ข้ามไปเนื้อหา

เดจิมะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เกาะเดจิมะ (ญี่ปุ่น: 出島โรมาจิDejimaทับศัพท์: เกาะทางออก)[1] เป็นเกาะเทียมเล็ก ๆ ถูกสร้างขึ้นในอ่าวนางาซากิ เมื่อปี 1634 ด้วยการขุดคลองผ่านคาบสมุทรเล็ก ๆ เพื่อให้พ่อค้าชาวโปรตุเกสได้เข้ามาค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม จนเมื่อถึงปี 1638 ชาวโปรตุเกสก็ถูกขับไล่ออกไป และชาวดัตช์ก็เข้ามาแทนที่ โดยเกาะแห่งนี้เป็นสถานที่เดียวที่ญี่ปุ่นจะสามารถรับวิทยาการและวัฒนธรรมแบบตะวันตก ในช่วงก่อนปี 1854

ประวัติ

[แก้]

ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและยุโรปเริ่มต้นขึ้นเมื่อกลุ่มพ่อค้าชาวโปรตุเกสเดินทางมาค้าขายที่ทาเนงาชิมะในปี 1543 หกปีต่อมามิชชันนารีนิกายเยสุอิตฟรานซิสซาเวียร์ก็เดินทางได้มาที่เมืองคาเงชิมะ ในตอนแรกชาวโปรตุเกสได้ตั้งหลักอยู่ที่เมืองฮิราโดะ แต่พวกเขาต้องการท่าเรือที่ดีกว่า ทำให้ในปี 1570 ไดเมียวโอมูระ ซูมิตากะ ได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ และได้ทำข้อตกลงให้ชาวโปรตุเกสช่วยพัฒนาเมืองนางาซากิ ทำให้ท่าเรือสามารถเปิดทำการค้าขายได้ ต่อมาในปี 1580 ไดเมียวโอมูระ ซูมิตากะ ได้มอบอำนาจศาลของนางาซากิให้กับนิกายเยสุอิต และชาวโปรตุเกสได้รับเอกสิทธิ์ที่จะทำการค้าไหมกับจีนผ่านมาเก๊า

ในปี 1634 โชกุนโทกูงาวะ อิเอมิตสึมีคำสั่งให้สร้างเกาะเทียมขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพ่อค้าชาวโปรตุเกสที่อาศัยอยู่ในนางาซากิ และขัดขวางการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของพวกเขา แต่หลังจากการจลาจลของประชากรส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาคริสต์ในชิมาบาระและอามากูซะ โชกุนตัดสินใจที่จะขับไล่ชาติตะวันตกทุกชาติออกไป ยกเว้นชาวดัตช์ที่ทำงานในบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์

ตั้งแต่ปี 1609 ชาวดัตช์ก็ได้ทำการค้าในฮิราโดะ พวกเขาได้รับอนุญาตให้ทำการค้าขายอย่างอิสระ อย่างเต็มที่ ร้านค้าในฮิราโดะกินพื้นที่ไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล จนเมื่อปี 1637 และ 1639 ก็ได้มีการสร้างคลังสินค้าหินขึ้นมาในร้านค้านี้อีก และการที่พวกเขาใช้หินในการก่อสร้างคลังสินค้านี้ ก็ถูกนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการทำลายสิ่งก่อสร้างในฮิราโดะและย้ายร้านค้าไปยังเมืองนางาซากิ

ในปี 1639 ชาวโปรตุเกสกลุ่มสุดท้ายก็ถูกขับไล่ออกจากญี่ปุ่นไป แต่นั้นก็ทำให้เดจิมะเริ่มที่จะล้มเหลวในการลงทุน และเมื่อไม่มีเรือโปรตุเกสที่ทำการค้าจากมาเก๊า เศรษฐกิจของนางาซากิได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก ถึงพวกเขาก็ยังสามารถอดทนได้ แต่ด้วยนโยบายอีกมากมายและยังเป็นศัตรูกับสเปนและโปรตุเกส ซึ่งทั้งสองประเทศก็ที่มีทั้งศาสนาและพื้นฐานทางการเมืองที่ต่างจากญี่ปุ่นมาก ชาวดัตช์เป็นคนกลุ่มเดียวที่ได้รับการยกเว้นจากการถูกขับไล่ แต่พวกเขาก็ถูกรัฐบาลญี่ปุ่นย้ายให้ไปอยู่ที่เดจิมะ

ตั้งแต่ปี 1641 มีเพียงเรือจีนและเรือดัตช์เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในญี่ปุ่นและมีทางเข้าเพียงทางเดียวคือท่าเรือนางาซากิ

Opperhoofd

[แก้]
Janus Henricus Donker Curtius 1862

Opperhoofd เป็นภาษาดัตช์ความหมายว่าผู้ใหญ่บ้านสูงสุด เป็นคำที่ชาวญี่ปุ่นใช้เรียกผู้ที่ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าดูแลร้านค้าในเกาะแห่งนี้ ซึ่งมักจะเป็นชาวโปรตุเกสที่สืบเชื้อสายกันต่อๆมา เป็นตำแหน่งที่มีอำนาจเหมือนกับผู้ว่าการรัฐ

Opperhoofd ที่โดดเด่น

ชื่อ ช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
François Caron 3 กุมพาพันธ์ 1639 – 13 กุมพาพันธ์ 1641
Zacharias Wagenaer 1 พฤศจิกายน 1656 – 27 ตุลาคม 1657
Zacharias Wagenaer 22 ตุลาคม 1658 – 4 พฤศจิกายน 1659
Andreas Cleyer 20 ตุลาคม 1682 – 8 พฤศจิกายน 1683
Andreas Cleyer 17 ตุลาคม 1685 – 5 พฤศจิกายน 1686
Hendrik Godfried Duurkoop 23 พฤศจิกายน 1776 – 11 พฤศจิกายน 1777
Isaac Titsingh 29 พฤศจิกายน 1779 – 5 พฤศจิกายน 1780
Isaac Titsingh 24 พฤศจิกายน 1781 – 26 ตุลาคม 1783
Isaac Titsingh - มิถุนายน 1784 – 30 พฤศจิกายน 1784
Hendrik Doeff 14 พฤศจิกายน 1803 – 6 ธันวาคม 1817
Jan Cock Blomhoff 6 ธันวาคม 1817 – 20 พฤศจิกายน 1823
Janus Henricus Donker Curtius 2 พฤศจิกายน 1852 – 28 กุมพาพันธ์ 1860

อ้างอิง

[แก้]
  • มัลิกา พงศ์ปริตร. ญี่ปุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์หน้าต่างสู่โลกกว้าง จำกัด, 2551.
  • Blomhoff, J.C. (2000). The Court Journey to the Shogun of Japan: From a Private Account by Jan Cock Blomhoff. Amsterdam
  • Blussé, L. et al., eds. (1995–2001) The Deshima [sic] Dagregisters: Their Original Tables of Content. Leiden.
  • Blussé, L. et al., eds. (2004). The Deshima Diaries Marginalia 1740-1800. Tokyo.
  • Boxer. C.R. (1950). Jan Compagnie in Japan, 1600-1850: An Essay on the Cultural, Artistic, and Scientific Influence Exercised by the Hollanders in Japan from the Seventeenth to the Nineteenth Centuries. Den Haag.
  • Doeff, Hendrik. (1633). Herinneringen uit Japan. Amsterdam. [Doeff, H. "Recollections of Japan" (ISBN 1-55395-849-7)]
  • Caron, François. (1671). A True Description of the Mighty Kingdoms of Japan and Siam. London.
  • Edo-Tokyo Museum exhibition catalog. (2000). A Very Unique Collection of Historical Significance: The Kapitan (the Dutch Chief) Collection from the Edo Period—The Dutch Fascination with Japan. Catalog of "400th Anniversary Exhibition Regarding Relations between Japan and the Netherlands," a joint project of the Edo-Tokyo Museum, the City of Nagasaki, the National Museum of Ethnology, the National Natuurhistorisch Museum and the National Herbarium of the Netherlands in Leiden, the Netherlands. Tokyo.
  • Leguin, F. (2002). Isaac Titsingh (1745–1812): Een passie voor Japan, leven en werk van de grondlegger van de Europese Japanologie. Leiden.
  • Mitchell, David (2010). The Thousand Autumns of Jacob de Zoet. London.
  • Nederland's Patriciaat, Vol. 13 (1923). Den Haag.
  • Screech, Timon. (2006). Secret Memoirs of the Shoguns: Isaac Titsingh and Japan, 1779-1822. London: RoutledgeCurzon. ISBN 0-7007-1720-X
  • Siebold, P.F.v. (1897). Nippon. Würzburg / Leipzig.Click link for full text in modern German
  • Titsingh, I. (1820). Mémoires et Anecdotes sur la Dynastie régnante des Djogouns, Souverains du Japon. Paris: Nepveau.
  • Titsingh, I. (1822). Illustrations of Japan; consisting of Private Memoirs and Anecdotes of the reigning dynasty of The Djogouns, or Sovereigns of Japan. London: Ackerman.
  1. "Dejima Nagasaki | JapanVisitor Japan Travel Guide". www.japanvisitor.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy