ข้ามไปเนื้อหา

ก้อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ก้อยเนื้อ

ก้อย อาหารท้องถิ่นทางภาคอีสาน คล้ายกับลาบและส้มตำ นิยมปรุงจากเนื้อสัตว์ดิบรวมถึงไข่และตัวอ่อนของแมลงที่กินได้ เช่น เนื้อวัว เนื้อกวาง เนื้อเก้ง เนื้อหมูป่า เนื้อปลา (ตะเพียน หรือ ปลาขาว) กุ้งฝอย หอยเชอรี่ กิ้งก่า ไข่มดแดง ไข่แมงมัน ตัวอ่อนตัวต่อเป็นต้น ไม่นิยมปรุงจากเนื้อสัตว์ปีก เช่น นก เป็ด ไก่ เพราะจะมีกลิ่นคาวและเหม็นสาบรุนแรง

ในแง่วัฒนธรรมเพศสภาพ ในสังคมอีสานของประเทศไทยมีการให้ความหมายก้อยว่าเป็นอาหารของผู้ชาย มีคำกล่าวว่า “ชายต้องกินก้อยปลาถ้าไม่อยากนุ่งซิ่น” เนื่องจากเชื่อว่าของดิบเป็น “ของร้อน” ที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง[1]

คำว่า "ก้อย" มีรากศัพท์มาจากภาษาจีน คำว่า 膾 (kuài, ไคว่)

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • Joe Cummings: World Food: Thailand. Lonely Planet Publications, Hawthorn 2000, ISBN 1-86450-026-3
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy