ข้ามไปเนื้อหา

มาตรการรัดเข็มขัด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในทางเศรษฐศาสตร์ มาตรการรัดเข็มขัด (อังกฤษ: austerity) เป็นชุดนโบบายเศรษฐศาสตร์การเมืองที่มีเป้าหมายในการลดการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลผ่านการลดค่าใช้จ่าย เพิ่มภาษี หรือทั้งสองอย่างรวมกัน[1][2][3] โดยมีมาตรการรัดเข็มขัดสามรูปแบบหลัก: ขึ้นภาษีเพื่อใช้จ่ายงบประมาณ, ขึ้นภาษีกับลดการใช้จ่าย และลดภาษีกับลดการใช้จ่าย[4] รัฐบาลลดรายจ่ายและ/หรือเพิ่มค่าธรรมเนียมการใช้เพื่อชำระเงินคืนแก่เจ้าหนี้ มาตรการรัดเข็มขัดมักจะมีความจำเป็นเมื่อรัฐบาลใช้จ่ายโดยมีรายจ่ายเกินกว่ารายรับ

สาเหตุของมาตรการ

[แก้]

มาตรการรัดเข็มขัดมักมีความจำเป็นหลังจากระดับหุ้นกู้ของรัฐบาลถูกลดระดับลง ทำให้รัฐบาลเสียค่าใช้จ่ายแพงขึ้นในการกู้ยืมเงิน หุ้นกู้ของรัฐบาลมักจะถูกลดระดับลงเมื่อหนี้สินของประเทศเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หนี้สินของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากการใช้จ่ายเกินกว่ารายรับจากภาษีอากร การใช้จ่ายเกินปริมาณดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่ออัตราภาษีถูกควบคุมให้อยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังอาจเกิดขึ้นในกรณีที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจเฉื่อยชาหรือลดลง อย่างเช่นในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย ซึ่งเป็นการลดรายรับจากภาษีอากรของรัฐบาล

ธนาคาร หรือองค์กรระหว่างรัฐบาล อย่างเช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มักต้องการให้รัฐบาลที่กู้ยืมเกินต้องออก "มาตรการรัดเข็มขัด" ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลกู้ยืมเงินที่เป็นการก่อหนี้ใหม่เพื่อชดใช้หนี้เก่า แต่รัฐบาลไม่สามารถชำระหนี้คืนได้แม้ว่าถึงกำหนดแล้วก็ตาม รัฐบาลอาจต้องขอให้มีการหยุดเงินบำรุงหรือลดการใช้จ่ายสาธารณะ

ตัวอย่างผลกระทบ

[แก้]

รายจ่ายในโครงการพัฒนา สวัสดิการ และการใช้จ่ายภาคสังคมอื่น ๆ ที่เป็นโครงการทั่วไปจะถูกตัดทอน ภาษี ค่าธรรมเนียมท่าเรือ สนามบิน และค่าโดยสารรถไฟและรถโดยสารประจำทางเป็นแหล่งรายได้ทั่วไปเพื่อเพิ่มค่าธรรมเนียมการใช้

ในหลายกรณี มาตรการรัดเข็มขัดยังส่งผลต่อระดับคุณภาพชีวิตที่ลดลงชั่วคราว จนกระทั่งสถานภาพทางเศรษฐกิจและรัฐบาลมีรายรับรายจ่ายที่สมดุลกัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Austerity measure". Financial Times Lexicon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2013. สืบค้นเมื่อ 1 March 2013.
  2. Traynor, Ian; Katie Allen (11 June 2010). "Austerity Europe: who faces the cuts". London: Guardian News. สืบค้นเมื่อ 29 September 2010.
  3. Wesbury, Brian S.; Robert Stein (26 July 2010). "Government Austerity: The Good, Bad And Ugly". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2010. สืบค้นเมื่อ 29 September 2010.
  4. Hayes, Adam (2021-03-04). "Austerity". Investopedia. สืบค้นเมื่อ 2021-04-09.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy