Content-Length: 294924 | pFad | http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99

โบกี้ไลอ้อน - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

โบกี้ไลอ้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โบกี้ไลอ้อน
โบกี้ไลอ้อนในเดือนตุลาคม 2565
เกิดอัญชิสา นิ่มอาสน์
3 มิถุนายน พ.ศ. 2537 (30 ปี)
จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย
ชื่ออื่น
  • โบกี้
  • โบกี้ไลอ้อน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแต่งเพลง
  • โปรดิวเซอร์เพลง
องค์การมูนฟลาวเวอร์
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
ช่วงปีพ.ศ. 2560–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง

ณิชชาฎา วีระสุทธิมาศ (ชื่อเกิด: อัญชิสา นิ่มอาสน์; เกิด 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537) หรือชื่อในวงการคือ โบกี้ไลอ้อน (อักษรโรมัน: Bowkylion, มักเขียนเป็น BOWKYLION) เป็นนักร้องและนักแต่งเพลงชาวไทย เธอเริ่มเป็นที่รู้จักจากการเข้าประกวดร้องเพลงในรายการ เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ ฤดูกาลที่ 4 ในปี 2558 จากนั้นมีผลงานร้องเพลงประกอบละครและออกซิงเกิล "เอาเลย (Whatever)" ด้วยตนเองในปี 2560 เพลงดังกล่าวนำไปสู่การเซ็นสัญญากับค่ายวอตเดอะดัก และออกซิงเกิลผ่านสังกัดเป็นครั้งแรกชื่อ "ใครอีกคน" ในปีเดียวกัน

โบกี้ไลอ้อนเริ่มมีชื่อเสียงในปลายปี 2562 หลังจากออกซิงเกิล "ลงใจ" ซึ่งทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลจูกซ์ไทยแลนด์มิวสิกอะวอดส์ สาขาเพลงแห่งปี จากนั้นเธอออกอัลบั้มชุดแรก ไลออนฮาร์ต วางจำหน่ายในเดือนกันยายน 2563

โบกี้ไลอ้อนได้รับรางวัลคมชัดลึก อวอร์ด, ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ และสีสันอะวอร์ดส์อย่างละหนึ่งครั้ง

ชีวิตช่วงแรก

[แก้]

โบกี้ไลอ้อน มีนามเดิมว่า อัญชิสา นิ่มอาสน์[1] แต่ภายหลังเปลี่ยนเป็น พิชญ์สินี และณิชชาฎา วีระสุทธิมาศ ตามลำดับ[2][3] เกิดเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ที่จังหวัดนนทบุรี[4] มีชื่อเล่นในวัยเด็กว่า "วุ้นเส้น" ก่อนจะเปลี่ยนเป็น "โบ" ในภายหลัง[5] โบกี้ไลอ้อนมีพี่สาวหนึ่งคนชื่อ ว่าน วันวาน มีอาชีพเป็นนักร้องเช่นกัน[6] บิดามารดาของเธอแยกทางกันตั้งแต่เธอยังเด็ก[7] หลังจากพ่อแม่หย่าร้างกัน โบกี้ไลอ้อนอาศัยอยู่กับมารดาซึ่งทำงานเป็นผู้รับจ้างทั่วไป เธอเข้าเรียนที่โรงเรียนในละแวกนั้น ก่อนย้ายเข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสตรีวิทยา สายวิทย์-คณิต[4]

โบกี้ไลอ้อนเริ่มสนใจดนตรีตั้งแต่เด็ก เนื่องจากมารดาชื่นชอบการร้องเพลง ซึ่งต่อมาแนะนำให้เธอเรียนที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรเตรียมอุดมดนตรี[8] ในช่วงเวลานี้ เธอกับเพื่อนได้รวมกลุ่มก่อตั้งวงดนตรีชื่อ สคิปปิท (Skipit)[9] วงเคยเข้าแข่งขันบนเวทีฮอตเวฟมิวสิกอวอร์ดส์ในปี 2554 และโบกี้ไลอ้อนได้รับรางวัลนักร้องยอดเยี่ยมจากเวทีดังกล่าว[8] ต่อมาเธอเปิดช่องยูทูบเป็นของตนเอง ภายใต้บัญชีชื่อ Bowky Lion โดยวิดีโอเน้นการคัฟเวอร์เพลงจากศิลปินต่าง ๆ ที่ชื่นชอบ[10][11] ภายหลังเข้าสู่วงการบันเทิง โบกี้ไลอ้อนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เอกดนตรีสมัยนิยม จากวิทยาลัยดังกล่าวในปี 2560[5][12]

เมื่ออายุ 21 ปี โบกี้ไลอ้อนและพี่สาวของเธอเข้าประกวดร้องเพลงในรายการ เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ ฤดูกาลที่ 4 แต่ตกรอบ 16 คนสุดท้าย จากนั้นเธอก็กลับไปคัฟเวอร์เพลงดังเดิม[7] และได้รับเลือกให้ร้องเพลงประกอบละครหลายเรื่อง เช่น เพลง "ใจร้าย" ประกอบละครเรื่อง แรงตะวัน (2559) และ "ถ้าฉันรัก" ประกอบละครเรื่อง บาปรักทะเลฝัน (2560)[13]

การทำงาน

[แก้]

โบกี้ไลอ้อนเขียนและผลิตเพลง "เอาเลย (Whatever)" ด้วยตนเองขณะเรียนอยู่ที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยไม่ได้ตั้งใจจะนำมาเผยแพร่[5] ท้ายที่สุด เธอเผยแพร่ออกเป็นซิงเกิลพร้อมกับมิวสิกวิดีโอที่ทำด้วยตนเองในปี 2560[14] เพลงดังกล่าวเป็นที่เข้าตาของต่อพงศ์ จันทบุบผา ผู้บริหารค่ายวอตเดอะดักจนเธอได้เซ็นสัญญา[4][7] โบกี้ไลอ้อนออกซิงเกิลแรกกับสังกัด "ใครอีกคน" เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2560 โดยเขียนและผลิตร่วมกับเดอะทอยส์[7] และออกซิงเกิลตามมาอีกหลายเพลงได้แก่ เพลง "แขนซ้าย", "คนไข้", "ค.ควาย" และ "คือราย"[14]

ในเดือนพฤศจิกายน 2562 เพลง "ลงใจ" ออกเป็นซิงเกิลที่หกและยังรวมอยู่ในอัลบั้มชุดแรกของเธอ ไลออนฮาร์ต (2563)[15][14] กลายเป็นเพลงที่ประสบความสำเร็จและติดอันดับ 4 ในรายชื่อ "เพลงที่มียอดสตรีมสูงสุดบนสปอติฟายของประเทศไทย" ประจำปี 2563[16][17] รวมถึงได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลจูกซ์ไทยแลนด์มิวสิกอะวอดส์ สาขาเพลงแห่งปี[18]

อัลบั้มชุดแรกของโบกี้ไลอ้อนชื่อ ไลออนฮาร์ต วางจำหน่ายในเดือนกันยายน 2563 ได้รับการตอบรับอย่างดีจากนิตยสาร อะเดย์[19] โบกี้ไลอ้อนยังได้รับรางวัลคมชัดลึก อวอร์ด สาขาศิลปินหญิงเดี่ยวยอดเยี่ยม[20] และรางวัลสีสันอะวอร์ดส์ สาขาศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม[21] เธอยังได้เข้าชิงรางวัลเดอะกีตาร์แม็กอะวอดส์สาขาอัลบั้มยอดเยี่ยมและศิลปินหญิงยอดเยี่ยมแห่งปีด้วย[22]

ในเดือนมิถุนายน 2565 โบกี้ไลอ้อนได้ก่อตั้งค่ายเพลงของตัวเองภายใต้สังกัดวอตเดอะดักในชื่อ มูนฟลาวเวอร์ โดยมี เนติ ศรีสงคราม เป็นศิลปินคนแรกในสังกัดดังกล่าว[23] จากนั้นเธอออกเพลง "วาดไว้" ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565[24] ขึ้นถึงอันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ด เพลงไทย[25] ปีถัดมา เธอได้พากย์เสียงเป็นแอเรียล ฉบับภาษาไทย ในภาพยนตร์เรื่อง เงือกน้อยผจญภัย[26]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

โบกี้ไลอ้อนมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ เธอได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล[8] ในเดือนพฤศจิกายน 2564 โบกี้ไลอ้อนกล่าวกับนิตยสาร เดอะคลาวด์ ว่าเธอไม่ได้มีความคิดที่จะฆ่าตัวตายและได้เข้ารับการบำบัดพื้นฐานแล้ว[7]

ผลงานเพลง

[แก้]

สตูดิโออัลบั้ม

[แก้]
ชื่อ รายละเอียด
ไลออนฮาร์ต (Lionheart)

ซิงเกิล

[แก้]
ชื่อ ปี ตำแหน่งสูงสุด
บนชาร์ต
อัลบั้ม
ไทย
[25]
ในฐานะนักร้องนำ
"เอาเลย (Whatever)" 2560 * ซิงเกิลไม่มีอัลบั้ม
"ใครอีกคน"
"แขนซ้าย" 2561 ไลออนฮาร์ต
"คนไข้" 2562
"ค.ควาย"
"คือราย"
"ลงใจ"
"คิดถึงแต่" 2563
"คงคา"
"ยิ้มมา"
"เจ้าป่า"
"รักไปร้องไห้ไป"
"ก่อนใคร"
"ทิวาสวัสดิ์"
"ซับ"
(ร้องรับเชิญโดย ว่าน วันวาน)
2564 ซิงเกิลไม่มีอัลบั้ม
"ไปหาทำ"
"แค่ฝันไป (Just)"
(โฮมีอะคูสติก)
"บานปลาย" 12
"ทราบแล้วเปลี่ยน" 2565 40
"วาดไว้" 1
"แสนวิเศษ"
"คนเฬว" 72
"รู้กันแค่นี้" 2566 5
"เลี้ยงไข้"
(ร้องรับเชิญโดย เดอะทอยส์)
22
"ส่วนต่าง" 2567 5
"เจ้านายคะ" 46
ในฐานะนักร้องรับเชิญ
"ลมหายใจเดียวกัน"
(กับ บอย โกสิยพงษ์ และนภ พรชำนิ)
2565 ซิงเกิลไม่มีอัลบั้ม
"บอยพาโบ้"
(มิลลิ ร้องร่วมกับโบกี้ไลอ้อน)
แบบ เบิ้ม เบิ้ม
"—" หมายถึงเพลงที่ไม่ได้ติดชาร์ต
"*" หมายถึงชาร์ตเพลงที่ไม่ได้อยู่ในเวลานั้น ๆ

เพลงอื่น ๆ ที่ติดชาร์ต

[แก้]
ชื่อ ปี ตำแหน่งสูงสุด
บนชาร์ต
รายละเอียดเพิ่มเติม
ไทย
[25]
"ใจร้าย" 2559 * ประกอบละคร แรงตะวัน
"ถ้าฉันรัก" 2560 ประกอบละคร บาปรักทะเลฝัน
"คืออะไร" ประกอบละคร รักร้าย
"คำว่ารัก" 2564 ประกอบละคร แค้นรักสลับชะตา
"รักคืน" ประกอบละคร พระจันทร์แดง
"D/M/Y" ประกอบซีรีส์ Club Friday The Series : Love Seasons Celebration
"ผิดไหม" 2565 ประกอบละคร ปมเสน่หา
"Can't Connect"
(กับ ว่าน วันวาน)
ประกอบภาพยนตร์ The Lake บึงกาฬ
"Wanna be Free" ประกอบเกม Ragnarok Tactics 2
"ไม่รู้จักฉันไม่รู้จักเธอ"
(กับ อาทิวราห์ คงมาลัย, ปรีติ บารมีอนันต์, พัฒน์ชัย ภักดีสู่สุข, วิโอเลต วอเทียร์ และโฟร์อีฟ)
ประกอบคอนเสิร์ตเดอะเจนเทิลเมนไลฟ์ 2
"คืนวันศุกร์"
(กับ เดอะทอยส์)
ประกอบภาพยนตร์ OMG! รักจังวะ..ผิดจังหวะ
"ลงสนาม" ประกอบโฆษณาวีโววาย 35
"ชีวิตจริง" 43 ประกอบโฆษณาศุภาลัย
"เธอมันเท่"
(กับ เดอะทอยส์)
ประกอบโฆษณารองเท้าบาจา
"ขอเนสนึง" 2566 ประกอบโฆษณาเนสกาแฟ
"ย้อมใจ" ประกอบโฆษณาการ์นิเย่ คัลเลอร์ แนทเชอรัลส์
"The Kisses ฝากไว้ให้...คิส" ประกอบโฆษณาเมย์เบลลีน
"เป็นได้อีกเยอะ"
(กับ ภูวศิษฐ์ อนันต์พรสิริ)
ประกอบโฆษณาการ์ดเอกซ์
"—" หมายถึงเพลงที่ไม่ได้ติดชาร์ต
"*" หมายถึงชาร์ตเพลงที่ไม่ได้อยู่ในเวลานั้น ๆ

โทรทัศน์

[แก้]
ปี ชื่อเรื่อง บทบาท อ.
2567 The Voice Comeback Stage ตนเอง (โค้ช) [27]

คอนเสิร์ต

[แก้]

คอนเสิร์ตของตัวเอง

  • Bowkylion Lanta Concert (2566)[28]

คอนเสิร์ตร่วมกับศิลปินอื่น

  • 4 Queens Concert (2566)[29]

รางวัลและการเสนอชื่อ

[แก้]
ชื่อรางวัล ปีที่ถูกเสนอชื่อ สาขาที่เข้าชิง ผู้รับ และผลรางวัล
รางวัล ปี สาขา ผู้รับ ผล อ.
แคสอะวอดส์ 2567 สาวปังแห่งปี ตนเอง ชนะ [30]
คมชัดลึก อวอร์ด 2564 ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม ไลออนฮาร์ต เสนอชื่อเข้าชิง [20]
ศิลปินหญิงเดี่ยวยอดเยี่ยม ตนเอง ชนะ
2565 เสนอชื่อเข้าชิง [31]
2566 เสนอชื่อเข้าชิง [32][33]
เพลงยอดเยี่ยม "วาดไว้" เสนอชื่อเข้าชิง
2567 "เลี้ยงไข้" เสนอชื่อเข้าชิง [34][35]
ศิลปินหญิงเดี่ยวยอดเยี่ยม ตนเอง ชนะ
จูกซ์ไทยแลนด์มิวสิกอะวอดส์ 2564 เพลงแห่งปี "ลงใจ" เสนอชื่อเข้าชิง [18]
ศิลปินแห่งปี ตนเอง เสนอชื่อเข้าชิง
โทตี้มิวสิกอวอร์ดส์ 2565 ศิลปินเดี่ยวแห่งปี ตนเอง เสนอชื่อเข้าชิง [36]
เพลงศิลปินหญิงยอดนิยม "ซับ"
(ร้องรับเชิญโดย ว่าน วันวาน)
เสนอชื่อเข้าชิง
2566 เพลงแห่งปี "วาดไว้" เสนอชื่อเข้าชิง [37][38]
ศิลปินเดี่ยวแห่งปี ตนเอง เสนอชื่อเข้าชิง
เพลงยอดนิยมแห่งปี "วาดไว้" เสนอชื่อเข้าชิง
เพลงศิลปินหญิงยอดนิยม ชนะ
2567 "รู้กันแค่นี้" ชนะ [39]
เดอะกีตาร์แม็กอะวอดส์ 2564 อัลบั้มยอดเยี่ยมแห่งปี ไลออนฮาร์ต เสนอชื่อเข้าชิง [22]
ศิลปินหญิงยอดเยี่ยมแห่งปี ตนเอง เสนอชื่อเข้าชิง
2565 ชนะ [40]
2566 ชนะ [41]
ไทยแลนด์โซเชียลอะวอดส์ 2566 ศิลปินเดี่ยวที่มีผลงานยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดีย ตนเอง ชนะ [42]
ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ 2566 เพลงแห่งปี "วาดไว้" เสนอชื่อเข้าชิง [43]
ศิลปินเดี่ยวแห่งปี ตนเอง ชนะ
สปอติฟาย 2565 ศิลปินเดี่ยวไทยที่มียอดสตรีมมากที่สุดแห่งปี ชนะ [44]
สีสันอะวอร์ดส์ 2565 ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม ชนะ [21]
ฮอตเวฟมิวสิกอวอร์ดส์ 2554 นักร้องยอดเยี่ยม ชนะ [8]
ฮาวอะวอดส์ 2565 นักร้องหญิงยอดเยี่ยม ชนะ [45]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "BOWKYLION - ฟังใจ". ฟังใจ. สืบค้นเมื่อ 2022-10-22.
  2. "แห่อวยพร 'โบกี้ไลอ้อน' โพสต์สวยแซ่บ เปลี่ยนชื่อจริงใหม่?". คมชัดลึก. 2023-10-10. สืบค้นเมื่อ 2024-02-02.
  3. "เกิดอะไรขึ้น? "โบกี้ ไลอ้อน" พรั่งพรูความในใจ เป็นช่วงที่สูญเสียความมั่นใจ และไม่ชอบตัวเอง". ผู้จัดการออนไลน์. 2024-01-26. สืบค้นเมื่อ 2024-02-02.
  4. 4.0 4.1 4.2 ""โบกี้ ไลอ้อน" ศิลปินเสียงดี ผู้ผลิตผลงานเองทุกขั้นตอน". กรุงเทพธุรกิจ. 2022-07-18. สืบค้นเมื่อ 2022-10-17.
  5. 5.0 5.1 5.2 ""โบกี้ไลอ้อน" สาวเสียงดี ที่ก้าวสู่เส้นทางศิลปินเต็มตัว". เดลินิวส์. 2017-11-04. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
  6. "ว่าน วันวาน - โบกี้ไลอ้อน 2พี่น้องเสียงดี มีคุณแม่เป็นแรงบันดาลใจในการร้องเพลง". ทรูไอดี. 2017-02-08. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 "น้ำพัก น้ำแรง และน้ำตาของโบกี้ไลอ้อน ศิลปินหญิงไทยที่มียอดฟังเพลงอันดับ 1 ของประเทศ". The Cloud. 2021-11-25. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 ""การแต่งเพลงเป็นสิ่งเดียวที่เรามั่นใจที่สุดในชีวิต" bowkylion เจ้าแม่เพลงเศร้า 302 ล้านวิว". อะเดย์. สืบค้นเมื่อ 2022-10-17.
  9. "10 Things about Her :: Bowky Lion นักร้องสาวเสียงกระเส่า กับทัศนคติทางดนตรีที่ไม่เหมือนใคร". Mover. 2017-11-17. สืบค้นเมื่อ 2022-10-17.
  10. "BOWKYLION: จากพรสวรรค์ที่แม่ให้มา สู่นักร้องหัวใจแข็งแกร่ง เจ้าของเพลง 'ลงใจ'". เดอะพีเพิล. 2021-04-28. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
  11. "ตัวตนและการทำคอนเทนต์ของ BOWKYLION ศิลปินหญิงที่มีคนฟังเยอะที่สุดใน Spotify ปี 2020". Ad Addictth. 2021-03-26. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
  12. ""โบกี้-พิชญ์สินี" ศิลปินหาญกล้า ปั้นตัวเองของจริงหรือเป็นแค่อากาศธาตุวงการเพลง". สยามรัฐ. 2017-03-02. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
  13. ""ว่าน–โบกี้" กับชีวิตที่เปลี่ยนไปหลังประกวดเวที The Voice". สนุกดอตคอม. 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
  14. 14.0 14.1 14.2 "โบกี้ไลอ้อน Rising Star ที่เราอยากทำความรู้จัก". Lifestyle Asia. 2022-08-27. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
  15. ""BOWKYLION" ครองใจคนฟัง ส่งเพลงใหม่ "ลงใจ" เรียกน้ำตาชาวโซเชียล". สนุกดอตคอม. 2019-12-08. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
  16. "คงคา (Still) โศกนาฏกรรมที่สวยงาม อิ่มเอม และรวดร้าว เพลงใหม่จาก Bowkylion". เดอะสแตนดาร์ด. 2020-06-15. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
  17. "Spotify เผยรายชื่อ ที่สุดแห่งปี 2020 ศิลปินไทยฟาดติดอันดับชาร์ตประเทศ". ไบรท์ทีวี. 2020-12-02. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
  18. 18.0 18.1 "ประกาศรายชื่อผู้เข้าชิง JOOX Thailand Music Awards 2021 ครั้งที่ 5 พร้อมเปิดโหวต พร้อมกันทั่วประเทศ 26 เม.ย. - 9 พ.ค. นี้ !". Joox. 2021-04-23. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
  19. "Lionheart: อาณาจักรของความอกหักที่มีเจ้าป่าชื่อ 'ผู้แพ้' นั่งปกครอง". อะเดย์. 2020-10-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-18. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
  20. 20.0 20.1 ""Bowkylion" คว้ารางวัลศิลปินหญิงเดี่ยวยอดเยี่ยม". คมชัดลึก. 2021-03-30. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
  21. 21.0 21.1 "'โบกี้ไลอ้อน' คว้า 'ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม'". ไทยโพสต์. 2022-09-22. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
  22. 22.0 22.1 "จากใจเพื่อนซี๊ "โบกี้ ไลอ้อน" ถึง "เดอะทอยส์" เราจะเดินไปด้วยกันแบบไปไหนก็ไม่รู้!?". ดาราเดลี่. 2022-05-11. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
  23. "ไม่ธรรมดา "โบกี้ ไลอ้อน" ขึ้นแท่นผู้บริหารค่ายเพลง". คมชัดลึก. 2020-06-13. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
  24. "'วาดไว้' บทเพลงที่เกิดขึ้นจากภาพวาดภาพหนึ่งที่แฟนคลับวาดให้". เวิร์คพอยท์ทูเดย์. 2022-07-25. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
  25. 25.0 25.1 25.2 Billboard Thailand Songs:
  26. "โบกี้ไลอ้อน พากย์เสียง เจ้าหญิงแอเรียล ในภาพยนตร์ Disney's The Little Mermaid เงือกน้อยผจญภัย". Techoffside. 2023-05-05. สืบค้นเมื่อ 2023-05-10.
  27. "โค้ชคนที่ 5 มาแล้ว! 'โบกี้ไลอ้อน' โผล่ในรายการ 'The Voice Thailand 2024'". ไทยโพสต์. 2024-09-24. สืบค้นเมื่อ 2024-09-24.
  28. "LANTA CONCERT เวที "เกินจริง" ของ BOWKYLION เจ้าป่าผู้จริงใจกับคนฟังเสมอมา". Howe สนุก.คอม. 2023-02-21. สืบค้นเมื่อ 2024-08-07.
  29. ""4 Queens Concert" 4 สตาร์หญิงแห่งยุคผสานจุดต่างได้ตราตรึงบนเวทีหลากฤดู!". Howe สนุก.คอม. 2023-10-10. สืบค้นเมื่อ 2024-08-07.
  30. "โบกี้ไลอ้อน ทำถึงอีกแล้ว! ใส่เสื้อแบบนี้ ขึ้นรับรางวัลสาวปังแห่งปี". ที่นี่.คอม. 2024-05-16. สืบค้นเมื่อ 2024-05-16.
  31. "รายชื่อผู้เข้าชิงรางวัล "คมชัดลึกอวอร์ด ยอดเยี่ยม" ครั้งที่ 18 ครบทุกรางวัล". คมชัดลึก. 2022-03-22. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
  32. "ระดับเทพทั้งนั้น 'ละครไทย-ซีรีส์ไทย ยอดเยี่ยม' เข้าชิงคมชัดลึก 19". คมชัดลึก. 2023-02-16. สืบค้นเมื่อ 2023-02-18.
  33. "เช็กผลรางวัล 'คมชัดลึกอวอร์ด ครั้งที่ 19' ความภูมิใจของ คนบันเทิง". คมชัดลึก. 2023-03-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-28. สืบค้นเมื่อ 2023-03-29.
  34. "สรุป 'คมชัดลึกอวอร์ด 20' รายชื่อเข้าชิง เพลง ภาพยนตร์ ละคร-ซีรีส์ไทย". คมชัดลึก. 2024-05-24. สืบค้นเมื่อ 2024-08-04.
  35. "ผลรางวัล คมชัดลึกอวอร์ด ครั้งที่ 20 "มาตาลดา" สุดจริง! คว้ารางวัล ละครยอดเยี่ยม". สนุก.คอม. 2024-05-28. สืบค้นเมื่อ 2024-08-04.
  36. "เปิดโหวตแล้ว 'TOTY AWARDS 2021' 8 รางวัลในหมวด เพลงยอดนิยม". เวิร์คพอยท์ทูเดย์. 2022-02-01. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
  37. "เปิดไลน์อัปผู้เข้าชิง 'TOTY Music Awards 2022' เตรียมพร้อมขนทัพเหล่าศิลปินไทยแน่นเวที!". Korseries. 2023-03-13. สืบค้นเมื่อ 2023-03-15.
  38. "สรุปผลรางวัล TOTY Music Awards 2022". The Standard. 2023-03-14. สืบค้นเมื่อ 2023-03-15.
  39. ""บิวกิ้น-โบกี้ ไลออน-4EVE" นำทีม ร่วมงานรางวัล TOTY Music Awards 2023". ไทยรัฐ. 2024-03-30. สืบค้นเมื่อ 2024-05-16.
  40. "ชุดแซ่บมาก "โบกี้ ไลอ้อน" บนพรมแดง GUITAR MAG AWARDS สวยเซ็กซี่สุดๆ". กระปุกดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 2022-11-23.
  41. ""พี่เบิร์ด" คว้า Life Time Achievement ด้าน "เป๊ก ผลิตโชค" คว้า POPULAR VOTE 6 ปี ซ้อน จาก The GuitarMag Awards 2023". ทีเอ็นเอ็น. 2023-05-10. สืบค้นเมื่อ 2023-05-11.
  42. "ประกาศผล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 แบรนด์และผู้ทรงอิทธิพลบนโลกโซเชียลยกทัพร่วมงานคับคั่ง". ไทยรัฐ. 2023-02-24. สืบค้นเมื่อ 2023-02-25.
  43. "ผู้เข้าชิง NINEENTERTAIN AWARDS". ไนน์เอ็นเตอร์เทน. สืบค้นเมื่อ 2023-05-04.
  44. "'Bowkylion' ปล่อยโฮหลังคว้ารางวัล TOP THAI SOLO ARTIST 2022 จาก Spotify". เวิร์คพอยท์ทูเดย์. 2022-12-24. สืบค้นเมื่อ 2024-01-01.
  45. "ครบรอบ 10 ปี ของ 'HOWE Magazine' จัดงานประกาศรางวัล "HOWE AWARDS 2022" ศิลปินดารานักแสดงตบเท้าเข้าร่วมงานมากมาย". Howe Magazine. 2022-11-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-10. สืบค้นเมื่อ 2023-05-11.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]








ApplySandwichStrip

pFad - (p)hone/(F)rame/(a)nonymizer/(d)eclutterfier!      Saves Data!


--- a PPN by Garber Painting Akron. With Image Size Reduction included!

Fetched URL: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99

Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy