ข้ามไปเนื้อหา

สภาแห่งชาติ (ออสเตรีย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สภาแห่งชาติ

Nationalrat
สมัยที่ 27
ประเภท
ประเภท
เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภาออสเตรีย
ประวัติ
ก่อตั้ง10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1920 (1920-11-10)
ก่อนหน้าสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ผู้บริหาร
โวล์ฟกัง โซบอทกา, ÖVP
ตั้งแต่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2017
ดอริส บูเรส, SPÖ
ตั้งแต่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017
นอร์เบิร์ท โฮเฟอร์, FPÖ
ตั้งแต่ 23 ตุลาคน ค.ศ. 2019
โครงสร้าง
สมาชิก183 คน
กลุ่มการเมืองใน
สภาแห่งชาติ
ฝ่ายรัฐบาล (97)
  •   ÖVP (71)
  •   Greens (26)

ฝ่ายค้าน (86)

การเลือกตั้ง
ระบบการเลือกตั้งสภาแห่งชาติ
ระบบสัดส่วน
การเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติครั้งล่าสุด
29 กันยายน ค.ศ. 2019
ที่ประชุม
ปีกเรอดอเท็น
พระราชวังโฮฟบวร์ค
กรุงเวียนนา  ออสเตรีย
เว็บไซต์
parlament.gv.at

สภาแห่งชาติ (เยอรมัน: Nationalrat, อังกฤษ: National Council) เป็นหนึ่งในสองสภาของรัฐสภาออสเตรียและมักจะถูกจำกัดความว่าเป็นสภาล่างของประเทศออสเตรีย โดยมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญมากกว่าสภาแห่งสหพันธ์

สภาแห่งชาติเป็นสภานิติบัญญัติในระดับสหพันธ์ของออสเตรีย ซึ่งการผ่านกฎหมายเพื่อบังคับใช้ในระดับสหพันธ์จะต้องผ่านจากสภาแห่งชาติก่อน โดยจะส่งต่อให้สภาแห่งสหพันธ์เพื่อยืนยันมติ โดยหลังจากผ่านการลงมติในสภาแห่งสหพันธ์หรือหากไม่ทำการพิจารณาภายในแปดสัปดาห์จะถือว่าร่างกฎหมายนี้บังคับใช้ได้อย่างสมบูรณ์ หากในกรณีสภาแห่งสหพันธ์ใช้สิทธิยับยั้งร่างกฎหมายนี้ สภาแห่งชาติสามารถยังบังคับใช้ให้เป็นกฎหมายได้โดยการลงมติซ้ำเพื่อผ่านร่างกฎหมายอีกครั้งหนึ่ง โดยจำเป็นต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบมากกว่าปกติ จึงหมายความได้ว่าสภาแห่งสหพันธ์ไม่มีอำนาจจริงในการระงับยับยั้งการนิติบัญญัติเนื่องจากสภาแห่งชาติสามารถลงมติซ้ำเพื่อบังคับใช้ได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นสามกรณี[1]

  • กฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใดๆ ที่จำกัดอำนาจหน้าที่ของรัฐในสหพันธ์
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิต่างๆ ของสภาแห่งสหพันธ์
  • สนธิสัญญาใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับขอบเขตอำนาจของรัฐในสหพันธ์

การรับรองของสภาแห่งชาติเป็นสิ่งที่จำเป็นในการใช้เอกสิทธิของการประชุมร่วมรัฐสภา ตัวอย่างเช่น การเคลื่อนไหวเพื่อการลงประชามติเพื่อถอดถอนประธานาธิบดีออกจากตำแหน่งโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือการเคลื่อนไหวเพื่อการประกาศสงครามซึ่งจำเป็นต้องมีเสียงข้างมากพิเศษถึงสองในสามในสภาแห่งชาติ มีเพียงกรณีเดียวที่สภาแห่งสหพันธ์สามารถเคลื่อนไหวได้คือการถอดถอนประธานาธิบดีออกจากตำแหน่ง[2]


อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Responsibilities of the Federal Council – The Federal Council's Right of Objection". Website of the Austrian Parliament. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-05. สืบค้นเมื่อ 2010-10-04.
  2. "Federal Assembly - Responsibilities and Legal Principles". parlament.gv.at. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2009. สืบค้นเมื่อ 18 May 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy