กิลกาล
กิลกาล (อังกฤษ: Gilgal; ฮีบรู: גִּלְגָּל Gilgāl; กรีก: Γαλαγα หรือ Γαλγαλατοκαι Δωδεκαλίθων, Dōdekalithōn) เป็นชื่อของสถานที่หนึ่งหรือหลายสถานที่ในคัมภีร์ฮีบรู กิลกาลถูกกล่าวถึง 39 ครั้งโดยเฉพาะในหนังสือโยชูวาในฐานะสถานที่ที่ชาวอิสราเอลตั้งค่ายหลังข้ามแม่น้ำจอร์แดน (โยชูวา 4:19 – 5:12) คำว่ากิลกาลในภาษาฮีบรูน่าจะหมายถึง "วงของหมู่ศิลา"[1] ชื่อนี้ปรากฏในแผนที่มาดาบาด้วยภาษากรีกคอยนี[2]
สถานที่ชื่อกิลกาลในคัมภีร์ไบเบิล
[แก้]ในโยชูวา 4–5
[แก้]ในโยชูวา 4:19 กิลกาลเป็นตำแหน่ง "ริมเขตเมืองเยรีโคข้างทิศตะวันออก" ที่ซึ่งชาวอิสราเอลตั้งค่ายทันทีหลังจากข้ามแม่น้ำจอร์แดน ที่นั่นพวกเขาได้ตั้งศิลาสิบสองก้อนเป็นอนุสรณ์ถึงเหตุอัศจรรย์ที่น้ำในแม่น้ำจอร์แดนหยุดไหลขณะพวกเขาข้ามแม่น้ำ[3] จากนั้นโยชูวาจึงสั่งชาวอิสราเอลที่เกิดระหว่างการอพยพให้เข้าสุหนัต ณ ที่นี้ คัมภีร์ไบเบิลระบุสถานที่นี้ในชื่อว่า กิเบอัธหะอาราโลท แล้วจึงระบุว่าโยชูวาเรียกสถานที่นี้ว่ากิลกาลเพราะพระยาห์เวห์ตรัสกับโยชูวาว่า "วันนี้เราได้กลิ้ง (galoti) ความอดสูเพราะอียิปต์ไปให้พ้นเจ้าแล้ว"[4]
นักวิชาการบางคนคาดว่าวงของหมู่ศิลาสิบสองก้อนเป็นสถานที่ศักดิสิทธิ์ (ที่ไม่มีชื่อ) ซึ่งถูกตำหนิในอาโมส 4:4 และ 5:5 และโฮเชยา 4:15[5]
ที่อื่นในหนังสือโยชูวา
[แก้]"กษัตริย์แห่งโกยิมในกิลกาล" ได้รับการระบุชื่อว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์ 31 พระองค์ที่พ่ายแพ้ต่อโยชูวา[6] เมืองของพระองค์ถูกระบุโดย Eusebius ว่าเป็นที่ Jaljulia[7]
"กิลกาล" ถูกกล่าวถึงในฐานะตำแหน่งบนชายแดนระหว่างเผ่ายูดาห์และเผ่าเบนยามิน ใกล้กับอดุมมิม[8]
ในหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ
[แก้]ในหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ 11:29–30 กิลกาลเป็นสถานที่ที่อยู่ตรงข้ามกับภูเขาเกริซิมและภูเขาเอบาล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kotter, Wade R. (1990). "Gilgal (Place)". In David Noel Freedman, ed., Anchor Yale Bible Dictionary. Volume 2, p. 1022-1024.
- ↑ Piccirillo, Michele (September 21, 1995). "A Centenary to be celebrated". Jordan Times (ภาษาอังกฤษ). Franciscan Archaeology Institute. สืบค้นเมื่อ 18 January 2019.
- ↑ โยชูวา 4
- ↑ โยชูวา 5:9
- ↑ Jewish Encyclopedia, Book of Joshua; Gilgal
- ↑ โยชูวา 12:23
- ↑ "ג'לג'וליה – עמוד ענן".
- ↑ โยชูวา 15:7
บรรณานุกรม
[แก้]- Albright, W.F. (1922). "Excavations and Results at Tell el-Fûl (Gibeah of Saul)". The Annual of the American Schools of Oriental Research. 4: iii+ix+xi+xiii+1–160. doi:10.2307/3768487. JSTOR 3768487.
- Conder, C.R.; Kitchener, H.H. (1882). The Survey of Western Palestine: Memoirs of the Topography, Orography, Hydrography, and Archaeology. Vol. 2. London: Committee of the Palestine Exploration Fund.
- Finkelstein, I.; Lederman, Zvi, บ.ก. (1997). Highlands of many cultures. Tel Aviv: Institute of Archaeology of Tel Aviv University Publications Section. ISBN 978-965-440-007-7.
- Guérin, V. (1875). Description Géographique Historique et Archéologique de la Palestine (ภาษาฝรั่งเศส). Vol. 2: Samarie, pt. 2. Paris: L'Imprimerie Nationale.
- Robinson, E.; Smith, E. (1841). Biblical Researches in Palestine, Mount Sinai and Arabia Petraea: A Journal of Travels in the year 1838. Vol. 3. Boston: Crocker & Brewster.
- Velde, van de, C.W.M. (1858). Memoir to Accompany the Map of the Holy Land. Gotha: Justus Perthes.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Dror Eydar, In the footsteps of ancient Israelite kings, September 18, 2013