ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอเทลสแตน
พระสาทิสลักษณ์แสดงพระเจ้าแอเทลสเตนถวายหนังสือแด่นักบุญคัธเบิร์ต
พระสาทิสลักษณ์แสดงพระเจ้าแอเทลสเตนถวายหนังสือแด่ นักบุญคัธเบิร์ต นับเป็นพระสาทิสลักษณ์ของกษัตริย์อังกฤษที่เก่าแก่ที่สุด ภาพจากเอกสารของ นักบุญบีด ชีวิตของนักบุญคัธเบิร์ต[1]ซึ่งพระเจ้าแอเทลสเตนถวายให้แท่นบูชาของนักบุญคัธเบิร์ตที่ เซสเตอร์เลอสรีต พระองค์ทรงมงกุฎที่มีลักษณะเดียวกับที่ปรากฏในเหรียญกษาปณ์ร่วมสมัย[2]
กษัตริย์แห่งชนแองโกล-แซกซอน
ครองราชย์ค.ศ. 924–ค.ศ. 927
ราชาภิเษก4 กันยายน ค.ศ. 925
ก่อนหน้าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส หรือ พระเจ้าเอลฟ์เวียร์ด
กษัตริย์แห่งชนอังกฤษ
ครองราชย์ค.ศ. 927 – 27 ตุลาคม ค.ศ. 939
ถัดไปพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1
พระราชสมภพประมาณ ค.ศ. 894
ราชอาณาจักรเวสเซกซ์
สวรรคต27 ตุลาคม ค.ศ. 939 (พระชนมายุประมาณ 45 พรรษา)
กลอสเตอร์ ราชอาณาจักรอังกฤษ
ฝังพระศพมาล์มสบรีแอบบีย์
ราชวงศ์เวสเซ็กซ์
พระราชบิดาพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส
พระราชมารดาเอ็กวิน

พระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษ (อังกฤษ: Athelstan of England; อังกฤษเก่า: Æþelstān) (ราว ค.ศ. 894 - ค.ศ. 939/ค.ศ. 940) กษัตริย์แห่งอังกฤษระหว่าง ค.ศ.924-940 โอรสของเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส เอเธลสตานนำอังกฤษสู่ความเป็นหนึ่งโดยการปกครองทั้งเมอร์เซียและเวสเซ็กซ์ พระองค์ปราบการรุกรานของชาวสก็อตแลนด์, ชาวไอร์แลนด์ และชาวสแตรธไคลด์ ที่บรูนันเบอร์ในปีค.ศ.937 พระองค์เอาชนะอาณาจักรของชาวสแกนดิเนเวียที่ตั้งรกรานอยู่ในยอร์กและเพิ่มอำนาจของอังกฤษในชายแดนของเวลส์และสก็อตแลนด์

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

พระเจ้าแอเทลสแตนเป็นพระราชโอรสพระองค์โตของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโสกับเอ็กวิน เสด็จพระราชสมภพประมาณปี ค.ศ.894 อันเป็นช่วงปลายรัชกาลของพระอัยกา พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช พระราชมารดาของพระเจ้าแอเทลสแตนไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก บางแหล่งข้อมูลบรรยายถึงพระนางว่าเป็น "ภรรยาตามกฎหมายทั่วไป" มีเหตุผลที่ทำให้สงสัยว่าพระนางมีสถานะทางสังคมที่ต่ำต้อยเกินไปสำหรับพระชายาของเจ้าชาย การอภิเษกสมรสหรือความสัมพันธ์ของเอ็ดเวิร์ดกับเอ็กวินปรากฏว่าสิ้นสุดลงก่อนที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจะขึ้นเป็นกษัตริย์

พระเจ้าแอเทลสแตนทรงถูกบันทึกไว้ว่าเป็นคนหนุ่มรูปร่างสูงและหล่อเหลาที่มีผมสีเฟล็กเซ็น (สีเหมือนป่านหรือปอ) อ่อน ในวัยหนุ่มพระองค์ได้รับเกียรติจากพระอัยกาที่ถูกพูดถึงว่าโปรดปรานพระองค์มาก เพื่อแสดงถึงความเป็นคนพิเศษพระเจ้าอัลเฟรดทรงพระราชทานเสื้อคลุมไร้แขนสีม่วงของราชวงศ์, ผ้ารัดเอวที่มีเพชรพลอย และดาบแบบแซกซ็อนที่มีฝักดาบทำจากทองคำให้แก่พระราชนัดดาซึ่งถูกบรรยายไว้ใน เกสตา เรกุม แองโกโลรัม (Gesta Regum Anglorum) ของวิลเลี่ยมแห่งมาล์มสบรี (ค.ศ.1080-1143) ว่า 'มีรูปลักษณ์ที่หล่อเหลาและกิริยาท่าทางที่สง่างาม ยังไม่รวมถึงส่วนสูงที่น่าพึงพอใจและร่างกายที่ผอมเพรียว สีผมเช่นที่เราเห็นจากรูปลักษณ์ของเขา สีเฟล็กเซ็น แซมด้วยเส้นด้ายสีทองคำ'

การขึ้นครองบัลลังก์

[แก้]
Painting of Æthelstan with Saint John of Beverley
A sixteenth-century painting in Beverley Minster in the East Riding of Yorkshire of Æthelstan with Saint John of Beverley

เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ พระเจ้าแอเทลสแตนได้รับการเลี้ยงดูโดยพระปิตุจฉาของพระองค์ เอเธลเฟลด เลดี้แห่งชนเมอร์เซีย พระองค์มีพระชนมายุ 30 พรรษาเมื่อพระราชบิดาของพระองค์สวรรคต ตามพงศาวดารแองโกลแซ็กซัน เอลฟ์เวียร์ด (ค.ศ.904-924) พระราชโอรสพระองค์ที่สองในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโสได้ขึ้นครองราชบัลลงก์เวสเซกซ์ในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ.924 ขณะที่ตัวพระเจ้าแอเทลสแตนทรงได้ครองอาณาจักรย่อยแห่งเมอร์เซีย พระเจ้าเอลฟ์เวียร์ดทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโสจากการอภิเษกสมรสกับเอลฟ์เฟลด พระมเหสีองค์ที่สอง พระองค์อาจจะไม่เคยได้รับการราชาภิเษก และเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ.924 ที่อ็อกฟอร์ด พระเจ้าเอแอเทลสแตนได้สืบทอดราชสมบัติต่อ

พระเจ้าแอเทลสแตนได้รับการสวมมงกุฎในพระราชพิธีอันโอ่โถงที่คิงส์ตันอัพพอนเทมส์ในวันที่ 4 กันยายน ค.ศ.925 คิงส์ตันเป็นสถานที่ราชาภิเษกแต่โบราณของกษัตริย์เวสเซกซ์ กษัตริย์เจ็ดพระองค์ได้รับการราชาภิเษกที่นี้ ตามธรรมเนียมโบราณ พระองค์จะประทับบนพระราชบัลลังก์ที่ตั้งอยู่บนหินขนาดใหญ่ หินยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ ตั้งอยู่นอกกิลด์ฮอลล์ที่คิงส์ตันอัพพอนเทมส์ ซึ่งมีเหรียญเงินจากรัชสมัยของกษัตริย์เวสเซกซ์แต่ละพระองค์ติดตั้งอยู่ที่ฐาน

การสบคบคิดกันต่อต้านกษัตริย์พระองค์ใหม่ก่อตัวขึ้นในเดือนแรก ๆ ของรัชสมัยของพระองค์ นำโดยอัลเฟรดซึ่งอาจจะเป็นสมาชิกของราชวงศ์แซกซอน เจ้าชายเอ็ดวิน พระอนุชาต่างมารดาของพระองค์ ทรงถูกกล่าวหาว่ามีส่วนในการสมคบคิดกบฎในปี ค.ศ. 933 แม้พระองค์ปฏิเสธว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง

พระเจ้าแอเทลสแตนทรงแคลงใจเป็นอย่างมากว่า พระอนุชาทรงมีส่วนรู้เห็นและทรงตัดสินพระทัยกำจัดพระอนุชาเสียเพื่อรักษาราชบัลลังก์ไว้ เจ้าชายเอ็ดวินทรงถูกส่งออกไปในทะเลบนเรือเก่า ๆ โดยที่ไม่มีทั้งน้ำและอาหาร ทรงถูกปล่อยให้หิวตายอย่างทรมาณ เจ้าชายเอ็ดวินจึงตัดสินพระทัยกระโดดลงทะเลและจมน้ำสิ้นพระชนม์ มีการเล่าลือว่าต่อมาพระเจ้าแอเทลสแตนเสียพระทัยในการกระทำของพระองค์และได้กระทำการทรมาณพระองค์เองเพื่อเป็นการสำนึกบาป

ภายใต้พระเจ้าแอเทลสแตน ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของพระองค์ได้เสริมสร้างอำนาจและบารมีขึ้นจนน่าเกรงขาม เราสามารถนับพระองค์ได้ว่าทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของอังกฤษที่รวมเป็นปึกแผ่น พระองค์ทรงใช้พระราชอิสริยยศว่าบาซิลัส อันแปลว่ากษัตริย์ในภาษากรีก

การรวบรวมอังกฤษ

[แก้]

เวลาส่วนใหญ่ในรัชสมัยของพระองค์มักจะหมดไปกับการต่อต้านผู้รุกรานชาวไวกิงอย่างต่อเนื่อง พระเจ้าแอเทลสแตนตัดสินพระทัยทำสนธิสัญญากับพวกเขาที่แทมเวิร์ธ โดยมีเงื่อนไขว่าพระองค์จะอภิเษกพระขนิษฐาร่วมพระราชมารดาของพระองค์ อีดิธ กับผู้นำของชาวเดนส์ ซิธริค กษัตริย์แห่งยอร์ก ซิธริคสวรรคตในปีต่อมา พระองค์จึงฉวยโอกาสนี้ยึดนอร์ธัมเบรีย อาณาจักรของพระองค์จึงมีขนาดโดยคร่าว ๆ เท่ากับอังกฤษในปัจจุบัน

เจ้าหญิงชาวเคลต์แห่งเวลส์ถวายการสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ที่แบมบะระในตอนต้นของรัชสมัยของพระองค์ พร้อมกับฮีเวล กษัตริย์แห่งเวลส์, พระเจ้าคอนสแตนตินที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ และโอเว่นแห่งเกว็นท์ พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการขับไล่ชาวคอร์นวอลล์ออกไปจากเอ็กซิเตอร์และสร้างเส้นแบ่งเขตแดนกับคอร์นวอลล์ที่แม่น้ำแทมาร์

ในปี ค.ศ.937 พระเจ้าคอนสแตนตินที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ทรงร่วมมือกับเอียวแกนแห่งสแตรธไคลด์และโอลาฟ กรุธฟริธสัน กษัตริย์แห่งดับลินรุกรานอังกฤษ พระองค์จึงเดินทัพขึ้นเหนือเพื่อประจันหน้ากับพวกเขา ทรงได้รับชัยชนะในยุทธการบรูนันเบอร์ในปี ค.ศ.937 ทรงตีกองกำลังร่วมไวกิง-สก็อตแลนด์จนแตกพ่ายไป จดหมายเหตุของอัลสเตอร์บันทึกเรื่องสมรภูมิไว้ว่า

เป็นสมรภูมิครั้งใหญ่อันน่าเศร้าและหวาดกลัว การสู้รบเป็นไปอย่างไร้ความปราณี ผู้มาจากแดนเหนือ (ไวกิง) จำนวนนับพัน ๆ คนถูกสังหาร ชาวแซกซอนจำนวนมากก็ถูกสังหารเช่นกัน แต่แอเทลสแตน กษัตริย์แห่งชาวแซกซอนก็ได้ชัยชนะอันยิ่งใหญ่ไปครอง'

ถือกันว่าบรูนันเบอร์เป็นหนึ่งในสมรภูมิที่นองเลือดที่สุดของยุค กษัตริย์ห้าพระองค์กับเอิร์ลเจ็ดคนสูญเสียชีวิตไปในการรบ อัลฟริกกับเอเธลวิน พระญาติของพระเจ้าแอเทลสแตนและบิชอปชาวแซกซอนผู้มีชื่อเสียงก็เป็นหนึ่งในผู้เสียชีวิตเช่นกัน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมรภูมิยังไม่ทราบแน่ชัด แต่แหล่งข้อมูลบางแห่งบันทึกไว้ว่าชาวแซกซอนใช้ทหารม้าจัดการกับศัตรู ขัดกับความเชื่อยอดนิยมที่ว่าพวกเขานิยมใช้ทหารราบเสียมากกว่า ทหารม้าในกองกำลังแซกซอนเป็นไปได้สูงว่าเป็นทหารรับจ้าง ตัวพงศาวดารแองโกล-แซกซอนเองไม่ได้พูดถึงการใช้ทหารม้าและอาจจะเป็นไปได้ว่าความเชื่อที่ว่าชาวแซกซอนใช้ทหารม้าเกิดจากการแปลคำว่า eorodcistum ในภาษาอังกฤษเก่าผิดไปจากเดิม ซึ่งอาจจะหมายความว่ากองกำลังที่ว่านี้ไม่ใช่ทหารม้า พระเจ้าคอนสแตนตินที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ทรงหลบหนีไปจากสนามรบหลังจากพระราชโอรสของพระองค์ถูกสังหารในสมรภูมิ

แม้จะมีชื่อเสียง แต่ที่ตั้งของสมรภูมินั้นยังไม่ชัดเจนและสถานที่มากมายได้รับการเสนอว่าเป็นจุดที่เกิดยุทธการนี้ อาทิเช่น เบิร์นสวอร์กในสก็อตแลนด์ตะวันตกเฉียงใต้, ทินสลีย์วู้ดใกล้กับเชฟฟิลด์, ยอร์กเชียร์และเอ็กมินสเตอร์ในเดวอน ทว่าบรอมโบโร่ที่แหลมวิร์รอนยังคงเป็นตัวเลือกที่เป็นไปได้ที่สุด สมรภูมิครั้งนี้เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่สำคัญของประวัติศาสตร์อังกฤษ เนื่องจากชัยชนะของพระเจ้าพระองค์ต่อกำลังร่วมของชาวนอร์สและชาวเคลต์ทำให้ชาวแองโกล-แซกซันยังคงครอบครองอาณาบริเวณที่จะกลายเป็นประเทศอังกฤษไว้ได้ และกลายเป็นรากฐานให้วัฒนธรรมและสังคมอังกฤษสืบต่อไป

พระองค์เสริมสร้างพันธมิตรทางการเมืองด้วยการอภิเษกเหล่าพระขนิษฐาของพระองค์เองกับบรรดาผู้ปกครองดินแดนต่าง ๆ ทรงอภิเษกพระขนิษฐาร่วมพระราชมารดากับซิธริค กษัตริย์ไวกิ้งแห่งยอร์วิช (ยอร์ก) ที่ชื่อเซ็ค (แปลว่าตาเข) การอภิเษกสมรสถูกจัดขึ้นที่แทมเวิร์ธและเป็นผลให้ซิธริคยอมรับพระองค์เป็นเจ้าเหนือหัวและเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ ทรงอภิเษกพระขนิษฐาต่างมารดา อีดจิธกับพระเจ้าอ็อทโทที่ 1 แห่งเยอรมนี พระขนิษฐาอีกพระองค์หนึ่ง อีดจิฟู ทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าชาร์ลที่ 3 แห่งฝรั่งเศส

พระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษสามารถบริหารปกครองและสร้างกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ กฎหมายที่พระองค์ตราขึ้นนั้นมีเนื้อหากล่าวถึงโทษของการลักขโมย การกดขี่ และการฉ้อโกง รวมถึงการลดโทษแก่ผู้กระทำผิดที่อายุน้อย พระองค์เป็นกษัตริย์ผู้เมตตาและเป็นที่นิยมและเหมือนเช่นพระปัยกา พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์ ทรงจัดหาเสบียงให้ผู้อยู่ใต้การปกครองที่ยากไร้กว่า พระองค์ทรงมีพระราชโองการโดยตรงว่าคฤหาสน์แต่ละหลังที่มีสมาชิกราชวงศ์เป็นเจ้าของต้องเสียภาษีรายปีซึ่งต้องถูกเอาไปใช้ในการบรรเทาความยากจนและขาดแคลน จดหมายเหตุของอุลสเตอร์กล่าวถึงพระองค์ว่าเป็น "เสาหลักอันทรงเกียรติของโลกตะวันตก"

การเสด็จสวรรคต

[แก้]

พระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 939 ที่กลอสเตอร์ พระชนมพรรษา 45 พรรษา หลังครองราชย์ได้ 16 ปีและเลือกที่จะถูกฝังที่มาล์มสบรีแอบบีย์ในวินต์เชียร์ ที่โปรดของพระองค์ พระองค์ถูกฝังใกล้กับแท่นบูชาของนักบุญอัลด์เฮล์มที่ทรงฝังพระญาติที่สิ้นพระชนม์ที่บรูนันเบอร์ไว้ อ้างอิงตามอนุสรณ์ของครอบครัวของพระองค์ที่วินเชสเตอร์ แม้หลุมฝังพระศพจะยังคงอยู่ แต่พระศพสูญหายไปในช่วงของการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ

วิลเลี่ยมแห่งมาล์มสบรีเขียนถึงพระองค์ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ไว้ว่า "มิมีผู้ใดเข้าใจการปกครองอาณาจักรไปดีกว่าพระองค์" ("no one more just or more learned ever governed the kingdom")

อ้างอิง

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษ

  1. "History by the Month: September and the Coronation of Æthelstan'". Parker Library, Corpus Christi College, Cambridge. 8 September 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 6 April 2016.
  2. Foot, Æthelstan: The First King of England, pp. 155–156

ดูเพิ่ม

[แก้]
ก่อนหน้า พระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษ ถัดไป
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส
พระมหากษัตริย์อังกฤษ
(ราชวงศ์เวสเซ็กซ์)

(ค.ศ. 924 – ค.ศ. 939)
พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy