ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่

พิกัด: 18°08′37″N 100°08′22″E / 18.1436088°N 100.1394367°E / 18.1436088; 100.1394367
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
Nareerat School Phrae
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นน.ร. (N.R.)
ประเภทโรงเรียนประจำจังหวัดของรัฐ
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญวินัยดี กีฬาเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม เลิศล้ำปัญญา พัฒนาจิตใจ
สถาปนาพ.ศ. 2464 (อายุ 103 ปี)
เขตการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส54012002
ผู้อำนวยการนายสุริยน สายสนองยศ
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1-6 สหศึกษา
จำนวนนักเรียน2,912 คน (4 ก.พ. 2565)
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
ฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส
จีน ภาษาจีน
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น (2556)
เกาหลีใต้ ภาษาเกาหลี (2561)
สี  ฟ้า   น้ำเงิน
เพลงมาร์ชนารีรัตน์
เว็บไซต์www.nareerat.ac.th

โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ (ไทยถิ่นเหนือ: ᩁᩰᩫ᩠ᨦᩁ᩠ᨿᩁᨶᩣᩁᩦᩁᩢᨲ᩠ᨶ᩼ᨧᩢ᩠ᨦᩉ᩠ᩅᩢᨯᨻᩯ᩵ᩖ ) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1 ถนนคุ้มเดิม ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2464 โดยกระทรวงธรรมการ ได้มี ตราบุษบก ตามประทีปน้อย ที่ 13/1148 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2464 อนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนรัฐบาลประจำมลฑลมหาราษฎร์ฝ่ายสตรี และให้นางสาวอนงค์ ภูมิรัตน์ เป็นครูใหญ่ มหาเสวกตรี พระยาเพชรรัตน์สงคราม อนุญาตให้ใช้สโมสรเสือป่าเก่า 2 หลัง เป็นสถานที่เล่าเรียนและได้จัดทำพิธีเปิดป้ายโรงเรียนขึ้น ในวันที่ 15 และ 16 มิถุนายน 2464 เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีนักเรียน 47 คน

ปัจจุบัน เปิดสอนระดับชั้น ม.1 - ม.6 และในปีการศึกษา 2565 มีนักเรียนจำนวนทั้งหมด 2,866 คน (ข้อมูลเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2565)

ประวัติโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่

[แก้]
  • พ.ศ. 2469 ทางราชการประกาศยุบมณฑลมหาราษฎร์ จัดตั้งเป็นจังหวัด โรงเรียนสตรีประจำมณฑลมหาราษฎร์ “นารีรัตน์” จึงเปลี่ยนเป็น โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดแพร่ “นารีรัตน์”
  • พ.ศ. 2479 จังหวัดได้ย้ายโรงเรียนสตรี จากสโมสรเสือป่า (คือบริเวณที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่ในปัจจุบัน) มาเปิดสอน ณ โรงเรียนซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของโรงเรียนประจำจังหวัดชาย ที่ตั้งอยู่หน้าจวนข้าหลวง ถนนคุ้มเดิม และเป็นที่ตั้งของโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ในปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2497 ได้รับงบประมาณ จัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมจำนวน 1 ไร่ 83 ตารางวา (ที่ดินเดิมที่เป็นที่ตั้งของโรงเรียนประจำจังหวัดชาย จำนวน 7 ไร่ 2 งาน 96.8 ตารางวา )
  • พ.ศ. 2503 เริ่มเปิดสอนชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 1 แผนกอักษรศาสตร์ เปิดรับนักเรียนชายเข้าเรียนเป็นปีแรก ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่ว่า “โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่” นางบัวเขียว รังคสิริ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
  • พ.ศ. 2507 ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษาจัดซื้อที่ดินเพิ่มจำนวน 3 ไร่ 36.9 ตารางวา
  • พ.ศ. 2511 เข้าโครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมในชนบท (คมช.) รุ่นที่ 5 พ.ศ. 2514 นางบัวเขียว รังคสิริ ได้ซื้อที่ดินที่ติดกับโรงเรียนด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 3 งาน 58.7 ตารางวา มอบให้แก่โรงเรียน
  • พ.ศ. 2516 นางบัวเขียว รังคสิริ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จตุตถจุลจอมเกล้าฯ มีคำนำหน้านามว่า “คุณหญิง” เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2516
  • พ.ศ. 2517 ได้รับงบประมาณจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมจำนวน 1 ไร่ 1 งาน 29.8 ตารางวา
  • พ.ศ. 2517 คุณหญิงบัวเขียว รังคสิริ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน และเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2517
  • พ.ศ. 2518 ได้รับงบประมาณจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติม จำนวน 3 งาน 8.3 ตารางวา
  • พ.ศ. 2518 นางสาวจำรูญรัตน์ ชมภูมิ่ง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน และเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2525
  • พ.ศ. 2525 นางธัญญลักษณ์ จ้อยจรูญ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
  • พ.ศ. 2527 สมาคมครูและผู้ปกครองฯ บริจาคเงินซื้อที่ดิน ที่ตำบลร่องฟอง (ตำบลทุ่งโฮ้งเดิม) จำนวน 16 ไร่ 60 ตารางวา มอบให้เป็นสมบัติของโรงเรียน เพื่อใช้เป็นสถานที่ปลูกสร้างบ้านพักครู ทำแปลงสาธิตเกษตรของนักเรียนและใช้ประโยชน์ในการทำกิจกรรมพิเศษของนักเรียน
  • พ.ศ. 2527, 2528, 2531-2534, 2536 ได้รับยกย่องให้เป็นสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนจริยธรรมดีเด่น จากกระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2529 โรงเรียนได้รับรางวัลพระราชทาน ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ของเขตการศึกษา 8
  • พ.ศ. 2531 ได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ให้ใช้ที่ดินราชพัสดุ ที่ตั้งอยู่ ณ ถนนพระร่วง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่เนื้อที่ 3 งาน 60.10 ตารางวา เพื่อสร้างอาคารส่งเสริมการจำหน่ายผลผลิตของนักเรียน และเป็นแปลงสาธิตการเกษตร
  • พ.ศ. 2532 นางธัญญลักษณ์ จ้อยจรูญ ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ 9 และเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2532 นางสาวเจียร ดุษณีย์วงศ์ ได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
  • พ.ศ. 2533 ได้รับคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษาให้เป็นโรงเรียนในโครงการ โรงเรียนร่วมพัฒนาการใช้หลักสูตร เริ่มใช้หลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 ทุกระดับชั้น
  • พ.ศ. 2536 ได้รับรางวัลพระราชทานชนะเลิศระดับประเทศ การจัดป้ายนิทรรศการ ”ข้าวในวิถีชีวิตไทย” ในหัวข้อ “ประเพณีข้าวชาวล้านนา” จาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
  • พ.ศ. 2536 นางสาวเจียร ดุษณีย์วงศ์ ได้รับคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษา เป็นผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่น โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ของจังหวัดแพร่ และผู้บริหารดีเด่น ระดับมัธยมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2536 และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ ระดับ 9
  • พ.ศ. 2537 สมาคมครูและผู้ปกครองฯ บริจาคเงินซื้อที่ดิน ที่ตำบลร่องฟองเพิ่มเติม จำนวน 9 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา
  • พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การประกวดรณรงค์และรักษาสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา ระดับเขตการศึกษา 8
  • ศาลพระภูมิชัยกฤษณะ ศาลพระภูมิประจำโรงเรียน (1 เมษายน 2565)
    พ.ศ. 2538 ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดเกวียนบุปผาชาติ งานแอ่วสงกรานต์น้ำใจเมืองแป้นุ่งหม้อห้อมแต้งามตา ของจังหวัดแพร่ ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดขบวนแห่งานประเพณีแห่เทียนพรรษา รางวัลรองชนะเลิศ การประกวดเทียนพรรษา ประจำปี 2538 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การประกวดขบวนแห่กระทง และรางวัลรองชนะเลิศ การประกวดนางนพมาศ เนื่องในประเพณีลอยกระทงเล่นไฟพะเนียงเวียงโกศัยจังหวัดแพร่ ประจำปี 2538 ของเทศบาลเมืองแพร่
  • พ.ศ. 2539 ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดแพร่ ให้เป็นโรงเรียนที่จัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมดีเด่น ประจำปี 2539 ของสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดแพร่ และได้รับรางวัลชมเชย ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนมัธยมศึกษา ประจำปี 2539 ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
  • พ.ศ. 2540 นางสาวเจียร ดุษณีย์วงศ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประถมาภรณ์ช้างเผือก และเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541
  • พ.ศ. 2542 นายพิสิฐ คงเมือง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนได้รับเกียรติบัตรให้เป็นโรงเรียนสีขาว เฉลิมพระเกียรติ ปลอดสารเสพย์ติด รักในหลวง ห่วงลูกหลาน ร่วมกันต้านยาเสพย์ติด บ้าน โรงเรียน ร่วมคิด ทุกชีวิตปลอดภัย ปี 2542 จากกระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2543 นายพิทักษ์ บุณยเวทย์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
  • พ.ศ. 2544 ได้รับคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษาให้เป็นโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
  • พ.ศ. 2545 โรงเรียนเริ่มใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ในช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1) และช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4) นายพิทักษ์ บุณยเวทย์ ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ 9
  • พ.ศ. 2546 โรงเรียนใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ในช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2) และช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5) และโรงเรียนได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก จาก สมศ. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
  • พ.ศ. 2547 โรงเรียนใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 ทุกชั้นปี

วันที่ 27 กันยายน 2547 นายสุพงษ์ รังษี ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่

  • พ.ศ. 2547 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลยอดเยี่ยมการจัดกิจกรรมของสถานศึกษา "รักการอ่านสานสู่ฝัน"ในปีแห่งการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ 2546 เฉลิมพระเกียรติฯ สาขากิจกรรม ส่งเสริมยอดนักอ่านสู่การเรียนรู้ ด้านสื้อสารภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา
  • พ.ศ. 2549 โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
  • พระพุทธอะโนมะทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า (1 เมษายน 2565) Phra Budda A No Ma Dat Si Samma SamBuddha Cao
    พ.ศ. 2549 เด็กหญิงกานต์ธีรา ทิพย์กาญจนรัตน์ ได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รางวัลชนะะเลิศ

"เพชรยอดมงกุฏ" ด้านภาษาไทย ประจำปี 2549

  • พ.ศ. 2549 กลุ่มนาฏศิลป์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านภาคเหนือ เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย ประจำปี 2549 ของรัฐสภา
  • พ.ศ. 2550 กลุ่มนาฏศิลป์ ได้รับรางวัลพระราชทานเยาวชนดีเด่นแห่งชาติและผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติประจำปี 2550
  • 30 กันยายน 2550 นายสุพงษ์ รังษี ผู้อำนวยการโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ เกษียณอายุราชการ
  • พ.ศ. 2550 นายปรีชา บำบัด ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
  • พ.ศ. 2552 โรงเรียนเริ่มใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ในช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1) และช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4)
  • 15 มิถุนายน 2552 เปิดพิพิธภัณฑ์การศึกษา โรงเรียนนารีรัตน์ จังหวัดแพร่ ในโอกาสครบรอบ88ปีโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
  • 20 สิงหาคม 2552 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น ณ อาคารจรัสฉายไพทูรย์ โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
  • 30 กันยายน 2552 นายปรีชา บำบัด ผู้อำนวยการโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ เกษียณอายุราชการ
  • 23 ธันวาคม 2552 นางสาวจรรยา มโนรส ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
  • พ.ศ. 2553 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศให้โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่เป็นโรงเรียนมาตรฐานสู่สากล
  • พ.ศ. 2553 โรงเรียนใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ในช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2) และช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5)
  • พ.ศ. 2556 เปิดแผนการเรียนศิลป์-ภาษาญี่ปุ่น ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นปีแรก
  • พ.ศ. 2559 ดร.กิจผจญ แมตเมือง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
  • พ.ศ. 2561 เปิดโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ (English Program Nareerat School Phrae) และเปิดให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เลือกเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่น และภาษาเกาหลี ในฐานะภาษาต่างประเทศที่ 2 เป็นปีแรก
  • พ.ศ. 2562 เปิดแผนการเรียนศิลป์-ภาษาเกาหลี ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นปีแรก
  • พ.ศ. 2562 นายสวัสดิ์ ใจตุรงค์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
  • พ.ศ. 2564 โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ครบรอบ 100 ปีแห่งการสถาปนา
  • พ.ศ. 2565 โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ได้มีการเปิดอาคารเรียนใหม่ "อาคารจำรูญศตมรกต" อาคาร 10 แทนอาคาร 7 และ 8 หลังเดิม
  • พ.ศ. 2565 ว่าที่ร้อยตรี วีรภัทร แก้วทอง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่

รายนามผู้บริหารโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่

[แก้]
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นางสาวอนงค์ ภูมิรัตน์ พ.ศ. 2464 - 2465
2 นางสาวเจริญ ยุกตะเสวี พ.ศ. 2465 - 2467
3 นางจินดา บริหารสิกขกิจ พ.ศ. 2467 - 2468
4 นางทองอยู่ คงอุดม พ.ศ. 2468 - 2485
5 คุณหญิงบัวเขียว รังคสิริ พ.ศ. 2486 - 2517
6 นางสาวจำรูญรัตน์ ชมภูมิ่ง พ.ศ. 2517 - 2525
7 นางธัญญลักษณ์ จ้อยจรูญ พ.ศ. 2525 - 2532
8 นางสาวเจียร ดุษณีย์วงศ์ พ.ศ. 2532 - 2541
9 นายพิสิฐ คงเมือง พ.ศ. 2541 - 2542
10 นายพิทักษ์ บุณยเวทย์ พ.ศ. 2542 - 2547
11 นายสุพงษ์ รังษี พ.ศ. 2547 - 2550
12 นายปรีชา บำบัด พ.ศ. 2550 - 2552
13 นางสาวจรรยา มโนรส พ.ศ. 2552 - 2558
14 นายฐานวัฒน์ ธนาวรรัฐพงศ์ พ.ศ. 2558 - 2559
15 ดร.กิจผจญ แมตเมือง พ.ศ. 2559 - 2562
16 นายสวัสดิ์ ใจตุรงค์ พ.ศ. 2562 - 2565
17 ว่าที่ร้อยตรี วีรภัทร แก้วทอง พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

รายชื่ออาคารและสถานที่ในโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่

[แก้]
  • อาคาร 1 - อาคารน้ำเพชร อาคารนี้เป็นอาคารไม้เพียงอาคารเดียวของโรงเรียน มี 2 ชั้น ชั้นละ 6 ห้อง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2460 ซ่อมแซมเมื่อ พ.ศ. 2541 ปัจจุบันเป็นอาคารเกียรติยศและเป็นที่ตั้งขององค์กรที่สนับสนุนการศึกษาของโรงเรียน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ สมาคมศิษย์เก่านารีรัตน์ มูลนิธิคุณหญิงบัวเขียว รังคสิริ และมูลนิธิศิษย์เก่านารีรัตน์ ห้องประชุมน้ำเพชร ห้องนำเสนอ และ พิพิธภัณฑ์การศึกษาโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
    • ชั้นที่หนึ่ง มีห้องประชุมคุณหญิงบัวเขียว รังคสิริ, พิพิธภัณฑ์การศึกษาฯ, ห้องเกียรติยศนารี, ห้องประชุมน้ำเพชร และห้องสมาคมศิษย์เก่านารีรัตน์
    • ชั้นที่สอง มีห้องนิทรรศการหมุนเวียน, ห้องคิดสร้างสรรค์งาน, ห้องภูมิปัญญาวิถีชีวิตล้านนา, ห้องหน้ามุกเทิดไท้กษัตรา, ห้องเชิดชูเวียงโกศัย, ห้องล้านนาเรียนรู้, ห้องพัฒนาจิตใจ และห้องรำลึกนารีรัตน์
  • อาคาร 2 - อาคารเกล็ดแก้ว มี 4 ชั้น 21 ห้อง ใต้ถุนโล่ง และมีทางเดินเชื่อมไปอาคาร 5 เป็นตึกอำนวยการ สร้างในสมัยผู้อำนวยการธัญญลักษณ์ จ้อยจรูญ และสมาคมผู้ปกครองและครู ฯ ได้บริจาคเงินต่อเติมอาคารจำนวน 3 ชั้น
    • ชั้นที่หนึ่ง เป็นที่โล่ง มีโต๊ะและเก้าอี้ให้นั่ง มีเครื่องออกกำลังกาย และมีห้องประชุมครู ส่วนต่อเติมเป็นห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
    • ชั้นที่สอง เป็นห้องของผู้อำนวยการโรงเรียน ห้องการเงิน ห้องพัสดุและอัดสำเนา ห้องธุรการ ห้องงานบริหารธุรการและงบประมาณ ชั้นสองมี 6 ห้อง ส่วนต่อเติมเป็นห้องงานข้อมูลสารสนเทศ ห้องเซิร์ฟเวอร์ ห้องบริหารงานบุคคล ห้องเทคนิคคอมพิวเตอร์ ห้องบัตร Smart Card และห้องแผนงาน
    • ชั้นที่สาม เป็นห้องคอมพิวเตอร์ ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้เทคโนโลยี ชั้นสามมี 6 ห้อง ส่วนต่อเติมเป็นห้องงาน HCEC และห้องพักครูเทคโนโลยี
    • ชั้นที่สี่ เป็นห้องเรียนศิลปะ นาฏศิลป์และคอมพิวเตอร์
  • อาคาร 3 - อาคารแววมณี เป็นอาคารเรียนที่สร้างบนที่ดินของสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ และสร้างด้วยเงินบริจาคของสมาคม ฯ มี 4 ชั้น 12 ห้อง สร้างในสมัยผู้อำนวยการปรีชา บำบัด
    • ชั้นที่หนึ่ง เป็นห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้องพักครูระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และห้องเรียนการงานอาชีพ
    • ชั้นที่สอง เป็นห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
    • ชั้นที่สาม เป็นห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
    • ชั้นที่สี่ เป็นห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
  • อาคาร 4 - อาคารสีนิลกาฬ มี 4 ชั้น 24 ห้อง ส่วนใหญ่เป็นห้องวิทยาศาสตร์และห้องพักครู สร้างในสมัยผู้อำนวยการคุณหญิงบัวเขียว รังคศิริ
    • ชั้นที่หนึ่ง เป็นห้องพักครูและห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และมีห้องเรียนประจำของห้องเรียนพิเศษทางวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 1 ห้อง
    • ชั้นที่สอง เป็นห้องพักครูสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 1 ห้อง และห้องพักครูสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 2 ห้อง มีห้อง SEAR และห้องของกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ห้องศูนย์ EP และศูนย์ AFS
    • ชั้นที่สาม เป็นห้องพักครูสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 1 ห้อง เป็นห้องเรียนและห้องทดลองวิทยาศาสตร์ในวิชาฟิสิกส์ระดับมัธยมปลาย และมีห้องเรียนประจำของห้องเรียน พิเศษทางวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 1 ห้อง
    • ชั้นที่สี่ เป็นห้องเรียนและห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ในวิชาชีววิทยาและเคมีระดับมัธยมปลาย
  • อาคาร 5 - อาคารมุกดาหาร มี 4 ชั้น 24 ห้อง เป็นตึกอำนวยการ สร้างในสมัยผู้อำนวยการจำรูญรัตน์ ชมภูมิ่ง
    • ชั้นที่หนึ่ง เป็นห้องเรียนดนตรีสากล ห้องพักครูสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ห้องเรียนการงานอาชีพ ห้องพักครูสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน)
    • ชั้นที่สอง เป็นห้องทะเบียน ห้องกลุ่มบริหารงานวิชาการ กลุ่มบริหารงานทั่วไป ห้องประชาสัมพันธ์ ห้องรองผู้อำนวยการบริหารกิจการนักเรียน และห้องกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน
    • ชั้นที่สาม เป็นห้อง HCEC , ห้องควบคุม ห้องประชุมมุกดาหาร (เดิมชื่อห้องโสตทัศนศึกษา 2) และห้องสภานักเรียน
    • ชั้นที่สี่ เป็นห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนวิทยาศาสตร์ 4 ห้อง และห้องเรียนมัลติมีเดีย
  • อาคาร 6 - อาคารกาญจนรัตน์ มี 6 ชั้น ชั้นละ 9 ห้อง มีลิฟต์ 2 ตัว สร้างในสมัยผู้อำนวยการเจียร ดุษณีย์วงศ์ (งบประมาณปี 2539 - 2541)
    • ชั้นที่หนึ่ง เป็นที่โล่ง มีโต๊ะและเก้าอี้ให้นั่ง มีห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ธนาคารโรงเรียน และมีห้องน้ำหญิงกับห้องน้ำชาย ห้องวงโยธวาทิต (Marching Band) ธนาคารขยะ ห้องพักครูการงานอาชีพ และห้องอาคารสถานที่
    • ชั้นที่สอง มีห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ , ห้อง E-Library, ห้องประชุมกาญจนรัตน์ และห้อง Resource Centre
    • ชั้นที่สาม เป็นห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมีห้องพักครูชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, ห้องศูนย์การเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น, ห้องศูนย์การเรียนการสอนภาษาเกาหลี
    • ชั้นที่สี่ เป็นห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้องพักครูของกลุ่มสาระภาษาไทย ห้องศูนย์คณิตศาสตร์ ห้องศูนย์สื่อภาษาไทย และห้องส่งเสริมการอ่าน
    • ชั้นที่ห้า เป็นห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และมีห้องพักครูชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และห้องเรียน EP ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
    • ชั้นที่หก เป็นห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีห้องพักครูของกลุ่มสาระสังคมศึกษา , ห้องสมุดของกลุ่มสาระสังคมศึกษา , ห้อง ASEAN และห้องพักครู EP
  • อาคาร 7 - อาคาร 90 ปี นารีรัตน์ มี 3 ชั้น สร้างในสมัยผู้อำนวยการจรรยา มโนรส
    • ชั้นที่หนึ่ง เป็นห้องพยาบาล และห้องฝรั่งเศส
    • ชั้นที่สอง เป็นห้องพักครูแนะแนว, ห้องแนะแนว, ห้อง To Be Number One, ห้องงานครอบครัวพอเพียง
    • ชั้นที่สาม เป็นห้องกลุ่มสาระศิลปะ, ห้องนาฏศิลป์ และห้องดนตรีไทย
  • อาคาร 8 - อาคารประชาสัมพันธ์
    • ห้องประชาสัมพันธ์, ห้องพักครูเวร และป้อมยามรักษาการณ์
  • อาคาร 9 - อาคารจรัสฉายไพฑูรย์ มี 4 ชั้น สร้างในสมัยผู้อำนวยการสุพงษ์ รังษี
    • ชั้นที่หนึ่ง เป็นห้องประชุมจรัสฉายไทฑูรย์ (เดิมชื่อห้องโสตทัศนศึกษา 1) และมีห้องน้ำหญิง
    • ชั้นที่สอง เป็นห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และห้องพักครูมัธยมศึกษาตอนปลาย
    • ชั้นที่สาม เป็นห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5
    • ชั้นที่สี่ เป็นห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
  • อาคาร 10 - อาคารจำรูญศตมรกต มี 4 ชั้น สร้างแล้วเสร็จในสมัยผู้อำนวยการสวัสดิ์ ใจตุรงค์
    • ชั้นแรก เป็นโถงกว้าง
    • ชั้นที่สอง เป็นห้องเรียนของห้องพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม และห้องเรียนสีเขียว
    • ชั้นที่สาม เป็นห้องเรียนของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
    • ชั้นที่สี่ เป็นห้องเรียนของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
  • หอประชุมนพรัตน์ สร้างในสมัยผู้อำนวยการธัญญลักษณ์ จ้อยจรูญ
    • ชั้นแรก เป็นโรงอาหาร และด้านข้างเป็นกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
    • ชั้นที่สอง เป็นหอประชุม

สิ่งปลูกสร้างในอดีต (ไม่เกิน 10 ปี)

[แก้]
  • อาคาร 7 - อาคารฉัตรโกเมน มี 2 ชั้น ปัจจุบันแทนที่ด้วยอาคาร 10 (จำรูญศตมรกต) ทางทิศตะวันออก หน้าอาคาร 7 (ฉัตรโกเมน หรือ 90 ปีนารีรัตน์ หรือเดิมชื่อ ไอศูรย์บุษราคัม)
    • ชั้นแรก เป็นห้องเรียนกระบวนวิชากลุ่มการงานอาชีพ (งานคหกรรมและหัตถกรรม) และห้องพักครูการงานอาชีพ
    • ชั้นสอง เป็นห้องเรียนกระบวนวิชากลุ่มการงานอาชีพ (งานหัตถกรรม เย็บปักถักร้อย)
  • อาคาร 8 - อาคารร่มเย็นเพทาย มี 2 ชั้น ปัจจุบันแทนที่ด้วยอาคาร 10 (จำรูญศตมรกต) ทางทิศตะวันตก ข้างหลังหอประชุมนพรัตน์
    • ชั้นแรก เป็นห้องเรียนกระบวนวิชากลุ่มศิลปะ ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) และอาคารห้องเรียนสีเขียว (Green Learning Society สนับสนุนโดย EGAT)
    • ชั้นสอง เป็นห้องเรียนกระบวนวิชากลุ่มดนตรีสากล ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรีสากล และ นาฏศิลป์) และห้องเรียนนาฏศิลป์ (ส่วนใหญ่สอนนาฏศิลป์ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยอาจารย์ประจำคือ คุณครูกฤษณา กาญจนสุระกิจ หรือคุณครูบัวตอง ปัจจุบันเกษียณอายุราชการ)

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]
  • ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติปี พ.ศ. 2531
  • คุณหญิงบัวเขียว รังคสิริ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่
  • นางธัญลักษณ์ จ้อยจรูญ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
  • นางสาวเจียร ดุษณีย์วงศ์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
  • นางสาววรพร บำบัด ผู้รอบรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดแพร่ อดีตรองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ อดีตเลขานุการศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดแพร่ โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่คนแรก อดีตเลขานุการสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง 3 สมัย
  • พลตำรวจโทประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  • คณิน บัดติยา นักแสดง
  • กัลยทรรศน์ ชูวงษ์ นักร้อง
  • นางกฤษณา กาจนสุระกิจ อดีตครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

18°08′37″N 100°08′22″E / 18.1436088°N 100.1394367°E / 18.1436088; 100.1394367

pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy