ข้ามไปเนื้อหา

กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูเอ็นเอฟซีซีซี
กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ประเภทพหุภาคี ข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม
บริบทผู้เชี่ยวชาญทางด้านสิ่งแวดล้อม
วันร่าง9 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 (1992-05-09)
วันลงนาม4–14 มิถุนายน 1992
20 มิถุนายน 1992 – 19 มิถุนายน 1993
ที่ลงนามรีโอเดจาเนโร, บราซิล
นครนิวยอร์ก, สหรัฐ
วันมีผล21 มีนาคม ค.ศ. 1994 (1994-03-21)
เงื่อนไขให้สัตยาบัน 50 ชาติ
ผู้ลงนาม165
ภาคี197
ผู้เก็บรักษาเลขาธิการสหประชาชาติ
ภาษา
ข้อความทั้งหมด
United Nations Framework Convention on Climate Change ที่ วิกิซอร์ซ

กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (อังกฤษ: United Nations Framework Convention on Climate Change หรือย่อเป็น UNFCCC หรือ FCCC) เป็นอนุสัญญาวาง “กรอบการทำงาน” ที่จำเป็นต้องมีวิธีการทางกฎหมายในการสนับสนุน (เช่นพิธีสารต่าง ๆ) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยมีเป้าหมายแบบไม่ผูกมัด เรียกร้องให้ประเทศอุตสาหกรรมลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกให้เหลือเท่ากับระดับ พ.ศ. 2533 ภายใน พ.ศ. 2543 แต่จากที่ได้ประเมินในปี พ.ศ. 2538 พบว่าเป้าหมายโดยสมัครใจนี้ไม่เพียงพอ ดังนั้นใน พ.ศ. 2538 ประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญากรอบการทำงานแห่งสหประชาชาติได้จัดตั้งกระบวนการในการเจรจาเพื่อพิธีสารที่มีเป้าหมายผูกมัดและกำหนดเวลา “ในฐานะเป็นเรื่องเร่งด่วน” ซึ่งเป็นที่มาของ พิธีสารเกียวโต ซึ่งได้รับความเห็นพ้องในเดือนธันวาคม 2540 และในที่สุดมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548

ในการประชุมประจำปีของกรอบอนุสัญญาฯ เรียกว่า การประชุมภาคี (Conference of Parties; COPS) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมคือ เจ้าหน้าที่รัฐบาล นักวิ่งเต้นจากภาคอุตสาหกรรม กรีนพีซ และอีกหลาย ๆ กลุ่ม

อ้างอิง

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy