ข้ามไปเนื้อหา

เขตปกครองและมณฑลของบริติชอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่ของบริติชราชในปี 1909 สีชมพูคือมณฑลของบริติชอินเดีย (ปกครองโดยอังกฤษ) สีเหลืองคือรัฐพื้นเมือง (ปกครองโดยเหล่ามหาราชา)

มณฑลของอินเดีย (Provinces of India) หรือเดิมคือ เขตปกครอง (Presidency) เป็นหน่วยบริหารราชการในสมัยที่อังกฤษเข้าไปปกครองในอนุทวีปอินเดีย สามารถแบ่งเป็นสามช่วงเวลาได้แก่

  • ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1612 บริษัทอินเดียตะวันออกได้ตั้งบริษัททำการค้าในหลายๆ แห่งบริเวณชายฝั่งทางตะวันออกของอินเดียโดยได้รับการยินยอมจากเหล่ามหาราชา ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองรัฐพื้นเมืองในอินเดีย อย่างไรก็ตาม อังกฤษไม่ใช่ชาติเดียวที่เข้ามาทำประโยชน์ในอินเดีย แต่ยังมีชาติอื่นอย่างฮอลแลนด์ และฝรั่งเศส ในช่วงกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมืองในปกครอง (Presidency towns) ของอังกฤษทั้งสิ้น 3 แห่งคือ มัทราส, บอมเบย์ และกัลกัตตา เริ่มเติบโตมากขึ้น
  • ในปี ค.ศ. 1757 แคว้นเบงกอลขัดแย้งกับบริษัทฯจนเกิดเป็นยุทธการที่ปลาศี อังกฤษได้รับชัยชนะและเริ่มยุคการปกครองของบริษัทในอินเดีย บริษัทประสบความสำเร็จในการมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนส่วนมากในอนุทวีปอินเดีย ดินแดนเหล่านี้ถูกเรียกว่า เขตปกครอง (Presidency) บริหารโดยบริษัทภายใต้การกำกับของรัฐสภาอังกฤษ
  • หลังจากเกิดเหตุกบฏซีปอยในปี ค.ศ. 1857 รัฐสภาอังกฤษได้ตราพระราชบัญญัติรัฐบาลอินเดีย ค.ศ. 1858 อำนาจการปกครองในอินเดียถูกโอนจากบริษัทไปขึ้นตรงกับสมเด็จพระราชินีนาถ ซึ่งได้ทรงตั้งข้าหลวงต่างพระองค์ไปปกครองอินเดียโดยมีที่ทำการรัฐบาลอยู่ในกัลกัตตา เขตปกครองทั้งหมดถูกเปลี่ยนเป็น มณฑล[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Imperial Gazetteer of India vol. IV 1908, p. 5
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy