ข้ามไปเนื้อหา

เข็มทิศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เข็มทิศทหารสมัยใหม่ พร้อมอุปกรณ์สายตาสำหรับจัดตำแหน่ง

เข็มทิศ คือเครื่องมือที่แสดงจุดทิศหลักที่ใช้สำหรับการเดินเรือและการกำหนดทิศทางด้านภูมิศาสตร์ โดยทั่วไปประกอบด้วยเข็มแม่เหล็กหรือส่วนประกอบอื่น ๆ อย่างหน้าปัดเข็มทิศหรือวงกลมแสดงทิศที่ใช้หมุนเพื่อจัดตำแหน่งตัวเองไปที่ทิศเหนือแม่เหล็ก ส่วนวิธีอื่น ๆ ได้แก่ ไจโรสโคป, แมกนีโตมิเตอร์ และตัวรับจีพีเอส

เข็มทิศมักแสดงมุมในรูปองศา: ทิศเหนือเทียบเท่ากับ 0° และตัวเลขมุมเพิ่มขึ้นตามเข็มนาฬิกา ดังนั้น ทิศตะวันออกเทียบเท่ากับ 90° ทิศใต้คือ 180° และทิศตะวันตกคือ 270° จำนวนเหล่านี้บนเข็มทิศแสดงมุมทิศหรือแบริ่งที่มักระบุเป็นองศา ถ้าทราบมุมบ่ายเบนท้องถิ่นระหว่างทิศเหนือแม่เหล็กและทิศเหนือจริง จะทำให้ทิศทางของทิศเหนือแม่เหล็กเทียบเท่ากับทิศเหนือจริง

ในบรรดาสี่ยอดสิ่งประดิษฐ์ เข็มทิศแม่เหล็กเป็นสิ่งแรกที่ได้รับการคิดค้นในฐานะอุปกรณ์ทำนายที่เริ่มใช้ตั้งแต่จีนสมัยราชวงศ์ฮั่น (ตั้งแต่ ประมาณ 206 ปีก่อนคริสต์ศักราช)[1][2] และภายหลังนำมาใช้เป็นอุปกรณ์เดินทางในจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง (ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11)[3][4][5] มีการบันทึกการใช้งานเข็มทิศในยุโรปตะวันตกและโลกอิสลามครั้งแรกเกิดขึ้นประมาณ ค.ศ. 1190[6][7]

การบอกทิศทางแบบมุมทิศ (Azimuth)

[แก้]

เป็นวิธีการที่คิดขึ้นมาเพื่อใช้ในการบอกทิศทาง คือวัดขนาดของมุมทางราบที่ วัดจากแนวทิศเหนือหลักเวียนตามเข็มนาฬิกามาบรรจบกับแนวเป้าหมาย ที่ต้องการมุมทิศนี้จะมีค่าตั้งแต่ 0-360 องศา และเมื่อวัดมุมจากเส้นฐานทิศเหนือหลักชนิดใดก็เรียกทิศเหนือตามหลักนั้น

การบอกทิศทางแบบแบริง (Bearing)

[แก้]

คือการบอกทิศทางเป็นค่าของมุมในแนวราบ ซึ่งวัดจากแนวทิศเหนือหลักไปยังแนวเป้าหมายในทิศทางตะวันออกหรือตะวันตก หรือวัดจากแนวทิศใต้หลักไปแนวเป้าหมายทิศตะวันออกหรือตะวันตก ดังนั้นขนาดของมุมแบริงจะมีค่าไม่เกิน 90 องศา การอ่านค่ามุมแบบแบริงจะเริ่มต้นด้วยทิศหลัก เช่นทิศทาง AB เบนจากทิศเหนือไปทิศตะวันตกเป็นมุม 75 องศา เรียกทิศทาง AB นั้นว่า มีมุมแบริง 75 องศาตะวันตก

ประวัติ

[แก้]
รูปปั้นชายถือเข็มทิศ ทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่ง

เข็มทิศแบบแรกในจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นทำมาจากแร่แม่เหล็ก (lodestone)[2][8] ต่อมาจึงทำเข็มทิศด้วยเข็มเหล็กที่ดึงดูดด้วยแร่แม่เหล็ก ซึ่ง Shen Kuo อธิบายว่าปรากฏขึ้นในจีนสมัยราชวงศ์ซ่งเมื่อ ค.ศ. 1088[9] เข็มทิศแบบแห้งเริ่มปรากฏขึ้นในยุโรปสมัยกลางและโลกอิสลามประมาณ ค.ศ. 1300[10][7] หลังจากนั้น ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงมีการแทนที่ด้วยเข็มทิศแม่เหล็กแบบเติมของเหลว[11]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Li Shu-hua, p. 176
  2. 2.0 2.1 Lowrie, William (2007). Fundamentals of Geophysics. London: Cambridge University Press. pp. 281. ISBN 978-0-521-67596-3. Early in the Han Dynasty, between 300–200 BC, the Chinese fashioned a rudimentary compass out of lodestone ... the compass may have been used in the search for gems and the selection of sites for houses ... their directive power led to the use of compasses for navigation
  3. Kreutz, p. 367
  4. Needham, Joseph (1986) Science and civilisation in China, Vol. 4: "Physics and physical technology", Pt. 1: "Physics", Taipei. p. 252 Caves Books, originally publ. by Cambridge University Press (1962), ISBN 0-521-05802-3
  5. Li Shu-hua, p. 182f.
  6. Kreutz, p. 370
  7. 7.0 7.1 Schmidl, Petra G. (2014). "Compass". ใน Ibrahim Kalin (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Philosophy, Science, and Technology in Islam. Oxford University Press. pp. 144–146. ISBN 978-0-19-981257-8.
  8. Guarnieri, M. (2014). "Once Upon a Time, the Compass". IEEE Industrial Electronics Magazine. 8 (2): 60–63. doi:10.1109/MIE.2014.2316044. S2CID 11949042.
  9. Merrill, Ronald T.; McElhinny, Michael W. (1983). The Earth's magnetic field: Its history, origin and planetary perspective (2nd printing ed.). San Francisco: Academic press. p. 1. ISBN 978-0-12-491242-7.
  10. Lane, Frederic C. (1963). "The Economic Meaning of the Invention of the Compass". The American Historical Review. 68 (3): 605–617 [615]. doi:10.2307/1847032. JSTOR 1847032.
  11. Creak, W.H. (1920). "The History of the Liquid Compass". The Geographical Journal. 56 (3): 238–239. doi:10.2307/1781554. JSTOR 1781554.

ข้อมูล

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Admiralty, Great Britain (1915) Admiralty manual of navigation, 1914, Chapter XXV: "The Magnetic Compass (continued): the analysis and correction of the deviation", London : HMSO, 525 p.
  • Aczel, Amir D. (2001) The Riddle of the Compass: The Invention that Changed the World, 1st Ed., New York : Harcourt, ISBN 0-15-600753-3
  • Carlson, John B (1975). "Multidisciplinary analysis of an Olmec hematite artifact from San Lorenzo, Veracruz, Mexico". Science. 189 (4205): 753–760. Bibcode:1975Sci...189..753C. doi:10.1126/science.189.4205.753. PMID 17777565. S2CID 33186517.
  • Gies, Frances and Gies, Joseph (1994) Cathedral, Forge, and Waterwheel: Technology and Invention in the Middle Age, New York : HarperCollins, ISBN 0-06-016590-1
  • Gubbins, David, Encyclopedia of Geomagnetism and Paleomagnetism, Springer Press (2007), ISBN 1-4020-3992-1, 978-1-4020-3992-8
  • Gurney, Alan (2004) Compass: A Story of Exploration and Innovation, London : Norton, ISBN 0-393-32713-2
  • King, David A. (1983). "The Astronomy of the Mamluks". Isis. 74 (4): 531–555. doi:10.1086/353360. S2CID 144315162.
  • Ludwig, Karl-Heinz and Schmidtchen, Volker (1997) Metalle und Macht: 1000 bis 1600, Propyläen Technikgeschichte, Berlin: Propyläen Verlag, ISBN 3-549-05633-8
  • Ma, Huan (1997) Ying-yai sheng-lan [The overall survey of the ocean's shores (1433)], Feng, Ch'eng-chün (ed.) and Mills, J.V.G. (transl.), Bangkok : White Lotus Press, ISBN 974-8496-78-3
  • Seidman, David, and Cleveland, Paul, The Essential Wilderness Navigator, Ragged Mountain Press (2001), ISBN 0-07-136110-3
  • Taylor, E.G.R. (1951). "The South-Pointing Needle". Imago Mundi. 8: 1–7. doi:10.1080/03085695108591973.
  • Williams, J.E.D. (1992) From Sails to Satellites: the origin and development of navigational science, Oxford University Press, ISBN 0-19-856387-6
  • Wright, Monte Duane (1972) Most Probable Position: A History of Aerial Navigation to 1941, The University Press of Kansas, LCCN 72-79318
  • Zhou, Daguan (2007) The customs of Cambodia, translated into English from the French version by Paul Pelliot of Zhou's Chinese original by J. Gilman d'Arcy Paul, Phnom Penh : Indochina Books, prev publ. by Bangkok : Siam Society (1993), ISBN 974-8298-25-6

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy