ข้ามไปเนื้อหา

เขตทารูมิ

พิกัด: 34°43′13″N 135°15′56″E / 34.72028°N 135.26556°E / 34.72028; 135.26556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตทารูมิ

垂水区
ที่ตั้งของเขตทารูมิในนครโคเบะ
ที่ตั้งของเขตทารูมิ (เน้นสีม่วง) ในนครโคเบะ
แผนที่
พิกัด: 34°43′13″N 135°15′56″E / 34.72028°N 135.26556°E / 34.72028; 135.26556
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคิงกิ (คันไซ)
จังหวัดจังหวัดเฮียวโงะ เฮียวโงะ
นคร โคเบะ
พื้นที่
 • ทั้งหมด28.11 ตร.กม. (10.85 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023)
 • ทั้งหมด217,207 คน
 • ความหนาแน่น7,727 คน/ตร.กม. (20,010 คน/ตร.ไมล์)
เว็บไซต์www.city.kobe.lg.jp/kuyakusho/tarumiku/

เขตทารูมิ (ญี่ปุ่น: 垂水区) เป็นหนึ่งในเก้าเขตของนครโคเบะ จังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นที่ตั้งของสะพานอากาชิไคเกียว สะพานแขวนที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่งเชื่อมต่อกับเกาะอาวาจิ เขตทารูมิเป็นพื้นที่ชานเมืองทางตะวันตกของโคเบะ ซึ่งเป็นเขตที่อยู่อาศัยของผู้ที่เดินทางไปทำงานที่ใจกลางเมืองโคเบะหรือแม้แต่โอซากะ

เมื่อ ค.ศ. 1899 ได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านทารูมิขึ้นภายในอำเภออากาชิ[1] ต่อมา ค.ศ. 1928 หมู่บ้านทารูมิได้รับการยกฐานะเป็นเมือง เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1941 เมืองทารูมิได้รวมเข้ากับนครโคเบะ และเป็นส่วนหนึ่งของเขตซูมะ[1]

เขตทารูมิจัดตั้งขึ้นจากพื้นที่เมืองทารูมิเดิมเมื่อ ค.ศ. 1946 และใน ค.ศ. 1947 หมู่บ้าน 7 แห่งจากอำเภออากาซากิก็ได้รวมเข้ากับนครโคเบะและกลายเป็นส่วนหนึ่งของเขตทารูมิจนกระทั่ง ค.ศ. 1982 พื้นที่ 7 หมู่บ้านนั้นก็ได้แยกออกไปเป็นเขตนิชิ[1]

ในเขตทารูมิมีท่าเรืออุตสาหกรรมประมงชายฝั่งซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องปลาอิกานาโงะ (ญี่ปุ่น: 玉筋魚; Ammodytes personatus[2]) และซูชิ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 ミニ区史 [Mini ward history] (ภาษาญี่ปุ่น). 16 February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-04. สืบค้นเมื่อ 12 May 2016.
  2. WWWJDIC (Wikipedia article). Accessed February 24, 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy