธรรมที่เกิดจากพลังทำลายล้างของอาวุธนิวเคลียร์ และเรียกร้องให้รัฐต่าง ๆ ห้ามการใช้อาวุธเหล่านี้ โดยไอซีอาร์ซีได้เริ่มเรียกร้องให้มีการยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์โดยสิ้นเชิงภายหลังเหตุการณ์ทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมะ ในเหตุการณ์นั้น เจ้าหน้าที่ไอซีอาร์ซีได้เห็นความพินาศจากการใช้อาวุธนิวเคลียร์ขณะปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับสภากาชาดญี่ปุ่นในการให้ความช่วยเหลือพลเรือนจำนวนหลายหมื่นคนที่บาดเจ็บและล้มตาย ประสบการณ์ในครั้งนั้นเป็นแรงผลักดันที่สำคัญต่อการทำงานของไอซีอาร์ซีและสมาชิกในกลุ่มองค์กรกาชาดฯ ทั้งหมด ตลอดหลายทศวรรษถัดมา กลุ่มองค์กรกาชาดฯ ...
ประธานไอซีอาร์ซีเรียกร้องมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขผลกระทบทางมนุษยธรรมในเมียนมา

ประธานไอซีอาร์ซีเรียกร้องมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขผลกระทบทางมนุษยธรรมในเมียนมา

, News

ย่างกุ้ง (ไอซีอาร์ซี) – มีร์ยานา สปอลจาริก ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) เดินทางเยือนประเทศเมียนมาระหว่างวันที่ 5 ถึง 9 กันยายน ในช่วงเวลาที่สถานการณ์ในประเทศกำลังเผชิญกับทั้งความขัดแย้งและความรุนแรงที่ยกระดับขึ้นและสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมที่เลวร้ายลง ชุมชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งกำลังเผชิญความท้าทายอย่างหนักหน่วง ทั้งเรื่องการดูแลสุขภาพ สุขาภิบาล น้ำสะอาด อาหาร และที่พักพิง ระบบบริการสาธารณสุขในประเทศหยุดชะงักเพิ่มความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค ผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนเวชภัณฑ์ นอกจากนี้ สถานการณ์ความรุนแรงที่ดําเนินอยู่อย่างต่อเนื่องได้ส่งผลให้หลายพันครอบครัวต้องลี้ภัยออกจากบ้าน ...
75 ปี อนุสัญญาเจนีวา – ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศเรียกร้องให้ยกระดับความสำคัญของอนุสัญญาเจนีวาในทางการเมือง

75 ปี อนุสัญญาเจนีวา – ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศเรียกร้องให้ยกระดับความสำคัญของอนุสัญญาเจนีวาในทางการเมือง

, News

เนื่องในโอกาสครบรอบ 75 ปี อนุสัญญาเจนีวา ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม 1949 ประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) ​เรียกร้องให้ยกระดับความสำคัญของอนุสัญญาเจนีวาในทางการเมือง “อนุสัญญาเจนีวาและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศรวบรวมไว้ซึ่งหลักการสากลในการคุ้มครองชีวิตและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั่วโลก กฎหมายเหล่านี้เป็นหัวใจของการป้องกันและคุ้มครองผลกระทบอันเลวร้ายของสงคราม เป็นหลักประกันว่าทุกคน แม้กระทั่งศัตรู ต้องได้รับการปฏิบัติในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง” มีรยานา สปอลจาริก ประธานไอซีอาร์ซี กล่าว อนุสัญญาเจนีวา อันเป็นสนธิสัญญารากฐานของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ได้บรรลุผลสำเร็จหลายประการด้วยกัน ...
ในช่วงเวลาแห่งความไร้เสถียรภาพและเต็มไปด้วยความขัดแย้ง รัฐต้องร่วมมือกันธำรงรักษาและส่งเสริมกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

ในช่วงเวลาแห่งความไร้เสถียรภาพและเต็มไปด้วยความขัดแย้ง รัฐต้องร่วมมือกันธำรงรักษาและส่งเสริมกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

, News

นครเจนีวา (ไอซีอาร์ซี) – ในช่วงเวลาที่สถานการณ์โลกทวีความตึงเครียด และการขัดกันทางอาวุธเพิ่มจำนวนและระดับความรุนแรง รัฐต่าง ๆ ต้องเผชิญกับข้อกังวลด้านความมั่นคงอย่างใหญ่หลวง ส่งผลให้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศมีบทบาทสำคัญมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ไอซีอาร์ซี) จึงมีความกังวลเป็นอย่างยิ่งว่า สนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอาจถูกมองเป็นเครื่องมือที่รัฐรับรองไว้ในยามสันติและมั่นคง แต่กลับมองข้ามไปเมื่อต้องเผชิญหน้ากับภัยคุกคามความมั่นคงที่รุนแรงหรือสถานการณ์การขัดกันทางอาวุธที่ลุกลาม ซึ่งมุมมองนี้ขัดแย้งกับแนวคิดเรื่องกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างสิ้นเชิง แต่เราได้เห็นแนวโน้มของการใช้มุมมองเช่นนี้ จากกรณีที่รัฐสภาสาธารณรัฐลิทัวเนียลงคะแนนเสียงถอนตัวจากภาคีอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดพวง ซึ่งได้สร้างบรรทัดฐานครั้งสำคัญ อันเป็นสิ่งที่น่ากังวลและส่งผลอันกว้างไกลไปกว่าตัวอนุสัญญาฉบับนี้เสียอีก การรักษาและส่งเสริมกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกรัฐ ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าสถานการณ์ด้านความมั่นคงและการขัดกันทางอาวุธทั่วโลกจะแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ ก็ไม่มีรัฐใดถอนตัวจากสนธิสัญญาพหุภาคีทั้ง ...
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy