ข้ามไปเนื้อหา

วงศ์เหี้ย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Varanidae)

วงศ์เหี้ย
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่:
ครีเทเชียสตอนปลาย - โฮโลซีน, 80–0Ma
เหี้ย (V. salvator)
เปรียบระหว่างมนุษย์กับสัตว์ในวงศ์นี้ปัจจุบัน กับเมกะลาเนียในอดีต
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: กิ้งก่าและงู
วงศ์ใหญ่: Varanoidea
วงศ์: เหี้ย

Merrem, 1820
ชนิด
ประมาณ 70 ชนิด
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

วงศ์เหี้ย เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับ Squamata ใช้ชื่อวงศ์ว่า Varanidae

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

โดยคำว่า Varanidae หรือ Varanus ที่เป็นชื่อสกุล นั้นมาจากภาษาอาหรับคำว่า "วารัล" (ورل) ซึ่งแปลงเป็นภาษาอังกฤษได้หมายถึง "เหี้ย" หรือ "ตะกวด"[1]

ลักษณะ

[แก้]

เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานที่มีวิวัฒนาการของตัวเองมาแล้วนานกว่า 300 ล้านปี[2] เป็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นสัตว์กินซากที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศ เพราะเป็นผู้ขจัดซากของสัตว์ที่ล้มตายไปแล้ว [3]

มีรูปร่างโดยรวม จัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ มีรูปร่างคล้ายกับจระเข้ มีโคนหางที่แข็งแรง และหางยาว ซึ่งใช้ฟาดเป็นอาวุธเพื่อป้องกันตัว ลิ้นยาวมี 2 แฉก ซึ่งมักจะแลบออกมาบ่อย ๆ เพื่อเป็นประสาทสัมผัสเช่นเดียวกับงู ขาทั้ง 4 มีเล็บที่แหลมคมใช้สำหรับขุดหลุมเพื่อวางไข่ ปีนต้นไม้ และป้องกันตัว เกล็ดมีลักษณะเป็นตุ่มนูนออกมาเห็นได้ชัดเจน มีสีสันและลวดลายต่างออกไปในแต่ละชนิด เป็นสัตว์ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้หลากหลาย ทั้งทะเลทราย, ป่าดิบ หรือแม้แต่กระทั่งชุมชนเมืองใหญ่ของมนุษย์ นอกจากนี้แล้วยังว่ายน้ำได้เก่ง ดำน้ำได้ดี และในบางชนิดยังชอบที่จะอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำอีกด้วย

นอกจากนี้แล้ว ในบางชนิด น้ำลายยังมีเชื้อแบคทีเรียอย่างร้ายแรงอยู่ในนั้น ซึ่งใช้สำหรับกัดเพื่อสังหารเหยื่อ เหยื่อจะยังไม่ตายในทันที แต่จะล้มตายภายในไม่กี่วันเพราะติดเชื้ออย่างรุนแรง จากนั้นจึงจะเข้ากินเป็นอาหาร ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ ตั้งแต่ 7-37 ฟอง[4]

การจำแนก

[แก้]

ปัจจุบันเหลือเพียงสกุลเดียว คือ Varanus (/วา-รา-นัส/-แบ่งออกได้เป็นสกุลย่อย ๆ อีก) พบแล้วกว่า 70 ชนิด พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย ไปจรดถึงโอเชียเนีย โดยมีขนาดใหญ่ที่สุด คือ มังกรโคโมโด (V. komodoensis) ที่ขึ้นชื่อเรื่องความดุร้าย และขนาดที่เมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 2-3 เมตร น้ำหนักกว่า 90 กิโลกรัม ซึ่งพบเฉพาะบนอุทยานแห่งชาติโคโมโด ในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น

สำหรับในประเทศไทย พบทั้งสิ้น 4 ชนิด ได้แก่[5]

  • ตะกวด (V. bengalensis) มีขนาดรองลงมา ไม่ชอบลงน้ำ
  • ตุ๊ดตู่ (V. dumerilii) มีขนาดเล็กที่สุด
  • เห่าช้าง (V. rudicollis) มีเกล็ดที่บริเวณหลังคอตะปุ่มตะป่ำ
  • เหี้ย (V. salvator) มีขนาดใหญ่ที่สุดและพบได้มากที่สุด ดำน้ำและว่ายน้ำได้เก่ง

นอกจากนี้แล้ว ในอดีตยังเคยพบว่ามีอีกชนิดหนึ่ง คือ ตะกวดเหลือง (V. flavescens) แต่ปัจจุบันไม่มีการพบมานานแล้ว ซึ่งพบมากในแถบอนุทวีปอินเดีย

สำหรับชนิดที่พบได้ในต่างประเทศ อาทิ

นอกจากนี้แล้ว ยังมีอยู่ชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เมกะลาเนีย (V. priscus) ที่มีความยาวกว่า 7.5 เมตร หนักถึงกว่า 2,000 กิโลกรัม เคยพบในทวีปออสเตรเลีย แต่ทว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปลายยุคน้ำแข็งราว 45,000-50,000 ปีก่อน[7]

สกุลที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

[แก้]
ซากดึกดำบรรพ์ของ Saniwa ensidens ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว

สูญพันธุ์

บางสกุลที่จัดอยู่ใน Varanidae (ภายใต้วงศ์ย่อย Lanthanotinae หรือ นักวิทยาศาสตร์บางรายจะจัดให้อยู่ในวงศ์ Lanthanotidae):

สกุลฐาน:

สกุลที่เคยจัดอยู่ในวงศ์ Varanidae:

อ้างอิง

[แก้]
  1. Pianka, Eric R.; King, Dennis; King, Ruth Allen (2004). Varanoid Lizards of the World. Indiana University Press. p. 588. ISBN 0-253-34366-6.
  2. "Themes > Science > Paleontology / Paleozoology > Paleozoology > Fossil vertebrata > The History of Monitor Lizards". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-10. สืบค้นเมื่อ 2011-01-05.
  3. พิชิตปัญหาสัตว์เลี้ยง - ชื่อใหม่ ใส่ตัวเก่า!“เหี้ย” จากคมชัดลึก
  4. Bauer, Aaron M. (1998). Cogger, H.G. & Zweifel, R.G.. ed. Encyclopedia of Reptiles and Amphibians. San Diego: Academic Press. pp. 157–159. ISBN 0-12-178560-2.
  5. มุมมอง...ตัวเงินตัวทอง “ชื่อใหม่-สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่”...
  6. [ลิงก์เสีย] "ตัวเงินตัวทอง" สปีชีส์ใหม่กินผลไม้ โผล่ให้เห็นในฟิลิปปินส์ จากผู้จัดการออนไลน์
  7. เมกะลาเนีย’กิ้งก่ายักษ์ออสซี่ จากโลกวันนี้
  8. Massimo Delfino, Jean-Claude Rage, Arnau Bolet and David M. Alba (2013). "Synonymization of the Miocene varanid lizard Iberovaranus Hoffstetter, 1969 with Varanus Merrem, 1820". Acta Palaeontologica Polonica. in press. doi:10.4202/app.2012.0025.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 9.2 Conrad, JL; Balcarcel, AM; Mehling, CM (2012). "Earliest Example of a Giant Monitor Lizard (Varanus, Varanidae, Squamata)". PLoS ONE. 7 (8): e41767. doi:10.1371/journal.pone.0041767.
  10. Alexandra Houssaye, Nathalie Bardet, Jean–Claude Rage, Xabier Pereda Suberbiola, Baâdi Bouya, Mbarek Amaghzaz and Mohamed Amalik (2011). "A review of Pachyvaranus crassispondylus Arambourg, 1952, a pachyostotic marine squamate from the latest Cretaceous phosphates of Morocco and Syria". Geological Magazine. 148 (2): 237–249. doi:10.1017/S0016756810000580.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Varanus ที่วิกิสปีชีส์

pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy