จารุภัทร เรืองสุวรรณ
หน้าตา
จารุภัทร เรืองสุวรรณ | |
---|---|
กรรมการการเลือกตั้ง | |
ดำรงตำแหน่ง 21 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 มีนาคม พ.ศ. 2487 อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2511 – 2547 |
ยศ | พลเอก |
พลเอก ดร.จารุภัทร เรืองสุวรรณ
[แก้]พลเอก จารุภัทร เรืองสุวรรณ (เกิด 20 มีนาคม พ.ศ. 2487) อดีตกรรมการการเลือกตั้ง ฝ่ายกิจการพรรคการเมือง และเป็นอาของนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตหัวหน้า พรรคเพื่อไทย[1]
การศึกษา
[แก้]- ชันมัธยมศึกษาปีที ๖ โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จังหวัดขอนแก่น
- เตรียมอุดมศึกษาจาก โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๕
- ปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิตจาก โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ ๑๖
- ปริญญาโท Master of Public Administration จากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกี ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปริญญาเอก Doctor of Philosophy in Government จาก Claremont Graduate University ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ประกาศนียบัตร โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- ประกาศนียบัตร วิทยาลัยการทัพบก
- ปริญญาบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 40 (วปรอ 4010)
ครอบครัว
[แก้]สมรสกับ พญ.สุรภี เรืองสุวรรณ มีบุตร 2 คน ได้แก่ นายจารุภูมิ เรืองสุวรรณ และ ร้อยเอก ดร.จารุพล เรืองสุวรรณ อดีตแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อชาติ
การทำงาน
[แก้]ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน
[แก้]- ราชองครักษ์พิเศษ
- นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
- ผู้บรรยายพิเศษ วิชานโยบายสาธารณะ
ตำแหน่งหน้าที่ราชการในอดีต
[แก้]- ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
- ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑ มหาตเล็กรักษาพระองค์
- ผู้บังคับหมวด กรมนักเรียนนายร้อย รักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- อาจารย์ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ฝ่ายเสนาธิการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ฝ่ายเสนาธิการ ประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณะจันทร์)
- หัวหน้าศูนย์อำนวยการร่วม ๑๐๕ กองบัญชาการทหารสูงสุด
- รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ โครงการกองหนุนเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ
- ผู้บัญชาการสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง
- ที่ปรึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
- ผู้พิพากษาศาลทหารกรุงเทพ
ตำแหน่งหน้าที่ทางพลเรือนในอดีต
[แก้]- ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รัฐบาล ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
- อำนวยการศูนย์ประสานงานและส่งเสริมธุรกิจไทยในต่างประเทศ ทำเนียบรัฐบาล
- กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการส่งเสริมธุรกิจไทยในต่างประเทศ (การก่อสร้างและการลงทุนในต่างประเทศ)
- ผู้อำนวยการสำนักงานการตลาด โครงการพัฒนาตามพระราชดำริ
- กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ โครงการสร้างงานในชนบท
- กรรมการบริหาร การรถไฟแห่งประเทศไทย
- กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
ตำแหน่งหน้าที่ราชการในอดีตที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
[แก้]- เป็นผู้บรรยายและอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาทั้งของรัฐ-เอกชนหลายสถาบัน
- อาจารย์วิชาสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ๒๕๑๔-๒๕๒๕
- ผู้บรรยายวิชาการวัดผล-ประเมินผล คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ๒๕๒๓
- ผู้บรรยายวิชาหลักการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ๒๕๒๓-๒๕๒๖
- ผู้บรรยายวิชาภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ๒๕๒๓-๒๕๒๙, ๒๕๓๔-๒๕๓๕
- ผู้บรรยายวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ๒๕๓๗-๒๕๓๘
- ผู้บรรยายพิเศษระดับปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ๒๕๓๗-๒๕๓๘
- ผู้บรรยายระดับปริญญาโท วิชาการบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) มหาวิทยาลัยเกริก ๒๕๓๗-๒๕๔๒
- ผู้บรรยายพิเศษระดับปริญญาโท วิชาการบริหารโครงการ (Project Management) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับสถาบันวิชาการ ป้องกันประเทศ ๒๕๔๐-๒๕๔๓
- ผู้บรรยายพิเศษวิทยาลัยการทัพเรือ วิชาบทบาททหารกับการพัฒนาประเทศ ๒๕๓๕-๒๕๓๙
- ผู้บรรยายพิเศษวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ ๑-๒ ๒๕๓๑-๒๕๓๒ (ร่วมก่อตั้งหลักสูตร ปรอ. วปอ.)
- ผู้บรรยายระดับปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต วิชาระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ๒๕๕๑-๒๕๕๓
- ผู้บรรยายวิชา วิเคราะห์เศรษฐกิจไทยภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
- ผู้ริเริ่มหลักสูตรปริญญาโท ความมั่นคงร่วมสมัย และสันติภาพ ร่วมกับมหาวิทยาลัย Bristol ประเทศอังกฤษ
- ผู้บรรยายระดับปริญญาเอกวิชาภาวะผู้นำมหาวิทยาลัยกรุงเทพ-ธนบุรี
ด้านการบริหารการศึกษา
- รองผู้บัญชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทำหน้าที่รับผิดชอบบริหารด้านวิชาการ ปรับปรุงหลักสูตร และเป็นผู้ร่วมบรรยายวิชาประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ๒๕๔๐-๒๕๔๑
- ผู้บัญชาการสถาบันวิชาการทหารบกขั้นสูง บริหารสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง กองทัพบก โดยมีหน่วยขึ้นตรง ๓ สถาบัน คือ วิทยาลัยการทัพบก โรงเรียนเสนาธิการทหารบท และสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์กองทัพบท ๒๕๔๐-๒๕๔๔
- ในขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการสถาบันวิชาการทหารบทชั้นสูง ได้ริเริ่มและพัฒนาหลักสูตรปริญญาโทด้านการบริหารสันติภาพและความขัดแย้ง (Peace and Conflict Management) ตามโครงการความร่วมมือระหว่างโรงเรียนเสนาธิการทหารบก กับมหาวิทยาลัยเพื่อสันติภาพแห่งสหประชาชาติ (University for Peace of UN) ๒๕๔๑
- ในขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง ได้จัดการประชุมระหว่างประเทศด้านบริหารความขัดแย้งร่วมกับมหาวิทยาลัยสันติภาพแห่งสหประชาชาติ และมหาวิทยาลัยมหิดล และได้รับเชิญจากสถาบัน APCSS สหรัฐอเมริกา ให้เป็นผู้นำเสนอบทความเรื่องบทบาททหารในการสร้างสันติภาพใน
- การประชุมสัมมนาของสถาบันยุทธศาสตร์ของสหรัฐ (APCSS) ณ มลรัฐ Hawii ๒๕๔๒-๒๕๔๔
- ที่ปรึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ได้ร่วมสัมมนาศึกษาดูงานกับกองทัพฟินแลนด์ เรื่องสันติภาพและการบริหารความขัดแย้ง ณ เมืองนินนิชาโร่ ประเทศฟินแลนด์ ๒๕๔๔
- คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ๒๕๕๑-๒๕๕๓
- ผู้อำนวยการหลักสูตรเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ๒๕๕๑-๒๕๕๓
- รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ๒๕๕๔
การร่วมประชุมระหว่างประเทศ
[แก้]ได้เข้าร่วมประชุมทางวิชาการระหว่างประเทศหลายครั้ง อาทิ
- การประชุม Symposium ของ National Defence University at Fort McNair Washington D.C. นำเสนอบทความเรื่อง Agricultural and Regional Security
- การประชุม Biennial Conference เรื่อง Asia-Pacific Studies in a Time of Economic Recovery ณ ศูนย์ยุทธศาสตร์เพื่อความมั่นคงแห่งภาคพื้นแปซิฟิก (Asia-Pacific Center for Security Studies) มลรัฐ Hawaii สหรัฐอเมริกา นำเสนอบทความทางวิชาการเรื่อง The Role of Military in Transnational Security เมื่อ ๓๐ ส.ค.-๒ ก. ย. ๒๕๔๒
- การประชุมครั้งที่ ๔๕ ของ Asia-Pacific League for Freedom and Democracy ณ กรุง Brisbane ประเทศออสเตรเลีย นำเสนอบทความเรื่อง THailand and Transnational Security
- การประชุมเรื่อง Evolving Roles of the Military in the Asia-Pacific ณ ศูนย์ยุทธศาสตร์เพื่อความมั่นคงแห่งภาคพื้นแปซิฟิก (Asia-Pacific Center for Security Studies) มลรัฐ Hawaii สหรัฐอเมริการ นำเสนอบทความวิชาการเรื่อง Military Roles in Facing Transnational Security Threats เมื่อวันที่ ๘-๑๐ ส.ค. ๒๕๔๓
- การประชุมร่วมกับมหาวิทยาลัยเพื่อสันติภาพแห่งสหประชาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง The Evolving Role of the Miliotarty: an Informal Meeting to Discuss Cooperation in Education, Training and Research to Prevent Conflict and Promote Peaceful Relations ณ กรุงเทพฯ เมือ ๑๓-๑๕ มิ.ย.๒๕๔๔
- การประชุมของมหาวิทยาลัยเพื่อสันติภาพแห่งสหประชาชาติ กับ มหาวิทยาลัยชิงหัวแห่งกรุงปักกิ่ง เรื่อง The Meeting of the Asia Pacific Network of University and Institutions for Conflict Prevention and Peace Building in Beijing, China นำเสนอบทความเรื่อง The Third-Siders for Peace and Conflict Prevention เมื่อ ๒๒-๒๓ พ.ค. ๒๕๔๕
การเจรจาการค้า-การลงทุนและการก่อสร้าง-แรงงาน ระหว่างประเทศ
[แก้]- ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมธุรกิจไทยในต่างประเทศ ทำเนียบรัฐบาล (๒๕๒๕-๒๕๒๗)
- เจรจาการค้า - การลงทุนและการธนาคารกับธนาคารกลางของ Saudi Arabia (SAMA) เรื่องการค้างประกันการลงทุนและการขึ้นบัญชีธนาคารไทยในบัญชีรายชื่อธนาคารต่างประเทศที่สามารถค้ำประกันการลงทุนและการก่อสร้างใน Saudi Arabia
- การเจรจาการค้า - การลงทุนกับหอการค้าแห่งเมือง Jedah, Dahran เพื่อขยายฐานเศรษฐกิจการค้าไทยใน Saudi Arabia และตะวันออกกลาง
- เจราจาการค้า - การลงทุนกับหอการค้าและกระทรวงพาณิชย์แห่งประเทศ Jordan, Bahrain และ Israel
- เจรจาการค้า - การลงทุนกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และหอการค้าของพม่า ออสเตรเลีย ปาปัวนิวกีนี อิรัค คูเวต ฯลฯ
โครงการและผลงานบางประการที่เป็นผู้มีส่วนริเริ่ม
[แก้]- โครงการกองหนุนเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ
- โครงการศึกษาระดับปริญญาโท วิชาสันติภาพและการบริหารความขัดแย้ง โรงเรียนเสนาธิการทหารบกร่วมกับมหาวิทยาลัยเพื่อสันติภาพแห่งสหประชาชาติและมหาวิทยาลัยมหิดล
- โครงการศึกษาระดับปริญญาโทด้านความมั่นคงร่วมสมัยและสันติภาพ ร่วมกับมหาวิทยาลัย Bristol แห่งประเทศอังกฤษ
งานเขียน - วิทยานิพนธ์
[แก้]- Peaceful Uses of Military Forces for National Development in Thailand 1977
- ทหาร การศึกษา และการพัฒนา พ.ศ. ๒๕๓๔
- แนวทางการสร้างสันติภาพ พ.ศ. ๒๕๓๕
- ทหารกับการพัฒนาประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๗
- ชนะเลือกตั้งได้อย่างไร พ.ศ. ๒๕๓๘
- พลเอก สายหยุด เกิดผล : แนวคิดและผลงานนักคิดอาวุโส สกว. พ.ศ. ๒๕๓๘
- The Peaceful Uses of the Military Forces, June 2001
- Asia Pacific Security Threats in the New Millennium 1999-2001
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2544 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[4]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ในที่สุดวันของ "วสันต์" ก็มาถึงจนได้[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๗, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑๘, ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๙, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]หมวดหมู่:
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2487
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ราชองครักษ์พิเศษ
- ทหารบกชาวไทย
- กรรมการการเลือกตั้งไทย
- อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์
- บุคคลจากอำเภอเมืองขอนแก่น
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกี
- บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- สกุลเรืองสุวรรณ
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์