ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลหนองสีดา

พิกัด: 14°30′44.7″N 100°49′47.7″E / 14.512417°N 100.829917°E / 14.512417; 100.829917
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลหนองสีดา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Nong Sida
สถานีรถไฟหนองสีดา
สถานีรถไฟหนองสีดา
ตำบลหนองสีดาตั้งอยู่ในจังหวัดสระบุรี
ตำบลหนองสีดา
ตำบลหนองสีดา
พิกัด: 14°30′44.7″N 100°49′47.7″E / 14.512417°N 100.829917°E / 14.512417; 100.829917
ประเทศไทย
จังหวัดสระบุรี
อำเภอหนองแซง
พื้นที่
 • ทั้งหมด5.16 ตร.กม. (1.99 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด1,000[1] คน
 • ความหนาแน่น193.79 คน/ตร.กม. (501.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 18170
รหัสภูมิศาสตร์190504
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

หนองสีดา เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี เป็นตำบลที่มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตัดผ่าน และยังเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟหนองสีดาซึ่งเป็นสถานีรถไฟ 1 ใน 2 ของอำเภอหนองแซง

สถานีรถไฟหนองสีดา

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

ตำบลหนองสีดามีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลเมืองเก่า และตำบลเสาไห้ (อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลหนองโน (อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี)
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหนองหัวโพ และตำบลเขาดิน (อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลหนองควายโซ และตำบลไก่เส่า (อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี)

ประวัติ

[แก้]

ตำบลหนองสีดาเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี เป็นตำบลเก่าแก่ในจังหวัดสระบุรี และปรากฏชื่อ "ตำบลหนองสีดา" ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2467[2] ต่อมาทางราชการได้ประกาศพื้นที่ตำบลหนองสีดา ตำบลหนองแซง ตำบลไก่เส่า ตำบลหนองกบ ตำบลหนองหัวโพ ตำบลโคกสะอาด ตำบลม่วงหวาน ตำบลเขาดิน และตำบลหนองควายโซ ของอำเภอเสาไห้ ตั้งขึ้นเป็น "กิ่งอำเภอหนองแซง"[3]ในปี พ.ศ. 2480 และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศยกฐานะเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2496[4] ตำบลหนองสีดา จึงกลายเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอหนองแซงจนปัจจุบัน

พื้นที่ตำบลหนองสีดาเดิมมีทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ในปี พ.ศ. 2482 มีการเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเสาไห้กับกิ่งอำเภอหนองแซง โดยตำบลหนองสีดาได้รับโอนพื้นที่หมู่ 10 (ในขณะนั้น) ของตำบลเมืองเก่า อำเภอเสาไห้ มาขึ้นกับตำบลหนองสีดา[5] จึงทำให้ตำบลหนองสีดามีทั้งหมด 6 หมู่บ้าน ในปี พ.ศ. 2483 ได้มีการปรับเปลี่ยนการปกครองตำบลให้เหมาะสม โดยได้ยุบตำบลเขาดิน และตำบลบางส่วนของตำบลม่วงหวาน มารวมกับตำบลหนองสีดา ทำให้ตำบลหนองสีดามีหมู่บ้านมากถึง 16 หมู่บ้าน

และในปี พ.ศ. 2490 ได้แยกพื้นที่หมู่ 6–10 และหมู่ที่ 11 ของตำบลหนองสีดา จัดตั้งเป็นตำบลเขาดิน ที่เคยยุบรวมกับตำบลหนองสีดา และแยกพื้นที่หมู่ 13–16 ของตำบลหนองสีดา และหมู่ 2, 9–11 ของตำบลโคกสะอาด จัดตั้งเป็นตำบลม่วงหวาน ที่เคยยุบรวมกับตำบลหนองสีดา[6] ขึ้นอีกครั้ง

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองท้องที่

[แก้]

ตำบลหนองสีดาแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านโคกวัว (Ban Khok Wua)
หมู่ 2 บ้านโคก (Ban Khok)
หมู่ 3 บ้านขาม (Ban Kham)
หมู่ 4 บ้านหนองสีดา (Ban Nong Sida)
หมู่ 5 บ้านตลาดหนองสีดา (Ban Talat Nong Sida)
หมู่ 6 บ้านโดน (Ban Don)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่ตำบลหนองสีดา มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวโพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองสีดาและตำบลหนองหัวโพทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลหนองสีดาที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516[7] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสีดาในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539[8]

ก่อนที่ต่อมาจะยุบองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสีดา รวมเข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวโพ[9] ในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2547 เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยดำเนินการประกาศยุบรวมสภาตำบลทั้งหมดและองค์การบริหารส่วนตำบลใดที่มีจำนวนประชากรไม่ถึงสองพันคน โดยให้รวมพื้นที่เข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่น หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกัน

ประชากร

[แก้]

พื้นที่ตำบลหนองสีดาประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 6 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 996 คน แบ่งเป็นชาย 470 คน หญิง 526 คน (เดือนธันวาคม 2564)[10] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 8 ในอำเภอหนองแซง

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2564[11] พ.ศ. 2563 [12] พ.ศ. 2562[13] พ.ศ. 2561[14] พ.ศ. 2560[15] พ.ศ. 2559[16] พ.ศ. 2558[17]
ขาม 203 196 189 187 188 192 191
โคก 202 204 204 203 208 202 201
โคกวัว 161 154 156 156 158 165 166
ตลาดหนองสีดา 152 143 142 141 139 141 145
โดน 145 146 144 153 153 154 152
หนองสีดา 133 133 128 124 112 112 119
รวม 996 976 963 964 958 966 974

อ้างอิง

[แก้]
  1. "กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน รายจังหวัด รายอำเภอ และรายตำบล ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2563". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-27. สืบค้นเมื่อ 2021-01-14.
  2. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 313–317. วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอหนองแซง กับกิ่งอำเภอหนองหมู" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ง): 2915–2916. วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480
  4. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอจักราช อำเภอสัตตหีบ อำเภอศรีสงคราม อำเภอชะอวด อำเภอหนองแซง อำเภอภาชี อำเภอเขาไชยสน อำเภอชุมพลบุรี อำเภอวาริชภูมิ อำเภอสบปราบ และอำเภอสุไหงโกลก พ.ศ. ๒๔๙๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (17 ก): 368–371. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-12-27. วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2496
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสระบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (65 ง): 3879. วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2486
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-12-27. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2020-12-27. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF): 1–2. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2547
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  15. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  16. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  17. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy