ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก

พิกัด: 14°30′58.9″N 100°51′34.4″E / 14.516361°N 100.859556°E / 14.516361; 100.859556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก
จากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา: รถไฟบรรทุกน้ำมันที่ป๊อกแป๊ก, โรงเรียนวัดป๊อกแป๊ก, วัดป๊อกแป๊ก, สำนักงานเทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก, สถานีรถไฟบ้านป๊อกแป๊ก
จากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา: รถไฟบรรทุกน้ำมันที่ป๊อกแป๊ก, โรงเรียนวัดป๊อกแป๊ก, วัดป๊อกแป๊ก, สำนักงานเทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก, สถานีรถไฟบ้านป๊อกแป๊ก
ทต.ป๊อกแป๊กตั้งอยู่ในจังหวัดสระบุรี
ทต.ป๊อกแป๊ก
ทต.ป๊อกแป๊ก
พิกัด: 14°30′58.9″N 100°51′34.4″E / 14.516361°N 100.859556°E / 14.516361; 100.859556
ประเทศ ไทย
จังหวัดสระบุรี
อำเภอเมืองสระบุรี
จัดตั้ง
  •  • 8 กันยายน 2507 (สุขาภิบาลป๊อกแป๊ก)
  •  • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.ป๊อกแป๊ก)
พื้นที่
 • ทั้งหมด1.44 ตร.กม. (0.56 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)[1]
 • ทั้งหมด725 คน
 • ความหนาแน่น503.47 คน/ตร.กม. (1,304.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05190103
ที่อยู่
สำนักงาน
8/5 หมู่ 1 บ้านป๊อกแป๊ก ถนนสายท่าช้าง - สันมะค่า ตำบลหนองโน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 18000
เว็บไซต์www.pokpaeklocal.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ป๊อกแป๊ก เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบลซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ 1 บ้านป๊อกแป๊ก และบางส่วนของหมู่ 7 บ้านนาร่อง ของตำบลหนองโน ในอำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลป๊อกแป๊กที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2507[2] และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2542[3] เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564[4] ในเขตเทศบาลมีประชากรทั้งหมด 725 คน

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

เทศบาลตำบลป๊อกแป๊กมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

บริเวณตลาดป๊อกแป๊กเดิม

ประวัติ

[แก้]

ชื่อของเทศบาลมาจากชื่อของ “วัดป่าเป็ก” (วัดป๊อกแป๊กในปัจจุบัน) สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2453 ชาวบ้านร่วมใจกันสร้างขึ้น เดิมที่ชาวบ้านนี้ได้อพยพมาจากทางเหนือเรียกตัวเองว่า “ยวน” น่าจะแผลงมาจากคำว่า “โยนก” เมื่อมีจำนวนมากเข้าก็ได้จัดสร้างขึ้นแล้วเรียก เนื่องจากหมู่บ้านที่มีป่าไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า “เป๊ก” หรือ “เพ็ก” มีลักษณะคล้ายไม้รวกแต่เล็กกว่า ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือถึงจังหวัดนครราชสีมา ทางรถไฟผ่านหมู่บ้านนี้ทางราชการได้ตั้งสถานีรถไฟบ้านป๊อกแป๊ก เรียกเพี้ยนมาจากบ้านป่าเป๊ก ตั้งแต่นั้นมาชื่อบ้านป่าเป๊กก็ค่อยหายไป คงเหลือแต่บ้านป๊อกแป๊กแทน

ในปี พ.ศ. 2506 ทางราชการได้เห็นว่าท้องถิ่นหมู่ที่ 1 บ้านป๊อกแป๊ก, บ้านป๊อกแป๊กใต้ ของตำบลหนองโน ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟบ้านป๊อกแป๊ก (ในขณะนั้น) มีตลาดเป็นที่ประชุมชน บ้านเรือนราษฎรตั้งอยู่เป็นปึกแผ่น คมนาคมและการค้าขายเจริญมาก แต่ยังขาดการบำรุงรักษา ทางราชการจึงประกาศจัดตั้ง "สุขาภิบาลป๊อกแป๊ก"[2] ขึ้นในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 โดยมีผลในวันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน เพื่อบำรุงความสุขและความสะดวกของประชาชนให้ยิ่งขึ้น นับว่าเป็นสุขาภิบาลแห่งที่ 2 ของอำเภอเมืองสระบุรี ก่อนที่จะยกขึ้นเป็น "เทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก"[3] ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 โดยมีผลในวันที่ 25 พฤษภาคม ปีเดียวกัน

โรงเรียนวัดป๊อกแป๊ก

สภาพสังคม

[แก้]

สถานศึกษา

[แก้]
  • โรงเรียนวัดป๊อกแป๊ก เดิมชื่อว่า โรงเรียนเมืองสระบุรี[2] ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลหนองโน อำเภอเมืองสระบุรี เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับที่เปิดสอน : ประถมศึกษา
  • โรงเรียนอนุบาลเทศบาลป๊อกแป๊กและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลป๊อกแป๊ก

การสาธารณสุขในชุมชน

[แก้]
สถานีรถไฟบ้านป๊อกแป๊ก
ถนนสายท่าช้าง–สันมะค่า บริเวณเทศบาลตำบลป๊อกแป๊กมีขนาด 6 ช่องจราจร

ด้านคมนาคม

[แก้]

ทางถนน

[แก้]
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3314 สายท่าช้าง–สันมะค่า เป็นทางหลวงขนาด 2 ช่องจราจรเกือบตลอดสาย แต่เฉพาะช่วงที่ผ่านเทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก ความยาว 1.44 กิโลเมตร เป็นทางหลวงขนาด 6 ช่องจราจร
  • ทางหลวงชนบทหมายเลข สบ.5043 เป็นถนนลาดยางผ่านเทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก
  • รถโดยสารสายสระบุรี–หนองโน–บัวลอย ผ่าน ทำให้สะดวกในการเดินทางไปในเมืองหรือท้องที่อื่น

ทางรถไฟ

[แก้]
  • สถานีรถไฟบ้านป๊อกแป๊ก เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ เดิมตั้งอยู่ในเขตตำบลสวนดอกไม้ อำเภอเสาไห้ ตั้งชื่อตามชุมชนที่อยู่ใกล้ที่สุด คือเขตบ้านป๊อกแป๊กใต้ ตำบลหนองโน ของอำเภอเมืองสระบุรี ปัจจุบันย้ายมาตั้งอยู่ที่ตำบลโคกสว่างและตอนเหนือของสถานีบางส่วนตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก (ตำบลโคกสว่างแยกออกจากตำบลหนองโนในปี พ.ศ. 2490[5] สถานีจึงย้ายขึ้นอยู่ในเขตตำบลโคกสว่าง) มีทางแยกหน่วยจ่ายน้ำมันทางรถไฟ บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด

ประชากร

[แก้]

เทศบาลตำบลป๊อกแป๊กประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 2 หมู่บ้าน แบ่งเป็นเต็มพื้นที่ในหมู่ที่ 1 บ้านป๊อกแป๊ก และพื้นที่บางส่วนในหมู่ที่ 2 บ้านนาร่อง มีจำนวนประชากร 725 คน แบ่งเป็นชาย 330 คน หญิง 395 คน (เดือนธันวาคม 2564) และมีครัวเรือนทั้งหมด 421 หลังคาเรือน

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2564[6] พ.ศ. 2563 [7] พ.ศ. 2562[8] พ.ศ. 2561[9] พ.ศ. 2560[10] พ.ศ. 2559[11] พ.ศ. 2558[12]
ป๊อกแป๊ก 365 359 374 370 365 377 379
นาร่อง (บางส่วน) 358 360 358 345 333 328 337
**ทะเบียนบ้านกลาง 2 2 4 4 4 4 4
รวม 725 721 736 719 702 709 720
วัดป๊อกแป๊ก

สถานที่สำคัญ

[แก้]
  • วัดป๊อกแป๊ก พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มมีที่ทุ่งนาของชาวบ้านโดยรอบ อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มีอุโบสถกว้าง 7 เมตร ยาว 19 เมตร สร้างปีพ.ศ. 2476 โดยสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญกว้าง 16 เมตร ยาว 33 เมตร สร้างด้วยไม้และคอนกรีต 2 ชั้น พ.ศ. 2526 หอสวดมนต์กว้าง 13 เมตร ยาว 15 เมตร สร้างด้วยไม้ พ.ศ. 2491 กุฏิสงฆ์จำนวน 4 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถ

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. 2.0 2.1 2.2 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลป๊อกแป๊ก อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (85 ง): 2282–2283. วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2507
  3. 3.0 3.1 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-16 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  4. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-09-14. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  6. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy