อัลโตสเตรตัส
อัลโตสเตรตัส (อังกฤษ: altostratus) มีชื่อเรียกมาจากภาษาละติน altus แปลว่า สูง และ stratus แปลว่า แผ่ขยาย[1] เมฆอัลโตสเตรตัสเป็นเมฆสีเทาถึงเขียว-น้ำเงิน มีรูปร่างไม่แน่นอน เมื่อแสงอาทิตย์ส่องผ่านจะเห็นเป็นผืนหรือชั้นกว้าง ๆ บนท้องฟ้า[2] เมฆชนิดนี้มีสีอ่อนกว่าเมฆนิมโบสเตรตัส และเข้มกว่าเมฆเซอร์โรสเตรตัส อัลโตสเตรตัสมีอักษรย่อคือ As และสัญลักษณ์
เมฆอัลโตสเตรตัสเป็นเมฆระดับกลาง ก่อตัวที่ชั้นโทรโพสเฟียร์ที่ระดับความสูง 6,500–20,000 ฟุต (2,000–6,000 เมตร) เกิดจากมวลอากาศที่ยกตัวขึ้นจนไอน้ำควบแน่นกลายเป็นแผ่นผลึกน้ำแข็ง[3] อัลโตสเตรตัสมักก่อตัวก่อนหน้าแนวปะทะอากาศร้อนหรือแนวปะทะปิด และบางครั้งเกิดร่วมกับเมฆคิวมูลัสในแนวปะทะอากาศเย็น[4] เมฆชนิดนี้ก่อให้เกิดฝนตกเล็กน้อย หากมีฝนตกยาวนาน อัลโตสเตรตัสอาจกลายสภาพเป็นเมฆนิมโบสเตรตัส ซึ่งเป็นเมฆฝนชนิดหนึ่งที่ไม่ก่อให้เกิดฟ้าแลบฟ้าผ่า[5] อัลโตสเตรตัสมีลักษณะคล้ายกับเซอร์โรสเตรตัส แต่ไม่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เฮโล ที่แสงอาทิตย์ส่องกระทบผลึกน้ำในอากาศแล้วเลี้ยวเบนจนเกิดเป็นวงแหวนสีรุ้ง[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Definition of Altostratus". Dictionary.com. สืบค้นเมื่อ September 5, 2019.
- ↑ World Meteorological Organization, บ.ก. (1975). Altostratus, International Cloud Atlas. Vol. I. pp. 35–37. ISBN 978-92-63-10407-6. สืบค้นเมื่อ 26 August 2014.
- ↑ "Altostratus clouds". Met Office. สืบค้นเมื่อ September 5, 2019.
- ↑ Means, Tiffany (August 9, 2018). "Using Clouds to Predict the Weather". ThoughtCo. สืบค้นเมื่อ September 5, 2019.
- ↑ "The cloud classification system - Altostratus". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2009. สืบค้นเมื่อ 26 May 2009.
- ↑ Ahrens, C. Donald (2006). Meteorology Today: International Student Edition. Boston, United States: Cengage Learning. p. 121. ISBN 9780495011620.