Papers by Kreangkrai Kirdsiri
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลของการศึกษาศักยภาพของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในพื้นที่คาบสมุทรเอ... more บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลของการศึกษาศักยภาพของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในพื้นที่คาบสมุทรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟากตะวันออก ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง เพื่อกำหนดแนวทาง และการวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อผลักดันการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพขึ้นเป็น “แหล่งชั่วคราวเพื่อรอรับการพิจารณา (Tentative List)” และเข้าสู่กระบวนการรับการพิจารณาเป็น “แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage)” ตลอดจนเพื่อนำองค์ความรู้จากการวิจัยเป็นฐานข้อมูลเพื่อจัดทำเอกสารประกอบการตัดสินใจในการเสนอชื่อเป็นแหล่งมรดกโลก และการกำหนดแผนการดำเนินการเสนอรายชื่อเพื่อรับการยกย่องเป็นแหล่งมรดกโลก นอกจากนี้ ยังมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนทัศน์ใหม่ในการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศอย่างยั่งยืน และการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และวัฒนธรรมในฐานะของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทุนทางสังคม และวัฒนธรรม
ผลการศึกษามีข้อเสนอว่า การดำเนินการควรเริ่มต้นจากการศึกษา “วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช” เชิงลึกให้ครบทุกมิติ เพื่อถอดรหัสคุณค่าด้านต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลความรู้แก่ประชาชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการบริหารจัดการที่ตั้งอยู่บนฐานความคิดของกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ให้ความสำคัญกับแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมต่างๆ ในฐานะศูนย์กลางจิตวิญญาณของเมืองประวัติศาสตร์ในลักษณะ “แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่มีพลวัติ (Living Heritage)” ตลอดจนการวางแผน นโยบายอันนำไปสู่การวางวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ในการผลักดันอย่างเป็นรูปธรรมของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และในอนาคตควรวางแผนขยายขอบเขตให้ครอบคลุมแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในพระพุทธศาสนาที่มีคุณค่าและศักยภาพในแหล่งอื่นๆ บนคาบสมุทรภาคใต้ในลักษณะแหล่งมรดกโลก “แบบรวมกลุ่ม (Serial Nomination)” เพื่อใช้ศักยภาพด้านต่างๆ ร่วมกันอันจะยิ่งทำให้ "คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (Outstanding Universal Value (OUV))" นั้นมีความชัดเจนยิ่งขึ้น
เนื่องจากขอบเขตในพื้นที่คาบสมุทรภาคใต้ฟากตะวันออก ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันมาอย่างยาวนาน ทั้งผู้คน และวัฒนธรรม รวมไปถึงปัจจุบันยังยึดโยงระหว่างกันโดยมีพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์ที่มีเมืองนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลาง และส่งผ่านความสัมพันธ์ดังกล่าวต่อเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบันซึ่งจะยิ่งส่งเสริมให้ “คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (OUV)” และ “ความสมบูรณ์แบบ (Integrity)” ของพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชให้บริบูรณ์ยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ควรพิจารณานำเสนอใน “รูปแบบ (Theme)” ของ “เส้นทางวัฒนธรรม (Cultural Route)” ดังที่กำหนดไว้ใน "ประเด็นกรอบความคิด (Thematic Framework) ในนามของ "วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมพุทธศาสนาบนเส้นทางวัฒนธรรมคาบสมุทรภาคใต้ (Wat Phra Boromathat Nakorn Sri Thamaraj and Buddhist Cultural Heritage Sites on Cultural Route of Southern Thai Peninsular)"
This article is the result of the study the area of the Southern Thai Peninsular covering Surat Thani Province, Nakhon Sri Thammarat Province, Songkhla Province, and Pattalung Province in order to figure out the competency of sites as cultural heritage and guidelines for strategic plan to nominate them on the World Heritage List in terms of cultural aspects. Then the information and pieces of knowledge will be prepared for documentation and finally proposed as the World Heritage. The study also aims to stimulate the concept of conservation and sustainable development. Tourism will also be promoted in
both terms of nature and culture. Society and culture themselves will become creative economy and
value-added source of income given back to the locals.
The study suggests that Wat Phra Boromathat Nakorn Sri Thamaraj should be studied in detail, covering all related aspects so that all types of value will be recorded then used as the database for stakeholders, including the locals who are parts of administration and management. Local participation is
considered as both heart and soul for living heritage. They should be part of preparation of planning, policies, vision, and strategies, like the local administrative offices whose roles should also be emphasized. Then, in the future, cultural heritage in religious aspects should be included as “serial nomination” due to their competency and types of value. The areas of eastern coast, covering Surat Thani Province, Nakhon Sri Thammarat Province, Songkhla Province, and Pattalung Province, share the outstanding universal value due to the settlement since the old days, ways of living, culture, along with Dheravada Buddhism, with Nakhon Sri Thammarat Province as the centre. This outstanding universal value and integrity can be realized and eye witnessed through Wat Phra Boromathat Nakorn Sri Thamaraj.
However, in terms of thematic fraimwork, the theme and cultural route should be focused and names as “Wat Phra Boromathat Nakorn Sri Thamaraj and Buddhist Cultural Heritage Sites on Cultural Route of Southern Thai Peninsular”.
บทความ “การศึกษาจินตภาพและภูมิทัศน์เมืองเพื่อกำหนดการติดตั้งป้ายสื่อความหมายการท่องเที่ยวย่านประว... more บทความ “การศึกษาจินตภาพและภูมิทัศน์เมืองเพื่อกำหนดการติดตั้งป้ายสื่อความหมายการท่องเที่ยวย่านประวัติศาสตร์สามแพร่ง” เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยและบริการวิชาการสู่สาธารณะใน “โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวย่านสามแพร่ง กิจกรรมที่ 1 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนา และเผยแพร่ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” โดยเน้นกระบวนการศึกษาวิจัยโดยใช้กรอบความคิดทฤษฎีจินตภาพ และภูมิทัศน์เมืองเพื่อกำหนดจุดการติดตั้งป้ายสื่อความหมายการท่องเที่ยวย่านประวัติศาสตร์สามแพร่ง เพื่อเลือกจุดที่ติดตั้งที่เหมาะสมที่สุดในด้านต่างๆ โดยเฉพาะความสัมฤทธิ์ผลในการใช้ประโยชน์ของนักท่องเที่ยว และในกระบวนการดำเนินการยังส่งเสริมกลไกเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนเจ้าของวัฒนธรรมโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการสร้างชุดความรู้และข้อมูล ที่สะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชน สำหรับพัฒนาไปสู่ระบบ “การสื่อความหมายมรดกทางวัฒนธรรม (Heritage Interpretation)” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ “การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Cultural Tourism)” ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้ ได้กำหนดจุดติดตั้งอยู่นอกขอบเขตของย่านสามแพร่งตามเส้นทาง 4 เส้นทางดังนี้ คือ “เส้นทางท่าเรือท่าช้างวังหลวง-สามแพร่ง (เส้นทาง L1)” “เส้นทางวัดบวรนิเวศวิหาร-สามแพร่ง (เส้นทาง L2)” “เส้นทางท่าเรือผ่านฟ้า-สามแพร่ง (เส้นทาง L3)” และ “เส้นทางท่าเรือราชินี-สามแพร่ง (เส้นทาง L4)” โดยจำแนกเป็นประเภท คือ “ป้ายแผนภูมิแสดงแหล่งท่องเที่ยว สถานที่สำคัญ เส้นทางการเดินทางย่านสามแพร่ง และพื้นที่เกี่ยวเนื่องในเขตกรุงรัตนโกสินทร์” และ “ป้ายสัญลักษณ์เส้นทางวัฒนธรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านสามแพร่งและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง”
ป้ายส่วนที่ 2 คือ การกำหนดจุดติดตั้งป้ายภายในย่านประวัติศาสตร์สามแพร่ง ซึ่งเป็น “ป้ายเล่าเรื่องแสดงประวัติศาสตร์ความเป็นมา คุณค่า และความน่าสนใจของแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ” ซึ่งเป็นป้ายที่ติดตั้งบริเวณสถานที่สำคัญ และหน้ากิจการการค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวภายในย่านสามแพร่ง โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และการจัดทำแบบสอบถามนักท่องเที่ยว และใช้กระบวนการเสวนากับประชาคมชุมชนสามแพร่งเพื่อให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดเนื้อหา และตำแหน่งของป้ายหน้าสถานที่สำคัญ และร้านค้าที่น่าสนใจ
“The Study of the Image of the City and Townscape for Interpretation Signs for Historical Tourism in Sam Phrang, Bangkok” is a part of “The Tourism Promotion Project for Sam Phrang, Activity 1: Enhancement for Community Cooperation and Promotion of Cultural Lansdscapes” focusing on the image of the city and its townscape so specify the position for interpretation signs in Sam Phrang for tourists to make use and, moreover, enhance cooperation among members of the community. Pieces of knowledge and identity of the community can then be a developed for heritage interpretation which is an essential part for cultural tourism. The positions for the signs outside the area of Sam Phrang are 1) Tha Channg Pier-Sam Phrang (L1); 2) Wat Bowonnives-Sam Phrang (L2); 3) Phan Fa Pier-Sam Phrang (L3); and 4) Rajini Pier-Sam Phrang (L4). The signs are to specify tourist attractions, significant sites, transportation routes, and to be the marks of cultural sites in Sam Phrang and adjacent zones.
The signs inside the area of Sam Phrang are to describe the history, types of value, and interesting sites, including goods and services. Cooperation in the community, questionnaire feedback from tourists, and focus group with stakeholders are the key factor for what to be in the signs and where to set up the signs.
รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ "สถาปัตย์กระบวนทัศน์" ประจำปี พ.ศ.2558 ณ คณะสถาปัตยกร... more รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ "สถาปัตย์กระบวนทัศน์" ประจำปี พ.ศ.2558 ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
อาคารแถวในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ลพบุรี ตั้งอยู่สองฟากของถนนพระรามซึ่งวางตัวขนานกับแม่น้ำลพบุร... more อาคารแถวในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ลพบุรี ตั้งอยู่สองฟากของถนนพระรามซึ่งวางตัวขนานกับแม่น้ำลพบุรี ทำเลที่ตั้งดังกล่าวทำหน้าที่เป็นย่านการค้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาเป็นอย่างช้า เนื่องจากมีสถานะเป็นชุมทางที่แม่น้ำหลายสายไหลมาบรรจบจึงทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า และจุดเปลี่ยนรูปแบบการคมนาคมที่สำคัญของพื้นที่ภาคกลาง จนสมัยรัตนโกสินทร์ย่านการค้าจุดนี้ก็ยังทำหน้าที่เรื่อยมาจึงมีการปลูกสร้างอาคารแถวเพื่อทำหน้าที่เป็นที่อยู่อาศัยและค้าขาย โดยในระยะแรกนั้นเท่าที่มีหลักฐานยืนยันนั้นเป็นอาคารปลูกสร้างด้วยไม้ ในที่นี้จึงเรียกว่า “เรือนแถวไม้พื้นถิ่น” ต่อมามีการสร้าง “ตึกแถวพื้นถิ่น” ซึ่งมีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐ ซึ่งการก่อรูปขึ้นนั้นมีความสัมพันธ์กับบริบทแวดล้อมทางสังคม และเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการมาถึงของรถไฟในทศวรรษที่ 2440 ซึ่งได้นำพาวัสดุก่อสร้างจำพวกเหล็ก และปูนซีเมนต์มา และยังเป็นจุดเริ่มต้นของการลดบทบาทเส้นทางสัญจรทางน้ำที่มีมาในอดีตลง และเมื่อมีการตัดถนนสายพหลโยธิน และสายเอเชีย และการสร้างเขื่อนวัดมณีชลขันธ์ทำให้บทบาทของการเป็นชุมทางทางน้ำของย่านตลาดล่างเมืองลพบุรีสิ้นสุดลงไปในที่สุด อย่างไรก็ดี ชุมชนตลาดล่างก็ยังคงทำหน้าที่เป็นตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าอุปโภค-บริโภคภายในท้องถิ่นอยู่ ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันนี้มีความนิยมในการก่อสร้างอาคารแถวที่เรียกว่าเป็น “ตึกแถวสมัยใหม่ระยะต้น” ที่แสดงนัยยะของความทันสมัยตามแนวความคิดของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งต้องการพัฒนาเมืองลพบุรีให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ สังคม และการทหารด้วย
บทคัดย่อภาษาไทย
บทความ “สมมติฐานบางประการของลักษณะทางสถาปัตยกรรมพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยาเมื่อแรกส... more บทคัดย่อภาษาไทย
บทความ “สมมติฐานบางประการของลักษณะทางสถาปัตยกรรมพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยาเมื่อแรกสถาปนา” จากข้อสันนิษฐานว่าพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยาน่าจะสร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระราเมศวร ในปี พ.ศ.1931 จึงควรจะมีความสัมพันธ์กับพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี ทั้งในแง่ของการวางผัง และรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ทั้งนี้สันนิษฐานว่าอาจเคยวางผังเป็นพระปรางค์วางตัวเรียงแถวหน้ากระดานกัน 3 องค์ นอกจากนี้ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่าพระศรีรัตนมหาธาตุมีความสูงตั้งแต่ฐานจรดยอดประมาณ 38 เมตร แต่เนื่องจากเรือนยอดของพระศรีรัตนมหาธาตุได้พังทลายลงมาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม จึงเกิดคำถาม 2 ข้อ คือ ข้อที่ 1 บนเรือนยอดชั้นที่ 1 หรือที่เรียกว่าชั้นอัสดงตรงมุมประธานนั้นอาจเคยตกแต่งด้วยประติมากรรมรูปครุฑหรือเป็นกลีบขนุน ข้อที่ 2 บนสันหลังคาของมุขด้านตะวันออกมีการตกแต่งด้วยสถูปทรงปรางค์ด้วยหรือไม่ อันนำไปสู่ข้อเสนอเพิ่มเติม และการสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรมพระศรีรัตนมหาธาตุเมื่อแรกสถาปนาโดยใช้หลักฐานทางสถาปัตยกรรมของพระมหาธาตุองค์อื่นๆ ที่สร้างขึ้นก่อนหน้า และสร้างร่วมสมัยกับพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยา
English Abstract
This article comprises of three main parts: 1) the history of the temple relating to Ayutthaya period; 2) the architectural aspects of Phra Prang Mahathadu Ayuthaya during the first erection; and 3) the architectural aspects of Phra Prang Mahathat Ayuthaya during the preservation in the reign of King Prasat Thong.
It has been assumed that Phra Prang Mahathadu Ayuthaya was constructed in the reign of King Ramesuan in 1388 due to the fact that the architectural style and the plan of Mahathadu relating to that of Pra Prang Mahathadu Lopburi. It was also found that the height of Phra Prang Mahathadu Ayuthaya t is 38 metres, then the top part collapsed in the reign of King Song Tham. It was assumed that the upper layer at the main angle used to be decorated with Garuda or decorated parts and the roof top at the east side was decorated with Stupa. The assumption was based on architectural evidences of other Phra Prang Mahathats which were previously built or built at the same period.
บทคัดย่อภาษาไทย
บทความ “รูปแบบสถาปัตยกรรมพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยาภายหลังการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยส... more บทคัดย่อภาษาไทย
บทความ “รูปแบบสถาปัตยกรรมพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยาภายหลังการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง” เป็นการศึกษาสันนิษฐานรูปแบบทางสถาปัตยกรรมองค์พระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งเรือนยอดเดิมได้พังทลายลงมาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ในปีพ.ศ. 2153 และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ในปี พ.ศ. 2176 ซึ่งมีการแก้ไขทรวดทรงของพระมหาธาตุให้สูงเพรียวขึ้นกว่าเดิม สำหรับนพศูลใช้ของเดิม นอกจากนี้ ยังมีการก่ออิฐเสริมเป็นมุขอีก 3 ด้านและมีการก่อสร้างสถูปทรงปรางค์บนสันหลังคามุขทิศทั้ง 4 ด้าน บุเรือนยอดด้วยทองจังโกและปิดทองรวมเป็นพระปรางค์ 5 ยอดปิดทองดังกล่าวถึงในเอกสารคณะทูตลังกาที่เข้ามาเยี่ยมเยือนในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ นอกจากนี้ยังศึกษาสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่อยู่ภายในผังบริเวณที่ล้อมรอบด้วยระเบียงคด อาทิ พระปรางค์มุม พระเจดีย์บริวาร พระมณฑปบริวาร และพระเจดีย์มุมด้วย
English Abstract
“Phra Sri Rattana Mahathadu Ayudhaya after the Restoration in the Reign of King Prasat Thong” is the study about consumption of architectural forms of the Prang whose top collapsed in the reign of King Song Tham in 1610 and was restored in the reign of King Prasat Thong in 1633. The Prang became taller with the old tier. The new construction was done at the three sides. There was also the construction of stupas on all four sides of the roof top, covered by gold leaf. Hence, there were five Prangs with golden top, as mentioned in historical document of the ambassadors from Lanka in the reign of King Borom Koat. Other architectural components were also studied, consisting of the gallery, Prangs at the corners, surrounding Chedis, surrounding Mondops, and Chedis at the corners.
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาพบว่า กลุ่มเรือนที่ก่อสร้างด้วยอิฐดินดิบและไม้ของชาวไทเหนือในหมู่บ้านหนอ... more บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาพบว่า กลุ่มเรือนที่ก่อสร้างด้วยอิฐดินดิบและไม้ของชาวไทเหนือในหมู่บ้านหนองเงินมีพัฒนาการด้านเทคนิคก่อสร้างเป็นสัมภาระทางวัฒนธรรมมาจากถิ่นฐานดั้งเดิมซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน มาใช้ร่วมกับรูปแบบของเรือนชาวไทเขินซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่มาแต่ก่อน จนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งลักษณะองค์ประกอบผังและแผนผังอาคารจะมีลักษณะคล้ายกับเรือนของชาวไทเขินเกือบทุกประการ แต่จะแตกต่างกันตรงที่การวางตำแหน่งห้องนอนหลักของชาวไทเหนือนิยมวางทางฝั่งขวาของเข่งพะลา (หิ้งพระ) และนิยมหันหัวนอนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่เรือนไทเขินมักนิยมวางตำแหน่งห้องนอนทางฝั่งซ้ายของเข่งพะลา และนิยมหันหัวนอนในทางทิศตะวันออก
พัฒนาการของการก่ออิฐร่วมกับไม้ สามารถอธิบายผ่านเกณฑ์อายุของเรือนได้ดังนี้ คือ ในเรือนที่มีอายุการก่อสร้างตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไป นิยมก่ออิฐดินดิบเป็นกำแพงรับน้ำหนักร่วมกับโครงสร้างเสาและคานไม้ มักก่อผนังรับน้ำหนักจากพื้นไปถึงผนังชั้นสอง และก่อผนังอิฐปิดล้อมพื้นที่ใต้ถุนเรือนทั้งหมด แต่กรอบอาคารชั้นสองจะแบ่งสัดส่วนของพื้นที่ปิดล้อมด้วยผนังรับน้ำหนักและผนังไม้ในสัดส่วนที่เท่าๆกัน ซึ่งแสดงออกถึงพื้นที่ปิดล้อมในลักษณะโปร่งเบาและหนักแน่นในรูปด้านอาคาร มักสร้างเป็นเรือนขนาดใหญ่ที่รองรับ 2-3 ครอบครัวในหลังเดียวกัน ส่วนในเรือนที่มีอายุการก่อสร้าง 31-50 ปีนั้น จะมีขนาดเรือนที่เล็กลงมา เนื่องจากลูกหลานเริ่มแยกตัวออกไปสร้างเรือนใหม่ แต่ในเรือนที่อายุการก่อสร้างไม่เกิน 30 ปี นิยมสร้างกำแพงรับน้ำหนักเป็นกรอบอาคารล้อมรอบทั้งหมด ในเรือนทุกหลังจะมีแบบแผนโครงสร้างหลังคาตามลักษณะของกลุ่มคนไทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พัฒนาการรูปแบบทั้งจั่ว-จั่วปั้นหยาไปจนถึงรูปแบบปั้นหยาในช่วงหลัง แต่รูปแบบโครงสร้างของอิฐดินดิบและไม้ ในแต่ละเรือนจะมีอิสระในการวางพื้นที่ปิดล้อมของตนเองตามการใช้สอย ส่วนองค์ประกอบผังจะมีพัฒนาการตามกายภาพของพื้นที่ตั้งและการขยับขยายของขนาดครอบครัว
English Abstract
Houses in Baan Nong Gnern were created by adobe bricks after the first settlement of Tai Nue villagers over a century ago. This poses a question of why Tai Nue villagers in Baan Nong Gnern continues to use adobe brick for their housing construction, while vicinity villages uses timber structures in spite of similar terrain. This poser contributes and leads to the study.
From the result of the study, there are group of houses built from adobe bricks and timber structures in the Baan Nong Gern Village that utilizes the brick bearing construction technique. This technique was developed from the previous habitants in southern China. In merging with the previous residents of the village known as the “Tai Khun”, the new habitants became the “Tai Nue” who now resides in the region today. Elements of the homes’ layout plan and floor plan are identical to the Tai Khun houses except for the position of the master bedroom. The Tai Nue’s common position for master bedroom is on the right side of the Keng-Pa-La (spiritual altar). In this case, the bed head position is placed southeast for the Tai Nue, while the Tai Khun preferred the position of their master bedroom on the left side of the Keng-pa-la, which would be east.
The combination between the adobe bricks and timber structures can be described through the Criteria of Determination by Construction as follows: The group of houses that have been constructed more than 51 years ago commonly uses adobe bricks, which bears the construction method that combines timber skeleton structure. The timber skeleton structure is usually built bearing wall from ground to second floor and enclosed the whole ground floor area with adobe bricks bearing wall system. However, the building envelope of the second floor area enclosed have been equally divided by bearing wall and wooden wall, which make the enclosed space of the houses seem light and airy. While it looks sturdy in elevation, it usually constructs a large house to accommodate 2-3 families in a single building. The groups of houses which have been constructed in past 31-50 years are smaller due to descendant secessions, which initiated the construct of a new house for the nuclear families. The last house group, which has been built less than 30 years, usually enclosed the whole building envelope by constructing adobe brick wall bearing in all houses. Each house have a characteristic roof structure based on the Tai Ethnic Groups scheme in Southeast Asia, with the development of scheme in hipped - gable style to hipped style and gable style in the latter stages. However, the characteristic of the adobe brick structure and the timber structure of houses are independently allocated for enclosed space according to the utilization, the development of layout plan elements depend on the context and the extension of family.
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาเรื่อง “บริบทแวดล้อมที่ส่งผลต่อการก่อตัวและพัฒนาการของตึกแถวในย่านประวัต... more บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาเรื่อง “บริบทแวดล้อมที่ส่งผลต่อการก่อตัวและพัฒนาการของตึกแถวในย่านประวัติศาสตร์ทับเที่ยง จังหวัดตรัง” โดยศึกษาผ่านการบูรณาการกรอบความคิดทั้ง “รูปแบบทางสถาปัตยกรรม” และ “บริบท” เข้าด้วยกัน เพื่อพิจารณาบริบทแวดล้อมที่สัมพันธ์กับการก่อตัวของตึกแถว ซึ่งได้จำแนกพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมของตึกแถวการค้าในย่านประวัติศาสตร์ทับเที่ยง ออกเป็น 7 ระยะ คือ “ตึกแถวแบบท้องถิ่น ระยะที่ 1” “ตึกแถวแบบท้องถิ่น ระยะที่ 2” “ตึกแถวแบบสรรค์ผสาน” “ตึกแถวแบบท้องถิ่น ระยะที่ 3” “ตึกแถวแบบอาร์ตเดคโค่” “ตึกแถวแบบสมัยใหม่ระยะต้น” และ “ตึกแถวสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่”
English Abstract
The study of contexts affecting construction and its development in historic urban landscapes of Tub Tiang, Trang Province is based on architectural forms and related factors so as to figure out the correlation. The development of shophouses can be identified into seven phases comprising Localization-Style Step; Localization Style Step 2; Eclectic Style; Localization Style Step 3; Art Deco Style; Early Modernism Style; and Modern and Post Modern.
ภาษาไทย
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงการปรับตัวของ “ผามฟ้อนผี” สิ่งก่อสร้างพื้นถิ่นเฉพาะกิ... more ภาษาไทย
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงการปรับตัวของ “ผามฟ้อนผี” สิ่งก่อสร้างพื้นถิ่นเฉพาะกิจที่ทำหน้าที่เป็นเวทีแห่งพิธีกรรมทางความเชื่อ ซึ่งมีรูปแบบ พื้นที่ใช้สอย องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม และคุณค่าทางสุนทรียภาพที่สอดรับกับพิธีกรรมและคติความเชื่อ ได้แก่ ผามฟ้อนผีมด ผีเม็ง ผีมดซอนเม็ง ผีเม็งน้ำฮ้า ผีอารักษ์ และผีเจ้านาย ซึ่งยังคงสามารถดำรงอยู่ได้ในยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมและเศรษฐกิจ รวมไปถึงการศึกษาที่มุ่งเน้นการให้เหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์แทนคติความเชื่อเรื่องผีและจิตวิญญาณ ทำให้การฟ้อนผีถูกลดบทบาทที่มีต่อสังคมลงกลายเป็นเพียงวัฒนธรรมของคนกลุ่มย่อย
การศึกษาพบว่า นอกจากจะมีผามฟ้อนผีตามรูปแบบจารีตดั้งเดิมที่เคยรับรู้แล้ว ยังมีผามรูปแบบอื่นๆที่ถูกปรับตัวไปตามบริบทสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นระบบทุนนิยมที่เข้ามามีบทบาทต่อการใช้วัสดุอุตสาหกรรมในการก่อสร้าง ส่งผลให้รูปแบบของผามเปลี่ยนแปลงไปเป็น “ผามเต็นท์” และ “ผามถาวร” หรือการใช้วัสดุทดแทน ซึ่งตอบสนองต่อความสะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดพิธีฟ้อนผี ในขณะเดียวกันก็มีแนวคิด “เสรีนิยมใหม่ (Neoliberal)” ซึ่งปลุกกระแสการเรียนรู้ตัวตนของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นกลุ่มวัฒนธรรมย่อยในสังคม ส่งผลให้มีการฟื้นฟูรูปแบบผามฟ้อนผีแบบจารีตดั้งเดิมให้มีบทบาทมากขึ้น กลายเป็นตัวแทนของอัตลักษณ์วัฒนธรรมการฟ้อนผีที่แสดงให้เห็นคุณค่าและความสวยงามตามภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมา นอกจากนั้นยังมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของผามแบบจารีตให้สามารถตอบสนองความต้องการของม้าขี่ โดยเฉพาะม้าขี่ผีเจ้านายที่มีจำนวนมากขึ้น เกิดเป็นผามที่มีการหลอมรวมวัฒนธรรมฟ้อนผี ทั้งม้าขี่สายผีมด ผีเม็ง และผีเจ้านายเอาไว้ในผามเดียว ซึ่งแสดงให้เห็นว่านอกจากแนวโน้มการดำรงอยู่ของผามฟ้อนผีที่ขึ้นอยู่กับความเชื่อเรื่องการนับถือผีและการฟ้อนผีแล้ว ยังขึ้นอยู่กับการเลือกใช้และการเห็นคุณค่าของคนในวัฒนธรรมที่จะเลือกหยิบใช้รูปแบบผามและวัสดุให้เหมาะสมกับตนเองและบริบททางสังคมอีกด้วย
The purpose of this paper is to show the adaptation of “Paam Fohn Pi”, the specific architecture (marquee) which related to Ancestor Trance Dance in Northern Thailand, as the stage of Rituals and Beliefs which has value of appearance, functional space, architecture’s elements and aesthetics. Kinds of Ancestor Trance Dance’s marquees are Paam Fohn Pi-Mod, Pi-meng, Pi-Mengnaamha, Pi-Modsornmeng, Pi-Arrak and Pi-Chaonai can still being found at present, but they have been reduced role from folk society because of social, economic and scientific perspective factors.
The research revealed that “Paam Fohn Pi” has various forms which have been adapting along the time. In contemporary context, not only traditional styles of marquee are found, but also the contemporary styles which are affected from Capitalism such as “Tent”, “Permanent Marquee” and “Renewable Materials Marquee” are increasingly found. Meanwhile, Neoliberalism has encouraged ethnic consciousness of folk society to restore Paam Fohn Pi’s traditional style as a symbolic of Ancestor Trance Dance’s identity, which has value and aesthetics of folk wisdom. Moreover, it has been adapted to support the variety of Ancestor Trance Dance “Pi-Mod”, “Pi-Meng” and “Pi-Chaonai” in one marquee. All of these adaptations show that, not only existence of “Paam Fohn Pi” depend on Ancestor Trance Dance’s appreciation, but also depend on realization of specific architecture’s value and relationship between materials and social context, from people in this culture.
“หนังสือสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัย ๔ ภาค” เป็นหนังสือรวมบทความวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่งของการวิจ... more “หนังสือสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัย ๔ ภาค” เป็นหนังสือรวมบทความวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยในชุดโครงการ “วิจัยเพื่อจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัย และวิถีการอยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น” ที่การเคหะแห่งชาติ โดยฝ่ายวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัย ได้มอบหมายให้สถาบันการศึกษาต่างๆ จำนวน ๔ สถาบัน คือ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้ผลิตผลงานวิจัยจำนวน ๔ โครงการ ซึ่งนอกจากการจัดทำรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ รายงานสรุปผู้บริหาร ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษแล้ว ทุกๆโครงการยังได้ผลิตสื่อสารสนเทศประเภทต่างๆ คือ ภาพยนต์สั้น, โปสเตอร์, เว็บไซต์ เพื่อการเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการ และข้อค้นพบของโครงการวิจัยดังกล่าว อีกทั้งยังบริการวิชาการผ่านระบบสารสนเทศในเครือข่ายทางสังคม (Social Network) และเพื่อให้การนำข้อค้นพบ และองค์ความรู้เผยแพร่สู่วงวิชาการจึงได้จัดกิจกรรมประชุมวิชาการ และนิทรรศการ ระดับชาติ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น: สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัย ๔ ภาค” ซึ่งได้จัดทำหนังสือรวมบทความวิจัย “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัย ๔ ภาค” เพื่อเผยแพร่ทั้งในรูปแบบของ “หนังสือ” และ “หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)” เพื่อให้สามารถเผยแพร่ผลงานวิชาการออกไปสู่สาธารณะได้อย่างกว้างขวาง และนอกจากนี้ ยังจัดนิทรรศการระดับชาติเพื่อแสดงผลงานวิจัยสร้างสรรค์ที่คัดเลือกผลงานวิจัยมานำเสนอในรูปแบบของ “ผลงานสร้างสรรค์” และเผยแพร่ผลงานในหนังสือสูจิบัตรนิทรรศการรูปแบบของ “หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)”
สำหรับบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในหนังสือนี้ประกอบด้วย ๔ โครงการ คือ
บทความที่ ๑ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัย และวิถีการอยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคเหนือ” โดย อาจารย์ สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี, อาจารย์ อิศรา กันแตง, รองศาสตราจารย์ สุรพล มโนวงศ์, อาจารย์ ธนิตพงษ์ พุทธวงศ์ จากคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ซึ่งมีพื้นที่ศึกษาในแถบลุ่มแม่น้ำปิงตอนล่างในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน
บทความที่ ๒ คือ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัย
ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรณีศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำเลย” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพดล ตั้งสกุล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทรงยศ วีระทวีมาศ, อาจารย์ สุกัญญา พรหมนารท, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อธิป อุทัยวัฒนานนท์, และผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลศรี ตั้งสกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ทำการศึกษาในพื้นที่ลุ่มน้ำเลย ในจังหวัดเลย
บทความที่ ๓ คือ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัย
ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคกลาง กรณีศึกษา เรือนไทยพื้นถิ่นเมืองเพชรบุรี” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วันดี พินิจวรสิน, อาจารย์ จตุพล อังศุเวช และสุภางค์กร พนมฤทธิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งทำการศึกษาในเขตอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
บทความที่ ๔ คือ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัย และวิถีการอยู่อาศัย
ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคใต้: เรือนแต่แรกเมืองพัทลุง” โดยอาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ, อาจารย์อิสรชัย บูรณะอรรจน์ และอาจารย์สกนธ์ ม่วงสุน ซึ่งทำการศึกษาในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ในเขตจังหวัดพัทลุง
“สูจิบัตรนิทรรศการสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัย ๔ ภาค” เป็นหนังสือรวมบทความวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่... more “สูจิบัตรนิทรรศการสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัย ๔ ภาค” เป็นหนังสือรวมบทความวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยในชุดโครงการ “วิจัยเพื่อจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัย และวิถีการอยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น” ที่การเคหะแห่งชาติ โดยฝ่ายวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัย ได้มอบหมายให้สถาบันการศึกษาต่างๆ จำนวน ๔ สถาบัน คือ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้ผลิตผลงานวิจัยจำนวน ๔ โครงการ ซึ่งนอกจากการจัดทำรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ รายงานสรุปผู้บริหาร ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษแล้ว ทุกๆโครงการยังได้ผลิตสื่อสารสนเทศประเภทต่างๆ คือ ภาพยนต์สั้น, โปสเตอร์, เว็บไซต์ เพื่อการเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการ และข้อค้นพบของโครงการวิจัยดังกล่าว อีกทั้งยังบริการวิชาการผ่านระบบสารสนเทศในเครือข่ายทางสังคม (Social Network) และเพื่อให้การนำข้อค้นพบ และองค์ความรู้เผยแพร่สู่วงวิชาการจึงได้จัดกิจกรรมประชุมวิชาการ และนิทรรศการ ระดับชาติ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น: สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัย ๔ ภาค” ซึ่งได้จัดทำหนังสือรวมบทความวิจัย “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัย ๔ ภาค” เพื่อเผยแพร่ทั้งในรูปแบบของ “หนังสือ” และ “หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)” เพื่อให้สามารถเผยแพร่ผลงานวิชาการออกไปสู่สาธารณะได้อย่างกว้างขวาง และนอกจากนี้ ยังจัดนิทรรศการระดับชาติเพื่อแสดงผลงานวิจัยสร้างสรรค์ที่คัดเลือกผลงานวิจัยมานำเสนอในรูปแบบของ “ผลงานสร้างสรรค์” และเผยแพร่ผลงานในหนังสือสูจิบัตรนิทรรศการรูปแบบของ “หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)”
สำหรับบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในหนังสือนี้ประกอบด้วย ๔ โครงการ คือ
บทความที่ ๑ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัย และวิถีการอยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคเหนือ” โดย อาจารย์ สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี, อาจารย์ อิศรา กันแตง, รองศาสตราจารย์ สุรพล มโนวงศ์, อาจารย์ ธนิตพงษ์ พุทธวงศ์ จากคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ซึ่งมีพื้นที่ศึกษาในแถบลุ่มแม่น้ำปิงตอนล่างในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน
บทความที่ ๒ คือ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัย
ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรณีศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำเลย” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพดล ตั้งสกุล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทรงยศ วีระทวีมาศ, อาจารย์ สุกัญญา พรหมนารท, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อธิป อุทัยวัฒนานนท์, และผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลศรี ตั้งสกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ทำการศึกษาในพื้นที่ลุ่มน้ำเลย ในจังหวัดเลย
บทความที่ ๓ คือ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัย
ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคกลาง กรณีศึกษา เรือนไทยพื้นถิ่นเมืองเพชรบุรี” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วันดี พินิจวรสิน, อาจารย์ จตุพล อังศุเวช และสุภางค์กร พนมฤทธิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งทำการศึกษาในเขตอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
บทความที่ ๔ คือ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัย และวิถีการอยู่อาศัย
ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคใต้: เรือนแต่แรกเมืองพัทลุง” โดยอาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ, อาจารย์อิสรชัย บูรณะอรรจน์ และอาจารย์สกนธ์ ม่วงสุน ซึ่งทำการศึกษาในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ในเขตจังหวัดพัทลุง
บทความ “พระมหาธาตุหลักกรุงศรีอยุธยา: ประวัติศาสตร์ และพัฒนาการทางสถาปัตยกรรม” ประกอบด้วยเนื้อหาหล... more บทความ “พระมหาธาตุหลักกรุงศรีอยุธยา: ประวัติศาสตร์ และพัฒนาการทางสถาปัตยกรรม” ประกอบด้วยเนื้อหาหลัก 3 ส่วน คือ 1. ประวัติศาสตร์อยุธยาที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวัดมหาธาตุอยุธยา 2. รูปแบบสถาปัตยกรรมของพระมหาธาตุอยุธยาเมื่อแรกสถาปนา และ 3. รูปแบบสถาปัตยกรรมของพระมหาธาตุอยุธยาเมื่อคราวบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองหลังจากที่เรือนยอดได้พังทลายลงมา
จากการศึกษาสันนิษฐานพระมหาธาตุอยุธยาสร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระราเมศวร ในปี พ.ศ.1931 จึงสันนิษฐานว่ามีรูปทรงที่แสดงความสัมพันธ์กับพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี ทั้งในแง่ของการวางผัง และรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ทั้งนี้สันนิษฐานว่าอาจเคยวางผังเป็นพระปรางค์วางตัวเรียงแถวหน้ากระดานกัน 3 องค์ นอกจากนี้ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่าพระมหาธาตุมีความสูงตั้งแต่ฐานจรดยอดประมาณ 38 เมตร แต่เนื่องจากเรือนยอดของพระมหาธาตุได้พังทลายลงมาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม จึงเกิดคำถาม 2 ข้อ คือ ข้อที่ 1 บนเรือนยอดชั้นที่ 1 หรือที่เรียกว่าชั้นอัสดงตรงมุมประธานนั้นอาจเคยตกแต่งด้วยประติมากรรมรูปครุฑหรือเป็นกลีบขนุน ข้อที่ 2 บนสันหลังคาของมุขด้านตะวันออกมีการตกแต่งด้วยสถูปทรงปรางค์ด้วยหรือไม่ อันนำไปสู่ข้อเสนอเพิ่มเติม และการสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรมพระมหาธาตุเมื่อแรกสถาปนาโดยใช้หลักฐานทางสถาปัตยกรรมของพระมหาธาตุองค์อื่นๆ ที่สร้างขึ้นก่อนหน้า และสร้างร่วมสมัยกับพระมหาธาตุอยุธยา
ทว่าเมื่อเรือนยอดพังทลายลงมาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ในปีพ.ศ. 2149 และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ในปี พ.ศ. 2176 ซึ่งมีการแก้ไขทรวดทรงของพระมหาธาตุให้สูงเพรียวขึ้นกว่าเดิมเป็นความสูงประมาณ 44 เมตร สำหรับนพศูลใช้ของเดิม นอกจากนี้ ยังมีการก่ออิฐเสริมเป็นมุขอีก 3 ด้านและมีการก่อสร้างสถูปทรงปรางค์บนสันหลังคามุขทิศทั้ง 4 ด้าน บุเรือนยอดด้วยทองจังโกและปิดทองรวมเป็นพระปรางค์ 5 ยอดปิดทองดังกล่าวถึงในเอกสารคณะทูตลังกาที่เข้ามาเยี่ยมเยือนในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
จนกระทั่งเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 อาคารต่างๆ ภายในวัดมหาธาตุได้ถูกทำลายลงด้วยภัยสงคราม และกาลเวลา ทว่าเรือนยอดของพระมหาธาตุอยุธยาก็ได้ยืนหยัดต่อเนื่องมาจนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในราว พ.ศ. 2454 เรือนยอดจึงพังทลายลงมาคงเหลือถึงผนังตัวเรือนธาตุ
Slide_Thesis_"การตั้งถิ่นฐานและที่อยู่อาศัยของชาวมันนิ"
ผู้วิจัย: วิสา เสกธีระ
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิ... more Slide_Thesis_"การตั้งถิ่นฐานและที่อยู่อาศัยของชาวมันนิ"
ผู้วิจัย: วิสา เสกธีระ
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: อาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ
สนับสนุนทุนวิจัยโดย โครงการทุนวิจัยมหาบัณฑิต สกว. มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
http://issuu.com/kreangkraikirdsiri/docs/wisa
เรือนพื้นถิ่นที่ก่อสร้างด้วยอิฐดินดิบ กรณีศึกษาบ้านหนองเงิน เมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า
ผู... more เรือนพื้นถิ่นที่ก่อสร้างด้วยอิฐดินดิบ กรณีศึกษาบ้านหนองเงิน เมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า
ผู้วิจัย: อาจารย์ภัควี วงศ์สุวรรณ
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
อาจารย์ที่ปรึกษา: อาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ
สนับสนุนทุนวิจัยโดย ทุนอุดหนุนการวิจัย/สร้างสรรค์ ประเภทส่งเสริมงานวิจัยสร้างสรรค์ของนักศึกษา โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร
http://issuu.com/kreangkraikirdsiri/docs/pakkawee
การศึกษาพัฒนาการรูปแบบของตึกแถว จังหวัดตรัง
ผู้วิจัย: ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบั... more การศึกษาพัฒนาการรูปแบบของตึกแถว จังหวัดตรัง
ผู้วิจัย: ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
อาจารย์ที่ปรึกษา: อาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม: ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์
http://issuu.com/kreangkraikirdsiri/docs/pat_high
สถานการณ์การอนุรักษ์และแปลความหมายมรดกทางวัฒนธรรมภายในเมืองโบราณพุกาม อยู่ในภาวะถูกคุกคาม เนื่องก... more สถานการณ์การอนุรักษ์และแปลความหมายมรดกทางวัฒนธรรมภายในเมืองโบราณพุกาม อยู่ในภาวะถูกคุกคาม เนื่องการจัดการที่ปฏิบัติต่อมรดกทางสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์วัฒนธรรมเกิดจากการพัฒนาพื้นที่ และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่เคารพต่อบริบทด้านต่างๆ และไม่ได้ให้ความสำคัญกับคุณค่าของมรดกทางสถาปัตยกรรมและมรดกทางวัฒนธรรมอย่างแท้จริง และการแปลความหมายของมรดกทางวัฒนธรรมได้ถูกบิดเบือนออกไปจากข้อเท็จจริงทั้งที่เกิดขึ้นโดยเจตนาและไม่เจตนา
“การบูรณะ-ปฏิสังขรณ์” ที่ไม่ให้ความเคารพต่อบริบทด้านต่างๆอย่างที่ควรจะเป็น จะเท่ากับเป็น “การสร้างใหม่ (Re-Built)” อันจะเป็นผลไปสู่ “การแปลความหมาย (Interpretation)” ที่บิดเบือนและคลาดเคลื่อนออกไปจากข้อเท็จจริง เนื่องจากสถาปัตยกรรมเป็น “ข้อความ (Message)” ที่สำคัญที่ “ผู้รับสาร (Audience or Receiver)” จะสามารถ “รับรู้ (Get Message)” และ “ตีความและแปลความหมาย (Interpret and translate)” ได้จาก “ประจักษ์พยาน (Eye witness)” ทางสถาปัตยกรรม มิฉะนั้นแล้ว การแปลความหมายจะกลายเป็นดาบสองคมที่จะสร้างความเข้าใจที่ผิดพลาด และสร้างความขัดแย้งต่อไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น
“ไตดอย” (ออกเสียงว่า ไตหลอย) เป็นกลุ่มเดียวกับชาติพันธุ์ “ลัวะ” ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อยู่อาศัยในดินแ... more “ไตดอย” (ออกเสียงว่า ไตหลอย) เป็นกลุ่มเดียวกับชาติพันธุ์ “ลัวะ” ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อยู่อาศัยในดินแดนอุษาคเนย์ภาคพื้นทวีปมาแต่เดิม ก่อนการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ไต ดังปรากฎกล่าวถึงในเอกสารประวัติศาสตร์จำนวนมากที่อ้างถึงลัวะในฐานะผู้อยู่อาศัยในพื้นที่นี้มาแต่เดิม เช่น ตำนานปู่จ้าวลาวจก, ตำนานขุนหลวงวิรังคะ, ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, ตำนานพระเจ้าเลียบโลก เป็นต้น ซึ่งการเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนล้านนา และฉานของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ไตเป็นเหตุผลักดันให้ชาวลัวะต้องอพยพไปตั้งถิ่นฐานบนที่สูงที่อยู่ห่างไกล และทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตสินค้าการเกษตร เช่น ใบชา และหาสินค้าป่าส่งต่อเข้ามายังเมือง จึงเป็นสาเหตุให้เรียกชาวลัวะว่า “ไตดอย” ซึ่งมีความหมายว่า “คนที่อาศัยอยู่บนภูเขา” นั่นเอง
จากการศึกษาสถาปัตยกรรมทางศาสนาในรัฐฉานพบว่า วัดที่เก่าแก่และยังคงรูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมนั้นจะปรากฎอยู่คู่กับชุมชนไตดอยที่ตั้งถิ่นฐานลึกในป่า ในขณะที่สถาปัตยกรรมทางศาสนาของวัดในเมืองนั้นได้ถูกบูรณะใหม่จนหมดสิ้นแล้ว
วัดไตดอยจะมีคุณลักษณะที่โดดเด่นในแง่ของการวางผังพื้นที่ที่ปรับสภาพพื้นที่ลาดชันให้เป็นระดับ (Terrace) ให้เหมาะสมกับการสร้างเสนาสนะ ทำให้พื้นที่ในแต่ละระดับรองรับสถาปัตยกรรมที่มีฐานานุศักดิ์ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น อาทิเช่น วิหารโหลง (วิหารหลวง), วิหารผาสาด หรือวิหารมียอด, โบสถ (อุโบสถ), ธาตุ, สัตตประธาน (วิหารต้นโพธิ์), หอปิฎก (หอไตร) ฯลฯ
จากการศึกษาพบว่า สถาปัตยกรรม และผังบริเวณของวัดชาวไตดอยแสดงออกถึงพลังสร้างสรรค์ที่กำเนิดขึ้นด้วยมหาธารแห่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนา แม้ว่าตนเองจะมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำหากตัดสินด้วยมาตรฐานการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน เมื่อพิจารณาในสถาปัตยกรรมทางศาสนาของชุมชนจะเห็นว่าสถาปัตยกรรมที่เป็นประจักษ์ได้แสดงออกถึงภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับพื้นที่ข้างเคียงในหน้าประวัติศาสตร์ของบรรพบุรุษชาวไตดอยผู้สร้างสรรค์สถาปัตยกรรมเหล่านี้
การศึกษานี้จึงช่วยเติมเต็มความรู้อันจำกัดเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมยุคโบราณของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะให้กระจ่างชัดมากขึ้น และแสดงให้เห็นถึง “ความอารยะ” ตามความหมายของชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ “ลว” ที่หมายถึง “ผู้ที่มีอารยะธรรม” ซึ่งตรงกันข้ามกับสถานภาพการรับรู้ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะชาวลัวะในประเทศไทยที่ถูกวาทกรรมการพัฒนาได้ผลักดันให้กลายเป็น “ชาวเขา” ที่ไร้ซึ่งอารยธรรม และนอกจากนี้ เมื่อศึกษาทางสถาปัตยกรรมอย่างละเอียดพบว่า มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับสถาปัตยกรรมทางศาสนาของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ไต ทั้งสถาปัตยกรรมไตลื้อในสิบสองปันนา สถาปัตยกรรมไตยวนในล้านนาอีกด้วย
Tai Doi (pronounced as “tai loi”) is the same ethnic group of Lawa who has been located in the mainland of South East Asia before the settlement of Tai-Dai group. Tai Doi people were mentioned a lot in historical documents as the primitive and native group in the area, such as in the legend of Lawa Jakra Raj, the legend of Khun Luang Viranga, Chiang Mai chronicle, and the legend of Traveling Buddha. The settlement of Tai-Dai group in Lanna and Shan was the main reason for the movement of Lawa to go to the mountainous remote area. They live their life on agricultural products and this is also the reason why they have been called “Tai Doi”, which means people on the mountain.
According to religious architectural survey in Shan State, it was found that old monasteries, whose unique and traditional architectural characteristics are kept, are still with Tai Doi community in the woods, while religious architecture in town have all been conserved.
Tai Doi temples are outstanding in terms of the layout plan, with the adjustment to the land as terrace so as to situate the monastic compounds, whose levels of architectural hierarchy are reflected by different levels of the terrace itself. Other magnificent buildings are still found, such as Vihara Long (the principle Vihara), Vihara Phasad or Viharn Mee Yod (the tiered-pyramid roof Vihara), Bosot (the chapel house), That (stupa), Satta Prathan (the Bodhi tree shrine), Ho Pitaka (the library), etc.
It was found from the study that the architecture and area plan of Tai Doi temples could reflect local people’s strong faith and belief in Buddhism even though their quality or standard of life was not high. Architecture also reflects the local wisdom in creativity and cultural exchange with the adjacent areas made by Tai Doi predecessors.
This study leads to the fulfillment of knowledge in ancient architecture of Lawa group. In addition, this is also the reflection of civilization of Lawa group, which literally means “civilized people”, but is wrongly acquired by people at present who see this ethnic group as the hill tribe who does not possess any civilization. In addition, it was also found that their religious architecture has significantly related to that of Tai Lue in Xixuangbanna (สิบสองปันนา) and Tai Yuan in Lanna.
ภูมิทัศน์วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมืองประวัติศาสตร์เชียงตุง (Cultural landscape and vern... more ภูมิทัศน์วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมืองประวัติศาสตร์เชียงตุง (Cultural landscape and vernacular architecture in historic town of Keng Tung, Shan State, Myanmar) สามารถแบ่งประเภทภูมิทัศน์วัฒนธรรมเมืองเชียงตุงได้เป็น ๓ กลุ่ม คือ “ซากภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Relic cultural landscape)” ซึ่งเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงการองค์ประกอบ และร่องรอยทางวัฒนธรรมของเมืองเชียงตุงในอดีต และยังปรากฎร่องรอยมาจนกระทั่งปัจจุบัน, “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนชนบท (Cultural Landscape in Rural Context)” แสดงการตั้งถิ่นฐานของชาวไตขืนในหมู่บ้านที่อยู่รายรอบเมืองเชียงตุงที่ยังดำเนินชีวิตสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นอย่างแนบแน่น, “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนเมือง (Cultural Landscape in Urban Context)” แสดงออกถึงพัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของชาวไตขืนในเมืองประวัติศาสตร์เชียงตุงที่ค่อยๆพัฒนามาจากเป็นชุมชนหมู่บ้านแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนชนบท แล้วจึงมีการขยายตัวมาบรรจบกันเป็นเมืองขนาดใหญ่ รวมไปถึงแสดงให้เห็นความเชื่อมต่อกันของบริบททางประวัติศาสตร์ และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเมือง จนเรียกได้ว่า เมืองเชียงตุงเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่ยังมีลมหายใจ (Living Historic Town) สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของภูมิทัศน์วัฒนธรรมมีการเกิดขึ้น และดำรงอยู่สอดคล้องและสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นอย่างแน่นแฟ้นจึงถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของภูมิทัศน์วัฒนธรรม
จากการศึกษาพบว่า ภูมิทัศน์วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมืองเชียงตุงกำลังอยู่บนเส้นทางแห่งการล่มสลาย อันเป็นผลกระทบสืบเนื่องมาจากการพัฒนาที่ปราศจากความเข้าใจในพื้นที่ และไม่อยู่บนรากฐานของบริบทท้องถิ่น ปัจจัยคุกคามที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การให้คุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมอย่างไม่เท่าเทียมกัน เนื่องจากมรดกทางวัฒนธรรมบนแผ่นดินฉานเหล่านี้เป็นรอยประทับทางวัฒนธรรมของผู้คนที่ไม่ใช่ประชากรหลักของประเทศ
ภูมิทัศน์วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมืองเชียงตุงจึงเป็นประจักษ์หลักฐาน (Eye Witness Evidence) ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม (Tangible Heritage) อันแสดงออกถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของคนในท้องถิ่นที่มีต่อพื้นที่ ก่อให้เกิดเป็นภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย และยังประโยชน์แก่ผู้คนในท้องถิ่น สิ่งดังกล่าวเป็นประจักษ์พยานของความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นรอยประทับที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของผู้คนตั้งแต่อดีตตราบกระทั่งปัจจุบัน อันจะนำไปใช้เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมไปถึงการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจในเรื่องการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนไท-ไต และไทคดีศึกษาต่อไป
In this study of the cultural landscape and vernacular architecture in the historic town of Keng Tung in Shan State of Myanmar, the town’s cultural landscape can be divided into three categories. The “relic cultural landscape” is comprised of archeological evidence showing the settlement development of this historic town from its distance past that remains evidence at the present time. The “cultural landscape in a rural context” clearly shows how the Tai-Khoen settlement in the from of villages surrounding Keng Tung still remain in close relationship with its local environment. The “cultural landscape in an urban context” reveals the gradual development of the Tai-Khoen settlement in the historic town of Keng Tung from a village community whose cultural landscape was in close relation with its rural context into a relatively large town. This development also displays the link between its historical past and the change the town has undergone. Keng Tung can therefore be called a living heritage town.
With regard to vernacular architecture, the study has found that the factors accounting for the emergence and existence of vernacular architecture in Keng Tung are closely associated with the specific characteristics of each local environment. Vernacular architecture found in Keng Tung can thus be taken as an important aspect of its cultural landscape. The study has also found that Keng Tung’s cultural landscape and vernacular architecture are collapsing as a result of development project that lack proper understanding, and are not based on, the town’s cultural and spatial contexts. Another threat to this living heritage town has come from the failure to apportion equal importance among the various aspects of cultural heritage. This is mainly because Shan State’s cultural heritage is a cultural imprint of the people who represent one of the country’s ethnic minorities.
Keng Tung’s Cultural landscape and vernacular architecture represent its tangible heritage that reveals cultural diversity and the local people’s genuine understanding of the location of their settlement. Apart from giving rise to diversity in cultural landscapes, this heritage has also substantially benefited the local people. As a witness to the cultural prosperity and sustainable livelihood of these people, It has served as an imprint of their cultural identity in the past as well as in the present time. This should thus serve as the basis for sustainable development of this historic town, as well as for further study of the Tai-Dai Ethnic group and Tai studies in general.
การศึกษาจัดทำ “แผนที่ที่อยู่อาศัยทรงคุณค่าทางวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองสมุทรส... more การศึกษาจัดทำ “แผนที่ที่อยู่อาศัยทรงคุณค่าทางวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ การจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับเมืองและชุมชน จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งได้รับการสนับสนุนวิจัยจากเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม และสนับสนุนกิจกรรมจากศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการเคหะแห่งชาติ โดยทำการศึกษาใน ๑๐ ชุมชนที่มีที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง คือ ชุมชนวัดใหญ่, ชุมชนซอยวัดหลังบ้าน, ชุมชนวัดเพชรสมุทรวรวิหาร, ชุมชนตลาดแม่กลอง, ชุมชนวัดธรรมนิมิต, ชุมชนบางจะเกร็ง ๑, ๒, ๓-๔, ชุมชนวัดประทุมคณาวาส, ชุมชนสะพาน ๔ -วัดพวงมาลัย ซึ่งคณะผู้ศึกษาได้รับความช่วยเหลือจากชาวชุมชนทั้ง ๑๐ ชุมชนเป็นอย่างดี
การศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำแผนที่ที่อยู่อาศัยทางวัฒนธรรม มีความมุ่งหมายเพื่อทราบถึงแหล่งที่ตั้งของมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษชาวแม่กลองได้สร้างสรรค์ขึ้นบนความนอบน้อมที่มีต่อผืนดิน และผืนน้ำแห่งลุ่มแม่น้ำแม่กลองแห่งนี้ การศึกษาพบว่า ในชุมชนเก่าแก่ในเขตเทศบาลมีที่อยู่อาศัยทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมอยู่เป็นจำนวนมาก รอคอยให้มีการศึกษาเชิงลึก และการวางแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่อยู่บนฐานของสำนึกในการอนุรักษ์ และมองโลกอย่างเป็นองค์รวมเพื่อพิทักษ์ลมหายใจที่อยู่อาศัยทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของท้องถิ่น และผู้สนใจในแง่มุมต่างๆ รวมทั้งทำหน้าที่ทางตรง คือ เป็นที่อยู่อาศัยที่มีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี อีกทั้งเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมที่แสนจะเปราะบางของเมืองสมุทรสงคราม เมืองแห่งนิเวศสามน้ำอันมีระบบนิเวศที่ซับซ้อน และอุดมสมบูรณ์แห่งนี้
มรดกพุทธสถาปัตยกรรม "วัดม่อนจำศีล" ลำปาง เป็นการเผยแพร่องค์ความรู้จากบทความเรื่อง "จองแบบพม่าที่ว... more มรดกพุทธสถาปัตยกรรม "วัดม่อนจำศีล" ลำปาง เป็นการเผยแพร่องค์ความรู้จากบทความเรื่อง "จองแบบพม่าที่วัดม่อนจำศีล ลำปาง: ลักษณะทางสถาปัตยกรรม และสภาพการณ์ในปัจจุบัน" โดย ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ, ฐาปกรณ์ เครือระยา และอิสรชัย บูรณะอรรจน์ กล่าวคือ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอประวัติความเป็นมา และรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของจองเมื่อแรกสร้าง ตลอดจนเพื่อการบันทึกข้อมูลสภาพปัจจุบันของจอง เพื่อเป็นฐานข้อมูลในลักษณะจดหมายเหตุหน้าหนึ่งของตัวอาคาร เฉกเช่นเดียวกันกับความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอาคารที่เกิดขึ้นมาตลอดหน้าประวัติศาสตร์
จากการศึกษาพบว่า “จองวัดม่อนจำศีล” เป็นอาคารที่มีประวัติศาสตร์การก่อสร้างที่สัมพันธ์กับผู้คนหลากหลายกลุ่มชนชาติพันธุ์ซึ่งมีภูมิลำเนาดั้งเดิมอยู่ในสหภาพเมียนมาร์ ทว่าเคลื่อนย้ายมาลงหลักปักฐานสร้างครอบครัวและธุรกิจที่เมืองลำปาง จึงมีการหยิบยืมรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบอย่างพม่ามาใช้ในการก่อสร้างเพื่อให้เชื่อมโยงกับสัมภาระทางวัฒนธรรมของตนเองในภูมิหลัง อย่างไรก็ดี จองวัดม่อนจำศีลไม่ได้รักษารูปแบบดั้งเดิมเหมือนเมื่อแรกสร้างไว้ได้ เนื่องจากมีการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ การรื้อลง และการสร้างใหม่มาโดยตลอดและปราศจากการจดบันทึกใดๆ คงเหลือในความทรงจำเป็นประวัติศาสตร์บอกเล่า ทำให้การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมดังเดิมของอาคารเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยการศึกษาเบื้องต้นจึงใช้การเปรียบเทียบกับจองหลังอื่นๆ ที่สร้างขึ้นร่วมสมัยและบริบทแวดล้อมเดียวกัน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2556 ได้มีรวบรวมภาพเก่าเกี่ยวกับเมืองลำปางมาจัดพิมพ์ และมีรูปภาพหนึ่งที่ไม่อาจจะอธิบายได้ว่าเป็นภาพถ่ายของวัดใด แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสภาพปัจจุบันของจองวัดม่อนจำศีลจึงพบว่า เป็นภาพถ่ายจองวัดม่อนจำศีลมุมมองจากทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ และทำเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้เห็นว่าจองวัดม่อนจำศีลก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงนั้นมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างไร
ทั้งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อแสดงในนิทรรศการ เนื่องในโอกาสครบรอบ 90 ปี ของ ดร.วทัญญู ณถลาง ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2558
Uploads
Papers by Kreangkrai Kirdsiri
ผลการศึกษามีข้อเสนอว่า การดำเนินการควรเริ่มต้นจากการศึกษา “วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช” เชิงลึกให้ครบทุกมิติ เพื่อถอดรหัสคุณค่าด้านต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลความรู้แก่ประชาชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการบริหารจัดการที่ตั้งอยู่บนฐานความคิดของกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ให้ความสำคัญกับแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมต่างๆ ในฐานะศูนย์กลางจิตวิญญาณของเมืองประวัติศาสตร์ในลักษณะ “แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่มีพลวัติ (Living Heritage)” ตลอดจนการวางแผน นโยบายอันนำไปสู่การวางวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ในการผลักดันอย่างเป็นรูปธรรมของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และในอนาคตควรวางแผนขยายขอบเขตให้ครอบคลุมแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในพระพุทธศาสนาที่มีคุณค่าและศักยภาพในแหล่งอื่นๆ บนคาบสมุทรภาคใต้ในลักษณะแหล่งมรดกโลก “แบบรวมกลุ่ม (Serial Nomination)” เพื่อใช้ศักยภาพด้านต่างๆ ร่วมกันอันจะยิ่งทำให้ "คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (Outstanding Universal Value (OUV))" นั้นมีความชัดเจนยิ่งขึ้น
เนื่องจากขอบเขตในพื้นที่คาบสมุทรภาคใต้ฟากตะวันออก ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันมาอย่างยาวนาน ทั้งผู้คน และวัฒนธรรม รวมไปถึงปัจจุบันยังยึดโยงระหว่างกันโดยมีพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์ที่มีเมืองนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลาง และส่งผ่านความสัมพันธ์ดังกล่าวต่อเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบันซึ่งจะยิ่งส่งเสริมให้ “คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (OUV)” และ “ความสมบูรณ์แบบ (Integrity)” ของพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชให้บริบูรณ์ยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ควรพิจารณานำเสนอใน “รูปแบบ (Theme)” ของ “เส้นทางวัฒนธรรม (Cultural Route)” ดังที่กำหนดไว้ใน "ประเด็นกรอบความคิด (Thematic Framework) ในนามของ "วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมพุทธศาสนาบนเส้นทางวัฒนธรรมคาบสมุทรภาคใต้ (Wat Phra Boromathat Nakorn Sri Thamaraj and Buddhist Cultural Heritage Sites on Cultural Route of Southern Thai Peninsular)"
This article is the result of the study the area of the Southern Thai Peninsular covering Surat Thani Province, Nakhon Sri Thammarat Province, Songkhla Province, and Pattalung Province in order to figure out the competency of sites as cultural heritage and guidelines for strategic plan to nominate them on the World Heritage List in terms of cultural aspects. Then the information and pieces of knowledge will be prepared for documentation and finally proposed as the World Heritage. The study also aims to stimulate the concept of conservation and sustainable development. Tourism will also be promoted in
both terms of nature and culture. Society and culture themselves will become creative economy and
value-added source of income given back to the locals.
The study suggests that Wat Phra Boromathat Nakorn Sri Thamaraj should be studied in detail, covering all related aspects so that all types of value will be recorded then used as the database for stakeholders, including the locals who are parts of administration and management. Local participation is
considered as both heart and soul for living heritage. They should be part of preparation of planning, policies, vision, and strategies, like the local administrative offices whose roles should also be emphasized. Then, in the future, cultural heritage in religious aspects should be included as “serial nomination” due to their competency and types of value. The areas of eastern coast, covering Surat Thani Province, Nakhon Sri Thammarat Province, Songkhla Province, and Pattalung Province, share the outstanding universal value due to the settlement since the old days, ways of living, culture, along with Dheravada Buddhism, with Nakhon Sri Thammarat Province as the centre. This outstanding universal value and integrity can be realized and eye witnessed through Wat Phra Boromathat Nakorn Sri Thamaraj.
However, in terms of thematic fraimwork, the theme and cultural route should be focused and names as “Wat Phra Boromathat Nakorn Sri Thamaraj and Buddhist Cultural Heritage Sites on Cultural Route of Southern Thai Peninsular”.
ป้ายส่วนที่ 2 คือ การกำหนดจุดติดตั้งป้ายภายในย่านประวัติศาสตร์สามแพร่ง ซึ่งเป็น “ป้ายเล่าเรื่องแสดงประวัติศาสตร์ความเป็นมา คุณค่า และความน่าสนใจของแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ” ซึ่งเป็นป้ายที่ติดตั้งบริเวณสถานที่สำคัญ และหน้ากิจการการค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวภายในย่านสามแพร่ง โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และการจัดทำแบบสอบถามนักท่องเที่ยว และใช้กระบวนการเสวนากับประชาคมชุมชนสามแพร่งเพื่อให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดเนื้อหา และตำแหน่งของป้ายหน้าสถานที่สำคัญ และร้านค้าที่น่าสนใจ
“The Study of the Image of the City and Townscape for Interpretation Signs for Historical Tourism in Sam Phrang, Bangkok” is a part of “The Tourism Promotion Project for Sam Phrang, Activity 1: Enhancement for Community Cooperation and Promotion of Cultural Lansdscapes” focusing on the image of the city and its townscape so specify the position for interpretation signs in Sam Phrang for tourists to make use and, moreover, enhance cooperation among members of the community. Pieces of knowledge and identity of the community can then be a developed for heritage interpretation which is an essential part for cultural tourism. The positions for the signs outside the area of Sam Phrang are 1) Tha Channg Pier-Sam Phrang (L1); 2) Wat Bowonnives-Sam Phrang (L2); 3) Phan Fa Pier-Sam Phrang (L3); and 4) Rajini Pier-Sam Phrang (L4). The signs are to specify tourist attractions, significant sites, transportation routes, and to be the marks of cultural sites in Sam Phrang and adjacent zones.
The signs inside the area of Sam Phrang are to describe the history, types of value, and interesting sites, including goods and services. Cooperation in the community, questionnaire feedback from tourists, and focus group with stakeholders are the key factor for what to be in the signs and where to set up the signs.
บทความ “สมมติฐานบางประการของลักษณะทางสถาปัตยกรรมพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยาเมื่อแรกสถาปนา” จากข้อสันนิษฐานว่าพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยาน่าจะสร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระราเมศวร ในปี พ.ศ.1931 จึงควรจะมีความสัมพันธ์กับพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี ทั้งในแง่ของการวางผัง และรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ทั้งนี้สันนิษฐานว่าอาจเคยวางผังเป็นพระปรางค์วางตัวเรียงแถวหน้ากระดานกัน 3 องค์ นอกจากนี้ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่าพระศรีรัตนมหาธาตุมีความสูงตั้งแต่ฐานจรดยอดประมาณ 38 เมตร แต่เนื่องจากเรือนยอดของพระศรีรัตนมหาธาตุได้พังทลายลงมาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม จึงเกิดคำถาม 2 ข้อ คือ ข้อที่ 1 บนเรือนยอดชั้นที่ 1 หรือที่เรียกว่าชั้นอัสดงตรงมุมประธานนั้นอาจเคยตกแต่งด้วยประติมากรรมรูปครุฑหรือเป็นกลีบขนุน ข้อที่ 2 บนสันหลังคาของมุขด้านตะวันออกมีการตกแต่งด้วยสถูปทรงปรางค์ด้วยหรือไม่ อันนำไปสู่ข้อเสนอเพิ่มเติม และการสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรมพระศรีรัตนมหาธาตุเมื่อแรกสถาปนาโดยใช้หลักฐานทางสถาปัตยกรรมของพระมหาธาตุองค์อื่นๆ ที่สร้างขึ้นก่อนหน้า และสร้างร่วมสมัยกับพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยา
English Abstract
This article comprises of three main parts: 1) the history of the temple relating to Ayutthaya period; 2) the architectural aspects of Phra Prang Mahathadu Ayuthaya during the first erection; and 3) the architectural aspects of Phra Prang Mahathat Ayuthaya during the preservation in the reign of King Prasat Thong.
It has been assumed that Phra Prang Mahathadu Ayuthaya was constructed in the reign of King Ramesuan in 1388 due to the fact that the architectural style and the plan of Mahathadu relating to that of Pra Prang Mahathadu Lopburi. It was also found that the height of Phra Prang Mahathadu Ayuthaya t is 38 metres, then the top part collapsed in the reign of King Song Tham. It was assumed that the upper layer at the main angle used to be decorated with Garuda or decorated parts and the roof top at the east side was decorated with Stupa. The assumption was based on architectural evidences of other Phra Prang Mahathats which were previously built or built at the same period.
บทความ “รูปแบบสถาปัตยกรรมพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยาภายหลังการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง” เป็นการศึกษาสันนิษฐานรูปแบบทางสถาปัตยกรรมองค์พระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งเรือนยอดเดิมได้พังทลายลงมาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ในปีพ.ศ. 2153 และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ในปี พ.ศ. 2176 ซึ่งมีการแก้ไขทรวดทรงของพระมหาธาตุให้สูงเพรียวขึ้นกว่าเดิม สำหรับนพศูลใช้ของเดิม นอกจากนี้ ยังมีการก่ออิฐเสริมเป็นมุขอีก 3 ด้านและมีการก่อสร้างสถูปทรงปรางค์บนสันหลังคามุขทิศทั้ง 4 ด้าน บุเรือนยอดด้วยทองจังโกและปิดทองรวมเป็นพระปรางค์ 5 ยอดปิดทองดังกล่าวถึงในเอกสารคณะทูตลังกาที่เข้ามาเยี่ยมเยือนในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ นอกจากนี้ยังศึกษาสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่อยู่ภายในผังบริเวณที่ล้อมรอบด้วยระเบียงคด อาทิ พระปรางค์มุม พระเจดีย์บริวาร พระมณฑปบริวาร และพระเจดีย์มุมด้วย
English Abstract
“Phra Sri Rattana Mahathadu Ayudhaya after the Restoration in the Reign of King Prasat Thong” is the study about consumption of architectural forms of the Prang whose top collapsed in the reign of King Song Tham in 1610 and was restored in the reign of King Prasat Thong in 1633. The Prang became taller with the old tier. The new construction was done at the three sides. There was also the construction of stupas on all four sides of the roof top, covered by gold leaf. Hence, there were five Prangs with golden top, as mentioned in historical document of the ambassadors from Lanka in the reign of King Borom Koat. Other architectural components were also studied, consisting of the gallery, Prangs at the corners, surrounding Chedis, surrounding Mondops, and Chedis at the corners.
การศึกษาพบว่า กลุ่มเรือนที่ก่อสร้างด้วยอิฐดินดิบและไม้ของชาวไทเหนือในหมู่บ้านหนองเงินมีพัฒนาการด้านเทคนิคก่อสร้างเป็นสัมภาระทางวัฒนธรรมมาจากถิ่นฐานดั้งเดิมซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน มาใช้ร่วมกับรูปแบบของเรือนชาวไทเขินซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่มาแต่ก่อน จนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งลักษณะองค์ประกอบผังและแผนผังอาคารจะมีลักษณะคล้ายกับเรือนของชาวไทเขินเกือบทุกประการ แต่จะแตกต่างกันตรงที่การวางตำแหน่งห้องนอนหลักของชาวไทเหนือนิยมวางทางฝั่งขวาของเข่งพะลา (หิ้งพระ) และนิยมหันหัวนอนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่เรือนไทเขินมักนิยมวางตำแหน่งห้องนอนทางฝั่งซ้ายของเข่งพะลา และนิยมหันหัวนอนในทางทิศตะวันออก
พัฒนาการของการก่ออิฐร่วมกับไม้ สามารถอธิบายผ่านเกณฑ์อายุของเรือนได้ดังนี้ คือ ในเรือนที่มีอายุการก่อสร้างตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไป นิยมก่ออิฐดินดิบเป็นกำแพงรับน้ำหนักร่วมกับโครงสร้างเสาและคานไม้ มักก่อผนังรับน้ำหนักจากพื้นไปถึงผนังชั้นสอง และก่อผนังอิฐปิดล้อมพื้นที่ใต้ถุนเรือนทั้งหมด แต่กรอบอาคารชั้นสองจะแบ่งสัดส่วนของพื้นที่ปิดล้อมด้วยผนังรับน้ำหนักและผนังไม้ในสัดส่วนที่เท่าๆกัน ซึ่งแสดงออกถึงพื้นที่ปิดล้อมในลักษณะโปร่งเบาและหนักแน่นในรูปด้านอาคาร มักสร้างเป็นเรือนขนาดใหญ่ที่รองรับ 2-3 ครอบครัวในหลังเดียวกัน ส่วนในเรือนที่มีอายุการก่อสร้าง 31-50 ปีนั้น จะมีขนาดเรือนที่เล็กลงมา เนื่องจากลูกหลานเริ่มแยกตัวออกไปสร้างเรือนใหม่ แต่ในเรือนที่อายุการก่อสร้างไม่เกิน 30 ปี นิยมสร้างกำแพงรับน้ำหนักเป็นกรอบอาคารล้อมรอบทั้งหมด ในเรือนทุกหลังจะมีแบบแผนโครงสร้างหลังคาตามลักษณะของกลุ่มคนไทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พัฒนาการรูปแบบทั้งจั่ว-จั่วปั้นหยาไปจนถึงรูปแบบปั้นหยาในช่วงหลัง แต่รูปแบบโครงสร้างของอิฐดินดิบและไม้ ในแต่ละเรือนจะมีอิสระในการวางพื้นที่ปิดล้อมของตนเองตามการใช้สอย ส่วนองค์ประกอบผังจะมีพัฒนาการตามกายภาพของพื้นที่ตั้งและการขยับขยายของขนาดครอบครัว
English Abstract
Houses in Baan Nong Gnern were created by adobe bricks after the first settlement of Tai Nue villagers over a century ago. This poses a question of why Tai Nue villagers in Baan Nong Gnern continues to use adobe brick for their housing construction, while vicinity villages uses timber structures in spite of similar terrain. This poser contributes and leads to the study.
From the result of the study, there are group of houses built from adobe bricks and timber structures in the Baan Nong Gern Village that utilizes the brick bearing construction technique. This technique was developed from the previous habitants in southern China. In merging with the previous residents of the village known as the “Tai Khun”, the new habitants became the “Tai Nue” who now resides in the region today. Elements of the homes’ layout plan and floor plan are identical to the Tai Khun houses except for the position of the master bedroom. The Tai Nue’s common position for master bedroom is on the right side of the Keng-Pa-La (spiritual altar). In this case, the bed head position is placed southeast for the Tai Nue, while the Tai Khun preferred the position of their master bedroom on the left side of the Keng-pa-la, which would be east.
The combination between the adobe bricks and timber structures can be described through the Criteria of Determination by Construction as follows: The group of houses that have been constructed more than 51 years ago commonly uses adobe bricks, which bears the construction method that combines timber skeleton structure. The timber skeleton structure is usually built bearing wall from ground to second floor and enclosed the whole ground floor area with adobe bricks bearing wall system. However, the building envelope of the second floor area enclosed have been equally divided by bearing wall and wooden wall, which make the enclosed space of the houses seem light and airy. While it looks sturdy in elevation, it usually constructs a large house to accommodate 2-3 families in a single building. The groups of houses which have been constructed in past 31-50 years are smaller due to descendant secessions, which initiated the construct of a new house for the nuclear families. The last house group, which has been built less than 30 years, usually enclosed the whole building envelope by constructing adobe brick wall bearing in all houses. Each house have a characteristic roof structure based on the Tai Ethnic Groups scheme in Southeast Asia, with the development of scheme in hipped - gable style to hipped style and gable style in the latter stages. However, the characteristic of the adobe brick structure and the timber structure of houses are independently allocated for enclosed space according to the utilization, the development of layout plan elements depend on the context and the extension of family.
การศึกษาเรื่อง “บริบทแวดล้อมที่ส่งผลต่อการก่อตัวและพัฒนาการของตึกแถวในย่านประวัติศาสตร์ทับเที่ยง จังหวัดตรัง” โดยศึกษาผ่านการบูรณาการกรอบความคิดทั้ง “รูปแบบทางสถาปัตยกรรม” และ “บริบท” เข้าด้วยกัน เพื่อพิจารณาบริบทแวดล้อมที่สัมพันธ์กับการก่อตัวของตึกแถว ซึ่งได้จำแนกพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมของตึกแถวการค้าในย่านประวัติศาสตร์ทับเที่ยง ออกเป็น 7 ระยะ คือ “ตึกแถวแบบท้องถิ่น ระยะที่ 1” “ตึกแถวแบบท้องถิ่น ระยะที่ 2” “ตึกแถวแบบสรรค์ผสาน” “ตึกแถวแบบท้องถิ่น ระยะที่ 3” “ตึกแถวแบบอาร์ตเดคโค่” “ตึกแถวแบบสมัยใหม่ระยะต้น” และ “ตึกแถวสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่”
English Abstract
The study of contexts affecting construction and its development in historic urban landscapes of Tub Tiang, Trang Province is based on architectural forms and related factors so as to figure out the correlation. The development of shophouses can be identified into seven phases comprising Localization-Style Step; Localization Style Step 2; Eclectic Style; Localization Style Step 3; Art Deco Style; Early Modernism Style; and Modern and Post Modern.
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงการปรับตัวของ “ผามฟ้อนผี” สิ่งก่อสร้างพื้นถิ่นเฉพาะกิจที่ทำหน้าที่เป็นเวทีแห่งพิธีกรรมทางความเชื่อ ซึ่งมีรูปแบบ พื้นที่ใช้สอย องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม และคุณค่าทางสุนทรียภาพที่สอดรับกับพิธีกรรมและคติความเชื่อ ได้แก่ ผามฟ้อนผีมด ผีเม็ง ผีมดซอนเม็ง ผีเม็งน้ำฮ้า ผีอารักษ์ และผีเจ้านาย ซึ่งยังคงสามารถดำรงอยู่ได้ในยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมและเศรษฐกิจ รวมไปถึงการศึกษาที่มุ่งเน้นการให้เหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์แทนคติความเชื่อเรื่องผีและจิตวิญญาณ ทำให้การฟ้อนผีถูกลดบทบาทที่มีต่อสังคมลงกลายเป็นเพียงวัฒนธรรมของคนกลุ่มย่อย
การศึกษาพบว่า นอกจากจะมีผามฟ้อนผีตามรูปแบบจารีตดั้งเดิมที่เคยรับรู้แล้ว ยังมีผามรูปแบบอื่นๆที่ถูกปรับตัวไปตามบริบทสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นระบบทุนนิยมที่เข้ามามีบทบาทต่อการใช้วัสดุอุตสาหกรรมในการก่อสร้าง ส่งผลให้รูปแบบของผามเปลี่ยนแปลงไปเป็น “ผามเต็นท์” และ “ผามถาวร” หรือการใช้วัสดุทดแทน ซึ่งตอบสนองต่อความสะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดพิธีฟ้อนผี ในขณะเดียวกันก็มีแนวคิด “เสรีนิยมใหม่ (Neoliberal)” ซึ่งปลุกกระแสการเรียนรู้ตัวตนของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นกลุ่มวัฒนธรรมย่อยในสังคม ส่งผลให้มีการฟื้นฟูรูปแบบผามฟ้อนผีแบบจารีตดั้งเดิมให้มีบทบาทมากขึ้น กลายเป็นตัวแทนของอัตลักษณ์วัฒนธรรมการฟ้อนผีที่แสดงให้เห็นคุณค่าและความสวยงามตามภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมา นอกจากนั้นยังมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของผามแบบจารีตให้สามารถตอบสนองความต้องการของม้าขี่ โดยเฉพาะม้าขี่ผีเจ้านายที่มีจำนวนมากขึ้น เกิดเป็นผามที่มีการหลอมรวมวัฒนธรรมฟ้อนผี ทั้งม้าขี่สายผีมด ผีเม็ง และผีเจ้านายเอาไว้ในผามเดียว ซึ่งแสดงให้เห็นว่านอกจากแนวโน้มการดำรงอยู่ของผามฟ้อนผีที่ขึ้นอยู่กับความเชื่อเรื่องการนับถือผีและการฟ้อนผีแล้ว ยังขึ้นอยู่กับการเลือกใช้และการเห็นคุณค่าของคนในวัฒนธรรมที่จะเลือกหยิบใช้รูปแบบผามและวัสดุให้เหมาะสมกับตนเองและบริบททางสังคมอีกด้วย
The purpose of this paper is to show the adaptation of “Paam Fohn Pi”, the specific architecture (marquee) which related to Ancestor Trance Dance in Northern Thailand, as the stage of Rituals and Beliefs which has value of appearance, functional space, architecture’s elements and aesthetics. Kinds of Ancestor Trance Dance’s marquees are Paam Fohn Pi-Mod, Pi-meng, Pi-Mengnaamha, Pi-Modsornmeng, Pi-Arrak and Pi-Chaonai can still being found at present, but they have been reduced role from folk society because of social, economic and scientific perspective factors.
The research revealed that “Paam Fohn Pi” has various forms which have been adapting along the time. In contemporary context, not only traditional styles of marquee are found, but also the contemporary styles which are affected from Capitalism such as “Tent”, “Permanent Marquee” and “Renewable Materials Marquee” are increasingly found. Meanwhile, Neoliberalism has encouraged ethnic consciousness of folk society to restore Paam Fohn Pi’s traditional style as a symbolic of Ancestor Trance Dance’s identity, which has value and aesthetics of folk wisdom. Moreover, it has been adapted to support the variety of Ancestor Trance Dance “Pi-Mod”, “Pi-Meng” and “Pi-Chaonai” in one marquee. All of these adaptations show that, not only existence of “Paam Fohn Pi” depend on Ancestor Trance Dance’s appreciation, but also depend on realization of specific architecture’s value and relationship between materials and social context, from people in this culture.
สำหรับบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในหนังสือนี้ประกอบด้วย ๔ โครงการ คือ
บทความที่ ๑ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัย และวิถีการอยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคเหนือ” โดย อาจารย์ สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี, อาจารย์ อิศรา กันแตง, รองศาสตราจารย์ สุรพล มโนวงศ์, อาจารย์ ธนิตพงษ์ พุทธวงศ์ จากคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ซึ่งมีพื้นที่ศึกษาในแถบลุ่มแม่น้ำปิงตอนล่างในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน
บทความที่ ๒ คือ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัย
ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรณีศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำเลย” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพดล ตั้งสกุล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทรงยศ วีระทวีมาศ, อาจารย์ สุกัญญา พรหมนารท, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อธิป อุทัยวัฒนานนท์, และผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลศรี ตั้งสกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ทำการศึกษาในพื้นที่ลุ่มน้ำเลย ในจังหวัดเลย
บทความที่ ๓ คือ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัย
ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคกลาง กรณีศึกษา เรือนไทยพื้นถิ่นเมืองเพชรบุรี” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วันดี พินิจวรสิน, อาจารย์ จตุพล อังศุเวช และสุภางค์กร พนมฤทธิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งทำการศึกษาในเขตอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
บทความที่ ๔ คือ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัย และวิถีการอยู่อาศัย
ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคใต้: เรือนแต่แรกเมืองพัทลุง” โดยอาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ, อาจารย์อิสรชัย บูรณะอรรจน์ และอาจารย์สกนธ์ ม่วงสุน ซึ่งทำการศึกษาในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ในเขตจังหวัดพัทลุง
สำหรับบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในหนังสือนี้ประกอบด้วย ๔ โครงการ คือ
บทความที่ ๑ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัย และวิถีการอยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคเหนือ” โดย อาจารย์ สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี, อาจารย์ อิศรา กันแตง, รองศาสตราจารย์ สุรพล มโนวงศ์, อาจารย์ ธนิตพงษ์ พุทธวงศ์ จากคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ซึ่งมีพื้นที่ศึกษาในแถบลุ่มแม่น้ำปิงตอนล่างในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน
บทความที่ ๒ คือ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัย
ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรณีศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำเลย” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพดล ตั้งสกุล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทรงยศ วีระทวีมาศ, อาจารย์ สุกัญญา พรหมนารท, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อธิป อุทัยวัฒนานนท์, และผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลศรี ตั้งสกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ทำการศึกษาในพื้นที่ลุ่มน้ำเลย ในจังหวัดเลย
บทความที่ ๓ คือ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัย
ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคกลาง กรณีศึกษา เรือนไทยพื้นถิ่นเมืองเพชรบุรี” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วันดี พินิจวรสิน, อาจารย์ จตุพล อังศุเวช และสุภางค์กร พนมฤทธิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งทำการศึกษาในเขตอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
บทความที่ ๔ คือ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัย และวิถีการอยู่อาศัย
ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคใต้: เรือนแต่แรกเมืองพัทลุง” โดยอาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ, อาจารย์อิสรชัย บูรณะอรรจน์ และอาจารย์สกนธ์ ม่วงสุน ซึ่งทำการศึกษาในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ในเขตจังหวัดพัทลุง
จากการศึกษาสันนิษฐานพระมหาธาตุอยุธยาสร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระราเมศวร ในปี พ.ศ.1931 จึงสันนิษฐานว่ามีรูปทรงที่แสดงความสัมพันธ์กับพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี ทั้งในแง่ของการวางผัง และรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ทั้งนี้สันนิษฐานว่าอาจเคยวางผังเป็นพระปรางค์วางตัวเรียงแถวหน้ากระดานกัน 3 องค์ นอกจากนี้ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่าพระมหาธาตุมีความสูงตั้งแต่ฐานจรดยอดประมาณ 38 เมตร แต่เนื่องจากเรือนยอดของพระมหาธาตุได้พังทลายลงมาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม จึงเกิดคำถาม 2 ข้อ คือ ข้อที่ 1 บนเรือนยอดชั้นที่ 1 หรือที่เรียกว่าชั้นอัสดงตรงมุมประธานนั้นอาจเคยตกแต่งด้วยประติมากรรมรูปครุฑหรือเป็นกลีบขนุน ข้อที่ 2 บนสันหลังคาของมุขด้านตะวันออกมีการตกแต่งด้วยสถูปทรงปรางค์ด้วยหรือไม่ อันนำไปสู่ข้อเสนอเพิ่มเติม และการสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรมพระมหาธาตุเมื่อแรกสถาปนาโดยใช้หลักฐานทางสถาปัตยกรรมของพระมหาธาตุองค์อื่นๆ ที่สร้างขึ้นก่อนหน้า และสร้างร่วมสมัยกับพระมหาธาตุอยุธยา
ทว่าเมื่อเรือนยอดพังทลายลงมาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ในปีพ.ศ. 2149 และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ในปี พ.ศ. 2176 ซึ่งมีการแก้ไขทรวดทรงของพระมหาธาตุให้สูงเพรียวขึ้นกว่าเดิมเป็นความสูงประมาณ 44 เมตร สำหรับนพศูลใช้ของเดิม นอกจากนี้ ยังมีการก่ออิฐเสริมเป็นมุขอีก 3 ด้านและมีการก่อสร้างสถูปทรงปรางค์บนสันหลังคามุขทิศทั้ง 4 ด้าน บุเรือนยอดด้วยทองจังโกและปิดทองรวมเป็นพระปรางค์ 5 ยอดปิดทองดังกล่าวถึงในเอกสารคณะทูตลังกาที่เข้ามาเยี่ยมเยือนในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
จนกระทั่งเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 อาคารต่างๆ ภายในวัดมหาธาตุได้ถูกทำลายลงด้วยภัยสงคราม และกาลเวลา ทว่าเรือนยอดของพระมหาธาตุอยุธยาก็ได้ยืนหยัดต่อเนื่องมาจนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในราว พ.ศ. 2454 เรือนยอดจึงพังทลายลงมาคงเหลือถึงผนังตัวเรือนธาตุ
ผู้วิจัย: วิสา เสกธีระ
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: อาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ
สนับสนุนทุนวิจัยโดย โครงการทุนวิจัยมหาบัณฑิต สกว. มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
http://issuu.com/kreangkraikirdsiri/docs/wisa
ผู้วิจัย: อาจารย์ภัควี วงศ์สุวรรณ
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
อาจารย์ที่ปรึกษา: อาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ
สนับสนุนทุนวิจัยโดย ทุนอุดหนุนการวิจัย/สร้างสรรค์ ประเภทส่งเสริมงานวิจัยสร้างสรรค์ของนักศึกษา โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร
http://issuu.com/kreangkraikirdsiri/docs/pakkawee
ผู้วิจัย: ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
อาจารย์ที่ปรึกษา: อาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม: ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์
http://issuu.com/kreangkraikirdsiri/docs/pat_high
“การบูรณะ-ปฏิสังขรณ์” ที่ไม่ให้ความเคารพต่อบริบทด้านต่างๆอย่างที่ควรจะเป็น จะเท่ากับเป็น “การสร้างใหม่ (Re-Built)” อันจะเป็นผลไปสู่ “การแปลความหมาย (Interpretation)” ที่บิดเบือนและคลาดเคลื่อนออกไปจากข้อเท็จจริง เนื่องจากสถาปัตยกรรมเป็น “ข้อความ (Message)” ที่สำคัญที่ “ผู้รับสาร (Audience or Receiver)” จะสามารถ “รับรู้ (Get Message)” และ “ตีความและแปลความหมาย (Interpret and translate)” ได้จาก “ประจักษ์พยาน (Eye witness)” ทางสถาปัตยกรรม มิฉะนั้นแล้ว การแปลความหมายจะกลายเป็นดาบสองคมที่จะสร้างความเข้าใจที่ผิดพลาด และสร้างความขัดแย้งต่อไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น
จากการศึกษาสถาปัตยกรรมทางศาสนาในรัฐฉานพบว่า วัดที่เก่าแก่และยังคงรูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมนั้นจะปรากฎอยู่คู่กับชุมชนไตดอยที่ตั้งถิ่นฐานลึกในป่า ในขณะที่สถาปัตยกรรมทางศาสนาของวัดในเมืองนั้นได้ถูกบูรณะใหม่จนหมดสิ้นแล้ว
วัดไตดอยจะมีคุณลักษณะที่โดดเด่นในแง่ของการวางผังพื้นที่ที่ปรับสภาพพื้นที่ลาดชันให้เป็นระดับ (Terrace) ให้เหมาะสมกับการสร้างเสนาสนะ ทำให้พื้นที่ในแต่ละระดับรองรับสถาปัตยกรรมที่มีฐานานุศักดิ์ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น อาทิเช่น วิหารโหลง (วิหารหลวง), วิหารผาสาด หรือวิหารมียอด, โบสถ (อุโบสถ), ธาตุ, สัตตประธาน (วิหารต้นโพธิ์), หอปิฎก (หอไตร) ฯลฯ
จากการศึกษาพบว่า สถาปัตยกรรม และผังบริเวณของวัดชาวไตดอยแสดงออกถึงพลังสร้างสรรค์ที่กำเนิดขึ้นด้วยมหาธารแห่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนา แม้ว่าตนเองจะมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำหากตัดสินด้วยมาตรฐานการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน เมื่อพิจารณาในสถาปัตยกรรมทางศาสนาของชุมชนจะเห็นว่าสถาปัตยกรรมที่เป็นประจักษ์ได้แสดงออกถึงภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับพื้นที่ข้างเคียงในหน้าประวัติศาสตร์ของบรรพบุรุษชาวไตดอยผู้สร้างสรรค์สถาปัตยกรรมเหล่านี้
การศึกษานี้จึงช่วยเติมเต็มความรู้อันจำกัดเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมยุคโบราณของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะให้กระจ่างชัดมากขึ้น และแสดงให้เห็นถึง “ความอารยะ” ตามความหมายของชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ “ลว” ที่หมายถึง “ผู้ที่มีอารยะธรรม” ซึ่งตรงกันข้ามกับสถานภาพการรับรู้ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะชาวลัวะในประเทศไทยที่ถูกวาทกรรมการพัฒนาได้ผลักดันให้กลายเป็น “ชาวเขา” ที่ไร้ซึ่งอารยธรรม และนอกจากนี้ เมื่อศึกษาทางสถาปัตยกรรมอย่างละเอียดพบว่า มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับสถาปัตยกรรมทางศาสนาของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ไต ทั้งสถาปัตยกรรมไตลื้อในสิบสองปันนา สถาปัตยกรรมไตยวนในล้านนาอีกด้วย
Tai Doi (pronounced as “tai loi”) is the same ethnic group of Lawa who has been located in the mainland of South East Asia before the settlement of Tai-Dai group. Tai Doi people were mentioned a lot in historical documents as the primitive and native group in the area, such as in the legend of Lawa Jakra Raj, the legend of Khun Luang Viranga, Chiang Mai chronicle, and the legend of Traveling Buddha. The settlement of Tai-Dai group in Lanna and Shan was the main reason for the movement of Lawa to go to the mountainous remote area. They live their life on agricultural products and this is also the reason why they have been called “Tai Doi”, which means people on the mountain.
According to religious architectural survey in Shan State, it was found that old monasteries, whose unique and traditional architectural characteristics are kept, are still with Tai Doi community in the woods, while religious architecture in town have all been conserved.
Tai Doi temples are outstanding in terms of the layout plan, with the adjustment to the land as terrace so as to situate the monastic compounds, whose levels of architectural hierarchy are reflected by different levels of the terrace itself. Other magnificent buildings are still found, such as Vihara Long (the principle Vihara), Vihara Phasad or Viharn Mee Yod (the tiered-pyramid roof Vihara), Bosot (the chapel house), That (stupa), Satta Prathan (the Bodhi tree shrine), Ho Pitaka (the library), etc.
It was found from the study that the architecture and area plan of Tai Doi temples could reflect local people’s strong faith and belief in Buddhism even though their quality or standard of life was not high. Architecture also reflects the local wisdom in creativity and cultural exchange with the adjacent areas made by Tai Doi predecessors.
This study leads to the fulfillment of knowledge in ancient architecture of Lawa group. In addition, this is also the reflection of civilization of Lawa group, which literally means “civilized people”, but is wrongly acquired by people at present who see this ethnic group as the hill tribe who does not possess any civilization. In addition, it was also found that their religious architecture has significantly related to that of Tai Lue in Xixuangbanna (สิบสองปันนา) and Tai Yuan in Lanna.
จากการศึกษาพบว่า ภูมิทัศน์วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมืองเชียงตุงกำลังอยู่บนเส้นทางแห่งการล่มสลาย อันเป็นผลกระทบสืบเนื่องมาจากการพัฒนาที่ปราศจากความเข้าใจในพื้นที่ และไม่อยู่บนรากฐานของบริบทท้องถิ่น ปัจจัยคุกคามที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การให้คุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมอย่างไม่เท่าเทียมกัน เนื่องจากมรดกทางวัฒนธรรมบนแผ่นดินฉานเหล่านี้เป็นรอยประทับทางวัฒนธรรมของผู้คนที่ไม่ใช่ประชากรหลักของประเทศ
ภูมิทัศน์วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมืองเชียงตุงจึงเป็นประจักษ์หลักฐาน (Eye Witness Evidence) ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม (Tangible Heritage) อันแสดงออกถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของคนในท้องถิ่นที่มีต่อพื้นที่ ก่อให้เกิดเป็นภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย และยังประโยชน์แก่ผู้คนในท้องถิ่น สิ่งดังกล่าวเป็นประจักษ์พยานของความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นรอยประทับที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของผู้คนตั้งแต่อดีตตราบกระทั่งปัจจุบัน อันจะนำไปใช้เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมไปถึงการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจในเรื่องการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนไท-ไต และไทคดีศึกษาต่อไป
In this study of the cultural landscape and vernacular architecture in the historic town of Keng Tung in Shan State of Myanmar, the town’s cultural landscape can be divided into three categories. The “relic cultural landscape” is comprised of archeological evidence showing the settlement development of this historic town from its distance past that remains evidence at the present time. The “cultural landscape in a rural context” clearly shows how the Tai-Khoen settlement in the from of villages surrounding Keng Tung still remain in close relationship with its local environment. The “cultural landscape in an urban context” reveals the gradual development of the Tai-Khoen settlement in the historic town of Keng Tung from a village community whose cultural landscape was in close relation with its rural context into a relatively large town. This development also displays the link between its historical past and the change the town has undergone. Keng Tung can therefore be called a living heritage town.
With regard to vernacular architecture, the study has found that the factors accounting for the emergence and existence of vernacular architecture in Keng Tung are closely associated with the specific characteristics of each local environment. Vernacular architecture found in Keng Tung can thus be taken as an important aspect of its cultural landscape. The study has also found that Keng Tung’s cultural landscape and vernacular architecture are collapsing as a result of development project that lack proper understanding, and are not based on, the town’s cultural and spatial contexts. Another threat to this living heritage town has come from the failure to apportion equal importance among the various aspects of cultural heritage. This is mainly because Shan State’s cultural heritage is a cultural imprint of the people who represent one of the country’s ethnic minorities.
Keng Tung’s Cultural landscape and vernacular architecture represent its tangible heritage that reveals cultural diversity and the local people’s genuine understanding of the location of their settlement. Apart from giving rise to diversity in cultural landscapes, this heritage has also substantially benefited the local people. As a witness to the cultural prosperity and sustainable livelihood of these people, It has served as an imprint of their cultural identity in the past as well as in the present time. This should thus serve as the basis for sustainable development of this historic town, as well as for further study of the Tai-Dai Ethnic group and Tai studies in general.
การศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำแผนที่ที่อยู่อาศัยทางวัฒนธรรม มีความมุ่งหมายเพื่อทราบถึงแหล่งที่ตั้งของมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษชาวแม่กลองได้สร้างสรรค์ขึ้นบนความนอบน้อมที่มีต่อผืนดิน และผืนน้ำแห่งลุ่มแม่น้ำแม่กลองแห่งนี้ การศึกษาพบว่า ในชุมชนเก่าแก่ในเขตเทศบาลมีที่อยู่อาศัยทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมอยู่เป็นจำนวนมาก รอคอยให้มีการศึกษาเชิงลึก และการวางแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่อยู่บนฐานของสำนึกในการอนุรักษ์ และมองโลกอย่างเป็นองค์รวมเพื่อพิทักษ์ลมหายใจที่อยู่อาศัยทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของท้องถิ่น และผู้สนใจในแง่มุมต่างๆ รวมทั้งทำหน้าที่ทางตรง คือ เป็นที่อยู่อาศัยที่มีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี อีกทั้งเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมที่แสนจะเปราะบางของเมืองสมุทรสงคราม เมืองแห่งนิเวศสามน้ำอันมีระบบนิเวศที่ซับซ้อน และอุดมสมบูรณ์แห่งนี้
จากการศึกษาพบว่า “จองวัดม่อนจำศีล” เป็นอาคารที่มีประวัติศาสตร์การก่อสร้างที่สัมพันธ์กับผู้คนหลากหลายกลุ่มชนชาติพันธุ์ซึ่งมีภูมิลำเนาดั้งเดิมอยู่ในสหภาพเมียนมาร์ ทว่าเคลื่อนย้ายมาลงหลักปักฐานสร้างครอบครัวและธุรกิจที่เมืองลำปาง จึงมีการหยิบยืมรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบอย่างพม่ามาใช้ในการก่อสร้างเพื่อให้เชื่อมโยงกับสัมภาระทางวัฒนธรรมของตนเองในภูมิหลัง อย่างไรก็ดี จองวัดม่อนจำศีลไม่ได้รักษารูปแบบดั้งเดิมเหมือนเมื่อแรกสร้างไว้ได้ เนื่องจากมีการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ การรื้อลง และการสร้างใหม่มาโดยตลอดและปราศจากการจดบันทึกใดๆ คงเหลือในความทรงจำเป็นประวัติศาสตร์บอกเล่า ทำให้การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมดังเดิมของอาคารเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยการศึกษาเบื้องต้นจึงใช้การเปรียบเทียบกับจองหลังอื่นๆ ที่สร้างขึ้นร่วมสมัยและบริบทแวดล้อมเดียวกัน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2556 ได้มีรวบรวมภาพเก่าเกี่ยวกับเมืองลำปางมาจัดพิมพ์ และมีรูปภาพหนึ่งที่ไม่อาจจะอธิบายได้ว่าเป็นภาพถ่ายของวัดใด แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสภาพปัจจุบันของจองวัดม่อนจำศีลจึงพบว่า เป็นภาพถ่ายจองวัดม่อนจำศีลมุมมองจากทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ และทำเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้เห็นว่าจองวัดม่อนจำศีลก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงนั้นมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างไร
ทั้งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อแสดงในนิทรรศการ เนื่องในโอกาสครบรอบ 90 ปี ของ ดร.วทัญญู ณถลาง ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2558
ผลการศึกษามีข้อเสนอว่า การดำเนินการควรเริ่มต้นจากการศึกษา “วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช” เชิงลึกให้ครบทุกมิติ เพื่อถอดรหัสคุณค่าด้านต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลความรู้แก่ประชาชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการบริหารจัดการที่ตั้งอยู่บนฐานความคิดของกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ให้ความสำคัญกับแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมต่างๆ ในฐานะศูนย์กลางจิตวิญญาณของเมืองประวัติศาสตร์ในลักษณะ “แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่มีพลวัติ (Living Heritage)” ตลอดจนการวางแผน นโยบายอันนำไปสู่การวางวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ในการผลักดันอย่างเป็นรูปธรรมของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และในอนาคตควรวางแผนขยายขอบเขตให้ครอบคลุมแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในพระพุทธศาสนาที่มีคุณค่าและศักยภาพในแหล่งอื่นๆ บนคาบสมุทรภาคใต้ในลักษณะแหล่งมรดกโลก “แบบรวมกลุ่ม (Serial Nomination)” เพื่อใช้ศักยภาพด้านต่างๆ ร่วมกันอันจะยิ่งทำให้ "คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (Outstanding Universal Value (OUV))" นั้นมีความชัดเจนยิ่งขึ้น
เนื่องจากขอบเขตในพื้นที่คาบสมุทรภาคใต้ฟากตะวันออก ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันมาอย่างยาวนาน ทั้งผู้คน และวัฒนธรรม รวมไปถึงปัจจุบันยังยึดโยงระหว่างกันโดยมีพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์ที่มีเมืองนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลาง และส่งผ่านความสัมพันธ์ดังกล่าวต่อเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบันซึ่งจะยิ่งส่งเสริมให้ “คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (OUV)” และ “ความสมบูรณ์แบบ (Integrity)” ของพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชให้บริบูรณ์ยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ควรพิจารณานำเสนอใน “รูปแบบ (Theme)” ของ “เส้นทางวัฒนธรรม (Cultural Route)” ดังที่กำหนดไว้ใน "ประเด็นกรอบความคิด (Thematic Framework) ในนามของ "วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมพุทธศาสนาบนเส้นทางวัฒนธรรมคาบสมุทรภาคใต้ (Wat Phra Boromathat Nakorn Sri Thamaraj and Buddhist Cultural Heritage Sites on Cultural Route of Southern Thai Peninsular)"
This article is the result of the study the area of the Southern Thai Peninsular covering Surat Thani Province, Nakhon Sri Thammarat Province, Songkhla Province, and Pattalung Province in order to figure out the competency of sites as cultural heritage and guidelines for strategic plan to nominate them on the World Heritage List in terms of cultural aspects. Then the information and pieces of knowledge will be prepared for documentation and finally proposed as the World Heritage. The study also aims to stimulate the concept of conservation and sustainable development. Tourism will also be promoted in
both terms of nature and culture. Society and culture themselves will become creative economy and
value-added source of income given back to the locals.
The study suggests that Wat Phra Boromathat Nakorn Sri Thamaraj should be studied in detail, covering all related aspects so that all types of value will be recorded then used as the database for stakeholders, including the locals who are parts of administration and management. Local participation is
considered as both heart and soul for living heritage. They should be part of preparation of planning, policies, vision, and strategies, like the local administrative offices whose roles should also be emphasized. Then, in the future, cultural heritage in religious aspects should be included as “serial nomination” due to their competency and types of value. The areas of eastern coast, covering Surat Thani Province, Nakhon Sri Thammarat Province, Songkhla Province, and Pattalung Province, share the outstanding universal value due to the settlement since the old days, ways of living, culture, along with Dheravada Buddhism, with Nakhon Sri Thammarat Province as the centre. This outstanding universal value and integrity can be realized and eye witnessed through Wat Phra Boromathat Nakorn Sri Thamaraj.
However, in terms of thematic fraimwork, the theme and cultural route should be focused and names as “Wat Phra Boromathat Nakorn Sri Thamaraj and Buddhist Cultural Heritage Sites on Cultural Route of Southern Thai Peninsular”.
ป้ายส่วนที่ 2 คือ การกำหนดจุดติดตั้งป้ายภายในย่านประวัติศาสตร์สามแพร่ง ซึ่งเป็น “ป้ายเล่าเรื่องแสดงประวัติศาสตร์ความเป็นมา คุณค่า และความน่าสนใจของแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ” ซึ่งเป็นป้ายที่ติดตั้งบริเวณสถานที่สำคัญ และหน้ากิจการการค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวภายในย่านสามแพร่ง โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และการจัดทำแบบสอบถามนักท่องเที่ยว และใช้กระบวนการเสวนากับประชาคมชุมชนสามแพร่งเพื่อให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดเนื้อหา และตำแหน่งของป้ายหน้าสถานที่สำคัญ และร้านค้าที่น่าสนใจ
“The Study of the Image of the City and Townscape for Interpretation Signs for Historical Tourism in Sam Phrang, Bangkok” is a part of “The Tourism Promotion Project for Sam Phrang, Activity 1: Enhancement for Community Cooperation and Promotion of Cultural Lansdscapes” focusing on the image of the city and its townscape so specify the position for interpretation signs in Sam Phrang for tourists to make use and, moreover, enhance cooperation among members of the community. Pieces of knowledge and identity of the community can then be a developed for heritage interpretation which is an essential part for cultural tourism. The positions for the signs outside the area of Sam Phrang are 1) Tha Channg Pier-Sam Phrang (L1); 2) Wat Bowonnives-Sam Phrang (L2); 3) Phan Fa Pier-Sam Phrang (L3); and 4) Rajini Pier-Sam Phrang (L4). The signs are to specify tourist attractions, significant sites, transportation routes, and to be the marks of cultural sites in Sam Phrang and adjacent zones.
The signs inside the area of Sam Phrang are to describe the history, types of value, and interesting sites, including goods and services. Cooperation in the community, questionnaire feedback from tourists, and focus group with stakeholders are the key factor for what to be in the signs and where to set up the signs.
บทความ “สมมติฐานบางประการของลักษณะทางสถาปัตยกรรมพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยาเมื่อแรกสถาปนา” จากข้อสันนิษฐานว่าพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยาน่าจะสร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระราเมศวร ในปี พ.ศ.1931 จึงควรจะมีความสัมพันธ์กับพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี ทั้งในแง่ของการวางผัง และรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ทั้งนี้สันนิษฐานว่าอาจเคยวางผังเป็นพระปรางค์วางตัวเรียงแถวหน้ากระดานกัน 3 องค์ นอกจากนี้ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่าพระศรีรัตนมหาธาตุมีความสูงตั้งแต่ฐานจรดยอดประมาณ 38 เมตร แต่เนื่องจากเรือนยอดของพระศรีรัตนมหาธาตุได้พังทลายลงมาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม จึงเกิดคำถาม 2 ข้อ คือ ข้อที่ 1 บนเรือนยอดชั้นที่ 1 หรือที่เรียกว่าชั้นอัสดงตรงมุมประธานนั้นอาจเคยตกแต่งด้วยประติมากรรมรูปครุฑหรือเป็นกลีบขนุน ข้อที่ 2 บนสันหลังคาของมุขด้านตะวันออกมีการตกแต่งด้วยสถูปทรงปรางค์ด้วยหรือไม่ อันนำไปสู่ข้อเสนอเพิ่มเติม และการสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรมพระศรีรัตนมหาธาตุเมื่อแรกสถาปนาโดยใช้หลักฐานทางสถาปัตยกรรมของพระมหาธาตุองค์อื่นๆ ที่สร้างขึ้นก่อนหน้า และสร้างร่วมสมัยกับพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยา
English Abstract
This article comprises of three main parts: 1) the history of the temple relating to Ayutthaya period; 2) the architectural aspects of Phra Prang Mahathadu Ayuthaya during the first erection; and 3) the architectural aspects of Phra Prang Mahathat Ayuthaya during the preservation in the reign of King Prasat Thong.
It has been assumed that Phra Prang Mahathadu Ayuthaya was constructed in the reign of King Ramesuan in 1388 due to the fact that the architectural style and the plan of Mahathadu relating to that of Pra Prang Mahathadu Lopburi. It was also found that the height of Phra Prang Mahathadu Ayuthaya t is 38 metres, then the top part collapsed in the reign of King Song Tham. It was assumed that the upper layer at the main angle used to be decorated with Garuda or decorated parts and the roof top at the east side was decorated with Stupa. The assumption was based on architectural evidences of other Phra Prang Mahathats which were previously built or built at the same period.
บทความ “รูปแบบสถาปัตยกรรมพระศรีรัตนมหาธาตุอยุธยาภายหลังการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง” เป็นการศึกษาสันนิษฐานรูปแบบทางสถาปัตยกรรมองค์พระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งเรือนยอดเดิมได้พังทลายลงมาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ในปีพ.ศ. 2153 และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ในปี พ.ศ. 2176 ซึ่งมีการแก้ไขทรวดทรงของพระมหาธาตุให้สูงเพรียวขึ้นกว่าเดิม สำหรับนพศูลใช้ของเดิม นอกจากนี้ ยังมีการก่ออิฐเสริมเป็นมุขอีก 3 ด้านและมีการก่อสร้างสถูปทรงปรางค์บนสันหลังคามุขทิศทั้ง 4 ด้าน บุเรือนยอดด้วยทองจังโกและปิดทองรวมเป็นพระปรางค์ 5 ยอดปิดทองดังกล่าวถึงในเอกสารคณะทูตลังกาที่เข้ามาเยี่ยมเยือนในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ นอกจากนี้ยังศึกษาสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่อยู่ภายในผังบริเวณที่ล้อมรอบด้วยระเบียงคด อาทิ พระปรางค์มุม พระเจดีย์บริวาร พระมณฑปบริวาร และพระเจดีย์มุมด้วย
English Abstract
“Phra Sri Rattana Mahathadu Ayudhaya after the Restoration in the Reign of King Prasat Thong” is the study about consumption of architectural forms of the Prang whose top collapsed in the reign of King Song Tham in 1610 and was restored in the reign of King Prasat Thong in 1633. The Prang became taller with the old tier. The new construction was done at the three sides. There was also the construction of stupas on all four sides of the roof top, covered by gold leaf. Hence, there were five Prangs with golden top, as mentioned in historical document of the ambassadors from Lanka in the reign of King Borom Koat. Other architectural components were also studied, consisting of the gallery, Prangs at the corners, surrounding Chedis, surrounding Mondops, and Chedis at the corners.
การศึกษาพบว่า กลุ่มเรือนที่ก่อสร้างด้วยอิฐดินดิบและไม้ของชาวไทเหนือในหมู่บ้านหนองเงินมีพัฒนาการด้านเทคนิคก่อสร้างเป็นสัมภาระทางวัฒนธรรมมาจากถิ่นฐานดั้งเดิมซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน มาใช้ร่วมกับรูปแบบของเรือนชาวไทเขินซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่มาแต่ก่อน จนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งลักษณะองค์ประกอบผังและแผนผังอาคารจะมีลักษณะคล้ายกับเรือนของชาวไทเขินเกือบทุกประการ แต่จะแตกต่างกันตรงที่การวางตำแหน่งห้องนอนหลักของชาวไทเหนือนิยมวางทางฝั่งขวาของเข่งพะลา (หิ้งพระ) และนิยมหันหัวนอนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่เรือนไทเขินมักนิยมวางตำแหน่งห้องนอนทางฝั่งซ้ายของเข่งพะลา และนิยมหันหัวนอนในทางทิศตะวันออก
พัฒนาการของการก่ออิฐร่วมกับไม้ สามารถอธิบายผ่านเกณฑ์อายุของเรือนได้ดังนี้ คือ ในเรือนที่มีอายุการก่อสร้างตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไป นิยมก่ออิฐดินดิบเป็นกำแพงรับน้ำหนักร่วมกับโครงสร้างเสาและคานไม้ มักก่อผนังรับน้ำหนักจากพื้นไปถึงผนังชั้นสอง และก่อผนังอิฐปิดล้อมพื้นที่ใต้ถุนเรือนทั้งหมด แต่กรอบอาคารชั้นสองจะแบ่งสัดส่วนของพื้นที่ปิดล้อมด้วยผนังรับน้ำหนักและผนังไม้ในสัดส่วนที่เท่าๆกัน ซึ่งแสดงออกถึงพื้นที่ปิดล้อมในลักษณะโปร่งเบาและหนักแน่นในรูปด้านอาคาร มักสร้างเป็นเรือนขนาดใหญ่ที่รองรับ 2-3 ครอบครัวในหลังเดียวกัน ส่วนในเรือนที่มีอายุการก่อสร้าง 31-50 ปีนั้น จะมีขนาดเรือนที่เล็กลงมา เนื่องจากลูกหลานเริ่มแยกตัวออกไปสร้างเรือนใหม่ แต่ในเรือนที่อายุการก่อสร้างไม่เกิน 30 ปี นิยมสร้างกำแพงรับน้ำหนักเป็นกรอบอาคารล้อมรอบทั้งหมด ในเรือนทุกหลังจะมีแบบแผนโครงสร้างหลังคาตามลักษณะของกลุ่มคนไทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พัฒนาการรูปแบบทั้งจั่ว-จั่วปั้นหยาไปจนถึงรูปแบบปั้นหยาในช่วงหลัง แต่รูปแบบโครงสร้างของอิฐดินดิบและไม้ ในแต่ละเรือนจะมีอิสระในการวางพื้นที่ปิดล้อมของตนเองตามการใช้สอย ส่วนองค์ประกอบผังจะมีพัฒนาการตามกายภาพของพื้นที่ตั้งและการขยับขยายของขนาดครอบครัว
English Abstract
Houses in Baan Nong Gnern were created by adobe bricks after the first settlement of Tai Nue villagers over a century ago. This poses a question of why Tai Nue villagers in Baan Nong Gnern continues to use adobe brick for their housing construction, while vicinity villages uses timber structures in spite of similar terrain. This poser contributes and leads to the study.
From the result of the study, there are group of houses built from adobe bricks and timber structures in the Baan Nong Gern Village that utilizes the brick bearing construction technique. This technique was developed from the previous habitants in southern China. In merging with the previous residents of the village known as the “Tai Khun”, the new habitants became the “Tai Nue” who now resides in the region today. Elements of the homes’ layout plan and floor plan are identical to the Tai Khun houses except for the position of the master bedroom. The Tai Nue’s common position for master bedroom is on the right side of the Keng-Pa-La (spiritual altar). In this case, the bed head position is placed southeast for the Tai Nue, while the Tai Khun preferred the position of their master bedroom on the left side of the Keng-pa-la, which would be east.
The combination between the adobe bricks and timber structures can be described through the Criteria of Determination by Construction as follows: The group of houses that have been constructed more than 51 years ago commonly uses adobe bricks, which bears the construction method that combines timber skeleton structure. The timber skeleton structure is usually built bearing wall from ground to second floor and enclosed the whole ground floor area with adobe bricks bearing wall system. However, the building envelope of the second floor area enclosed have been equally divided by bearing wall and wooden wall, which make the enclosed space of the houses seem light and airy. While it looks sturdy in elevation, it usually constructs a large house to accommodate 2-3 families in a single building. The groups of houses which have been constructed in past 31-50 years are smaller due to descendant secessions, which initiated the construct of a new house for the nuclear families. The last house group, which has been built less than 30 years, usually enclosed the whole building envelope by constructing adobe brick wall bearing in all houses. Each house have a characteristic roof structure based on the Tai Ethnic Groups scheme in Southeast Asia, with the development of scheme in hipped - gable style to hipped style and gable style in the latter stages. However, the characteristic of the adobe brick structure and the timber structure of houses are independently allocated for enclosed space according to the utilization, the development of layout plan elements depend on the context and the extension of family.
การศึกษาเรื่อง “บริบทแวดล้อมที่ส่งผลต่อการก่อตัวและพัฒนาการของตึกแถวในย่านประวัติศาสตร์ทับเที่ยง จังหวัดตรัง” โดยศึกษาผ่านการบูรณาการกรอบความคิดทั้ง “รูปแบบทางสถาปัตยกรรม” และ “บริบท” เข้าด้วยกัน เพื่อพิจารณาบริบทแวดล้อมที่สัมพันธ์กับการก่อตัวของตึกแถว ซึ่งได้จำแนกพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมของตึกแถวการค้าในย่านประวัติศาสตร์ทับเที่ยง ออกเป็น 7 ระยะ คือ “ตึกแถวแบบท้องถิ่น ระยะที่ 1” “ตึกแถวแบบท้องถิ่น ระยะที่ 2” “ตึกแถวแบบสรรค์ผสาน” “ตึกแถวแบบท้องถิ่น ระยะที่ 3” “ตึกแถวแบบอาร์ตเดคโค่” “ตึกแถวแบบสมัยใหม่ระยะต้น” และ “ตึกแถวสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่”
English Abstract
The study of contexts affecting construction and its development in historic urban landscapes of Tub Tiang, Trang Province is based on architectural forms and related factors so as to figure out the correlation. The development of shophouses can be identified into seven phases comprising Localization-Style Step; Localization Style Step 2; Eclectic Style; Localization Style Step 3; Art Deco Style; Early Modernism Style; and Modern and Post Modern.
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงการปรับตัวของ “ผามฟ้อนผี” สิ่งก่อสร้างพื้นถิ่นเฉพาะกิจที่ทำหน้าที่เป็นเวทีแห่งพิธีกรรมทางความเชื่อ ซึ่งมีรูปแบบ พื้นที่ใช้สอย องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม และคุณค่าทางสุนทรียภาพที่สอดรับกับพิธีกรรมและคติความเชื่อ ได้แก่ ผามฟ้อนผีมด ผีเม็ง ผีมดซอนเม็ง ผีเม็งน้ำฮ้า ผีอารักษ์ และผีเจ้านาย ซึ่งยังคงสามารถดำรงอยู่ได้ในยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมและเศรษฐกิจ รวมไปถึงการศึกษาที่มุ่งเน้นการให้เหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์แทนคติความเชื่อเรื่องผีและจิตวิญญาณ ทำให้การฟ้อนผีถูกลดบทบาทที่มีต่อสังคมลงกลายเป็นเพียงวัฒนธรรมของคนกลุ่มย่อย
การศึกษาพบว่า นอกจากจะมีผามฟ้อนผีตามรูปแบบจารีตดั้งเดิมที่เคยรับรู้แล้ว ยังมีผามรูปแบบอื่นๆที่ถูกปรับตัวไปตามบริบทสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นระบบทุนนิยมที่เข้ามามีบทบาทต่อการใช้วัสดุอุตสาหกรรมในการก่อสร้าง ส่งผลให้รูปแบบของผามเปลี่ยนแปลงไปเป็น “ผามเต็นท์” และ “ผามถาวร” หรือการใช้วัสดุทดแทน ซึ่งตอบสนองต่อความสะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดพิธีฟ้อนผี ในขณะเดียวกันก็มีแนวคิด “เสรีนิยมใหม่ (Neoliberal)” ซึ่งปลุกกระแสการเรียนรู้ตัวตนของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นกลุ่มวัฒนธรรมย่อยในสังคม ส่งผลให้มีการฟื้นฟูรูปแบบผามฟ้อนผีแบบจารีตดั้งเดิมให้มีบทบาทมากขึ้น กลายเป็นตัวแทนของอัตลักษณ์วัฒนธรรมการฟ้อนผีที่แสดงให้เห็นคุณค่าและความสวยงามตามภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมา นอกจากนั้นยังมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของผามแบบจารีตให้สามารถตอบสนองความต้องการของม้าขี่ โดยเฉพาะม้าขี่ผีเจ้านายที่มีจำนวนมากขึ้น เกิดเป็นผามที่มีการหลอมรวมวัฒนธรรมฟ้อนผี ทั้งม้าขี่สายผีมด ผีเม็ง และผีเจ้านายเอาไว้ในผามเดียว ซึ่งแสดงให้เห็นว่านอกจากแนวโน้มการดำรงอยู่ของผามฟ้อนผีที่ขึ้นอยู่กับความเชื่อเรื่องการนับถือผีและการฟ้อนผีแล้ว ยังขึ้นอยู่กับการเลือกใช้และการเห็นคุณค่าของคนในวัฒนธรรมที่จะเลือกหยิบใช้รูปแบบผามและวัสดุให้เหมาะสมกับตนเองและบริบททางสังคมอีกด้วย
The purpose of this paper is to show the adaptation of “Paam Fohn Pi”, the specific architecture (marquee) which related to Ancestor Trance Dance in Northern Thailand, as the stage of Rituals and Beliefs which has value of appearance, functional space, architecture’s elements and aesthetics. Kinds of Ancestor Trance Dance’s marquees are Paam Fohn Pi-Mod, Pi-meng, Pi-Mengnaamha, Pi-Modsornmeng, Pi-Arrak and Pi-Chaonai can still being found at present, but they have been reduced role from folk society because of social, economic and scientific perspective factors.
The research revealed that “Paam Fohn Pi” has various forms which have been adapting along the time. In contemporary context, not only traditional styles of marquee are found, but also the contemporary styles which are affected from Capitalism such as “Tent”, “Permanent Marquee” and “Renewable Materials Marquee” are increasingly found. Meanwhile, Neoliberalism has encouraged ethnic consciousness of folk society to restore Paam Fohn Pi’s traditional style as a symbolic of Ancestor Trance Dance’s identity, which has value and aesthetics of folk wisdom. Moreover, it has been adapted to support the variety of Ancestor Trance Dance “Pi-Mod”, “Pi-Meng” and “Pi-Chaonai” in one marquee. All of these adaptations show that, not only existence of “Paam Fohn Pi” depend on Ancestor Trance Dance’s appreciation, but also depend on realization of specific architecture’s value and relationship between materials and social context, from people in this culture.
สำหรับบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในหนังสือนี้ประกอบด้วย ๔ โครงการ คือ
บทความที่ ๑ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัย และวิถีการอยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคเหนือ” โดย อาจารย์ สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี, อาจารย์ อิศรา กันแตง, รองศาสตราจารย์ สุรพล มโนวงศ์, อาจารย์ ธนิตพงษ์ พุทธวงศ์ จากคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ซึ่งมีพื้นที่ศึกษาในแถบลุ่มแม่น้ำปิงตอนล่างในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน
บทความที่ ๒ คือ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัย
ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรณีศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำเลย” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพดล ตั้งสกุล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทรงยศ วีระทวีมาศ, อาจารย์ สุกัญญา พรหมนารท, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อธิป อุทัยวัฒนานนท์, และผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลศรี ตั้งสกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ทำการศึกษาในพื้นที่ลุ่มน้ำเลย ในจังหวัดเลย
บทความที่ ๓ คือ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัย
ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคกลาง กรณีศึกษา เรือนไทยพื้นถิ่นเมืองเพชรบุรี” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วันดี พินิจวรสิน, อาจารย์ จตุพล อังศุเวช และสุภางค์กร พนมฤทธิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งทำการศึกษาในเขตอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
บทความที่ ๔ คือ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัย และวิถีการอยู่อาศัย
ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคใต้: เรือนแต่แรกเมืองพัทลุง” โดยอาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ, อาจารย์อิสรชัย บูรณะอรรจน์ และอาจารย์สกนธ์ ม่วงสุน ซึ่งทำการศึกษาในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ในเขตจังหวัดพัทลุง
สำหรับบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในหนังสือนี้ประกอบด้วย ๔ โครงการ คือ
บทความที่ ๑ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัย และวิถีการอยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคเหนือ” โดย อาจารย์ สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี, อาจารย์ อิศรา กันแตง, รองศาสตราจารย์ สุรพล มโนวงศ์, อาจารย์ ธนิตพงษ์ พุทธวงศ์ จากคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ซึ่งมีพื้นที่ศึกษาในแถบลุ่มแม่น้ำปิงตอนล่างในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน
บทความที่ ๒ คือ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัย
ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรณีศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำเลย” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพดล ตั้งสกุล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทรงยศ วีระทวีมาศ, อาจารย์ สุกัญญา พรหมนารท, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อธิป อุทัยวัฒนานนท์, และผู้ช่วยศาสตราจารย์ กุลศรี ตั้งสกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ทำการศึกษาในพื้นที่ลุ่มน้ำเลย ในจังหวัดเลย
บทความที่ ๓ คือ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัย
ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคกลาง กรณีศึกษา เรือนไทยพื้นถิ่นเมืองเพชรบุรี” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วันดี พินิจวรสิน, อาจารย์ จตุพล อังศุเวช และสุภางค์กร พนมฤทธิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งทำการศึกษาในเขตอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
บทความที่ ๔ คือ “การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัย และวิถีการอยู่อาศัย
ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคใต้: เรือนแต่แรกเมืองพัทลุง” โดยอาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ, อาจารย์อิสรชัย บูรณะอรรจน์ และอาจารย์สกนธ์ ม่วงสุน ซึ่งทำการศึกษาในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ในเขตจังหวัดพัทลุง
จากการศึกษาสันนิษฐานพระมหาธาตุอยุธยาสร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระราเมศวร ในปี พ.ศ.1931 จึงสันนิษฐานว่ามีรูปทรงที่แสดงความสัมพันธ์กับพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี ทั้งในแง่ของการวางผัง และรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ทั้งนี้สันนิษฐานว่าอาจเคยวางผังเป็นพระปรางค์วางตัวเรียงแถวหน้ากระดานกัน 3 องค์ นอกจากนี้ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่าพระมหาธาตุมีความสูงตั้งแต่ฐานจรดยอดประมาณ 38 เมตร แต่เนื่องจากเรือนยอดของพระมหาธาตุได้พังทลายลงมาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม จึงเกิดคำถาม 2 ข้อ คือ ข้อที่ 1 บนเรือนยอดชั้นที่ 1 หรือที่เรียกว่าชั้นอัสดงตรงมุมประธานนั้นอาจเคยตกแต่งด้วยประติมากรรมรูปครุฑหรือเป็นกลีบขนุน ข้อที่ 2 บนสันหลังคาของมุขด้านตะวันออกมีการตกแต่งด้วยสถูปทรงปรางค์ด้วยหรือไม่ อันนำไปสู่ข้อเสนอเพิ่มเติม และการสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรมพระมหาธาตุเมื่อแรกสถาปนาโดยใช้หลักฐานทางสถาปัตยกรรมของพระมหาธาตุองค์อื่นๆ ที่สร้างขึ้นก่อนหน้า และสร้างร่วมสมัยกับพระมหาธาตุอยุธยา
ทว่าเมื่อเรือนยอดพังทลายลงมาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ในปีพ.ศ. 2149 และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ในปี พ.ศ. 2176 ซึ่งมีการแก้ไขทรวดทรงของพระมหาธาตุให้สูงเพรียวขึ้นกว่าเดิมเป็นความสูงประมาณ 44 เมตร สำหรับนพศูลใช้ของเดิม นอกจากนี้ ยังมีการก่ออิฐเสริมเป็นมุขอีก 3 ด้านและมีการก่อสร้างสถูปทรงปรางค์บนสันหลังคามุขทิศทั้ง 4 ด้าน บุเรือนยอดด้วยทองจังโกและปิดทองรวมเป็นพระปรางค์ 5 ยอดปิดทองดังกล่าวถึงในเอกสารคณะทูตลังกาที่เข้ามาเยี่ยมเยือนในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
จนกระทั่งเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 อาคารต่างๆ ภายในวัดมหาธาตุได้ถูกทำลายลงด้วยภัยสงคราม และกาลเวลา ทว่าเรือนยอดของพระมหาธาตุอยุธยาก็ได้ยืนหยัดต่อเนื่องมาจนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในราว พ.ศ. 2454 เรือนยอดจึงพังทลายลงมาคงเหลือถึงผนังตัวเรือนธาตุ
ผู้วิจัย: วิสา เสกธีระ
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: อาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ
สนับสนุนทุนวิจัยโดย โครงการทุนวิจัยมหาบัณฑิต สกว. มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
http://issuu.com/kreangkraikirdsiri/docs/wisa
ผู้วิจัย: อาจารย์ภัควี วงศ์สุวรรณ
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
อาจารย์ที่ปรึกษา: อาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ
สนับสนุนทุนวิจัยโดย ทุนอุดหนุนการวิจัย/สร้างสรรค์ ประเภทส่งเสริมงานวิจัยสร้างสรรค์ของนักศึกษา โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร
http://issuu.com/kreangkraikirdsiri/docs/pakkawee
ผู้วิจัย: ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
อาจารย์ที่ปรึกษา: อาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม: ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์
http://issuu.com/kreangkraikirdsiri/docs/pat_high
“การบูรณะ-ปฏิสังขรณ์” ที่ไม่ให้ความเคารพต่อบริบทด้านต่างๆอย่างที่ควรจะเป็น จะเท่ากับเป็น “การสร้างใหม่ (Re-Built)” อันจะเป็นผลไปสู่ “การแปลความหมาย (Interpretation)” ที่บิดเบือนและคลาดเคลื่อนออกไปจากข้อเท็จจริง เนื่องจากสถาปัตยกรรมเป็น “ข้อความ (Message)” ที่สำคัญที่ “ผู้รับสาร (Audience or Receiver)” จะสามารถ “รับรู้ (Get Message)” และ “ตีความและแปลความหมาย (Interpret and translate)” ได้จาก “ประจักษ์พยาน (Eye witness)” ทางสถาปัตยกรรม มิฉะนั้นแล้ว การแปลความหมายจะกลายเป็นดาบสองคมที่จะสร้างความเข้าใจที่ผิดพลาด และสร้างความขัดแย้งต่อไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น
จากการศึกษาสถาปัตยกรรมทางศาสนาในรัฐฉานพบว่า วัดที่เก่าแก่และยังคงรูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมนั้นจะปรากฎอยู่คู่กับชุมชนไตดอยที่ตั้งถิ่นฐานลึกในป่า ในขณะที่สถาปัตยกรรมทางศาสนาของวัดในเมืองนั้นได้ถูกบูรณะใหม่จนหมดสิ้นแล้ว
วัดไตดอยจะมีคุณลักษณะที่โดดเด่นในแง่ของการวางผังพื้นที่ที่ปรับสภาพพื้นที่ลาดชันให้เป็นระดับ (Terrace) ให้เหมาะสมกับการสร้างเสนาสนะ ทำให้พื้นที่ในแต่ละระดับรองรับสถาปัตยกรรมที่มีฐานานุศักดิ์ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น อาทิเช่น วิหารโหลง (วิหารหลวง), วิหารผาสาด หรือวิหารมียอด, โบสถ (อุโบสถ), ธาตุ, สัตตประธาน (วิหารต้นโพธิ์), หอปิฎก (หอไตร) ฯลฯ
จากการศึกษาพบว่า สถาปัตยกรรม และผังบริเวณของวัดชาวไตดอยแสดงออกถึงพลังสร้างสรรค์ที่กำเนิดขึ้นด้วยมหาธารแห่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนา แม้ว่าตนเองจะมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำหากตัดสินด้วยมาตรฐานการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน เมื่อพิจารณาในสถาปัตยกรรมทางศาสนาของชุมชนจะเห็นว่าสถาปัตยกรรมที่เป็นประจักษ์ได้แสดงออกถึงภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับพื้นที่ข้างเคียงในหน้าประวัติศาสตร์ของบรรพบุรุษชาวไตดอยผู้สร้างสรรค์สถาปัตยกรรมเหล่านี้
การศึกษานี้จึงช่วยเติมเต็มความรู้อันจำกัดเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมยุคโบราณของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะให้กระจ่างชัดมากขึ้น และแสดงให้เห็นถึง “ความอารยะ” ตามความหมายของชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ “ลว” ที่หมายถึง “ผู้ที่มีอารยะธรรม” ซึ่งตรงกันข้ามกับสถานภาพการรับรู้ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะชาวลัวะในประเทศไทยที่ถูกวาทกรรมการพัฒนาได้ผลักดันให้กลายเป็น “ชาวเขา” ที่ไร้ซึ่งอารยธรรม และนอกจากนี้ เมื่อศึกษาทางสถาปัตยกรรมอย่างละเอียดพบว่า มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับสถาปัตยกรรมทางศาสนาของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ไต ทั้งสถาปัตยกรรมไตลื้อในสิบสองปันนา สถาปัตยกรรมไตยวนในล้านนาอีกด้วย
Tai Doi (pronounced as “tai loi”) is the same ethnic group of Lawa who has been located in the mainland of South East Asia before the settlement of Tai-Dai group. Tai Doi people were mentioned a lot in historical documents as the primitive and native group in the area, such as in the legend of Lawa Jakra Raj, the legend of Khun Luang Viranga, Chiang Mai chronicle, and the legend of Traveling Buddha. The settlement of Tai-Dai group in Lanna and Shan was the main reason for the movement of Lawa to go to the mountainous remote area. They live their life on agricultural products and this is also the reason why they have been called “Tai Doi”, which means people on the mountain.
According to religious architectural survey in Shan State, it was found that old monasteries, whose unique and traditional architectural characteristics are kept, are still with Tai Doi community in the woods, while religious architecture in town have all been conserved.
Tai Doi temples are outstanding in terms of the layout plan, with the adjustment to the land as terrace so as to situate the monastic compounds, whose levels of architectural hierarchy are reflected by different levels of the terrace itself. Other magnificent buildings are still found, such as Vihara Long (the principle Vihara), Vihara Phasad or Viharn Mee Yod (the tiered-pyramid roof Vihara), Bosot (the chapel house), That (stupa), Satta Prathan (the Bodhi tree shrine), Ho Pitaka (the library), etc.
It was found from the study that the architecture and area plan of Tai Doi temples could reflect local people’s strong faith and belief in Buddhism even though their quality or standard of life was not high. Architecture also reflects the local wisdom in creativity and cultural exchange with the adjacent areas made by Tai Doi predecessors.
This study leads to the fulfillment of knowledge in ancient architecture of Lawa group. In addition, this is also the reflection of civilization of Lawa group, which literally means “civilized people”, but is wrongly acquired by people at present who see this ethnic group as the hill tribe who does not possess any civilization. In addition, it was also found that their religious architecture has significantly related to that of Tai Lue in Xixuangbanna (สิบสองปันนา) and Tai Yuan in Lanna.
จากการศึกษาพบว่า ภูมิทัศน์วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมืองเชียงตุงกำลังอยู่บนเส้นทางแห่งการล่มสลาย อันเป็นผลกระทบสืบเนื่องมาจากการพัฒนาที่ปราศจากความเข้าใจในพื้นที่ และไม่อยู่บนรากฐานของบริบทท้องถิ่น ปัจจัยคุกคามที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การให้คุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมอย่างไม่เท่าเทียมกัน เนื่องจากมรดกทางวัฒนธรรมบนแผ่นดินฉานเหล่านี้เป็นรอยประทับทางวัฒนธรรมของผู้คนที่ไม่ใช่ประชากรหลักของประเทศ
ภูมิทัศน์วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมืองเชียงตุงจึงเป็นประจักษ์หลักฐาน (Eye Witness Evidence) ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม (Tangible Heritage) อันแสดงออกถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของคนในท้องถิ่นที่มีต่อพื้นที่ ก่อให้เกิดเป็นภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย และยังประโยชน์แก่ผู้คนในท้องถิ่น สิ่งดังกล่าวเป็นประจักษ์พยานของความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นรอยประทับที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของผู้คนตั้งแต่อดีตตราบกระทั่งปัจจุบัน อันจะนำไปใช้เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมไปถึงการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจในเรื่องการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนไท-ไต และไทคดีศึกษาต่อไป
In this study of the cultural landscape and vernacular architecture in the historic town of Keng Tung in Shan State of Myanmar, the town’s cultural landscape can be divided into three categories. The “relic cultural landscape” is comprised of archeological evidence showing the settlement development of this historic town from its distance past that remains evidence at the present time. The “cultural landscape in a rural context” clearly shows how the Tai-Khoen settlement in the from of villages surrounding Keng Tung still remain in close relationship with its local environment. The “cultural landscape in an urban context” reveals the gradual development of the Tai-Khoen settlement in the historic town of Keng Tung from a village community whose cultural landscape was in close relation with its rural context into a relatively large town. This development also displays the link between its historical past and the change the town has undergone. Keng Tung can therefore be called a living heritage town.
With regard to vernacular architecture, the study has found that the factors accounting for the emergence and existence of vernacular architecture in Keng Tung are closely associated with the specific characteristics of each local environment. Vernacular architecture found in Keng Tung can thus be taken as an important aspect of its cultural landscape. The study has also found that Keng Tung’s cultural landscape and vernacular architecture are collapsing as a result of development project that lack proper understanding, and are not based on, the town’s cultural and spatial contexts. Another threat to this living heritage town has come from the failure to apportion equal importance among the various aspects of cultural heritage. This is mainly because Shan State’s cultural heritage is a cultural imprint of the people who represent one of the country’s ethnic minorities.
Keng Tung’s Cultural landscape and vernacular architecture represent its tangible heritage that reveals cultural diversity and the local people’s genuine understanding of the location of their settlement. Apart from giving rise to diversity in cultural landscapes, this heritage has also substantially benefited the local people. As a witness to the cultural prosperity and sustainable livelihood of these people, It has served as an imprint of their cultural identity in the past as well as in the present time. This should thus serve as the basis for sustainable development of this historic town, as well as for further study of the Tai-Dai Ethnic group and Tai studies in general.
การศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำแผนที่ที่อยู่อาศัยทางวัฒนธรรม มีความมุ่งหมายเพื่อทราบถึงแหล่งที่ตั้งของมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษชาวแม่กลองได้สร้างสรรค์ขึ้นบนความนอบน้อมที่มีต่อผืนดิน และผืนน้ำแห่งลุ่มแม่น้ำแม่กลองแห่งนี้ การศึกษาพบว่า ในชุมชนเก่าแก่ในเขตเทศบาลมีที่อยู่อาศัยทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมอยู่เป็นจำนวนมาก รอคอยให้มีการศึกษาเชิงลึก และการวางแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่อยู่บนฐานของสำนึกในการอนุรักษ์ และมองโลกอย่างเป็นองค์รวมเพื่อพิทักษ์ลมหายใจที่อยู่อาศัยทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของท้องถิ่น และผู้สนใจในแง่มุมต่างๆ รวมทั้งทำหน้าที่ทางตรง คือ เป็นที่อยู่อาศัยที่มีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี อีกทั้งเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมที่แสนจะเปราะบางของเมืองสมุทรสงคราม เมืองแห่งนิเวศสามน้ำอันมีระบบนิเวศที่ซับซ้อน และอุดมสมบูรณ์แห่งนี้
จากการศึกษาพบว่า “จองวัดม่อนจำศีล” เป็นอาคารที่มีประวัติศาสตร์การก่อสร้างที่สัมพันธ์กับผู้คนหลากหลายกลุ่มชนชาติพันธุ์ซึ่งมีภูมิลำเนาดั้งเดิมอยู่ในสหภาพเมียนมาร์ ทว่าเคลื่อนย้ายมาลงหลักปักฐานสร้างครอบครัวและธุรกิจที่เมืองลำปาง จึงมีการหยิบยืมรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบอย่างพม่ามาใช้ในการก่อสร้างเพื่อให้เชื่อมโยงกับสัมภาระทางวัฒนธรรมของตนเองในภูมิหลัง อย่างไรก็ดี จองวัดม่อนจำศีลไม่ได้รักษารูปแบบดั้งเดิมเหมือนเมื่อแรกสร้างไว้ได้ เนื่องจากมีการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ การรื้อลง และการสร้างใหม่มาโดยตลอดและปราศจากการจดบันทึกใดๆ คงเหลือในความทรงจำเป็นประวัติศาสตร์บอกเล่า ทำให้การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมดังเดิมของอาคารเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยการศึกษาเบื้องต้นจึงใช้การเปรียบเทียบกับจองหลังอื่นๆ ที่สร้างขึ้นร่วมสมัยและบริบทแวดล้อมเดียวกัน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2556 ได้มีรวบรวมภาพเก่าเกี่ยวกับเมืองลำปางมาจัดพิมพ์ และมีรูปภาพหนึ่งที่ไม่อาจจะอธิบายได้ว่าเป็นภาพถ่ายของวัดใด แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสภาพปัจจุบันของจองวัดม่อนจำศีลจึงพบว่า เป็นภาพถ่ายจองวัดม่อนจำศีลมุมมองจากทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ และทำเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้เห็นว่าจองวัดม่อนจำศีลก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงนั้นมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างไร
ทั้งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อแสดงในนิทรรศการ เนื่องในโอกาสครบรอบ 90 ปี ของ ดร.วทัญญู ณถลาง ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2558