กระทรวงวัฒนธรรม (ประเทศไทย)
เครื่องหมายราชการ ตราเปลวเพลิงภายในบุษบก | |
ตราพระพรหม | |
ภาพรวมกระทรวง | |
---|---|
ก่อตั้ง | 12 มีนาคม พ.ศ. 2495 (ครั้งแรก) 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 (ครั้งที่ 2) |
ยุบเลิก | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2501[1] (ครั้งแรก) |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 10 อาคารวัฒนธรรมวิศิษฎ์ ถนนเทียมร่วมมิตร แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร |
งบประมาณต่อปี | 7,773.7894 ล้านบาท (พ.ศ. 2562)[2] |
รัฐมนตรี | |
ฝ่ายบริหารกระทรวง |
|
ลูกสังกัดกระทรวง | |
เว็บไซต์ | www.m-culture.go.th |
กระทรวงวัฒนธรรม (อังกฤษ: Ministry of Culture) เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับวัฒนธรรม ภาษา ศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณีอื่น ๆ
ประวัติ
การดำเนินงานด้านวัฒนธรรมของชาติ มีการพัฒนาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคสมัย รูปแบบของหน่วยงานเริ่มจากกองวัฒนธรรม สภาวัฒนธรรมแห่งชาติและจัดตั้งเป็นกระทรวงวัฒนธรรมเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2495 โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมด้วย ใน พ.ศ. 2501 เนื่องจากสภาวะผันแปรทางการเมือง กระทรวงวัฒนธรรมจึงถูกยุบเลิกตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม โดยโอนย้ายไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและอื่นๆ
ต่อมากระทรวงวัฒนธรรมได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ถือเป็น 1 ใน 20 กระทรวงหลักของประเทศตามนโยบายปฏิรูประบบราชการของรัฐบาล
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559 พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ (ฉบับที่ 3) มีผลบังคับใช้ ส่งผลให้ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมต้องเป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย[3] โดยมีกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมคนแรกที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย
ตราสัญลักษณ์
ตราแรกของกระทรวงวัฒนธรรมนั้น[4]เป็นรูปพระพรหม 4 หน้า 4 หัตถ์ ประทับอยู่บนดอกบัวบานโผล่จากน้ำ หัตถ์ซ้ายบนถือสมุดดำ (หมายถึงศิลปวิทยา) หัตถ์ซ้ายล่างถือประคำ (เกี่ยวกับคะแนนนับ) หัตถ์ขวาบนถือช้อนตักเนย (แสดงว่าไม่มีอาวุธอย่างไร) หัตถ์ขวาล่างถือหม้อน้ำ (เกี่ยวกับน้ำอมฤต) ภายในกรอบวงกลมเบื้องล่างมีอักษร "กระทรวงวัฒนธรรม"
ตราสัญลักษณ์เป็นรูปดวงประทีปภายในบุษบก เหนือหมู่ลายเมฆหมอก หมายถึง ปัญญาซึ่งเป็นรากฐานของวัฒนธรรม กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบโดยศึกษาจากรูปแบบตราสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2485 และนำมาดัดแปลงปรับรูปแบบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
หน่วยงาน
ส่วนราชการในสังกัด
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมการศาสนา
- กรมศิลปากร
- กรมส่งเสริมวัฒนธรรม[5] (เดิมชื่อ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ)
- สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
- สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
องค์การมหาชน
โครงการสำคัญภายใต้กระทรวงวัฒนธรรม
- โครงการศิลปินแห่งชาติ โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- โครงการรุกข มรดกของแผ่นดิน โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- โครงการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- โครงการขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ โดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
- โครงการสรรหาศิลปินร่วมสมัยดีเด่นรางวัลศิลปาธร โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
- รางวัลเพชรในเพลง โดยกรมศิลปากร
- รางวัลวัฒนคุณาธร โดยสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
- รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา (รางวัลเสาเสมาธรรมจักร) โดยกรมการศาสนา
- รางวัลประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลเป็นปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น และผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- โครงการการแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale ...โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
- งานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ - Thailand Cultural Expo โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- งานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร - Bangkok ASEAN Film Festival
- งานเทศกาลศิลปะแห่งกรุงเทพ - Bangkok Art Festival : BAF โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
- งานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ โดยศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
- งานมหกรรมผลงานสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ - Thai Media Fund Day โดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
- งานใต้ร่มพระบารมี ... ปี กรุงรัตนโกสินทร์ โดยกระทรวงวัฒนธรรม
- กิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี โดยกรมการศาสนา
- การคัดเลือกบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรมและได้กระทำคุณความดีกระทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ ให้เป็นผู้สมควรที่จะได้รับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นที่สรรเสริญยิ่ง ดิเรกคุณาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ กระทรวงวัฒนธรรมไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เล่ม 135 ตอนที่ 71ก วันที่ 17 กันยายน 2561
- ↑ พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ (ฉบับที่ 3)
- ↑ ตราแรกของกระทรวงวัฒนธรรม
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์กระทรวงวัฒนธรรม เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน