ข้ามไปเนื้อหา

สถานีสีลม

พิกัด: 13°43′45″N 100°32′15″E / 13.7292°N 100.5375°E / 13.7292; 100.5375
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สีลม
BL26

Si Lom
ทางเข้าสถานีเชื่อมต่อจากบีทีเอสสถานีศาลาแดง
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนพระรามที่ 4 เขตบางรัก และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°43′45″N 100°32′15″E / 13.7292°N 100.5375°E / 13.7292; 100.5375
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาต่างระดับ
ทางวิ่ง2
การเชื่อมต่อ ศาลาแดง (เชื่อมต่อนอกสถานี)
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL26
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-07-03)
ผู้โดยสาร
25645,333,875
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
สามย่าน
มุ่งหน้า หลักสอง
สายสีน้ำเงิน ลุมพินี
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
ราชดำริ สายสีลม
เชื่อมต่อที่ ศาลาแดง
ช่องนนทรี
มุ่งหน้า บางหว้า
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีสีลม (อังกฤษ: Si Lom Station, รหัส BL26) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกศาลาแดง มีทำเลอยู่ใจกลางเมืองในย่านธุรกิจถนนสีลม

ที่ตั้ง

[แก้]

ใต้ผิวถนนพระรามที่ 4 บริเวณสี่แยกศาลาแดงด้านทิศตะวันออก หน้าสวนลุมพินี จุดบรรจบของถนนพระรามที่ 4, ถนนสีลม และถนนราชดำริ ในพื้นที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน และแขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร

แผนผังสถานี

[แก้]
2
สะพานลอย
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สีลม เอดจ์, ศาลาแดง
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, สวนลุมพินี, ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค
B1
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-2, ห้องขายบัตรโดยสาร
เครื่องขายบัตรโดยสาร
B2
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
B4
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง

รายละเอียดสถานี

[แก้]

สัญลักษณ์ของสถานี

[แก้]
"พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว" สัญลักษณ์ของสถานี

ตราสัญลักษณ์เป็นรูปพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่อยู่ด้านหน้าสวนลุมพินีและยังเป็นจุดที่ตั้งสถานีสีลม โดยใช้สีน้ำเงินเพื่อบ่งบอกถึงจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟลอยฟ้ากับรถไฟฟ้าใต้ดิน[1]

รูปแบบของสถานี

[แก้]

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 30 เมตร ยาว 156 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 30 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาต่างระดับ (Station with Stack Platform) เนื่องจากถนนพระรามที่ 4 ขาออกมีท่อส่งน้ำของการประปานครหลวง ทำให้ต้องสร้างอุโมงค์ซ้อนกัน

ความโดดเด่นของโครงสร้างสถานี

[แก้]
บันไดเลื่อนลงไปยังชานชาลาที่ 1 ความยาว 43 เมตร
  • เป็นสถานีที่อยู่ลึกมากที่สุดในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ถึง 30 เมตรจากระดับพื้นดิน
  • มีบันไดเลื่อนสถานีรถไฟฟ้ายาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากชั้นออกบัตรโดยสารสู่ชานชาลาชั้นล่าง ยาวถึง 43 เมตร
  • การก่อสร้างอุโมงค์สถานี จำเป็นต้องตัดเสาเข็มตอม่อสะพานลอยไทย-ญี่ปุ่น เนื่องจากเดิมตอม่อได้ฝังที่ระดับความลึก 28 เมตร แต่ส่วนบนสุดของสถานีจะอยู่ที่ระดับความลึก 30 เมตรจากพื้นดิน ซึ่งห่างกันเพียง 2 เมตร จึงได้ใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างจากประเทศเยอรมนี โดยค้ำยันฐานรากสะพานระหว่างที่ตัดเสาตอม่อ (under pining) ก่อนถ่ายน้ำหนักตัวสะพานลงบนหลังคาสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ดังนั้นในปัจจุบันตัวสถานีจึงทำหน้าที่เป็นตอม่อสะพานแทน โดยระหว่างการก่อสร้างสถานีที่มีการตัดเสาเข็มออก สะพานลอยไทย-ญี่ปุ่นยังสามารถเปิดการจราจรได้ตามปกติ

ทางเข้า-ออกสถานี

[แก้]
ทางเข้า-ออกที่ 1 หน้าสวนลุมพินี
ทางเข้า-ออกที่ 2 เชื่อมต่อกับสะพานลอยไปยังสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ศาลาแดง และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • 1 หน้าสวนลุมพินี ด้านหลังพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 (ลิฟต์, บันไดเลื่อนขึ้นและลง)
  • 2 ศาลาแดง (สะพานเชื่อม), ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค, ถนนสีลม, โรงพยาบาลจุฬาฯ (สะพานเชื่อม), อาคารสีลมเอจ (สะพานเชื่อม), โรงแรมคราวน์พลาซ่า กรุงเทพฯ ลุมพินีพาร์ก (ลิฟต์, บันไดเลื่อนขึ้นและลงสำหรับทางเข้า-ออก ส่วนสะพานเชื่อมมีเฉพาะบันไดเลื่อนขึ้น)

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี

[แก้]

แบ่งเป็น 2 ชั้นเหนือพื้นดิน และ 4 ชั้นใต้ดิน ประกอบด้วย

  • 2 สะพานลอย
  • G ระดับถนน
  • B1 ชั้นออกบัตรโดยสาร
  • B2 ชั้นชานชาลา หมายเลข 2 มุ่งหน้าสถานีลุมพินี และสถานีปลายทางท่าพระ (ผ่านบางซื่อ)
  • B3 ชั้นห้องเครื่อง
  • B4 ชั้นชานชาลา หมายเลข 1 มุ่งหน้าสถานีสามย่าน และสถานีปลายทางหลักสอง

สิ่งอำนวยความสะดวก

[แก้]
  • ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ที่ทางเข้า-ออกที่ 1 และ 2

เวลาให้บริการ

[แก้]
ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีน้ำเงิน[2]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ – ศุกร์ 05:54 00:04
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 06:01 00:04
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ – ศุกร์ 05:57 23:34
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:58 23:34
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 22:47

จุดเชื่อมต่อการเดินทาง

[แก้]

รถโดยสารประจำทาง

[แก้]

ถนนพระราม 4

[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ผู้ให้บริการ ประเภทของรถที่ให้บริการ หมายเหตุ
4 4
(กปด.14)
ท่าเรือคลองเตย ท่านํ้าภาษีเจริญ ขสมก. รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
4 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน
21E (4-7E) Handicapped/disabled access 5
(กปด.15)
วัดคู่สร้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) เดินรถฝั่งขาเข้าเท่านั้น
45 3
(กปด.13)
รถโดยสารประจำทาง อู่ปู่เจ้าสมิงพราย ท่านํ้าสี่พระยา รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
47 4
(กปด.14)
ท่าเรือคลองเตย กรมที่ดินฯ รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
50 7
(กปด.27)
สะพานพระราม 7 สวนลุมพินี รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
50 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
67 8
(กปด.18)
วัดเสมียนนารี เซ็นทรัลพระราม 3 รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
67 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
67 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
141 5
(กปด.25)
รถโดยสารประจำทาง อู่แสมดำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
141 Handicapped/disabled access รถโดยสารประจำทางปรับอากาศใช้ก๊าซธรรมชาติ NGV
รถเอกชน
3-36 (4) ท่าเรือคลองเตย ท่านํ้าภาษีเจริญ
3-39 (14) ถนนตก ศรีย่าน
3-10 (46) ม.รามคําแหง 2 สี่พระยา
74 คลองเตย ห้วยขวาง
1-45 (115) สวนสยาม บางรัก
4-26 (167) เคหะธนบุรี สวนลุมพินี
507 สําโรง สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ใหม่ (ตลิ่งชัน)
  • ถนนพระรามที่ 4 หน้าสวนลุมพินี สาย 4 14 45 46 47 67 74 76 115 141 507
ถนนพระรามที่ 4 (หน้าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์)
สายที่ ต้นทาง ปลายทาง หมายเหตุ
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
4 ท่าเรือคลองเตย ท่านํ้าภาษีเจริญ
4 ท่าเรือคลองเตย ท่านํ้าภาษีเจริญ
45 สําโรง สี่พระยา
47 ท่าเรือคลองเตย สํานักงานที่ดินกรุงเทพ
50 พระราม 7 สวนลุมพินี
67 วัดเสมียนนารี เซ็นทรัลพระราม 3
67 วัดเสมียนนารี เซ็นทรัลพระราม 3
67 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เซ็นทรัลพระราม 3
141 แสมดำ จุฬาฯ
รถเอกชน
3-36 (4) ท่าเรือคลองเตย ท่านํ้าภาษีเจริญ
3-10 (46) ม.รามคําแหง 2 สี่พระยา
4-55 (163) ศาลายา สนามกีฬาแห่งชาติ
507 สําโรง สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ใหม่ (ตลิ่งชัน)
3-52 วงกลม : เซ็นทรัลพระราม 3 หัวลำโพง
3-53 ARL หัวหมาก เสาชิงช้า
4-68 ถนนตก สวนผัก
  • ถนนพระรามที่ 4 หน้าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สาย 4 45 46 47 50 67 141 177 507
ถนนสีลม
สายที่ ต้นทาง ปลายทาง หมายเหตุ
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
15 บางลําพู BRT ราชพฤกษ์
15 บางลําพู BRT ราชพฤกษ์
76 แสมดำ ประตูน้ำ
77 เซ็นทรัลพระราม 3 สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
77 เซ็นทรัลพระราม 3 สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
514 มีนบุรี สีลม


  • ถนนสีลม สาย 15 76 77 115 504 514 547
  • ถนนราชดำริ สาย 14 50 74 504 514 547
  • หมายเหตุ : สาย 50 เดินรถทิศทางเดียว จากหน้า รพ.จุฬาฯ-สี่แยกศาลาแดง-สวนลุมพินี-ถนนวิทยุ-ถนนสารสิน-ถนนราชดำริ-สี่แยกศาลาแดง-ตรงข้าม รพ.จุฬาฯ

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

[แก้]
แผนผังบริเวณสถานี

ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน

[แก้]

โรงแรม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548
  2. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy