ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ

พิกัด: 13°48′48″N 100°42′50″E / 13.813260°N 100.713790°E / 13.813260; 100.713790
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
Setthabut Bamphen School
ที่ตั้ง
แผนที่

ข้อมูล
ชื่ออื่นศ.บ. / SBP
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญสจฺจํ วีรํ การาเปติ
(ความซื่อสัตย์ ทำให้เกิดความกล้าหาญ)
สถาปนาพ.ศ. 2453
ผู้ก่อตั้งพระยาภักดีนรเศรษฐ
เขตการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
ผู้อำนวยการเตือนใจ ปิ่นนิกร
จำนวนนักเรียน3,110 คน ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน ปีการศึกษา 2562[1]
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน • ไทย
 • อังกฤษ
สี   เขียว-ขาว
เพลงมาร์ชโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
เว็บไซต์http://www.sbp.ac.th/

โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ (อักษรย่อ : ศ.บ.; อังกฤษ: Setthabut Bamphen School) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในสังกัดมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการสร้างโดยพระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร) เป็นอดีตโรงเรียนประจำจังหวัดมีนบุรี[2]

ประวัติ

เดิมโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญชื่อโรงเรียนวัดแสนแสบ (วัดแสนสุข) เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2453 มีฐานะเป็นโรงเรียนประจำอำเภอมีนบุรี ในระยะแรกโรงเรียนนี้ยังไม่มีอาคารเรียนที่ถาวร จึงต้องอาศัยศาลาการเปรียญของวัดเป็นอาคารเรียน จนกระทั่งใน พ.ศ. 2469 นายณรงค์ วีริยินทะ ครูใหญ่ของโรงเรียนในขณะนั้น ได้พิจารณาร่วมกับทางราชการมีความเห็นว่า โรงเรียนวัดแสนแสบตั้งอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองและชุมชน การคมนาคมไม่สะดวก และอาคารหลังเดิมอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก สมควรสร้างอาคารหลังใหม่ให้อยู่ใกล้ย่านชุมชนมากขึ้น จึงได้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากนายเลิศ เศรษฐบุตร เจ้าของบริษัทเรือเมล์ขาว ซึ่งเป็นผู้ที่เอาใจใส่ส่งเสริมการศึกษาและความเป็นอยู่ของเด็กในท้องถิ่น

ท่านได้บริจาคเงิน 7,000 บาท สมทบกับเงินงบประมาณที่กระทรวงธรรมการอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารอีก 4,850 บาท สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ขึ้นที่บริเวณตัวจังหวัดมีนบุรี บนเนื้อที่ 3 ไร่เศษ ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ทำการก่อสร้างเรียบร้อยและเปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 [3] เปลี่ยนชื่อเป็นเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดมีนบุรี (เศรษฐบุตรบำเพ็ญ) จัดการสอนในระบบสหศึกษา

ในปี พ.ศ. 2474 ทางราชการได้ยุบจังหวัดมีนบุรีลงเป็นอำเภอมีนบุรี ขึ้นกับจังหวัดพระนคร โรงเรียนประจำจังหวัดมีนบุรี (เศรษฐบุตรบำเพ็ญ) จึงเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ สังกัดแผนกโรงเรียนส่วนกลาง กองโรงเรียนรัฐบาล กรมวิสามัญศึกษา กระทรวงธรรมการ

ต่อมาเมื่อจำนวนนักเรียนมีมากขึ้นทุกปี บริเวณโรงเรียนจึงไม่เพียงพอที่จะก่อสร้างอาคารเพิ่มขึ้นได้อีก คุณหญิงสิน ภักดีนรเศรษฐ (ภรรยาของพระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร)) ผู้อุปการะโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ จึงได้จัดหาที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นใน พ.ศ. 2493 โดยเป็นที่ดินจำนวน 32 ไร่ 2 งาน 97 ตารางวา อยู่ริมถนนรามอินทรา ห่างจากโรงเรียนเดิมประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญในปัจจุบัน

อาคารเรียนบนที่ดินแห่งใหม่นี้ได้สร้างขึ้นเป็นหลังแรกเมื่อ พ.ศ. 2496 ชื่อ อาคารเลิศสิน (ปัจจุบันรื้อแล้ว) และได้ย้ายนักเรียนชายทั้งหมดมาอยู่ในที่ตั้งใหม่เมื่อ พ.ศ. 2498 ใช้ชื่อว่า โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ส่วนสถานที่เดิมรับเฉพาะนักเรียนหญิง โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ภายหลังจึงได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแบบสหศึกษาได้เมื่อ พ.ศ. 2523 และเปิดรับนักเรียนในแบบสหศึกษาทั้งหมด (ทั้งมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย) เมื่อ พ.ศ. 2534

13°48′48″N 100°42′50″E / 13.813260°N 100.713790°E / 13.813260; 100.713790

สถานที่ภายในโรงเรียน

โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญมีอาคารเรียน 8 หลัง โรงอาหาร 2 หลัง หอประชุม 1 หลัง และสถานที่ต่างๆ ดังนี้[4]

  • หอประชุม
  • อาคาร 1 (เลิดสิน)
  • อาคาร 2
  • อาคาร 3
  • อาคาร 4
  • อาคาร 5
  • อาคาร 6
  • อาคาร 7
  • อาคาร 8 (เลิดสิน 109)
  • โดมโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
  • ร้านค้า
  • ปรัมพิธี
  • โรงยิม
  • สนามฟุตบอล
  • ลานกิจกรรม
  • โรงอาหาร1
  • โรงอาหาร2

รายนามผู้บริหาร

ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
รายชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง
1. นายพุด จารุวัฒนะ พ.ศ. 2454-พ.ศ. 2468
2. นายณรงค์ วิริยินทะ พ.ศ. 2469-พ.ศ. 2506
3. นายมนัส ปางสมบูรณ์ พ.ศ. 2507-พ.ศ. 2510
4. นายณรงค์ สอนอิ่มศาสตร์ พ.ศ. 2510-พ.ศ. 2522
5. นายสมพงษ์ พูลสวัสดิ์ พ.ศ. 2522-พ.ศ. 2526
6. นายอดิเรก รัตนธัญญา พ.ศ. 2526-พ.ศ. 2530
7. นายหิรัญ บุปผา พ.ศ. 2530-พ.ศ. 2531
8. นายอนันต์ ตรีนิตย์ พ.ศ. 2531-พ.ศ. 2535
9. นายสำเนา แสงมณี พ.ศ. 2535-พ.ศ. 2537
10. นายสุนทร ธาราดล พ.ศ. 2537-พ.ศ. 2542
11. นายเกษม สดงาม พ.ศ. 2542-พ.ศ. 2547
12. ดร.สุพรรณี สมานญาติ พ.ศ. 2547-พ.ศ. 2552
13. นายประสิทธิ์ ทองเพียรพงษ์ พ.ศ. 2552-พ.ศ. 2557
14. ดร.ประพนธ์ หลีสิน พ.ศ. 2557-พ.ศ. 2562
15. ดร.เตือนใจ ปิ่นนิกร พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน

อ้างอิง

pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy