ตัวกินมดซิลกี
ตัวกินมดซิลกี | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับใหญ่: | Xenarthra |
อันดับ: | Pilosa |
อันดับย่อย: | Vermilingua |
วงศ์: | Cyclopedidae |
สกุล: | Cyclopes Gray, 1821 |
สปีชีส์: | C. didactylus |
ชื่อทวินาม | |
Cyclopes didactylus (Linnaeus, 1758) [2] | |
ชนิดย่อย | |
ชนิดย่อย[3]
| |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ | |
ชื่อพ้อง[4] | |
|
ตัวกินมดซิลกี้ หรือ ตัวกินมดขนนุ่ม หรือ ตัวกินมดแคระ (อังกฤษ: Silky anteater, Pygmy anteater[3]; ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyclopes didactylus) เป็นตัวกินมดชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่่านั้นที่อยู่ในสกุล Cyclopes[3] และเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ Cyclopedidae ที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน เพราะอีกสกุลหนึ่ง คือ Palaeomyrmidon นั้นได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคไมโอซีนที่อาร์เจนตินา[5]
ตัวกินมดซิลกี้ เป็นตัวกินมดที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก มีความยาวตั้งแต่ปลายปากจรดปลายหาง 35-40 เซนติเมตรเท่านั้น พบกระจายพันธุ์ในป่าของอเมริกากลาง จนถึงตอนเหนือของอเมริกาใต้ในหลายประเทศ แบ่งออกได้เป็น 7 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) พบได้ในหลายประเภทของป่า ตั้งแต่ป่าชายเลนในที่ราบต่ำ จนถึงที่ราบสูงที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,500 เมตร (4,900 ฟุต)[1]
ตัวกินมดซิลกี้ มีขนที่อ่อนนุ่มตลอดทั้งตัวสีเทาจนถึงสีเหลือง และมีสีที่หลากหลายออกไปตามแต่ละชนิดย่อย ตามีขนาดเล็กสีดำ มีกรงเล็บหน้าที่แหลมคมใช้สำหรับปีนป่ายต้นไม้ เนื่องจากเป็นตัวกินมดที่อาศัยและหากินบนต้นไม้เป็นหลัก โดยมักจะหากินบนปลา่ยยอดไม้สูง อาหารที่กินจะเป็น มด เป็นอาหารหลัก เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ขณะที่เวลากลางวันจะนอนหลับด้วยการขดตัวเป็นวงกลมเหมือนลูกบอลบนต้นไม้[6]
ตัวกินมดซิลกี้ สามารถใช้ปลายหางในการเกาะเกี่ยวต้นไม้เพื่อทรงตัวได้เป็นอย่างดี จึงสามารถป่ายปีนต้นไม้หรือกิ่งไม้ได้เป็นอย่างดี แม้กระทั้งตีลังกาห้อยหัวลงมา และสามารถที่จะยืนด้วยสองขาหลัง ชูขาหน้าและกรงเล็บได้ด้วยเพื่้อเป็นการป้องกันตัว[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 จาก IUCN
- ↑ Linnæus, Carl (1758). Systema naturæ per regna tria naturæ, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis. Tomus I (ภาษาละติน) (10 ed.). Holmiæ: Laurentius Salvius. p. 35. สืบค้นเมื่อ 23 November 2012.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 จาก itis.gov
- ↑ Linnaeus, C. (1758). Systema Naturae per regna tria naturæ, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis, Tomus I. Editio decima, reformata. Holmiæ: impensis direct. Laurentii Salvii. i–ii, 1–824 pp : page 35. doi: 10.5962/bhl.title.542
- ↑ Hayssen, V., et al. (2012). "Cyclopes didactylus (Pilosa: Cyclopedidae)". Mammalian Species 44 (1): 51–58. doi:10.1644/895.1.
- ↑ 6.0 6.1 Anteaters, "Nick Baker's Weird Creatures" .สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พุธที่ 10 เมษายน 2556
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Cyclopes didactylus ที่วิกิสปีชีส์