ข้ามไปเนื้อหา

นฺหวี่ชู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นฺหวี่ชู
คำว่า นฺหวี่ชู เขียนด้วยตัวหนังสือนฺหวี่ชู
ชนิด
ตัวหนังสือพยางค์
ทิศทางแนวตั้งขวาไปซ้าย Edit this on Wikidata
ภาษาพูดXiangnan Tuhua
ISO 15924
ISO 15924Nshu (499), ​Nüshu
ยูนิโคด
ยูนิโคดแฝง
Nushu
ช่วงยูนิโคด

นฺหวี่ชู (จีนตัวย่อ: 女书; จีนตัวเต็ม: 女書; พินอิน: Nǚshū; 𛆁𛈬 หนังสือผู้หญิง) เป็นชุดตัวหนังสือพยางค์ที่ประดิษฐ์และใช้โดยผู้หญิงในมณฑลเหอหนาน ประเทศจีน ผู้หญิงถูกกีดกันจากระบบการศึกษาที่เป็นทางการเป็นเวลาหลายศตวรรษ และได้พัฒนานฺหวี่ชูเพิ่อใช้ระหว่างกัน ตัวหนังสือนี้ใช้ปักลงบนผ้าหรือเขียนลงหนังสือและพัดกระดาษ ใช้ในการประดิษฐ์ซัน เชา ชุ หรือสารวันที่สามที่เป็นหนังสือขนาดเล็ก ห่อด้วยผ้าที่แม่จะมอบให้ลูกสาวในวันแต่งงานหรือเพื่อนผู้หญิงที่สนิทกัน ซัน เชา ชุ ประกอบด้วยบทเพลง ความหวังและความปวดร้าว ผู้หญิงจะได้หนังสือนี้ในวันที่สามหลังการแต่งงาน ผู้เชี่ยวชาญนฺหวี่ชูคนสุดท้าย ยัง ฮวนยี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2547 ขณะอายุได้ 98 ปี ปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจนฺหวี่ชูและผู้หญิงหันมาเรียนตัวหนังสือนี้เพื่อนำมาใช้อีกครั้ง

นฺหวี่ชูนี้มีสัญลักษณ์ 1,800–2,500 ตัว เขียนในแนวตั้งจากบนลงล่าง และจากขวาไปซ้าย มีพื้นฐานมาจากอักษรจีน มีการสอนกันเฉพาะในหมู่ผู้หญิงเท่านั้น ใช้เขียนสำเนียงเฉิงกวาน (城關, Chéngguān) ของภาษาจีนฮกเกี้ยน

อ้างอิง

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy