ข้ามไปเนื้อหา

จัตุรัสทราฟัลการ์

พิกัด: 51°30′29″N 00°07′41″W / 51.50806°N 0.12806°W / 51.50806; -0.12806
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทราฟัลการ์สแควร์
จัตุรัสในปี 2009
จัตุรัสทราฟัลการ์ตั้งอยู่ในนครเวสต์มินสเตอร์
จัตุรัสทราฟัลการ์
ชื่อเดิมแชร์ริงครอสส์
ตั้งชื่อตามยุทธการทราฟัลการ์
ภายใต้การดูแลของหน่วยบริหารเกรเทอร์ลอนดอน
ที่ตั้งซิทีออฟเวสท์มินส์เตอร์, ลอนดอน, ประเทศอังกฤษ
รหัสไปรษณีย์WC2
พิกัด51°30′29″N 00°07′41″W / 51.50806°N 0.12806°W / 51.50806; -0.12806
เหนือถนนแชร์ริงครอสส์
ตะวันออกเดอะสแตรนดื์
ใต้ถนนนอร์ธัมเบอร์แลนด์
ไวทฮอล
ตะวันตกเดอะมอลล์
การก่อสร้าง
สร้างแล้วเสร็จป. 1840
อื่น ๆ
ผู้ออกแบบเซอร์ ชาลส์ บาร์รี
เว็บไซต์www.london.gov.uk/trafalgarsquare

จัตุรัสทราฟัลการ์ (อังกฤษ: Trafalgar Square; /trəˈfælɡər/ trə-fal-gər) เป็นจัตุรัสสาธารณะในซิทีออฟเวสท์มินส์เตอร์, ลอนดอนกลาง ตั้งขึ้นในสตวรรษที่ 19 ในพื้นที่ที่ในอดีตรู้จักในชื่อแชร์ริงครอสส์ ชื่อของจัตุรัสนั้นตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์ ที่ซึ่งเป็นชัยชนะของกองทัพเรือหลวงของอังกฤษในสงครามนโปเลียนิก เหนือฝรั่งเศส และ สเปน เมื่อปี 1805 ที่หาดของแหลมตราฟัลการ์

บริเวณรอบ ๆ จัตุรัสนี้เป็นสถานที่สำคัญมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1200 ระยะทางที่วัดจากแชร์ริงครอสส์ถูกใช้เป็นหมุดสถานที่เป็นเวลาหลายศตวรรษ[1] ใจกลางของจัตุรัสคือเนลซันส์คอลัมน์ซึ่งสูง 52 เมตร ล้อมรอบด้วยรูปปั้นสิงโตสี่ตัว อาคารหลัก ๆ ที่หันหน้าเข้าสู่จัตุรัสนี้ได้แก่ หอศิลป์แห่งชาติ, เซนท์มาร์ตินอินเดอะฟีลดส์, แคนาดาเฮาส์ และ เซาธ์แอฟริกาเฮาส์

ชื่อ

[แก้]

จัตุรัสนี้ได้ชื่อมาจากยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์ สงครามที่ราชนาวีอังกฤษชนะฝรั่งเศสกับสเปนในสงครามนโปเลียนในวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1805 ที่ริมชายฝั่งแหลมตราฟัลการ์ แม้ว่าก่อน ค.ศ. 1835 แหลมนี้ยังไม่มีชื่อ[2]

คำว่า "ตราฟัลการ์" เป็นคำศัพท์ภาษาสเปนที่มีต้นตอจากภาษาอาหรับ ซึ่งน่าจะสืบมาจากคำว่า เฏาะเราะฟุลฆอร (طرف الغار 'แหลมถ้ำ/ใบกระวาน')[3][4][5] หรือ เฏาะเราะฟุลฆ็อรบ์ (طرف الغرب 'ตะวันตกปลายสุด')[6][5]


อ้างอิง

[แก้]
  1. BBC. "Where Is The Centre Of London?". www.bbc.co.uk (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-08-09.
  2. Weinreb et al. 2008, p. 934.
  3. "2". 15 December 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2004.
  4. Entry algar, in DRAE dictionary
  5. 5.0 5.1 Richard Burton. "The Arabian Nights". footnote 82.
  6. Joseph E. Garreau. "A Cultural Introduction to the Languages of Europe". สืบค้นเมื่อ 25 March 2019.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy