การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทั้งหมด 480 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย ต้องการ 241 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลงทะเบียน | 44,002,593 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ใช้สิทธิ | 74.52% ( 1.96 จุด) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผลการเลือกตั้ง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
องค์ประกอบของสภาผู้แทนราษฎร หลังจากการเลือกตั้ง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งที่ 23 และเป็นครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และครั้งแรกภายหลังการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาล พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550[1] ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 480 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจำนวน 80 คน
การเลือกตั้งครั้งนี้มีการกำหนดวันเลือกตั้งล่วงหน้าทั้งในเขตและนอกเขตวันที่ 15-16 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยต้องไปลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดได้ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ส่วนเลือกตั้งในเขตไม่ต้องลงทะเบียน แต่ไปใช้สิทธิได้
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต
[แก้]วันที่ 26 ตุลาคม 2550 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต[2] จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีและจำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด มี 400 คนจาก 76 จังหวัด
- มี 1 เขตเลือกตั้ง
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 1 คน มี 4 จังหวัด ได้แก่ ระนอง สมุทรสงคราม สิงห์บุรี ตราด
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 2 คน มี 10 จังหวัด ได้แก่ พังงา นครนายก แม่ฮ่องสอน สตูล อ่างทอง ภูเก็ต อุทัยธานี มุกดาหาร ชัยนาท อำนาจเจริญ
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 3 คน มี 17 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ลำพูน ปราจีนบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร อุตรดิตถ์ ยะลา แพร่ น่าน ชุมพร พะเยา ประจวบคีรีขันธ์ หนองบัวลำภู จันทบุรี พัทลุง ตาก สระแก้ว
- มี 2 เขตเลือกตั้ง
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 4 คน มี 11 จังหวัด ได้แก่ ยโสธร พิจิตร ระยอง ตรัง สุโขทัย สระบุรี เลย ปัตตานี ฉะเชิงเทรา นครพนม นราธิวาส
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 5 คน มี 9 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ลำปาง นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี พิษณุโลก
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 6 คน มี 7 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี หนองคาย มหาสารคาม สุราษฏร์ธานี กาฬสินธุ์ นนทบุรี เพชรบูรณ์
- มี 3 เขตเลือกตั้ง
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 7 คน มี 4 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ สมุทรปราการ สกลนคร ชัยภูมิ
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 8 คน มี 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี เชียงราย ร้อยเอ็ด สงขลา
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 9 คน มี 2 จังหว้ด ได้แก่ สุรินทร์ ศรีสะเกษ
- มี 4 เขตเลือกตั้ง
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 10 คน มี 3 จังหว้ด ได้แก่ นครศรีธรรมราช อุดรธานี บุรีรัมย์
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 11 คน มี 3 จังหว้ด ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น อุบลราชธานี
- มี 6 เขตเลือกตั้ง
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 16 คน มี 1 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา
- มี 12 เขตเลือกตั้ง
- จังหวัดที่มี ส.ส.ได้ 36 คน มี 1 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน
[แก้]วันที่ 17 ตุลาคม 2550 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วน[3][4] มี 8 กลุ่มจังหวัด แต่ละกลุ่มมี ส.ส. 10 คน ดังนี้
- กลุ่มที่ 1 มีจำนวน 11 จังหวัด ประชากรรวม 7,615,610 คน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย, แม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, พะเยา, น่าน, ลำปาง, ลำพูน, แพร่, สุโขทัย, ตาก และกำแพงเพชร
- กลุ่มที่ 2 มีจำนวน 9 จังหวัด ประชากรรวม 7,897,563 คน ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, พิจิตร, ชัยภูมิ, ขอนแก่น, ลพบุรี, นครสวรรค์ และอุทัยธานี
- กลุ่มที่ 3 มีจำนวน 10 จังหวัด ประชากรรวม 7,959,163 คน ได้แก่ จังหวัดหนองคาย, อุดรธานี, เลย, นครพนม, สกลนคร, หนองบัวลำภู, กาฬสินธุ์, มุกดาหาร, มหาสารคาม และอำนาจเจริญ
- กลุ่มที่ 4 มีจำนวน 6 จังหวัด ประชากรรวม 7,992,434 คน ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด, ยโสธร, อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, สุรินทร์ และบุรีรัมย์
- กลุ่มที่ 5 มีจำนวน 10 จังหวัด ประชากรรวม 7,818,710 คน ได้แก่ นครราชสีมา, นครนายก, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด และปทุมธานี
- กลุ่มที่ 6 มีจำนวน 3 จังหวัด ประชากรรวม 7,802,639 คน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี และสมุทรปราการ
- กลุ่มที่ 7 มีจำนวน 15 จังหวัด ประชากรรวม 7,800,965 คน ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี, สุพรรณบุรี, นครปฐม, ราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, ระนอง, ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, สระบุรี, สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
- กลุ่มที่ 8 มีจำนวน 12 จังหวัด ประชากรรวม 7,941,622 คน ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี, พังงา, นครศรีธรรมราช, กระบี่, ภูเก็ต, ตรัง, พัทลุง, สตูล, สงขลา, ปัตตานี, นราธิวาส และยะลา
หมายเลขพรรคในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน
[แก้]หมายเลขประจำพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วน ซึ่งเปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 7-11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[5] (19 พรรคแรกได้จากการจับสลากเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน) [6] หมายเลขเหล่านี้ไม่เหมือนกับ ส.ส.แบบแบ่งเขตที่เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2550[7]
หมายเลข | พรรค |
---|---|
1 | พรรคเพื่อแผ่นดิน |
2 | พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา |
3 | พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย |
4 | พรรคประชาธิปัตย์ |
5 | พรรคพลังเกษตรกร |
6 | พรรครักเมืองไทย |
7 | พรรคแรงงาน |
8 | พรรคเกษตรกรไทย |
9 | พรรคประชาราช |
10 | พรรคนิติศาสตร์ไทย |
11 | พรรคพัฒนาประชาธิปไตย |
12 | พรรคพลังประชาชน |
13 | พรรคชาติไทย |
14 | พรรคดำรงไทย |
15 | พรรคมัชฌิมาธิปไตย |
16 | พรรคชาติสามัคคี |
17 | พรรคความหวังใหม่ |
18 | พรรคประชากรไทย |
19 | พรรคประชามติ |
20 | พรรคไทเป็นไท |
21 | พรรคพลังแผ่นดินไทย |
22 | พรรคมหาชน |
23 | พรรคคุณธรรม |
24 | พรรคราษฎรรักไทย |
25 | พรรคกฤษไทยมั่นคง |
26 | พรรคอยู่ดีมีสุข |
27 | พรรคไทยร่ำรวย |
28 | พรรคเอกราช |
29 | พรรคพลังแผ่นดิน |
30 | พรรคสังคมประชาธิปไตย |
31 | พรรคนำวิถี |
สถิติผู้สมัคร ส.ส. แบบสัดส่วน
[แก้]จากรายงานของ กกต.[5] สรุปได้ว่าพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครครบทั้ง 8 กลุ่มจังหวัด มี 10 พรรค จากทั้งหมด 31 พรรค จำนวนผู้สมัคร ส.ส. แบบสัดส่วนมีจำนวนรวม 1,260 คน ในจำนวนดังกล่าวเป็นผู้ชายร้อยละ 78.57 ที่เหลือเป็นผู้หญิง กลุ่มจังหวัดที่ 6 มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งมากที่สุด (19.05%) กลุ่มจังหวัดที่ 2 มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งน้อยที่สุด (9.52%) ผู้สมัครส่วนใหญ่ (33.33%) มีธุรกิจส่วนตัวหรือค้าขาย ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือต่ำกว่าปริญญาตรี และมีอายุระหว่าง 51-60 ปี รองลงไปคือ 41-50 ปี
ผล Exit Poll
[แก้]หลังจากมีการปิดหีบการเลือกตั้ง ผล Exit Poll จากหน่วยงานต่าง ๆ มีดังนี้
สวนดุสิตโพล
[แก้]+ผล Exit Poll จากสวนดุสิตโพล [8] | |||
พรรค | แบ่งเขต | สัดส่วน | รวม |
---|---|---|---|
พรรคพลังประชาชน | 221 | 35 | 256 |
พรรคประชาธิปัตย์ | 127 | 35 | 162 |
พรรคชาติไทย | 24 | 5 | 29 |
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา | 14 | 1 | 15 |
พรรคเพื่อแผ่นดิน | 8 | 2 | 10 |
พรรคประชาราช | 3 | 1 | 4 |
พรรคมัชฌิมาธิปไตย | 3 | 1 | 4 |
รวม | 400 | 80 | 480 |
เอแบคโพล
[แก้]+ผล Exit Poll จากเอแบคโพล [9] | |||
พรรค | แบ่งเขต | สัดส่วน | รวม |
---|---|---|---|
พรรคพลังประชาชน | 165 | 37 | 202 |
พรรคประชาธิปัตย์ | 111 | 35 | 146 |
พรรคชาติไทย | 46 | 3 | 49 |
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา | 17 | 2 | 19 |
พรรคเพื่อแผ่นดิน | 39 | 3 | 42 |
พรรคประชาราช | 7 | 0 | 7 |
พรรคมัชฌิมาธิปไตย | 15 | 0 | 15 |
รวม | 400 | 80 | 480 |
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
[แก้]+ผล Exit Poll จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง [10] | |||
พรรค | แบ่งเขต | สัดส่วน | รวม |
---|---|---|---|
พรรคพลังประชาชน | 218 | 37 | 255 |
พรรคประชาธิปัตย์ | 125 | 34 | 159 |
พรรคชาติไทย | 33 | 5 | 38 |
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา | 13 | 1 | 14 |
พรรคเพื่อแผ่นดิน | 10 | 3 | 13 |
พรรคประชาราช | 1 | 0 | 1 |
พรรคมัชฌิมาธิปไตย | 0 | 0 | 0 |
รวม | 400 | 80 | 480 |
ผลการเลือกตั้ง
[แก้]ผลอย่างเป็นทางการ
[แก้]↓ | ||||
พรรค | แบบแบ่งเขต | แบบสัดส่วน | รวม | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
คะแนนเสียง | % | ที่นั่ง | คะแนนเสียง | % | ที่นั่ง | ที่นั่ง | % | |||
พลังประชาชน | 26,293,456 | 36.21 | 199 | 12,338,903 | 41.08% | 34 | 233 | 48.54% | ||
ประชาธิปัตย์ | 21,745,696 | 29.95 | 132 | 12,148,504 | 40.45% | 33 | 165 | 34.38% | ||
ชาติไทย | 6,363,475 | 8.76 | 33 | 1,213,532 | 4.04% | 4 | 37 | 7.71% | ||
เพื่อแผ่นดิน | 6,599,422 | 9.09 | 17 | 1,596,500 | 5.32% | 7 | 24 | 5.00% | ||
รวมใจไทยชาติพัฒนา | 3,395,197 | 4.68 | 8 | 740,461 | 2.47% | 1 | 9 | 1.88% | ||
มัชฌิมาธิปไตย | 3,844,673 | 5.30 | 7 | 450,382 | 1.50% | 0 | 7 | 1.45% | ||
ประชาราช | 1,632,795 | 2.25 | 4 | 408,851 | 1.36% | 1 | 5 | 1.04% | ||
อื่น ๆ | 2,730,033 | 3.76 | – | 1,136,365 | 3.78% | – | – | – | ||
คะแนนสมบูรณ์ | 72,607,256 | 100% | 400 | 30,033,498 | 100% | 80 | 480 | 100% | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 1,499,707 | 4.58% | 953,306 | 2.85% | ||||||
คะแนนเสีย | 837,775 | 2.56% | 1,823,436 | 5.56% | ||||||
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง | 32,775,868 | 74.49% | 32,792,246 | 74.52% | ||||||
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง | 44,002,593 | 44,002,593 | ||||||||
ที่มา: ศูนย์กลางข้อมูลเปิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง |
ผลการเลือกตั้งซ่อม 11 มกราคม 2552
[แก้]พรรค | กทม | ภาคใต้ | ภาคเหนือ | ภาคอีสาน | ภาคกลาง | รวม |
---|---|---|---|---|---|---|
พรรคชาติไทยพัฒนา | - | 1 | - | 1 | 8 | 10 |
พรรคประชาธิปัตย์ | 1 | - | 1 | - | 5 | 7 |
พรรคเพื่อไทย | - | - | 1 | 4 | - | 5 |
พรรคประชาราช | - | - | - | 3 | 1 | 4 |
พรรคเพื่อแผ่นดิน | - | - | - | 2 | 1 | 3 |
รวม | 1 | 1 | 2 | 10 | 15 | 29 |
การเลือกตั้งซ่อม เขต 3 สกลนคร
[แก้]เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสกลนคร แทนที่นายพงษ์ศักดิ์ บุญศล ซี่งถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี โดยมีการเลือกตั้งในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ซึ่งมีผู้สมัคร 2 คน คือ นางอนุรักษ์ บุญศล (พรรคเพื่อไทย) กับนายพิทักษ์ จันทศรี (พรรคภูมิใจไทย) ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นางอนุรักษ์ บุญศล เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งซ่อม เขต 1 ศรีสะเกษ (มิถุนายน พ.ศ. 2552)
[แก้]เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสกลนคร แทนที่นายสุตา พรหมดวง ซี่งลาออกจากตำแหน่ง โดยมีการเลือกตั้งในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ซึ่งมีผู้สมัคร 2 คน คือ นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ (พรรคเพื่อไทย) กับนางสกุลทิพย์ อังคสกุลเกียรติ (พรรคชาติไทยพัฒนา) ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งซ่อม เขต 1 สุราษฎร์ธานี (พ.ศ. 2552)
[แก้]เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี แทนที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซี่งลาออกจากตำแหน่ง โดยมีการเลือกตั้งในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งมีผู้สมัคร 2 คน คือ นายธานี เทือกสุบรรณ (พรรคประชาธิปัตย์) กับนายสมพล วิชัยดิษฐ (พรรคเพื่อไทย) ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายธานี เทือกสุบรรณ เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งซ่อม เขต 6 กรุงเทพมหานคร
[แก้]เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร แทนที่นายทิวา เงินยวง ซึ่งถึงแก่กรรมไปก่อนหน้านี้ โดยมีการเลือกตั้งในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งมีผู้สมัครคนสำคัญ 2 คน คือ นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ (พรรคประชาธิปัตย์) กับนายก่อแก้ว พิกุลทอง (พรรคเพื่อไทย) ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งซ่อม เขต 1 สุราษฎร์ธานี (พ.ศ. 2553)
[แก้]เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสุราษฎร์ธานี แทนที่นายชุมพล กาญจนะ ซึ่งถูกตัดสิทธิ์จากการเมืองเป็นระยะ 5 ปี โดยมีการเลือกตั้งในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งมีผู้สมัครคนสำคัญ 2 คน คือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ (พรรคประชาธิปัตย์) กับนายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ (พรรคเพื่อไทย) ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งซ่อมเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553
[แก้]เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยจำนวน 5 ตำแหน่ง ที่พ้นสมาชิกสภาพสืบเนื่องจากคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีการเลือกตั้งในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ผลการเลือกตั้งปรากฏดังนี้
- เขต 2 กรุงเทพมหานคร แทนตำแหน่งของนายสมเกียรติ ฉันทวานิช (พรรคประชาธิปัตย์)
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน (พรรคประชาธิปัตย์) เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง
- เขต 2 ขอนแก่น แทนตำแหน่งของร้อยโทปรีชาพล พงษ์พานิช (พรรคเพื่อไทย)
ร้อยโทปรีชาพล พงษ์พานิช (พรรคเพื่อไทย) เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง
- เขต 3 สุรินทร์ แทนตำแหน่งของนางมลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ (พรรคเพื่อแผ่นดิน)
นายศุภรักษ์ ควรหา (พรรคภูมิใจไทย) เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง
- เขต 1 พระนครศรีอยุธยา แทนตำแหน่งของนายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร (พรรคชาติไทยพัฒนา)
นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร (พรรคชาติไทยพัฒนา) เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง
- เขต 6 นครราชสีมา แทนตำแหน่งของนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ (พรรคภูมิใจไทย)
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ (พรรคภูมิใจไทย) เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ ที่นั่งเดิมของพรรคพลังประชาชนเทียบกับที่นั่งเดิมที่พรรคไทยรักไทยเคยได้รับ
หลังการเลือกตั้ง
[แก้]คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติให้ใบเหลือง - ใบแดง กับผู้สมัครดังต่อไปนี้
รูปแบบ | ความหมาย |
---|---|
ให้มีการเลือกตั้ง สส. ใหม่ | |
เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง-ดำเนินคดีอาญา | |
เพิกถอนสิทธิสมัคร-ดำเนินคดีอาญา |
ลำดับ | นาม | จังหวัด | พรรค | ข้อกล่าวหา | มติ กกต. | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล | แพร่ เขต 1 | พลังประชาชน | แจกเงินซื้อเสียง[11] | เลือกตั้งซ่อม 20 มกราคม พ.ศ. 2551 | |
2 | ปานหทัย เสรีรักษ์ | |||||
3 | นิยม วิวรรธนดิฐกุล | |||||
4 | ธนาธร โล่ห์สุนทร | ลำปาง เขต 1 | [12] | |||
5 | เฉลิมชาติ การุญ | สกลนคร เขต 1 | สัญญาว่าจะให้ หลอกลวง และจูงใจ[13] | |||
6 | ชาญชัย อิสระเสนารักษ์ | นครนายก เขต 1 | ประชาธิปัตย์ | |||
7 | สุทัศน์ จันทร์แสงศรี | เพชรบูรณ์ เขต 1 | [14] | |||
8 | ประกิจ พลเดช | บุรีรัมย์ เขต 1 | พลังประชาชน | สัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินเพื่อจูงใจในการเลือกตั้ง[15] | ||
9 | พรชัย ศรีสุริยันโยธิน | |||||
10 | รุ่งโรจน์ ทองศรี | |||||
11 | เอี่ยม ทองใจสด | เพชรบูรณ์ เขต 2 | การแจกเงิน เพื่อจูงใจให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง[16] | เลือกตั้งซ่อม 19 ตุลาคม พ.ศ. 2551 | ||
12 | วันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ | |||||
13 | สุรศักดิ์ อนรรคฆพันธ์ |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. ๒๕๕๐
- ↑ "ประกาศ กกต. กำหนดเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-11-25. สืบค้นเมื่อ 2007-11-11.
- ↑ กกต. แบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วนแล้ว เก็บถาวร 2007-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - ข่าวสำนักงาน กกต.
- ↑ "ประกาศ กกต. กำหนดเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-11-25. สืบค้นเมื่อ 2007-11-04.
- ↑ 5.0 5.1 "สรุปรายงานผลการรับสมัคร ส.ส. แบบสัดส่วน วันที่ 7-11 พ.ย. 50" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-11-25. สืบค้นเมื่อ 2007-11-16.
- ↑ ผลการจับสลากหมายเลขประจำพรรค เก็บถาวร 2008-01-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - กปส.
- ↑ ผลการจับสลากหมายเลขประจำพรรค เก็บถาวร 2008-01-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - กปส.
- ↑ = 1052 Exit Poll ผลการเลือกตั้งทั่วประเทศ ของ สวนดุสิตโพล
- ↑ = 1053 Exit Poll ผลการเลือกตั้งทั่วประเทศ ของ เอแบคโพล
- ↑ = 1062 Exit Poll ผลการเลือกตั้งทั่วประเทศ ของ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ↑ "กกต.โปรยใบเหลืองว่อน! "พลังแม้ว" แพร่เขต 1 โดนอีก 3 คน". mgronline.com. 2008-01-14.
- ↑ "กกต.แจกใบเหลืองใบที่ 4 แก่ว่าที่ ส.ส.พปช". mgronline.com. 2008-01-04.
- ↑ ""พลังแม้ว" เขต 1 สกลนคร ไม่รอด กกต.แจกเหลืองอีก 1". mgronline.com. 2008-01-11.
- ↑ "กกต.รับรอง ส.ส.เพิ่มอีก 6 คน - แจกอีก 1 เหลือง ปชป.เพชรบูรณ์". mgronline.com. 2008-01-07.
- ↑ "กกต.มีมติให้ใบแดง 3 ว่าที่ ส.ส.เขต 1 บุรีรัมย์ พรรคพลังประชาชน". ryt9.com.
- ↑ "กกต.แจงเหตุยื้อลงมติสำนวนทุจริต 3 ส.ส.เพชรบูรณ์ พปช". mgronline.com. 2008-02-13.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
- ข้อมูลสถิติ และผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 โดยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
- จำนวนประชากรผู้มีสิทธิในการเลือกตั้งในแต่ละเขต เก็บถาวร 2007-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เลือกตั้ง 50 เก็บถาวร 2007-11-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - มติชน
- เลือกตั้ง '50 เก็บถาวร 2008-01-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - กรุงเทพธุรกิจ
- เกาะติดเลือกตั้ง 50[ลิงก์เสีย] - ผู้จัดการ
- Our Country Vote Election 2007 เก็บถาวร 2007-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - The Nation (อังกฤษ)