ข้ามไปเนื้อหา

จื๋อโนม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จื๋อโนม
ชนิด
ช่วงยุค
คริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงต้นศตวรรษที่ 20
ทิศทางแนวตั้งขวาไปซ้าย Edit this on Wikidata
ภาษาพูดภาษาเวียดนาม
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
อักษรจีน
  • จื๋อโนม
ระบบพี่น้อง
คันจิ, ฮันจา, สือดิบผู้จ่อง, คีตัน
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ

จื๋อโนม (เวียดนาม: chữ Nôm, 字喃/𡨸喃/𡦂喃) เป็นระบบอักษรที่ใช้เขียนภาษาเวียดนาม ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว จื๋อโนมประกอบด้วยอักษรจีน ("ฮั่นจื้อ" เรียกเป็นภาษาเวียดนามว่า "ฮ้านตึ" - Hán tự) และอักขระที่ประดิษฐ์ขึ้นตามแบบอักษรจีน ตัวอย่างที่เก่าที่สุดอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 มักนิยมใช้เฉพาะในหมู่ชนชั้นสูงของเวียดนาม โดยส่วนใหญ่ใช้บันทึกวรรณคดีเวียดนาม (งานเขียนที่เป็นทางการส่วนใหญ่จะใช้ภาษาจีนแบบแผน ไม่ใช่ภาษาเวียดนาม) ปัจจุบันถือว่าถูกแทนที่โดยสมบูรณ์ด้วยจื๋อโกว๊กหงือซึ่งดัดแปลงจากอักษรละติน

ประวัติ

[แก้]

เวียดนามถูกจีนปกครองนานนับพันปีระหว่าง พ.ศ. 432–1481 เป็นผลให้ภาษาเขียนในทางราชการเป็นภาษาจีนโบราณที่รู้จักในชื่อ "จื๋อญอ" (chữ Nho; 字儒) ในภาษาเวียดนาม จื๋อญอยังใช้ต่อมาในเวียดนามร่วมกับจื๋อโนมและจื๋อโกว๊กหงือจนถึง พ.ศ. 2461

ในช่วงประมาณ พ.ศ. 1500 ชาวเวียดนามปรับปรุงอักษรจีนใช้เขียนภาษาของตน เรียกว่าจื๋อโนมหรืออักษรใต้ ตัวอย่างที่เก่าที่สุดของอักษรนี้คือจารึกโลหะที่เจดีย์บ๋าวอาน (Bảo An) ในจังหวัดหวิญฟุก อายุราว พ.ศ. 1752 ในช่วง พ.ศ. 1800 อักษรชุดนี้ได้เริ่มมีการนำมาใช้ทางวรรณคดี กวีและนักเขียนชาวเวียดนามที่มีชื่อเสียงหลายคนเขียนงานของตนโดยใช้จื๋อโนม เช่น เหงียน เทวียน (Nguyễn Thuyên), เหงียน สี โก๊ (Nguyễn Sĩ Cố; พ.ศ. 1900), เหงียน จ๋าย (Nguyễn Trãi; พ.ศ. 2000), โห่ กวี๊ ลี (Hồ Quý Ly; พ.ศ. 1900) ผู้แปลภาษาจีนเป็นภาษาเวียดนามและเขียนประกาศของทางราชการ

ส่วนหนึ่งจาก Tự Đức Thánh Chế Tự Học Giải Nghĩa Ca ที่เขียนด้วยจื๋อโนม

เมื่อมิชชันนารีชาวตะวันตกเข้ามาถึงเวียดนามเมื่อประมาณ พ.ศ. 2200 พวกเขาได้คิดค้นการเขียนภาษาเวียดนามด้วยอักษรละติน เรียกว่า "จื๋อโกว๊กหงือ" ใช้ในหนังสือสวดมนต์และหนังสือทางศาสนา ฯลฯ อักษรนี้มีผู้ประดิษฐ์หลายคน แต่ผู้ที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคือ อาแล็กซ็องดร์ เดอ รอด (Alexandre de Rhodes) มิชชันนารีคณะเยสุอิตชาวฝรั่งเศส และต่อมาเริ่มมีการสอนจื๋อโกว๊กหงือในโรงเรียนต่าง ๆ ตั้งแต่ราว พ.ศ. 2300 เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในอีก 200 ปีต่อมา ปัจจุบัน ภาษาเวียดนามเขียนด้วยจื๋อโกว๊กหงือเพียงอย่างเดียว ส่วนจื๋อโนมใช้ในทางวิชาการเท่านั้น

จื๋อโนมเป็นรูปแบบผสมของอักษรจีนมาตรฐานกับสัญลักษณ์ที่ใช้เฉพาะภาษาเวียดนาม (อักษรจีนหลายตัวที่ถูกดัดแปลงไม่มีความหมายในภาษาจีน) ในการนำอักษรจีนมาใช้ ผู้ประดิษฐ์จื๋อโนมยืมคำจีนมาเป็นจำนวนมากและปรับให้เป็นการออกเสียงของภาษาเวียดนาม ทำให้มี 2 คำสำหรับเรียกสิ่งเดียวกันคือ คำจีน-เวียดนาม กับ คำที่มีต้นกำเนิดในภาษาเวียดนาม สัญลักษณ์ใหม่จะรวมสัญลักษณ์ที่แสดงความหมายและแสดงการออกเสียงในภาษาเวียดนาม

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy