ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดียภาษาตุรกี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิกิพีเดียภาษาตุรกี
85%
ภาพจับหน้าจอ
หน้าหลักของวิกิพีเดียภาษาตุรกีในเดือนกันยายน ค.ศ. 2022
ประเภทสารานุกรมออนไลน์
ภาษาที่ใช้ได้ภาษาตุรกี
สำนักงานใหญ่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย
เจ้าของมูลนิธิวิกิมีเดีย
ยูอาร์แอลtr.wikipedia.org
เชิงพาณิชย์ไม่
ลงทะเบียนไม่จำเป็น
เปิดตัวธันวาคม 2002; 21 ปีที่แล้ว (2002-12)
สถานะปัจจุบันเปิดบริการ ยกเลิกการบล็อกในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2020

วิกิพีเดียภาษาตุรกี (ตุรกี: Türkçe Vikipedi) เป็นสารานุกรมวิกิพีเดียที่จัดทำขึ้นในภาษาตุรกี เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2002 ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน วิกิพีเดียภาษาตุรกีมีบทความถึง 623,789 บทความ

ประวัติ

[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2006 วิกิพีเดียภาษาตุรกีได้เข้าชิง Altın Örümcek Web Ödülleri [tr] สาขาวิทยาศาสตร์ (Golden Spider Web Awards)[1] ต่อมาในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 วิกิพีเดียภาษาตุรกีได้รับรางวัล "Best Content" โดยมีการรับรางวัลในงานรับรางวัลเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 2007 ที่มหาวิทยาลัยเทคนิคอิสตันบูล[2][3]

ใน ค.ศ. 2015 แบนเนอร์ที่แสดงความตื่นรู้ต่อความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดีย ดึงความสนใจของสื่อตุรกี[4]

เมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 2017 รัฐบาลตุรกีได้บล็อกการเข้าถึงวิกิพีเดีย[5] แม้ว่าจะไม่ระบุเหตุผลในการบล็อก ก้มีบางส่วนเชื่อว่าสารานุกรมถูกบล็อกจากการที่รัฐบาลตุรกีกังวลต่อบทความที่วิจารณ์การกระทำอย่างความร่วมมือตุรกี–ไอซิล[6][7] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 ศาลสูงสุดของตุรกีตัดสินให้การแบนละเมิดเสรีภาพในการพูด จากนั้นในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2020 จึงได้ยกเลิกการแบน หลังแบนไป 991 วัน[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "5. Altın Örümcek Web Ödülleri".
  2. "Altın Örümcek - Geçmiş Yıllar - Değerlendirme Süreci". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2015. สืบค้นเมื่อ 25 August 2015.
  3. "Altın Örümcek ödülleri açıklandı".
  4. "Google 8 Mart Dünya Kadınlar Günü doodle'ı hazırladı" (ภาษาตุรกี). Radikal. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
  5. "Turkish authorities block Wikipedia". BBC News. BBC. 29 April 2017. สืบค้นเมื่อ 29 April 2017.
  6. "Terör destekçisi Wikipedia'ya yasak" (ภาษาตุรกี). Sabah. สืบค้นเมื่อ 1 May 2017.
  7. "Turkey blocks Wikipedia over what it calls terror 'smear campaign'" (ภาษาอังกฤษ). CNN. สืบค้นเมื่อ 1 May 2017.
  8. "Turkey restores access to Wikipedia after 991 days". NetBlocks. 15 January 2020. สืบค้นเมื่อ 15 January 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy