อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย | |
---|---|
อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยในช่วงรุ่งสาง | |
ประเภท | อนุสาวรีย์ |
ที่ตั้ง | แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
พิกัด | 13°45′24″N 100°30′6″E / 13.75667°N 100.50167°E |
ความสูง | 24 เมตร (79 ฟุต) (ส่วนปีก) |
สร้างเมื่อ | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482(วางศิลาฤกษ์) กรกฎาคม พ.ศ. 2482(เริ่มก่อสร้าง) 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483(พิธีเปิด) |
สร้างเพื่อ | ระลึกถึงการปฏิวัติสยาม |
สถานะ | เปิดใช้งาน, ยังมีอยู่ |
สถาปนิก | หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล |
ประติมากร | ศิลป์ พีระศรี, สิทธิเดช แสงหิรัญ |
สถาปัตยกรรม | อลังการศิลป์, สถาปัตยกรรมคณะราษฎร |
ผู้ดูแล | กรมศิลปากร |
เหตุการณ์สำคัญ | เหตุการณ์ 14 ตุลา เหตุการณ์ 6 ตุลา พฤษภาทมิฬ การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย |
ขึ้นเมื่อ | 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | โบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร |
เลขอ้างอิง | 0005568 |
ชื่ออักษรไทย | อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย |
ชื่ออักษรโรมัน | Anusawari Prachathipatai |
รหัสทางแยก | N108 |
ทิศทางการจราจร | |
↑ | ถนนดินสอ » แยกสะพานวันชาติ |
→ | ถนนราชดำเนินกลาง » แยกป้อมมหากาฬ |
↓ | ถนนดินสอ » ปากถนนมหรรณพ |
← | ถนนราชดำเนินกลาง » แยกคอกวัว |
อ้างอิง | |
[1][2] |
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางวงเวียนระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนดินสอ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย[2] นอกจากนี้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นหลักกิโลเมตรศูนย์ ที่ซึ่งเป็นอ้างอิงในการวัดระยะทางจากกรุงเทพมหานคร[3][4]
อนุสาวรีย์ก่อสร้างและออกแบบโดยหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล และมีศิลป์ พีระศรีร่วมกับสิทธิเดช แสงหิรัญ เป็นศิลปินผู้ปั้นอนุสาวรีย์[2] อนุสาวรีย์ประกอบด้วย "ปีก" จำนวน 4 ปีก รายล้อมประติมากรรมแสดงพานแว่นฟ้าวางรัฐธรรมนูญที่ซึ่งจำลองจากขณะการทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวลงพระปรมาภิไธยเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกแห่งราชอาณาจักรไทย องค์ประกอบต่าง ๆ ของอนุสาวรีย์เป็นตัวแทนทางสัญลักษณ์ถึงหลักการและอุดมการณ์ประชาธิปไตยของคณะราษฎรและถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง[5] อนุสาวรีย์ประกอบพิธีเปิดในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 8 ปีการปฏิวัติสยาม การก่อสร้างใช้งบประมาณรวม 250,000 บาท[1]
เนื่องด้วยชื่อ "ประชาธิปไตย" ของอนุสาวรีย์ วงเวียนนี้จึงมักถูกใช้เป็นพื้นที่สำคัญของการชุมนุมทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยหลายครั้ง[6] เช่น ระหว่างเหตุการณ์ 14 ตุลา, เหตุการณ์ 6 ตุลา, พฤษภาทมิฬ, วิกฤตการเมือง พ.ศ. 2553 และ การประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย พ.ศ. 2563–65 เป็นต้น
ประวัติ
[แก้]ในสมัยแปลก พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มีความคิดที่จะจัดสร้างอนุสรณ์เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังรำลึกถึงความสามัคคีกลมเกลียวในชาติ และพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญของชาติ ตลอดจนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนี้นำมาซึ่งความสถาพรแก่ชาติ รัฐบาลจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การสร้างอนุสาวรีย์ เมื่อพิจารณาที่เหมาะสมนั้น จึงเห็นว่าบริเวณถนนราชดำเนินที่กำลังมีการปรับปรุงอยู่ในขณะนั้น เป็นพื้นที่ที่เหมาะสม ประกอบกับขณะนั้นกำลังมีการก่อสร้างสะพานเฉลิมวันชาติในบริเวณเดียวกัน การสร้างอนุสาวรีย์จะยิ่งสร้างความสง่างามแก่บ้านเมือง รัฐบาลได้จัดการประกวดการออกอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยนี้ โดยแบบที่ได้รับรางวัลและนำมาจัดสร้างคือแบบของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล
วางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเริ่มต้นขึ้นใน "24 มิถุนายน" "พ.ศ. 2482" [7]
เริ่มการก่อสร้าง กรกฎาคม พ.ศ. 2482 โดยรัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการการก่อสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเพื่อควบคุมกำกับการก่อสร้าง โดยมีศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างและ สิทธิเดช แสงหิรัญ เป็นผู้ช่วยปั้นอนุสาวรีย์[2] การก่อสร้างใช้งบประมาณทั้งสิ้น 250,000 บาท[1]
ในอนาคต อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจะเป็นชื่อของสถานีรถไฟฟ้าสองสถานีที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ส่วนต่อขยายเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ซึ่งตั้งอยู่ใต้ถนนพระสุเมรุ ใกล้กับหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ[8][9] และรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนต่อขยายศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ซึ่งตั้งอยู่ใต้ถนนราชดำเนินกลาง บริเวณหน้าลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ และอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์[10][9]
รายละเอียดและสัญลักษณ์
[แก้]อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นรูปหล่อลอยตัว ประกอบด้วยรูปเล่มรัฐธรรมนูญในสมุดไทย ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า สร้างด้วยทองแดง มีความสูง 3 เมตร หนัก 4 ตัน ตั้งบนฐานรูปทรงกลมด้านบนโค้งกลม ลานอนุสาวรีย์ยกสูงมีบันไดโดยรอบ รอบนอกลานอนุสาวรีย์มีครีบทรงแบน อยู่ 4 ทิศ ที่โคนครีบ มีภาพแกะสลักลายปั้นนูน และมีรั้วเตี้ย ๆ กั้นโดยรอบลานอนุสาวรีย์ รั้วนี้ใช้ปืนใหญ่โบราณจำนวน 75 กระบอก ฝังดินโผล่ท้ายกระบอกขึ้นมา เป็นเสา คล้องโซ่เชื่อมต่อกัน[5] โดยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ภายในอนุสาวรีย์ประกอบด้วย:[5][4]
- ปีก 4 ด้าน สูงจากแท่นพื้น 24 เมตร มีรัศมียาว 24 เมตร หมายถึง วันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งเกิดเหตุการณ์การปฏิวัติสยาม
- พานทูนฉบับรัฐธรรมนูญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดป้อม กลางตัวอนุสาวรีย์ สูง 3 เมตร หมายถึง เดือน 3 หรือ เดือนมิถุนายน (ขณะนั้นนับเมษายนเป็นเดือนแรกของปี) ตรงกับเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยนั้น และหมายถึง อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ภายใต้รัฐธรรมนูญ (นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ)
- ปืนใหญ่จำนวน 75 กระบอก (ปากกระบอกปืนฝังลงดิน) โดยรอบฐานของอนุสาวรีย์ที่มีโซ่เหล็กร้อยไว้ หมายถึงปีที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (เลข 75 เป็นเลขท้ายสองหลักของปี พ.ศ. 2475) ส่วนโซ่ที่ร้อยไว้ด้วยกันหมายถึงความสามัคคีพร้อมเพรียงของคณะปฏิวัติ
- ลายปั้นนูนที่ฐานครีบทั้ง 4 เน้นถึงเรื่องราวการดำเนินงานของคณะราษฎรตอนที่นัดหมายและแยกย้ายกันก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
- พระขรรค์ 6 เล่ม ที่รายล้อมรอบป้อมกลางตัวอนุสาวรีย์ หมายถึง หลัก 6 ประการของคณะราษฎร
- อ่างตรงฐานปีกทั้ง 4 ด้านเป็นรูปงูใหญ่ หมายถึง ปีที่เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นปีมะโรง หรือ ปีงูใหญ่
บทวิจารณ์
[แก้]อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้รับการวิจารณ์ถึงลักษณะทางสถาปัตยกรรมอย่างหลากหลาย รองศาสตราจารย์แสงอรุณ รัตกสิกร อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กล่าวถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไว้ว่า "อนุสาวรีย์นี้ไม่ได้ผล เพราะว่าเป็นอนุสาวรีย์ที่ออกแบบโดยการใช้ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ให้แก่ตัวอนุสาวรีย์...มันก็ไม่งามจริง ๆ มันจะไม่งามแน่ ๆ เพราะผู้ออกแบบมัวไปแก่ตัวเลขสัญลักษณ์เสีย โดยเฉพาะตัวพานรัฐธรรมนูญที่ขยายขนาด Scale แบบสุนัขย่าเหลที่นครปฐม"[11] นอกจากนี้อาจารย์ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้กล่าวถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยว่า "...ทำหน้าที่เป็นเสมือนฉากแห่งความทันสมัยในยุคประชาธิปไตยที่ตัดขาดจากสมัยเดิม" [12] ผู้ช่วยศาสตราจารย์แจนนิส วงศ์สุรวัฒน์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้วิจารณ์ประติมากรรมนูนสูงของปีกอนุสาวรีย์และกล่าวถึงอนุสาวรีย์ว่า "...อนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นการแสดงออกทางศิลปกรรมที่สำคัญชิ้นแรกต่อภาพของประชาธิปไตยในสายตาของคนไทย มันมีแง่มุมที่น่าเคารพบางประการ ที่ยังเป็นปัจจุบัน และมีภาพที่ดูไม่แน่ชัดบางประการ"[13] นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์และประวัติศาสตร์ไทย ระบุว่าอนุสาวรีย์นี้เป็นอนุสาวรีย์แรกของไทยที่ไม่ได้มีฐานะในการเคารพนับถือเช่นพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตาม นิธิแสดงความเห็นว่าอนุสาวรีย์นี้ "ล้มเหลวในการสื่อความหมายของประชาธิปไตย"[6]
การเดินทาง
[แก้]การเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะสู่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ภาพรวม
[แก้]บริการ | สถานี/ที่หยุดรถประจำทาง | เส้นทาง/สาย |
---|---|---|
รถโดยสารประจำทาง | อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย | 2, 15, 32, 35, 42, 44, 47, 59, 60, 68, 70, 79, 82, 503, 509, 511, 556, 1-63, 1-9E, 3-1, 3-2E, 4-68 |
ถนนราชดำเนินกลาง
[แก้]องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
[แก้]
สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
2 (1) | อู่ปู่เจ้าสมิงพราย | สำนักงานที่ดินกรุงเทพ | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
ขสมก. | มีรถให้บริการตลอดคืน |
อู่ช้างเอราวัณ | |||||
15 (2) | BRT ราชพฤกษ์ | บางลำพู | |||
32 (2) | ปากเกร็ด | วัดโพธิ์ | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง | ||
47 (3-41) (1) | ท่าเรือคลองเตย | สำนักงานที่ดินกรุงเทพ | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง | ||
1-8 (59) (3) | อู่รังสิต | สนามหลวง | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
||
สวนหลวงพระราม 8 | |||||
60 (1-38) (2) | อู่สวนสยาม | สำนักงานที่ดินกรุงเทพ | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) |
||
68 (3) | อู่แสมดำ | บางลำพู | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
สมุทรสาคร | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
||||
70 (3) | ประชานิเวศน์ 3 | สนามหลวง | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
||
79 (2) | อู่บรมราชชนนี | ราชประสงค์ | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ||
82 (1) | ท่านํ้าพระประแดง | สนามหลวง | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | 1.วิ่งเฉพาะขากลับ ท่าน้ำพระประแดง | |
503 (3) | อู่รังสิต | สนามหลวง | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ||
509 (2) | อู่บรมราชชนนี | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ||
511 (2) | อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (บรมราชชนนี) | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
||
556 (1) | อู่วัดไร่ขิง | ARL มักกะสัน | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ||
A4 (1) | ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | สนามหลวง | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) | 1.วิ่งเฉพาะขากลับ n่าอากาศยานดอนเมือง | |
S1 (3) | ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | 1.วิ่งเฉพาะขากลับ n่าอากาศยานสุวรรณภูมิ |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 รายงานการสร้างอนุสสาวรีย์ "ประชาธิปไตย" จากราชกิจจานุเบกษา เรียกข้อมูลวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย". ฐานข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2021-4-9.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง ม.ศิลปากร (1995). "อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย". ศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นเมื่อ 2021-4-9.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ 4.0 4.1 "อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย: 88 ปี ปฏิวัติสยาม 2475 ส่องมรดกสถาปัตยกรรมคณะราษฎรที่ราชดำเนิน สัญลักษณ์ และความเป็นจริง". บีบีซีไทย. 2020-6-24. สืบค้นเมื่อ 2021-4-9.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
และ|date=
(help) - ↑ 5.0 5.1 5.2 กองบรรณาธิการ (2015-6-24). "ความหมายที่ซ่อนอยู่ 'อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย'". วอยซ์ทีวี. สืบค้นเมื่อ 2021-4-9.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
และ|date=
(help) - ↑ 6.0 6.1 เอียวศรีวงศ์, นิธิ (2014). ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์ ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการจิตสำนึก. กรุงเทพมหานคร: ศิลปวัฒนธรรม. ISBN 9789740213505.
- ↑ อนุสรณ์ ติปยานนท์ | บันทึกถึง 24 มิถุนายน จากจันทร์ถึงอาทิตย์https://www.matichonweekly.com/culture/article_30763
- ↑ รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ “เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ”
- ↑ 9.0 9.1 เช็กเลย!รถไฟฟ้าเปลี่ยนชื่อสถานี 17 แห่ง อะไรบ้าง
- ↑ "แผ่นพับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน - มีนบุรี - สขร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-09-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-09.
- ↑ แสงอรุณ รัตกสิกร อนุสาวรีย์ที่ไทยทำ เก็บถาวร 2011-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกข้อมูลวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
- ↑ ยุวดี มณีกุล เงาการเมืองในงานสถาปัตย์หลัง 2475 ข้อมูลวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
- ↑ Janice Wongsurawat. A Critical Analysis of the Form and Symbolic Content of the Democracy Monument as a Work of Art, With Emphasis on the Reliefs on the Base of Four Wings. The Research Center of Silpakorn University , 1987, pp. 25-35.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- “อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ” ในอีสาน “อนุสรณ์รำลึกประชาธิปไตย” แห่งแรกของไทย โดย วิภา จิรภาไพศาล บนศิลปวัฒนธรรม
- ความเป็นประชาธิปไตยในอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บทสัมภาษณ์ ศรัญญู เทพสงเคราะห์ โดย 101.world
13°45′24″N 100°30′6″E / 13.75667°N 100.50167°E