ข้ามไปเนื้อหา

อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัครบิดร
แห่งคอนสแตนติโนเปิล
มุขนายก
ออร์ทอดอกซ์
ตราแห่งมุขมณฑล
องค์ปัจจุบัน
อัครบิดรบาร์โธโลมิวที่ 1 แห่งคอนสแตนติโนเปิล
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1991

การเรียก อัครบิดรสากล
มุขมณฑล เขตอัครบิดรสากล
อาสนวิหาร โบสถ์นักบุญจอร์จ
องค์แรก: นักบุญอันดรูว์
ดำรงตำแหน่งเมื่อ: ค.ศ. 38
ที่พำนัก: อิสตันบูล ประเทศตุรกี

เว็บไซต์: http://www.patriarchate.org/

อัครมุขนายกแห่งคอนสแตนติโนเปิล (โรมใหม่) และอัครบิดรสากล (อังกฤษ: Archbishop of Constantinople New Rome and Ecumenical Patriarch) มักเรียกโดยย่อว่า อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิล[1] (Patriarch of Constantinople) หรือ พระอัยกาแห่งคอนสแตนติโนเปิล เป็นตำแหน่งอัครบิดรที่สำคัญที่สุดตำแหน่งหนึ่งในคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แม้แต่ละประเทศที่นับถือนิกายออร์ทอดอกซ์จะมีอัครบิดรเป็นประมุขของตน และอัครบิดรทุกองค์มีฐานะเสมอกัน แต่อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลได้รับยกย่องว่าเป็นบุคคลอันดับหนึ่ง ผู้ดำรงตำแหน่งนี้ปัจจุบันอัครบิดรสากล คือ อัครบิดรบาร์โธโลมิวที่ 1 แห่งคอนสแตนติโนเปิล นับเป็นลำดับที่ 270[2]

นอกจากคริสตจักรออร์ทอดอกซ์แล้ว คริสตจักรอัครทูตอาร์มีเนียนและคริสตจักรโรมันคาทอลิกก็ตั้งตำแหน่งอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลของตนเช่นกัน โดยรัฐบาลตุรกีเรียกอัครบิดรฝ่ายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ว่า อัครบิดรกรีกแห่งคอนสแตนติโนเปิล ฝ่ายอัครทูตอาร์มีเนียนว่า อัครบิดรอาร์มีเนียนแห่งคอนสแตนติโนเปิล และฝ่ายโรมันคาทอลิกว่า อัครบิดรละตินแห่งคอนสแตนติโนเปิล แต่ตำแหน่งอัครบิดรละตินแห่งคอนสแตนติโนเปิลถูกยกเลิกไปแล้วตั้งแต่ ค.ศ. 1965 และมีเฉพาะอัครบิดรกรีกแห่งคอนสแตนติโนเปิลที่ถือตำแหน่ง อัครบิดรสากล มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6[3]

อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลต้องอยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิออตโตมันภายหลังการเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลในปี ค.ศ. 1453 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายกลายเป็นประเทศตุรกีในปัจจุบัน อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลก็ต้องขึ้นต่อรัฐบาลตุรกี และมีกฎหมายกำหนดให้ผู้จะดำรงตำแหน่งอัครบิดรนี้ต้องเป็นชาวตุรกีเท่านั้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเททพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 393
  2. Chryssavgis, John. "Turkey: Byzantine Reflections". World Policy Journal (Winter 2011/2012). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-05. สืบค้นเมื่อ 31 May 2012.
  3. "Oecumenical Patriarch." Cross, F. L., ed. The Oxford Dictionary of the Christian Church. New York: Oxford University Press. 2005.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy