ข้ามไปเนื้อหา

ม่าจ้อโป๋

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความเชื่อและจารีตประเพณีม่าจ้อโป๋ *
  มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก
เทวรูปม่าจ้อโป๋ในมณฑลกวางตุ้ง
ประเทศ จีน
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล
เกณฑ์พิจารณาR.1, R.2, R.3, R.4, R.5
อ้างอิง00227
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2552 (คณะกรรมการสมัยที่ 4)
รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ม่าจ้อโป๋ (ฮกเกี้ยน: 媽祖婆), ม่าโจ้ว (แต้จิ๋ว: 媽祖), ไฮตังม่า (แต้จิ๋ว: 海東媽) หรือ มาจู่ (จีน: 媽祖) หรือ เทียนโหวเซี้ยบ้อ (แต้จิ๋ว: 天后圣母) เป็นเทวีแห่งทะเลตามคติศาสนาชาวบ้านจีน เป็นที่เคารพนับถือในหมู่ชาวฮกเกี้ยน ชาวแต้จิ๋ว และชาวจีนโพ้นทะเลที่ประกอบอาชีพประมงและเดินเรือ

มาจ้อโป๋เป็นเทพที่ได้รับการสักการะในช่วงต้นศตวรรษที่ 10 ในช่วงราชวงศ์ซ่ง ปัจจุบันการนับถือมาจ้อโป๋มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก โดยมีศาลเจ้ามาจ้อโป๋มากถึง 3,000 แห่ง และถือว่าเป็นเทพที่ได้รับการนับถือมากที่สุดของไต้หวันอีกด้วย โดยถือว่าเป็นความเชื่อหรือศาสนาพื้นถิ่นของไต้หวัน มีการก่อตั้งเป็นสมาคมขึ้นมา โดยผู้ที่เคารพนับถือจะมีพิธีกรรมเดินทางแสวงบุญด้วยเท้า ตั้งแต่เวลากลางดึก พร้อมกับขบวนแห่เทวรูปของมาจ้อโป๋ไปตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นระยะเวลานานถึง 9 วัน เชื่อกันว่าเมื่อขบวนแห่ของมาจ้อโป๋ผ่านมาถึงที่ไหน ผู้ที่อาศัยอยู่ที่นั่นจะได้รับความสงบสุข ความสามัคคีในครอบครัว ตลอดจนความสำเร็จในชีวิต และในพิธีกรรมนี้ยังมีการจัดเลี้ยงอาหารไปตลอดทางอีกด้วย

ในประเทศไทย ม่าจ้อโป๋ มักจะถูกเข้าใจผิดในหมู่ชาวไทยว่าคือเจ้าแม่ทับทิม ความจริงแล้วเจ้าแม่ทับทิมคือจุ้ยบ้วยเนี้ย (水尾聖娘) เทวีอีกองค์หนึ่งที่ถือว่าเป็นเทพแห่งท้องทะเลหรือการเดินเรือเช่นเดียวกัน จุ้ยบ้วยเนี้ยเป็นที่นับถือของชาวไหหลำ ในขณะที่ม่าจ้อโป๋เป็นที่นับถือของชาวฮกเกี้ยนและชาวแต้จิ๋ว ซึ่งในอดีตยุคที่ยังมีการค้าขายกันระหว่างไทยกับจีนด้วยเรือสำเภา ชาวไหหลำจะเดินทางมาถึงประเทศไทยในช่วงต้นปี คือ ราวเดือนมกราคม เนื่องจากเกาะไหหลำนั้นมีทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้ประเทศไทยกว่า และจะทำการสักการะบูชาจุ้ยบ้วยเนี้ย เมื่อชาวฮกเกี้ยนและแต้จิ๋วเดินทางมาถึงจะอยู่ในราวปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม เนื่องจากมณฑลกวางตุ้งและมณฑลฝูเจี้ยนตั้งอยู่ในแผ่นดินใหญ่ซึ่งไกลกว่า และก็ทำการสักการะม่าจ้อโป๋ด้วยเช่นกัน จึงทำให้เกิดความสับสนระหว่างเทพีทั้งสอง อีกทั้งเครื่องประดับยังใกล้เคียงกันอีกด้วย คือ เป็นเครื่องทรงสีแดง ทั้งนี้เกิดจากฝีมือช่างที่เกิดในประเทศไทย[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. หน้า 13 ประชาชื่น, ศาลเจ้าแม่หม่าโจ้วไม่ใช่เจ้าแม่ทับทิม. "เล้ง 1919 (LHONG 1919) ท่าเรือ ย้อนเวลาสู่ประวัติศาสตร์ไทย-จีน" โดย ธนะธัช ตังคะประเสริฐ: มติชนปีที่ 40 ฉบับที่ 14495: วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy