ข้ามไปเนื้อหา

พฤติกรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พฤติกรรม หมายความถึง การแสดงและกิริยาท่าทางซึ่งสิ่งมีชีวิต ระบบหรืออัตลักษณ์ประดิษฐ์ ที่เกิดร่วมกันกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมระบบอื่นหรือสิ่งมีชีวิตโดยรวมเช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พฤติกรรมเป็นการตอบสนองของระบบหรือสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้าหรือการรับเข้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก มีสติหรือไม่มีสติระลึก ชัดเจนหรือแอบแฝง และโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ

ชีววิทยา

[แก้]

ในมนุษย์ เชื่อกันว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาท และเป็นที่เชื่อกันทั่วไปว่า ความซับซ้อนในพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตสัมพันธ์กับความซับซ้อนของระบบประสาท ทั่วไปแล้ว สิ่งมีชีวิตที่มีระบบประสาทซับซ้อนกว่ามีความสามารถสูงกว่าในการเรียนรู้การตอบสนองใหม่ ๆ และดังนั้น จึงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

พฤติกรรมมีทั้งที่มีมาแต่กำเนิดหรือเกิดจากการเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม การวิจัยปัจจุบันในโครงการจุลินทรีย์มนุษย์ (Human Microbiome Project) ชี้ความเป็นไปได้ที่ว่า พฤติกรรมมนุษย์อาจถูกควบคุมโดยองค์ประกอบของประชากรจุลินทรีย์ภายในร่างกายมนุษย์[1]

พฤติกรรมสามารถถือได้ว่าเป็นการแสดงออกของสิ่งมีชีวิตซึ่งเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว พฤติกรรมนำสัญญาณออกจากสิ่งมีชีวิตสู่สิ่งแวดล้อม[2]

จิตวิทยา

[แก้]

พฤติกรรมมนุษย์ และพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตอื่นและกลไก สามารถเป็นได้ทั้งที่พบได้ทั่วไป ผิดปกติ ยอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ มนุษย์ประเมินการยอมรับได้ของพฤติกรรมโดยใช้บรรทัดฐานทางสังคมและควบคุมพฤติกรรมด้วยวิธีการควบคุมทางสังคม ในทางสังคมวิทยา พฤติกรรมถูกมองว่าไม่มีความหมาย คือ การไม่ถูกชี้นำโดยบุคคลอื่นและดังนั้นจึงเป็นการแสดงออกที่พื้นฐานที่สุดของมนุษย์ แม้ว่าพฤติกรรมสามารถมีส่วนในการวินิจฉัยความผิดปกติ อาทิ กลุ่มอาการออทิซึม (autism spectrum disorders) พฤติกรรมสัตว์ได้รับการศึกษาในจิตวิทยา พฤติกรรมวิทยา นิเวศวิทยาพฤติกรรม และชีวสังคมวิทยาเปรียบเทียบ ตามค่านิยมทางจริยธรรม พฤติกรรมมนุษย์ยังอาจขึ้นอยู่กับพฤติกรรมทั่วไป ผิดปกติ ที่ยอมรับได้หรือยอมรับไม่ได้ของผู้อื่น

พฤติกรรมกลายมาเป็นแนวคิดที่สำคัญในจิตวิทยาคริสต์ศตวรรษที่ 20 ด้วยการปรากฏขึ้นของกระบวนทัศน์ ที่ในภายหลังรู้จักกันในชื่อ "พฤติกรรมนิยม" (behaviorism) พฤติกรรมนิยมเป็นปฏิกิริยาต่อต้านจิตวิทยาที่ว่าด้วยองค์ประกอบของจิต (faculty psychology) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อมองลึกเข้าไปในจิตใจหรือทำความเข้าใจจิตใจโดยปราศจากประโยชน์ของการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ พฤติกรรมนิยมตั้งมั่นในการทำงานเฉพาะแต่กับสิ่งที่มองเห็นหรือจับต้องได้ และในมุมมองแรกเริ่มของจอห์น บี. วัตสัน ผู้ก่อตั้งสาขาวิชาดังกล่าว ไม่มีสิ่งใดจะอนุมานได้ในเรื่องธรรมชาติของอัตลักษณ์ที่เป็นก่อให้เกิดพฤติกรรมนั้น การเปลี่ยนแปลงมุมมองของวัตสันต่อมาและ "การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม" นำไปสู่การเป็นที่นิยมของการวางเงื่อนไขของผลของการกระทำ (operant conditioning) หรือ "พฤติกรรมนิยมสุดขั้ว" (radical behaviorism)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Mood and gut feelings at ScienceDirect[ลิงก์เสีย]
  2. Dusenbery, David B. (2009). Living at Micro Scale, p. 124. Harvard University Press, Cambridge, Mass. ISBN 978-0-674-03116-6.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy