ข้ามไปเนื้อหา

ฝ่ายมหาอำนาจกลาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาอำนาจกลาง

ค.ศ. 1914–1918
ฝ่ายมหาอำนาจกลาง เมื่อวันที่ 6 กันยายน 1915

สถานะพันธมิตรทางการทหาร
เมืองหลวง
ยุคประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
• ทวิพันธมิตร
(เยอรมนี / ออสเตรีย-ฮังการี)
7 ตุลาคม ค.ศ. 1879
• ก่อตั้ง
28 มิถุนายน ค.ศ. 1914
• พันธมิตรเยอรมัน-ออตโตมัน
2 สิงหาคม ค.ศ. 1914
• สนธิสัญญาบัลแกเรีย-เยอรมนี
  • 6 กันยายน 1915 (ทางลับ)
  • 14 ตุลาคม 1915 (สาธารณะ)
• ล่มสลาย
11 พฤศจิกายน 1918
ก่อนหน้า
ทวิพันธมิตร
ไตรพันธมิตร
พันธมิตรเยอรมัน-ออตโตมัน
พันธมิตรออตโตมัน-บัลแกเรีย
สนธิสัญญาบัลแกเรีย-เยอรมนี (ค.ศ. 1915)
  ฝ่ายสัมพันธมิตร (และรัฐในอาณัติ)
  ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (และรัฐในอาณัติ)
  ประเทศที่เป็นกลาง

ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (อังกฤษ: Central Powers; เยอรมัน: Mittelmächte; ฮังการี: Központi hatalmak; ตุรกี: İttifak Devletleri / Bağlaşma Devletleri; บัลแกเรีย: Централни сили, อักษรโรมัน: Tsentralni sili) เป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจและเป็นพันธมิตรทางการทหารกลุ่มหนึ่งในทวีปยุโรป ซึ่งร่วมมือกันต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นำโดยจักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และจักรวรรดิออตโตมัน

รัฐสมาชิก

[แก้]

ฝ่ายมหาอำนาจกลางมีสมาชิกอยู่ 4 ประเทศ

ชาติ ดินแดน เข้าร่วม WWI
คาเมรัน
โตโกแลนด์
แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้
แอฟริกาตะวันออก
นิวกินี
ซามัว
เกียวโจว
1 สิงหาคม 1914
ออสเตรีย อาร์ชดัชชีออสเตรีย
ราชอาณาจักรฮังการี
โบฮีเมีย โบฮีเมีย
แดลเมเชีย
กาลิเซียและโลโดเมเรีย
โครเอเชีย-สลาโวเนีย
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
28 กรกฎาคม 1914
 จักรวรรดิออตโตมัน   อิรัก
  ซีเรีย
29 ตุลาคม 1914
บัลแกเรีย ราชอาณาจักรบัลแกเรีย 14 ตุลาคม 1915
สถิติพลังอำนาจของฝ่ายมหาอำนาจกลาง[1]
ประชากร พื้นที่ จีดีพี
จักรวรรดิเยอรมัน (รวม อาณานิคม), 1914 67.0m (77.7m) 0.5m km2 (3.5m km2) $244.3b ($250.7b)
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี, 1914 50.6m 0.6m km2 $100.5b
จักรวรรดิออตโตมัน, 1914 23.0m 1.8m km2 $25.3b
ราชอาณาจักรบัลแกเรีย, 1915 4.8m 0.1m km2 $7.4b
รวมมหาอำนาจกลางทั้งหมดในปี 1914 151.3m 6.0m km2 $376.6b
กองกำลังทางทหารของฝ่ายมหาอำนาจกลาง[2]
กองกำลัง ทหารเสียชีวิต ทหารบาดเจ็บ ทหารหายสาบสูญ รวมกำลังพลสูญเสีย คิดเป็นร้อยละจากกำลังพลที่ระดมมา
จักรวรรดิเยอรมัน 13,250,000 1,808,546 4,247,143 1,152,800 7,208,489 66%
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี 7,800,000 922,500 3,620,000 2,200,000 6,742,500 86%
จักรวรรดิออตโตมัน 2,998,321 325,000 400,000 250,000 975,000 34%
ราชอาณาจักรบัลแกเรีย 1,200,000 75,844 153,390 27,029 255,263 21%
รวมมหาอำนาจกลางทั้งหมด 25,248,321 3,131,890 8,419,533 3,629,829 15,181,252 66%


ผู้นำในสงคราม

[แก้]
ผู้นำทางทหารช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง: จอมพลฮินเดินบวร์ค (เยอรมนี), พลเอกลูเดินดอร์ฟ (เยอรมนี), จอมพลเรือเทียร์พิทซ์ (เยอรมนี), จอมพลฟรีดริช (ออสเตรีย-ฮังการี), จอมพลเรือเฮาส์ (ออสเตรีย-ฮังการี), พลจัตวาแอนแวร์ (ออตโตมัน), พลจัตวาเคมัล (ออตโตมัน) และพลโทเซคอฟ (บัลแกเรีย)
วิลเฮล์มที่ 2, เมห์เหม็ดที่ 5, ฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 สามจักรพรรดิของฝ่ายมหาอำนาจกลาง
descrdescrdescr
descrdescr
หัวหน้ารัฐบาลฝ่ายมหาอำนาจกลาง: เทโอบัลท์ ฟ็อน เบทมัน ฮ็อลเวค (เยอรมนี), คาร์ล ฟ็อน ชเตือร์ค (ออสเตรีย), อิชต์วาน ติซอ (ฮังการี), เซด ฮาลิม พาชา (ออตโตมัน) และวาซิล ราโดสลาวอฟ (บัลแกเรีย)
แผนผังแสดงของผู้บัญชาการทหารฝ่ายมหาอำนาจกลาง

จักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิเยอรมัน

[แก้]

ออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

[แก้]

จักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิออตโตมัน

[แก้]

บัลแกเรีย ราชอาณาจักรบัลแกเรีย

[แก้]

ลำดับเหตุการณ์

[แก้]

การก่อตั้ง

[แก้]

จักรวรรดิเยอรมันเริ่มผูกมิตรกับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีตั้งแต่ พ.ศ. 2422 โดยการก่อตั้งไตรพันธมิตรและดำเนินนโยบายทางการเมืองในทางตรงข้ามกับประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซียที่รวมตัวเป็นกลุ่มไตรภาคี (ซึ่งเป็นเสาหลักของกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1)

การประกาศสงครามโลกเริ่มจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการียื่นคำขาดต่อเซอร์เบียเกี่ยวกับคดีลอบปลงพระชนม์มกุฎราชกุมาร อาร์คดยุค ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ แต่ทางการเซอร์เบียกลับปฏิเสธ ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย เยอรมนีเข้าช่วยจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ส่วนรัสเซียอยู่ข้างเดียวกับเซอร์เบีย การประกาศสงครามกับฝรั่งเศสของเยอรมนีและบุกฝรั่งเศสโดยผ่านเบลเยียมทำให้อังกฤษต้องเข้าร่วมสงครามโดยการประกาศสงครามกับเยอรมนี ทำให้สงครามนั้นขยายตัวจนกลายเป็นสงครามโลกในที่สุด

นอกจากเยอรมนีกับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีแล้ว มีชาติอื่นเข้าร่วมมือกับฝ่ายมหาอำนาจกลางอีก 2 ชาติคือ จักรวรรดิออตโตมัน (ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) และ ราชอาณาจักรบัลแกเรีย ส่วนชาติอื่น ๆ ประกาศสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจทั้งหมด รวมถึงสยาม

อิตาลี

[แก้]

การเข้าร่วมของจักรวรรดิออตโตมัน

[แก้]

จักรวรรดิออตโตมัน (ตุรกี) มีความสัมพันธ์ที่ดีกับจักรวรรดิเยอรมันมาตั้งแต่ก่อนสงครามเริ่มต้น ผู้นำชาตินิยมของตุรกีมีความทะเยอทะยานในการได้ดินแดนของศัตรูเก่า คือรัสเซีย และตุรกีโกรธแค้นที่อังกฤษยึดเรือที่ตนสั่งต่อในอังกฤษ จึงนับว่าเพียงพอแล้วที่จะเข้าร่วมสงคราม จักรวรรดิออตโตมันเข้าร่วมสงครามโดยอยู่ข้างเดียวกับฝ่ายมหาอำนาจกลางในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1914

การเข้าร่วมของบัลแกเรีย

[แก้]

ขบวนการอื่น

[แก้]

การยอมแพ้

[แก้]
แผนภูมิวงกลมแสดงจำนวนทหารฝ่ายมหาอำนาจกลางที่เสียชีวิต

บัลแกเรียเป็นชาติแรกที่ยอมแพ้เมื่อ 29 กันยายน พ.ศ. 2461 หลังจากถูกบุกโดยอังกฤษ ฝรั่งเศสและเซอร์เบียพร้อมกัน และเยอรมนีไม่อาจช่วยเหลือได้ ตุรกียอมแพ้เมื่อ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2461 ออสเตรียฯ ยอมแพ้เมื่อ 4 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน เยอรมนียอมแพ้เป็นชาติสุดท้ายเมื่อ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461

       

ระยะเวลาการยอมแพ้ของฝ่ายมหาอำนาจกลาง
ธง ชื่อ วันยอมแพ้
บัลแกเรีย บัลแกเรีย 29 กันยายน 1918
จักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิออตโตมัน 30 ตุลาคม 1918
ออสเตรีย-ฮังการี ออสเตรีย-ฮังการี 4 พฤศจิกายน 1918
จักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิเยอรมัน 11 พฤศจิกายน 1918

       

สนธิสัญญาที่ฝ่ายแพ้สงครามถูกบังคับให้ลงนามตามลำดับ
ธง ชื่อ สนธิสัญญา
ออสเตรีย ออสเตรีย สนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง
บัลแกเรีย บัลแกเรีย สนธิสัญญาเนอยี
สาธารณรัฐไวมาร์ เยอรมนี สนธิสัญญาแวร์ซาย
ราชอาณาจักรฮังการี (ค.ศ. 1920–1946) ฮังการี สนธิสัญญาทรียานง
จักรวรรดิออตโตมัน
ตุรกี
จักรวรรดิออตโตมัน
ตุรกี
สนธิสัญญาแซฟวร์ และ
สนธิสัญญาโลซาน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • ปรีชา ศรีวาลัย. สงครามโลกครั้งที่ 1. โอเดียนสโตร์. 2542
  • สมใจ ไพโรจน์ธีระรัชต์. สารานุกรมประวัติศาสตร์ยุโรปฉบับราชบัณทิตยสถาน เล่ม C-D
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy