ข้ามไปเนื้อหา

เผด็จการทหาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ระบอบเผด็จการทหาร (อังกฤษ: military dictatorship) คือ ระบอบการปกครองที่อำนาจทางการเมืองขึ้นอยู่กับกองทัพ ถือได้ว่าเป็นการปกครองแบบคณาธิปไตยลัทธิอำนาจนิยมอย่างหนึ่ง

เผด็จการทหารต่างจากเผด็จการพลเรือนด้วยหลายสาเหตุ คือ แรงจูงใจของการยึดอำนาจ สถาบันซึ่งใช้จัดระเบียบการปกครอง และหนทางสละอำนาจ เผด็จการทหารมักมองว่าตนกำลังช่วยให้ประเทศชาติพ้นจากนักการเมืองพลเรือนที่ฉ้อฉลหรือวิสัยทัศน์คับแคบ และอ้างฐานะของตนเป็นผู้ชี้ขาด "คนกลาง" บนฐานสมาชิกภาพในกองทัพ ผู้นำทหารมักปกครองเป็นคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง โดยเลือกหนึ่งในพวกตนเป็นหัวหน้า[1]

ลักษณะและการแบ่งหมวดหมู่

[แก้]

รัฐบาลเผด็จการทหารส่วนมากจัดตั้งหลังรัฐประหารล้มล้างอำนาจรัฐบาลชุดก่อนหน้า ตัวอย่างที่ต่างออกไป เช่น สมัยซัดดัม ฮุสเซน ในประเทศอิรัก ซึ่งเริ่มจากรัฐที่ปกครองโดยรัฐบาลพรรคเดียว คือ พรรคบะอัธ แต่เมื่อเวลาผ่านไปรัฐบาลดังกล่าวเปลี่ยนไปเป็นเผด็จการทหาร (ตามที่ผู้นำสวมเครื่องแบบทหารและกองทัพก็มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดในรัฐบาล)[ต้องการอ้างอิง]

เผด็จการทหารมักอ้างความชอบธรรมให้แก่ตนเองว่าเป็นการสร้างความสมานฉันท์แก่ชาติ และช่วยชาติให้พ้นจากภัยคุกคามของ "อุดมการณ์ที่อันตราย" อันเป็นการสร้างการข่มขวัญ ในละตินอเมริกา ยกภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์และทุนนิยมเป็นข้ออ้างของรัฐประหาร คณะทหารมักว่าพวกเขาไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใด เป็นคณะที่เป็นกลาง สามารถจัดการกับความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ ได้ และกล่าวว่านักการเมืองที่มาจากประชาชนคดโกงและไร้ประสิทธิภาพ ลักษณะร่วมประการหนึ่งของรัฐบาลทหาร คือการประกาศใช้กฎอัยการศึกหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน

รัฐบาลทหารมักไม่เคารพสิทธิมนุษยชน และมักใช้วิธีการปิดปากศัตรูทางการเมือง รัฐบาลทหารมักไม่คืนอำนาจจนกว่าจะมีการปฏิวัติโดยประชาชน[ต้องการอ้างอิง]

ลาตินอเมริกา ทวีปแอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกกลางเป็นพื้นที่ที่เป็นเผด็จการทหารบ่อยครั้ง เหตุผลหนึ่งคือทหารประสานงานร่วมกัน และมีโครงสร้างของสถาบันที่เข้มแข็งกว่าสถาบันทางสังคมของประชาชน[ต้องการอ้างอิง]

ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ระบอบเผด็จการทหารเริ่มมีจำนวนลดลง เหตุผลหนึ่งมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า เผด็จการทหารไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และรัฐบาลทหารมักไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมประเทศไม่ให้เกิดการต่อต้านได้ นอกจากนี้ การล่มสลายของสหภาพโซเวียตทำให้กองทัพไม่สามารถยกคอมมิวนิสต์มาอ้างความชอบธรรมของตนเองได้อีก[ต้องการอ้างอิง]

ประวัติ

[แก้]

ทวีปแอฟริกา

[แก้]
  1.  แอลจีเรีย (1965–1978; ค.ศ. 1992–1994; ค.ศ. 2011)
  2.  เบนิน (1963–1964; 1965–1968; 1969–1970; 1972–1975)
  3.  บูร์กินาฟาโซ (1966–1977; 1980–1991; 17 กันยายน-23 กันยายน ค.ศ. 2015)
  4.  บุรุนดี (1966–1974; 1976–1979; 1987–1992)
  5.  สาธารณรัฐแอฟริกากลาง (1966–1979; 1981–1986; 2003–2005; 2013–2014)
  6.  ชาด (1975–1979; 1982–1989)
  7.  คอโมโรส (1999–2002)
  8.  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ค.ศ. 1965–1971; ซาอีร์|ค.ศ. 1971–1997)
  9.  สาธารณรัฐคองโก (1968–1969; 1977–1979)
  10.  โกตดิวัวร์ (1999–2000)
  11.  อียิปต์ (1953–1956; 2011–2012)
  12.  อิเควทอเรียลกินี (1979–1987)
  13.  เอธิโอเปีย (1974–1987)
  14.  แกมเบีย (1994–1996)
  15.  กานา (1966–1969; 1972–1975; 1975–1979; 1981–1993)
  16.  กินี (ค.ศ. 1984–1990; ค.ศ. 2008–2010)
  17.  กินี-บิสเซา (1980–1984; 1999; 2003; 12 เมษายน 2012 – 11 พฤษภาคม 2012)
  18.  เลโซโท (1986–1993, 2014)
  19.  ไลบีเรีย (1980–1986, 1990–1997, 2003–2006)
  20.  ลิเบีย (1969–1977; 1977–2011)
  21.  มาดากัสการ์ (1972–1976)
  22.  มาลี (1968–1992; 21 มีนาคม 2012 – 12 เมษายน 2012)
  23.  มอริเตเนีย (ค.ศ. 1978–1979; 1979–1992; ค.ศ. 2005–2007; ค.ศ. 2008–2009)
  24.  ไนเจอร์ (1974–1989; 1996; 1999; 2010–2011)
  25.  ไนจีเรีย (สภาทหารสูงสุด (ไนจีเรีย) : สมัยที่ 1 ค.ศ. 1966–1975; ค.ศ. 1975–1979; สมัยที่ 2 ค.ศ. 1983–1985; สภากองทัพควบคุมอำนาจการปกครอง ค.ศ. 1985–1993; ค.ศ. 1993–1998; ค.ศ. 1998–1999)
  26.  รวันดา (1973–1975)
  27.  เซาตูแมอีปริงซีป (1995; 2003)
  28.  เซียร์ราลีโอน (ค.ศ. 1967–1968; ค.ศ. 1992–1996; ค.ศ. 1997–1998)
  29.  โซมาเลีย (1969–1976; 1980–1991)
  30.  ซูดาน (1958–1964; 1969–1971; 1985–1986; ค.ศ. 1989–1993);11 เมษายน ค.ศ.2019-ปัจจุบัน[2]
  31.  โตโก (ค.ศ. 1967–1979)
  32.  ยูกันดา (ค.ศ. 1971–1979; ค.ศ. 1985–1986)
  33.  มาลี 2020-ปัจจุบัน

ทวีปอเมริกาเหนือ

[แก้]
  1.  คอสตาริกา (1868–1870; 1876–1882; 1917–1919)
  2.  คิวบา (1933; 1952–1959)
  3.  สาธารณรัฐโดมินิกัน (1899; 1930–1961;1963-1966)
  4.  เอลซัลวาดอร์ (1885–1911; 1931–1982)
  5.  กัวเตมาลา (1944–1945; 1954–1957; 1957–1966; 1970–1986)
  6.  เฮติ (1950–1956; 1956–1957; 1986–1990; 1991–1994)
  7.  ฮอนดูรัส (1956–1957; 1963–1971; 1972–1982)
  8.  เม็กซิโก (1876; 1877–1880; 1884–1911)
  9.  นิการากัว (1937–1956; 1967–1979)
  10.  ปานามา (1903–1904; 1968–1989)

ทวีปอเมริกาใต้

[แก้]
  1.  อาร์เจนตินา (รัฐประหาร : ค.ศ. 1930–1932; ค.ศ. 1943–1946; ค.ศ. 1955–1958; ค.ศ. 1966–1973; ค.ศ. 1976–1983)
  2.  โบลิเวีย (1839–1843; 1848; 1857–1861; 1861; 1864–1872; 1876–1879; 1899; 1920–1921; 1930–1931; 1936–1940; 1946–1947; 1951–1952; 1964–1966; 1970–1979; 1980–1982)
  3.  บราซิล (คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง : สมัยที่ 1 ค.ศ. 1889-1894; ค.ศ. 1930; สมัยที่ 2 ค.ศ. 1964)
  4.  ชิลี (คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง : สมัยที่ 1 ค.ศ. 1924–1925; สมัยที่ 2 ค.ศ. 1925; สมัยที่ 3 ค.ศ. 1932; สมัยที่4 ค.ศ. 1973–1990)
  5.  โคลอมเบีย (ค.ศ. 1953–1958)
  6.  เอกวาดอร์ (ค.ศ. 1876–1883; ค.ศ. 1935–1938; ค.ศ. 1947; ค.ศ. 1963–1966; ค.ศ. 1972–1979)
  7.  ปารากวัย (ค.ศ. 1940–1948; 1954–1989)
  8.  เปรู (1842–1844; 1865–1867; 1872; 1879–1881; 1914–1915; 1930–1939; 1948–1956; 1962–1963; 1968–1980)
  9.  ซูรินาม (ค.ศ. 1980–1988)
  10.  อุรุกวัย (ค.ศ. 1865–1868; ค.ศ. 1876–1879; ค.ศ. 1933–1938; ค.ศ. 1973–1985)
  11.  เวเนซุเอลา (ค.ศ. 1858–1859; ค.ศ. 1859–1861; ค.ศ. 1861–1863; ค.ศ. 1908–1913; ค.ศ. 1922–1929; ค.ศ. 1931–1935; ค.ศ. 1948–1958)

ทวีปเอเชีย

[แก้]
  1.  บังกลาเทศ (ค.ศ. 1975–1981; ค.ศ. 1982–1990)
  2.  พม่า (เมียนมา) (1962–1974; 1988–2011; 2021-ปัจจุบัน)
  3.  อินโดนีเซีย (1967–1998)
  4.  อิหร่าน (1953–1957; 1978–1979)
  5.  อิรัก (1933–1935; 1937–1938; 1949–1950; 1952–1953; 1958–1963; 1963–1979)
  6.  เกาหลีใต้ (สภาสูงสุดเพื่อการฟื้นฟูแห่งชาติ ค.ศ. 1961–1963, สาธารณรัฐที่ 5 ค.ศ. 1980)
  7.  ลาว (ค.ศ. 1959–1960)
  8.  ปากีสถาน (ค.ศ. 1958–1971; ค.ศ. 1977–1988; ค.ศ. 1999–2008)
  9.  ฟิลิปปินส์ (1898, 1972–1981)
  10.  ซีเรีย (1949; 1951–1954; 1961–1972)
  11.  ไทย (เมษายน 1933; มิถุนายน 1933; 1947; 1948; 1951; 1957-1958; 1958-1963; 1971-1973; 1976-1977; 1977-1979; ค.ศ. 1991-1992; ค.ศ. 2006-2008; ค.ศ.2014-2019)
  12.  ตุรกี (ค.ศ. 1960–1961; ค.ศ. 1971–1973; ค.ศ. 1980–1983)
  13.  เวียดนามใต้ (ค.ศ. 1963–1967)
  14.  เยเมนเหนือ (ค.ศ. 1962–1967; ค.ศ. 1974–1982)

ทวีปยุโรป

[แก้]
  1.  บัลแกเรีย (ค.ศ. 1934–1935; ค.ศ. 1944–1946)
  2.  ฝรั่งเศส (1870–1871)
  3.  กรีซ (1909–1910; 1922–1924; 1925–1926; 1933; 1936–1941; คณะผู้ยึดอำนาจนายพัน ค.ศ. 1967–1974)
  4.  โปแลนด์ (1926–1935; ค.ศ. 1981–1983)
  5.  โปรตุเกส (ค.ศ. 1926–1933)
  6.  รัสเซีย (ค.ศ. 1918–1920)
  7.  สเปน (ค.ศ. 1923–1930; ฟรันซิสโก ฟรังโก ค.ศ. 1936–1975)

หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก

[แก้]
  1.  ฟีจี (ค.ศ. 2006–2014)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Cheibub, José Antonio (2010-04-01). "Democracy and dictatorship revisited". Public Choice. 143 (1–2): 67–101. doi:10.1007/s11127-009-9491-2. ISSN 0048-5829. สืบค้นเมื่อ 2014-03-24. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  2. ทหารยึดอำนาจผู้นำครองประเทศนาน 30 ปี อ้างรัฐบาลโกง[ลิงก์เสีย]

ดูเพิ่ม

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy