ข้ามไปเนื้อหา

เจนไน

พิกัด: 13°5′N 80°16′E / 13.083°N 80.267°E / 13.083; 80.267
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจนไน

มัทราส
สมญา: 
ประตูสู่อินเดียใต้[1][2][3][4] Detroit of India,[5][6][7][8] Healthcare Capital of India,[9][10][11] Cultural Capital of South India[12]
ที่ตั้งของเจนไน
Chennaiตั้งอยู่ในรัฐทมิฬนาฑู
Chennai
Chennai
ที่ตั้งของเจนไนในรัฐทมิฬนาฑู
Chennaiตั้งอยู่ในเจนไน
Chennai
Chennai
Chennai (เจนไน)
พิกัด: 13°5′N 80°16′E / 13.083°N 80.267°E / 13.083; 80.267
ประเทศ อินเดีย
รัฐรัฐทมิฬนาฑู
อำเภออำเภอเจนไน [A]
ชื่อในอดีตมัทราส
ก่อตั้ง1639
การปกครอง
 • ประเภทMayor–Council
 • องค์กรGreater Chennai Corporation
 • MayorUnelected
 • Corporation CommissionerG Prakash [13] IAS
 • Police CommissionerDr AK Viswanathan[14] IPS
พื้นที่[15][16][17]
 • มหานคร426 ตร.กม. (164.5 Chennai city ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล[17][16][B]Chennai metropolitan area1,189 ตร.กม. (459.07 ตร.ไมล์)
ความสูง6 เมตร (20 ฟุต)
ประชากร
 (2011)[19][20]
 • มหานคร7,088,000 คน
 • อันดับ6th
 • ความหนาแน่น17,000 คน/ตร.กม. (43,000 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล[21]8,653,521
8,917,749 (Extended UA)[18] คน
 • Metro rank4th
เดมะนิมChennaiite
ภาษา
 • ทางการทมิฬ
เขตเวลาUTC+05:30 (IST)
Pincode(s)600xxx
รหัสพื้นที่+91-44
ทะเบียนพาหนะTN-01 to TN-14, TN-18, TN-22, TN-85
Metro GDP$59 to $66 billion (PPP)[22]
เว็บไซต์Chennai Corporation
  1. The Chennai metropolitan area also includes portions of Kanchipuram, Tiruvallur, Vellore, Thiruvannamalai districts adjoining the Chennai District.
  2. The Chennai metropolitan area also includes portions of Kanchipuram, Tiruvallur, Vellore, Thiruvannamalai districts adjoining the Chennai District.
แผนที่แสดงที่ตั้งเมืองเจนไน (เมืองในเขตสีแดงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือสุดของรัฐ)

เจนไน (อังกฤษ: Chennai; ทมิฬ: சென்னை) หรือชื่อเดิม มัทราส (Madras) เป็นเมืองหลวงของรัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ริมชายฝั่งโคโรมันเดล (โจฬมณฑล) ของอ่าวเบงกอล ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ มีพื้นที่ 181.06 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (พ.ศ. 2550) จึงทำให้เป็นกลุ่มเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ เจนไนตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยชาวอังกฤษซึ่งได้พัฒนาเมืองนี้ให้เป็นเมืองหลักและฐานทัพเรือ ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็กลายเป็นศูนย์กลางการบริหารที่สำคัญแห่งหนึ่ง ในฐานะเมืองหลวงของเขตมัทราส (Madras Presidency)

เศรษฐกิจของเมืองเจนไน ได้แก่ การผลิตรถยนต์ เทคโนโลยี ฮาร์ดแวร์ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยเป็นผู้ส่งออกซอฟต์แวร์และบริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศรายใหญ่อันดับที่ 3 ของประเทศรองจากเบงคลูรูและไฮเดอราบาด มีท่าอากาศยานนานาชาติ 1 แห่ง และท่าเรือหลักอีก 2 แห่ง เชื่อมต่อกับพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศด้วยทางหลวงแผ่นดินสายหลัก 5 สาย และสถานีขนส่งทางรถไฟอีก 2 แห่ง

เจนไนเป็นที่จัดงานฤดูกาลดนตรีมัทราส (Madras Music Season) กิจกรรมทางวัฒนธรรมประจำปีซึ่งมีการแสดงจากศิลปินหลายร้อยคน เป็นศูนย์กลางสำคัญของนาฏฺศิลป์ชั้นสูงประเภทหนึ่งของอินเดีย คือ ภารตนาฏยัม อุตสาหกรรมภาพยนตร์ภาษาทมิฬซึ่งเรียกว่า คอลลีวูด (Kollywood) มีฐานการผลิตอยู่ในเมืองนี้ นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงจากการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเจนไนโอเพนของสมาคมเทนนิสอาชีพ (ATP) อีกด้วย อย่างไรก็ตาม เมืองนี้ก็ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ การจราจรติดขัด และมลพิษทางอากาศ

เมืองพี่น้อง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Mohan, Vishnu (5 October 2020). "Scorching hot during summer and unbelievably crowded, the modern city of Chennai dipped in traditions from its Madras days never fails to surprise a traveller". Outlook Traveller. สืบค้นเมื่อ 31 December 2021.
  2. Vikas, S. V. (27 September 2018). "World Tourism Day 2018: Significance, theme and why it is observed". One India. New Delhi. สืบค้นเมื่อ 27 September 2018.
  3. Grover, Amar (17 September 2019). "Chennai unwrapped: Why the city is the great international gateway to South India". The National. Chennai. สืบค้นเมื่อ 31 December 2021.
  4. Sharma, Reetu (23 August 2014). "Chennai turns 375: Things you should know about 'Gateway to South India'". One India. Chennai. สืบค้นเมื่อ 20 March 2021.
  5. Business America (ภาษาอังกฤษ). U.S. Department of Commerce. 1997. p. 14.
  6. Chris Devonshire-Ellis (2012). Doing Business in India. Springer. p. 218. ISBN 978-3-642-27617-0.
  7. U.S. International Trade Commission (2007). Competitive Conditions for Foreign Direct Investment in India, Staff Research Study #30. DIANE Publishing. pp. 2–10. ISBN 978-1-4578-1829-5.
  8. "The economist". Economist Newspaper Ltd. 2004. p. 282.
  9. "Chennai High: City gets most foreign tourists". The Times of India. Chennai. 27 August 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 November 2020. สืบค้นเมื่อ 28 December 2012.
  10. National Accreditation Board for Hospitals & Healthcare Providers. "Chennai – India's Health Capital". India Health Visit. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2021. สืบค้นเมื่อ 28 December 2012.
  11. Hamid, Zubeda (20 August 2012). "The medical capital's place in history". The Hindu. Chennai. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2020. สืบค้นเมื่อ 28 December 2012.
  12. Rina Kamath (2000). Chennai. Orient Blackswan. p. 66. ISBN 978-81-250-1378-5.
  13. "Beela Rajesh is new Health Secy, Prakash to head Chennai Corpn". 17 February 2019 – โดยทาง www.thehindu.com.
  14. Kumar, S. Vijay (13 May 2017). "A.K.Viswanathan is Chennai's new Police Commissioner" – โดยทาง www.thehindu.com.
  15. "Chennai: PhaseII" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 April 2014. สืบค้นเมื่อ 24 April 2014.
  16. 16.0 16.1 "Chennai Expansion Could Be Tricky, Suggests History". The New Indian Express. สืบค้นเมื่อ 30 May 2017.
  17. 17.0 17.1 "About Greater Chennai Corporation". Official Website of Greater Chennai Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-02. สืบค้นเมื่อ 2019-08-22.
  18. "India Stats: Million plus cities in India as per Census 2011". Press Information Bureau, Mumbai. National Informatics Centre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2015. สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
  19. "Chennai Corporation is re-christened Greater Chennai Corporation". The Hindu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2020. สืบค้นเมื่อ 31 January 2016.
  20. "About Greater Chennai Corporation". Official Website of Greater Chennai Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-02. สืบค้นเมื่อ 2019-06-27.
  21. "Tamil Nādu (India): State, Major Agglomerations & Cities – Population Statistics in Maps and Charts". City population.de. สืบค้นเมื่อ 13 October 2015.
  22. "Global city GDP rankings 2008-2025". PwC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2011. สืบค้นเมื่อ 16 December 2009.
  23. "Chennai, India Overview". Denver Sister Cities International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-05. สืบค้นเมื่อ 2007-09-11.
  24. Mahalingam, Sudha (November 26, 2006). "Riding into a steppe sunset en route to Mumbai". The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-19. สืบค้นเมื่อ 2007-09-11.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy