ข้ามไปเนื้อหา

องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส

พิกัด: 48°51′36″N 2°18′12″E / 48.86000°N 2.30333°E / 48.86000; 2.30333
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส

Organisation internationale de la Francophonie
(La Francophonie)
ธงชาติองค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส
ธง
สัญลักษณ์ขององค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส
สัญลักษณ์
เพลงชาติ"Ode to Joy" (ออร์เคสตรา)
คำขวัญ
"Égalité, complémentarité, solidarité"[1]
"ความเสมอภาค ความเติมเต็ม ความสามัคคี" a
รายชื่อประเทศและสมาชิกกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส (สีน้ำเงิน)
รายชื่อประเทศและสมาชิกกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส (สีน้ำเงิน)
สำนักงานใหญ่ฝรั่งเศส ปารีส, ฝรั่งเศส
ภาษาทางการฝรั่งเศส
สมาชิก
สมาชิกโดยสมบูรณ์ 54 ราย[2]
ผู้นำ
• เลขาธิการ
ลูอีซ มูชิกิกิวา
• เลขาธิการอาเปแอ็ฟ
ฌัก กราบัล
• ประธานอาเปแอ็ฟ
ฟร็องซัว พาราดิส
ก่อตั้ง
• การประชุมนีอาเม
20 มีนาคม 1970
พื้นที่
• รวม
28,223,184 ตารางกิโลเมตร (10,897,032 ตารางไมล์)
ประชากร
• 2016 ประมาณ
1 พันล้านคน
36 ต่อตารางกิโลเมตร (93.2 ต่อตารางไมล์)
เว็บไซต์
www.francophonie.org
  1. พาดพิงคำขวัญของประเทศฝรั่งเศสอย่างจงใจ

องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Organisation internationale de la francophonie, OIF; อังกฤษ: International Organization of the Francophonie) บางครั้งย่อว่า ลาฟร็องกอฟอนี (ฝรั่งเศส: La Francophonie [la fʁɑ̃kɔfɔni])[3] เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งเป็นสื่อแทนประเทศและภูมิภาคที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาหลัก มีรัฐสมาชิกโดยสมบูรณ์จำนวน 54 รัฐ รัฐสมาชิกร่วมจำนวน 7 รัฐ และผู้สังเกตการณ์จำนวน 27 ราย องค์การนี้ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1970 มีคำขวัญว่า "equality, complementarity, and solidarity"

โครงสร้าง

[แก้]

เลขาธิการฝ่ายบริหาร (เลขาธิการ)

[แก้]
ลำดับ ภาพ ชื่อ ประเทศ เกิด เสียชีวิต เริ่มต้น สิ้นสุด หมายเหตุ
1 บุฏรุส บุฏรุส-ฆอลี  อียิปต์ 14 พฤศจิกายน 1922 16 มีนาคม ค.ศ. 2016(2016-03-16) (93 ปี) 16 พฤศจิกายน 1997 31 ธันวาคม 2002 เลขาธิการสหประชาชาติ (1992–1996), กระทรวงการต่างประเทศอียิปต์ (1977, 1978–1979), รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอียิปต์ (1977–1991)
2 Abdou Diouf  เซเนกัล 7 กันยายน 1935 มีชีวิตอยู่ 1 มกราคม 2003 31 ธันวาคม 2014 ประธานาธิบดีเซเนกัล (1981–2000), นายกรัฐมนตรีเซเนกัล (1970–1980)
3 มิกาเอล ฌ็อง  แคนาดา 6 กันยายน 1957 มีชีวิตอยู่ 5 มกราคม 2015 2 มกราคม 2019 ผู้สำเร็จราชการแคนาดา (2005–2010)
4 Louise Mushikiwabo  รวันดา 2 พฤษภาคม 1961 มีชีวิตอยู่ 3 มกราคม 2019 ดำรงตำแหน่ง กระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือรวันดา (2009–2018)

การประชุม

[แก้]

สมาชิก

[แก้]
สมาชิกและผู้เข้าร่วมองค์การ นอกจากนี้ สีน้ำเงินเข้มยังแสดงสมาชิกที่เป็นเขตปกครองย่อยของเบลเยียมและแคนาดา

หลังรัฐประหารใน ค.ศ. 2008 สมาชิกภาพของประเทศมอริเตเนียถูกระงับเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 2008 จนกว่าจะมีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย[4] สมาชิกภาพของประเทศมาดากัสการ์ถูกระงับเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2009 เพราะมีการถ่ายโอนอำนาจที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญในวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2009[5] สมาชิกภาพของประเทศมาลีก็ถูกระงับในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2012[6] เพราะรัฐประหารใน ค.ศ. 2012 หลังจากนั้น สาธารณรัฐแอฟริกากลางถูกระงับสมาชิกภาพเพราะอุบัติการณ์ในการประชุมสมัยที่ 88 ของซีพีเอฟ (CPF) เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2012 และประเทศกินี-บิสเซาก็ถูกระงับเช่นเดียวกันเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2012[7] เพราะรัฐประหารใน ค.ศ. 2012 ต่อมาใน ค.ศ. 2014 ประเทศไทย ในฐานะชาติผู้สังเกตการณ์ ถูกระงับสถานะดังกล่าวหลังเกิดวิกฤตทางการเมืองใน ค.ศ. 2013–14[8] ใน ค.ศ. 2018 รัฐลุยเซียนากลายเป็นรัฐแห่งแรกของสหรัฐที่เข้าร่วมองค์การนี้ในฐานะผู้สังเกตการณ์[9] ใน ค.ศ. 2021 รัฐบาลรัฐโนวาสโกเชียประกาศเจตจำนงว่า จะขอสถานะผู้สังเกตการณ์[10]

แม้ประเทศแอลจีเรียจะมีประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสขนาดใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง แต่ประเทศนี้ไม่เป็นสมาชิกขององค์การนี้

อ้างอิง

[แก้]
  1. Brochure: L’Institut de l’énergie et de l’environnement de la Francophonie เก็บถาวร 2020-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (IEPF เก็บถาวร 2020-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน). Accessed 22 January 2009.
  2. "88 États et gouvernements - Organisation internationale de la Francophonie". 1 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2018.
  3. "Atlas of Canada: The Francophonie". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2014.
  4. "L’OIF suspend la Mauritanie", Radio France Internationale, 27 August 2008
  5. "Madagascar". francophonie.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-05. สืบค้นเมื่อ 27 December 2014.
  6. "Mali". francophonie.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-21. สืบค้นเมื่อ 27 December 2014.
  7. Organisation internationale de la Francophonie เก็บถาวร 3 เมษายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Francophonie.org. Retrieved on 2013-07-12.
  8. "L'Organisation internationale de la Francophonie (OIF) suspend la Thaïlande et réintègre la Guinée-Bissau dans ses instances" (PDF). Organisation internationale de la Francophonie. 27 June 2014. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
  9. Hasselle, Della (13 Oct 2018). "Louisiana joins international organization of French-speaking governments". NOLA.com.
  10. Murat, Philippe (2021-04-28). "La Nouvelle-Écosse demandera le statut d'observateur à l'OIF". ONFR.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Glasze, Georg (2007): "The Discursive Constitution of a World-spanning Region and the Role of Empty Signifiers: the Case of Francophonia." In: Geopolitics (12)4: 656–679. (pdf: Wayback Machine)
  • Milhaud, Olivier (2006): "Post-Francophonie?". EspacesTemps.net. Post-Francophonie?

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

48°51′36″N 2°18′12″E / 48.86000°N 2.30333°E / 48.86000; 2.30333

pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy