Content-Length: 609841 | pFad | http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2

โรงเรียนสตรีวิทยา - วิกิพีเดีย ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนสตรีวิทยา

พิกัด: 13°45′26″N 100°30′07″E / 13.757314°N 100.502004°E / 13.757314; 100.502004
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสตรีวิทยา
Satriwithaya School
ที่ตั้ง
แผนที่
เลขที่ 82 ถนนดินสอ

ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ว. (SW)
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญเรียนดี กีฬาเด่น
สถาปนา3 สิงหาคม พ.ศ. 2443 (124 ปี 87 วัน)
เขตการศึกษากรุงเทพมหานคร
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1
ผู้อำนวยการขจิตพันธ์ สุวรรณสิริภักดิ์
จำนวนนักเรียน2,917 คน ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน ปีการศึกษา 2562[1]
สี   แดง-ขาว
เพลงมาร์ชโรงเรียนสตรีวิทยา
ต้นไม้ประจำโรงเรียนต้นโพธิ์
เว็บไซต์http://www.satriwit.ac.th
สตรีวิทยาตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
สตรีวิทยา
สตรีวิทยา
สตรีวิทยา (กรุงเทพมหานคร)

โรงเรียนสตรีวิทยา (อักษรย่อ: ส.ว.; อังกฤษ: Satriwithaya School) เป็นโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทโรงเรียนสตรีล้วน ตั้งอยู่ที่ถนนดินสอ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้น ม.1 ถึง ม.6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 (กรุงเทพมหานคร)

ประวัติโรงเรียนสตรีวิทยา

[แก้]
ด้านหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา
โรงเรียนสตรีวิทยา ด้านฝั่งตรงข้ามอนุสาวรีย์ประชาธิปไคย

โรงเรียนสตรีวิทยาก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ร.ศ. 119 พ.ศ. 2443 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถานที่เดิมตั้งอยู่ที่วังพระองค์เจ้าอลังการหลังโรงหวย กข.ตำบลสามยอด (ปัจจุบันเป็นตึกของบริษัทสามมิตรสงเคราะห์) กรมศึกษาธิการได้แต่งตั้ง มิสลูสี ดันแลป เป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนสตรีวิทยา ต่อมาโรงเรียนได้ย้ายไปอยู่ที่ตึก 2 ชั้น ถนนเจริญกรุง หลังวังบูรพาภิรมย์ ในช่วงนั้นคนทั่วไปนิยมเรียกโรงเรียนสตรีวิทยาว่า "โรงเรียนแหม่มสี" สมัยนั้นโรงเรียนเปิดรับทั้งชายและหญิง ซึ่งนักเรียนชายต้องอายุไม่เกิน 12 ปี สอนตั้งแต่เด็กเริ่มเรียน ส่วนชั้นประถมมีการสอนภาษาอังกฤษด้วย เมื่อโรงเรียนเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ มิสลูสี ดันแลป ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาที่ต้องพัฒนาในระดับสูงขึ้น จึงแจ้งความประสงค์ยกโรงเรียนสตรีวิทยาให้แก่กรมศึกษาธิการกรมธรรมการและมิสลูสี ยินยอมรับราชการต่อไป

3 สิงหาคม พ.ศ. 2444 เป็นโรงเรียนรัฐบาล กระทรวงธรรมการมีคำสั่งให้ลงแจ้งความเปิดโรงเรียนสตรีวิทยาประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นโรงเรียนของรัฐบาลให้สอนตามหลักสูตรของกรมศึกษาธิการ และได้จัดการเรียนการสอนจนถึงระดับมัธยมศึกษา

พ.ศ. 2448 โรงเรียนได้ย้ายไปที่ตึกริมถนนราชบพิธติดกับโรงพิมพ์โสภณพิพัฒนาการ

พ.ศ. 2449-พ.ศ. 2450 มิสลูสี ดันแลป ลาออกเพราะสุขภาพไม่ดี กรมศึกษาธิการ จึงให้ครูทิม กาญจนาโอวาท ครูใหญ่ โรงเรียนศึกษานารี เป็นครูใหญ่โรงเรียนสตรีวิทยาอีกแห่งหนึ่ง ต่อมากระทรวงธรรมการรวมโรงเรียนสตรีวิทยาและโรงเรียนศึกษานารีเข้าด้วยกันแล้วย้ายมาอยู่ที่ตึกดิน มุมถนนดินสอและ ถนนราชดำเนินกลาง (ปัจจุบันคือบริเวณ บริษัทธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด) โดยใช้ชื่อว่าโรงเรียนสตรีวิทยาตั้งแต่ พ.ศ. 2450 เป็นต้นมา

พ.ศ. 2482 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ต้องการที่ดินคือเพื่อสร้างอาคารตามโครงการปรับปรุงถนนราชดำเนินใหม่ กระทรวงศึกษาธิการ โดย พล.ร.อ. หลวงสินธุสงครามชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีคำสั่งให้หาที่สร้างโรงเรียนสตรีวิทยาใหม่ อาจารย์สิริมา จิณณาสา อาจารย์ใหญ่ ตกลงเลือกที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ริมถนนดินสอ พื้นที่ 9 ไร่อยู่ตรงข้ามสถานที่เดิม พล.ร.อ.หลวงสินธุสงครามชัย ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น ผู้ชุบชีวิตสตรีวิทยา มีความประสงค์จะให้เป็นโรงเรียนตัวอย่างในเชิงก่อสร้าง โดยวางแผนผังให้เหมาะสมโอ่โถงงดงาม รายการปลูกสร้างได้แก่ ตึกเรียน 2 ชั้น 1 หลัง หอประชุมหรือโรงอาหารเป็นโรงโถงชั้นเดียว มีเวทีสำหรับการแสดง ห้องส้วม ห้องพยาบาล เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ต่อมามีการสร้างหอการฝีมือ โรงครัว บ้านพักครูใหญ่ เรือนภารโรง การก่อสร้างใช้เวลา 17 เดือน เปิดโรงเรียนเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484

พ.ศ. 2487 ปิดโรงเรียนเพราะสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากเกรงจะเป็นอันตรายจากการทิ้งระเบิด

พ.ศ. 2488 โรงเรียนสตรีวิทยาได้กลับมาเปิดสอนต่อ แต่ไปเรียนที่ โรงเรียนเบญจมราชาลัย เพราะอาคารเรียนสตรีวิทยาใช้เป็นที่ตั้งหน่วยพยาบาลของทหารพันธมิตร จน เดือนเมษายน พ.ศ. 2489 ทหารย้ายออกไป จึงกลับมาเรียนที่เดิม

พ.ศ. 2490 เปิดสอนชั้นเตรียมอุดมเป็นรุ่นแรกมีแผนกอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นักเรียนเตรียมแผนกอักษรศาสตร์สอบไล่ได้เป็นที่ 1 ของทั้งประเทศ นอกจากนั้นยังสอบได้เป็นที่ 2 และที่ 19 ในจำนวนนักเรียน 50 คนแรกที่ได้รับประกาศชื่อนับเป็นครั้งแรกที่ โรงเรียนรัฐบาล สามารถทำได้ โรงเรียนสตรีวิทยาจึงได้ริเริ่มคิดป้าย เกียรตินิยมเรียนดี ขึ้นเพื่อประกาศชื่อนักเรียนที่เรียนดีติดไว้ที่หอประชุมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

พ.ศ. 2491 จัดตั้งสตรีวิทยาสมาคมเพื่อเป็นที่พบปะติดต่อกันของศิษย์เก่าและให้ศิษย์เก่าร่วมแรงร่วมใจกันทำประโยชน์ให้แก่โรงเรียนได้ทำพิธีเปิดป้ายเมื่อวันที่ 18 มีนาคม

พ.ศ. 2492 กีฬาประเพณีสมาคมได้มอบทุนให้แก่นักเรียนชั้น ม.6 ที่สอบไล่ได้คะแนนยอดเยี่ยม จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประเพณีซึ่งเป็นการแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียนจนเป็นประเพณีสืบต่อมาจนทุกวันนี้

พ.ศ. 2495-พ.ศ. 2496 ครบรอบครึ่งทศวรรษ โรงเรียนได้งบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารวิทยาศาสตร์โรงเรียนได้จัดงานฉลองโรงเรียนครบครึ่งทศวรรษเพื่อฉลองอาคารวิทยาศาสตร์ไปด้วยเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2496 งานครั้งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยทรงพระกรุณาเสร็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในงาน ยังความปลาบปลื้มปิติแก่คณะครูนักเรียนสตรีวิทยาอย่างหาที่สุดมิได้

พ.ศ. 2498 จัดตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูสตรีวิทยาเพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างผู้ปกครองและครู ตลอดจนเป็นที่แลกเปลี่ยนความรู้ความคิด และประสบการณ์ในการแก้ปัญหาของเยาวชนร่วมกัน

พ.ศ. 2512-พ.ศ. 2515 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างและซ่อมแซมอาคารดังนี้

สร้างอาคารเรียน 4 ชั้น 40 ห้องเรียน พร้อมหอประชุมใหญ่ลานเอน จุคนได้ประมาณ 1,200 คน ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2514

สร้างอาคาร 5 ชั้น ด้าน ถนนราชดำเนิน ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร เป็นอาคารที่มีห้องเรียนประมาณ 40 ห้องและมีห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องพักครู ห้องฝ่ายปกครอง ห้องพิมพ์ดีด และห้องสหกรณ์โรงเรียน

พ.ศ. 2530-พ.ศ. 2532 โรงเรียนสตรีวิทยาได้รับรางวัลโรงเรียนดีเด่น 3 ปีซ้อน และโรงเรียนพระราชทาน นักเรียนพระราชทานปี 2533

พ.ศ. 2543 โรงเรียนสตรีวิทยาครบรอบ 100 ปี

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]

ก่อตั้งโรงเรียน

[แก้]

มิสลูสี ดันแลป หรือ "แหม่มสี" เป็นธิดากัปตันเรือ เป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนสตรีวังหลังก่อนจะตั้งโรงเรียนสตรีวิทยาขึ้นมา เมื่อปี พ.ศ. 2443 สมัยนั้นเปิดรับสมัครนักเรียนทั้งชายและหญิง หลักสูตรและวิธีการสอนของแหม่มสีทำให้โรงเรียนสตรีวิทยามีชื่อเสียงตั้งแต่แรกเริ่ม โรงเรียนสตรีวิทยาสมัยแรกย้ายที่ตั้งหลายแห่ง จากหลังโรงหวย ก.ข.สามยอด ไปตึกแถวหลังวังบูรพา (มุมด้านตะวันออกของถนนถนนทหารบกทหารเรือและถนนเจริญกรุง) และย้ายไปอยู่ข้างโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ริมถนนราชบพิธ ใน พ.ศ. 2446 นักเรียนชื่อ "นิล" อายุ 13 ปีได้รับเงินรางวัล 5 ตำลึงจากรัฐบาลเนื่องจากสอบไล่ปลายปีระดับประถม วิชาธรรมจริยาได้คะแนนสูงสุด นักเรียนผู้นี้ต่อมาได้สมัครเป็นนักเรียนสอนโรงเรียนสตรีวิทยา เริ่มเป็นครูน้อยที่โรงเรียนเสาวภา ครูทิมซึ่งขณะนั้นเป็นครูใหญ่โรงเรียนเบญจมราชาลัยได้ขอตัวให้ไปสอนที่นั่น ต่อจากนั้นได้ย้ายโรงเรียนอื่นๆ และดำรงตำแหน่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ท้ายที่สุดได้เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์

ย้ายมาตึกดิน

[แก้]

ครูทิม กาญจนาโอวาท ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่อ่างทองเรียนหนังสือกับแหม่มโคล์ที่โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง จนจบหลักสูตรแล้วเป็นครูที่โรงเรียนนั้นมาจนสมรสจึงลาออก พ.ศ. 2449 เริ่มรับราชการเป็นครูใหญ่ที่ โรงเรียนศึกษานารี เมื่อตั้งอยู่ที่ ถนนข้าวสาร และต้องรับตำแหน่งครูใหญ่สตรีวิทยา อีกแห่งหนึ่งจึงเสนอให้รวมทั้ง 2 โรงเรียนเข้าด้วยกันที่ตึกดินใช้ชื่อว่า "สตรีวิทยา"

ส.ว.อักษรย่อของสตรีวิทยา

[แก้]

นางผจงวาด วายวานนท์ จบการศึกษาชั้นต้นทั้งประถมและมัธยมที่โรงเรียนสตรีวิทยา แล้วศึกษาต่อทางวิชาชีพครู ตลอดจนวิชาการสาขาต่างๆที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ประวัติศาสตร์ ตามระเบียบการแต่งกายของนักเรียนรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2476 นักเรียนต้องใช้เข็มเครื่องหมายที่อักษรย่อชื่อโรงเรียน ทางโรงเรียนจึงขอใช้ ส.ว.

เพิ่มชั้นม.ปลาย

[แก้]

นางสาวสังวาลย์ ปุคคละนันท์ เป็นคนคลองบางหลวง เรียนที่โรงเรียนวัดอนงคาราม และ โรงเรียนศึกษานารี และศึกษาต่อจนจบครูมัธยม ตำแหน่งสูงสุดคือเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสตรีวิทยา ในสมัยอาจารย์โรงเรียนมีชื่อเสียงด้านกีฬาและอนุกาชาดได้ครองถ้วยชนะเลิศกีฬาและดัดตนหลายชนิด นอกจากนั้นยังเป็นสมัยที่โรงเรียนเริ่มสอนชั้นม.7 และ ม.8 ด้วย

ยุบหรือย้าย

[แก้]

ใน พ.ศ. 2482 รัฐบาลดำเนินการปรับปรุงขยายถนนราชดำเนิน กระทรวงศึกษาธิการ ลงมติให้ยุบไม่ก็ย้ายนักเรียนไปเรียนรวมกับ โรงเรียนเบญจมราชาลัย เสีย อาจารย์สิริมาจึงขอร้อง กระทรวงศึกษาธิการ จึงไม่ยุบโรงเรียนเพียงแต่ให้ย้ายที่ตั้งใหม่ที่ริมถนนดินสอ

ยุคเรียนดีกีฬาเด่น

[แก้]

คุณหญิงอาภรณ์ กฤษณามระ สำเร็จการศึกษาจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงได้เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสตรีวิทยาอยู่ 8 ปี ในยุคของคุณหญิงอาภรณ์ สตรีวิทยาเด่นทั้งด้านกีฬาและการเรียนได้รางวัลบ่อยครั้ง

ม.ศ.5 รุ่นสุดท้าย

[แก้]

คุณหญิงบรรจง นิวาศะบุตร จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนสหายหญิง ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีประจำ จังหวัดสระบุรี เป็นศิษย์เก่าจากโรงเรียนสตรีวิทยาและจบการศึกษาระดับสูงสุดคืออักษรศาสตร์มหาบัณฑิต สืบเนื่องจากการปรับระบบชั้นเรียนเมื่อ พ.ศ. 2521 นักเรียนชั้น ม.ศ.5 ในปี พ.ศ. 2525 และจบการศึกษา พ.ศ. 2526 จึงเป็น ม.ศ.5 รุ่นสุดท้าย

หล่อพระพุทธรูปประจำโรงเรียน

[แก้]

20 สิงหาคม พ.ศ. 2535 สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นประธานประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปประจำโรงเรียน "พระนิรันตราย" ซึ่งสรี้างขึ้นเนื่องในโอกาสเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษาและทรงเจิมแผ่นศิลาฤกษ์ และพระราชทานเมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ต่อมา 16 กันยายน พ.ศ. 2536 จึงประกอบพิธีเบิกเนตร

ความภาคภูมิใจของโรงเรียน

[แก้]

รายนามผู้บริหารโรงเรียนสตรีวิทยา

[แก้]
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 มีสลูสี ดันแลป
2 นางทิม กาญจนโอวาท พ.ศ. 2465 - 2467
3 หลวงบรรสบวิชาฉาน พ.ศ. 2457 - 2460
4 นางสุภางค์ เวช์ชะเผ่า พ.ศ. 2460 - 2462
5 คุณหญิงวัชรินเสวี พ.ศ. 2463 - 2472
6 นางสาวพร้อม บุณยมานพ พ.ศ. 2472 - 2475
7 นางผจงวาด วายวานนท์ พ.ศ. 2475 - 2477
8 นางสาวสังวาลย์ ปุคคละนันท์ พ.ศ. 2477 - 2479
9 นางสิริมา จิณณาสา พ.ศ. 2479 - 2489
10 หม่อมหลวงแสงโสม กฤษณามระ พ.ศ. 2489 - 2497
11 คุณหญิงกรองทอง​ ​สุรัสวดี พ.ศ. 2498 - 2511
12 คุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฏ พ.ศ. 2511 - 2519
13 นางนภา หุ่นจำลอง พ.ศ. 2519 - 2523
14 คุณหญิงบรรจง นิวาศะบุตร พ.ศ. 2523 - 2527
15 นางบุษยา สาครวาสี พ.ศ. 2527- 2529
16 นางสมหมาย เอมสมบัติ พ.ศ. 2529 - 2536
17 นางลัดดา ตระหง่าน พ.ศ. 2536 - 2538
18 นางสาวเอกจิตรา ชูสกุลชาติ พ.ศ. 2539 - 2540
19 นางสาวสุวรรณา เอมประดิษฐ พ.ศ. 2540 - 2544
20 นางรังสิมา เจริญศิริ พ.ศ. 2544 - 2549
21 นางสาวเฟื่องฟ้า ประดิษฐพจน์ พ.ศ. 2549 - 2552
22 นางพัชรา ทิพยทัศน์ พ.ศ. 2552 - 2554
23 นางจำนงค์ แจ่มจันทรวงษ์ พ.ศ. 2554 - 2556
24 นางเบญญาภา คงรอด พ.ศ. 2556 - 2558
25 นางสาวสุปราณี ไกรวัตนุสสรณ์ พ.ศ. 2558 - 2561
26 นางวรรณดี นาคสุขปาน พ.ศ. 2561 - 2563
27 นางสุภาณี ธรรมาธิคม พ.ศ. 2563 - 2565
28 นายขจิตพันธ์ สุวรรณสิริภักดิ์ พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

เกียรติประวัติของโรงเรียน

[แก้]

โรงเรียนสตรีวิทยาเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษมีความมุ่งมั่นในการปรับปรุงและพัฒนารักษาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นสร้างจิตสำนึกและวินัยให้แก่นักเรียน เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมรวมทั้งลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดมลพิษ ที่ส่งผลกระทบทั้งภายในโรงเรียนและชุมชนรอบข้างโรงเรียนจึงนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14001 มาใช้ในโรงเรียน ผลจากการร่วมมือกันทุกฝ่ายทำให้โรงเรียนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยสะอาด บรรยากาศร่มรื่น สวยงามน่าอยู่และปลอดภัยตามหลีกมาตรฐานสากล โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO14001 จากสถาบัน UKAS และประกอบพิธีเปิดป้าย ISO14001 อย่างเป็นทางการในวันครบรอบ 100 ปี 3 สิงหาคม พ.ศ. 2543 โรงเรียนสตรีวิทยาในปัจจุบันได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นทุกด้าน

  • ด้านวิชาการ โรงเรียนได้รับการแต่งตั้งจากกรมสามัญศึกษาให้เป็นโรงเรียนเครือข่ายจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ปีการศึกษา 2545 เป็นศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษโรงเรียนได้เปิดสอน Intensive course ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้อง ได้รับความนิยมและชื่นชมจากผู้ปกครองเป็นอย่างมาก ปีการศึกษา 2546 จะเปิดในระดับม.4 จำนวน 2 ห้อง นอกจากนี้ยังมีโครงการโอลิมปิกทางวิชาการ โดยเชิญวิทยากรจากภายในและภายนอกมาให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ อีกทั้งขยายห้องสืบค้นข้อมูล(IT) โดยเพิ่มจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 60 เครื่อง เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูล ทั้งภายในและต่างประเทศ ผลจากการแข่งขันด้านวิชาการ นักเรียนได้รับรางวัลจำนวน 84 รายการ ในปีการศึกษา 2548 โรงเรียนได้เปิดรับนักเรียนโครงการความเป็นเลิศด้านวิชาการ(คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ) จำนวน 2 ห้องเรียน (80 คน)

  • ด้านบริหารจัดการ ปรับโครงสร้างการบริหารสถานศึกษาให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและมีความคล่องตัวในการบริหารงาน

โดยแต่งตั้งฝ่ายแผนงานวิจัยและพัฒนาจัดทำคอมพิวเตอร์ระบบบริหารจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการบริหาร ได้แก่ ระบบงานทะเบียน วัดผล ระบบงานปกครอง ระบบงานพยาบาล ระบบงานแนะแนว โปรแกรมโอนคะแนนจากเครื่องตรวจกระดาษคำตอบ,โปรแกรมรูดบัตร,แสกนลายนิ้วมือ,แสกนใบหน้าในการมาโรงเรียน, โปรแกรมรูดบัตรแสดงผลการเรียน

  • ด้านอาคารสถานที่ การปรับปรุงอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]
รายพระนามและรายนาม อาชีพ และ ตำแหน่ง
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ขันธ์ทอง อูนากูล อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงกาฐมาณฑุ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลและเอกอัครราชทูต ณ กรุงบูดาเปสต์ สาธารณรัฐฮังการี
รศ.ดร. ฟองคำ ติลกสกุลชัย อดีตคณบดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
.เกียรติคุณ พญ. พนิดา โกสียรักษ์วงศ์ ที่ปรึกษา ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
นางนวลน้อย ผลทวี ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา
รศ. ดร. พญ. ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์   หัวหน้าภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี                                                      ประธานอนุสาขาออร์โธปิดิกส์เด็ก ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย
ผศ.รุจิรา อุปวานิช อดีตคณะบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
สัตวแพทย์หญิง ดร.วิมลพร  ธิติศักดิ์ อดีตรองอธิปดีกรมปศุสัตว์
รศ. ดร. ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี ผู้อำนวยการสถานความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ดร.สุปราณี ไกรวัตนุสสรณ์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยา
นางสาวสุวรรณา เอมประดิษฐ์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยา
.พญ. สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวัฒนธรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
รศ.ดร.อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์ คณาจารย์อาวุโส ภาควิชาโรคพืช มหาลัยเกษตรศาสตร์
.เกียรติคุณ อำไพวรรณ จวนสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมนานาชาติโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลีย สาขากรุงเทพฯ
. ทพญ. กอบกาญจน์ ทองประสม ศาสตราจารย์ระดับ A-1 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฐาปนีย์  เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ดร. อัษฎาพร ไกรพานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พญ. สิรินาถ เวทยะเวทิน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตากสิน สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
นางดารณี พิพัฒนกุลชัย อดีตหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล  โรงพยาบาลศิริราช
จุฬามณี ชาติสุวรรณ อดีตเอกอัครราชทูต กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกาและมนตรีฝ่ายไทยประจำมูลนิธิเอเชีย-ยุโรป
ดร.ศศิธารา พิชัยชาญ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
พญ. วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อดีตอธิบดีกรมการแพทย์
ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ ประธานโครงการรามาธิบดีแบ่งปันองค์ความรู้ เพื่อสู้วิกฤติโควิด-๑๙
ดร. สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร
คุณหญิงอุไรวรรณ สวัสดิศานต์ ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ระดับ ๙ กองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
รศ.ดร.ณมน จีรังสุวรรณ ผอ.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน)
ศันสนีย สหัสสะรังษี เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอ
ดร.ปฤถา พรหมเลิศ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย และผู้บริหารสมาคมฯ
นริศรา ทิพยจันทร์ นายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
ลดาวัลย์ คําภา รองเลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ดร.ดาราวรรณ เด่นอุดม ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ วัดวะภูแก้ว ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
ดร.ลักษมี ปลั่งแสงมาศ ผู้ว่าการ วว.  
นางวิภารัตน์ ไชยานุกิจ รองปลัดกรุงเทพมหานคร
พรรณพร คงยิ่งยง ผู้อำนวยการกลุ่มงานกลยุทธ์องค์กร สภากาชาดไทย
จิตติมา นาคมโน ผู้อำนวยการสำนักประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
บรรเจิดศรี ยมาภัย นักแสดงอาวุโส
วรรณรท สนธิไชย (วิว) นักแสดงช่อง 31,เอ็กแซ็กท์
หนึ่งธิดา โสภณ (หนูนา) นักร้อง,นักแสดง
ณัฐวรา หงส์สุวรรณ (ส้ม) อดีตพิธีกร
ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (ป๊อก) นักแสดง,พิธีกร,นางแบบ
กุลมาศ สารสาส (ขนมจีน) นักร้อง,นักแสดง,พิธีกร,ยูทูบเบอร์
ธรัญญ่า มโนลีหกุล (ผ้าแพร) นักร้อง
วรรณธิชา ทิชินพงศ์ (ลูกตาล) นักร้อง
อัญชิสา นิ่มอาสน์ (โบกี้ไลอ้อน) นักร้อง,นักแต่งเพลง,โปรดิวเซอร์เพลง
ศุภนาฎ จิตตลีลา (ติ๊นา) นักแสดง,ดีเจ,พิธีกร,นางแบบ,ยูทูบเบอร์
ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง (ออกแบบ) นักแสดง,นางแบบ
สิรินรัตน์ วิทยพูม (มุก) นักแสดงช่อง3
ฐิติมา สุตสุนทร (แหวน) นักร้อง,นักแสดง
ชลลดา สิริสันต์ (เก๋) นักแสดง,พิธีกร,นางแบบ
ศัลยา สุขะนิวัตติ์ นักเขียนบทละครโทรทัศน์

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°45′26″N 100°30′07″E / 13.757314°N 100.502004°E / 13.757314; 100.502004









ApplySandwichStrip

pFad - (p)hone/(F)rame/(a)nonymizer/(d)eclutterfier!      Saves Data!


--- a PPN by Garber Painting Akron. With Image Size Reduction included!

Fetched URL: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2

Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy