ข้ามไปเนื้อหา

หมีสีน้ำตาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมีสีน้ำตาล
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 0.5–0Ma
สมัยไพลสโตซีนตอนกลาง–สมัยโฮโลซีน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Ursidae
สกุล: Ursus
สปีชีส์: U.  arctos
ชื่อทวินาม
Ursus arctos
Linnaeus, 1758
ชนิดย่อย[2]
*Ursus arctos alascensis Merriam, 1896
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

หมีสีน้ำตาล (อังกฤษ: brown bear; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ursus arctos) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง

จัดเป็นหมีที่มีขนาดใหญ่มาก โดยตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย เมื่อยืน 4 เท้ามีความสูงถึง 5 ฟุต และเมื่อยืนด้วย 2 เท้า อาจสูงถึง 9 ฟุต แต่ยืนได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่อาจมีน้ำหนักมากถึง 1,000 ปอนด์ ส่วนตัวเมียอาจมีน้ำหนักมากกว่า 450 ปอนด์

มีขนสีน้ำตาลตลอดทั้งลำตัว อันเป็นที่มาของชื่อ มีปุ่มหรือเนินตรงหัวไหล่ ขนและเล็บยาว มีจมูกที่ใหญ่ แต่มีใบหูขนาดเล็ก

แต่จะมีขนสีเข้มหรืออ่อนไปตามสภาพแวดล้อมและภูมิประเทศที่อาศัย รวมถึงขนาดตัวด้วย ซึ่งถือเป็นชนิดย่อย (ดูในตาราง) โดยกระจายพันธุ์ไปในพื้นที่ ๆ กว้างไกลมาก ตั้งแต่อะแลสกา, แคนาดา, รัสเซีย, หลายพื้นที่ในยุโรป และตามแนวเทือกเขาหิมาลัยในอินเดีย, เนปาล และจีน และตะวันออกกลาง

หมีสีน้ำตาลกินอาหารได้หลากหลายมาก ทั้งพืชและสัตว์ โดยหากเป็นพืชมักจะเป็นผลไม้ประเภทเบอร์รี่ บางครั้งกินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลง หรือ หนู แต่บางครั้งก็กินสัตว์ใหญ่ เช่น ม้า, วัวป่า, กวาง รวมถึงซากสัตว์ ในช่วงฤดูกาลที่มีอาหารสมบูรณ์ อาหารที่หมีสีน้ำตาลชอบมาก คือ ปลาแซลมอน และปลาเทราต์

หมีสีน้ำตาลตัวเมียต้องมีอายุ 4 ถึง 10 ปี จึงจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ และให้กำเนิดลูกโดยเฉลี่ย 2 ตัว ในระยะเวลา 4 ปี ฤดูกาลผสมพันธุ์อยู่ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิถึงต้นฤดูร้อน แม่หมีจะให้กำเนิดลูกในช่วงเดือนมกราคมมีนาคม ปกติ 2–3 ตัว โดยลูกหมีที่เกิดใหม่จะยังไม่ลืมตา และยังไม่มีขน ลูกหมีจะอาศัยอยู่ในถ้ำที่แม่หมีขุดขึ้นมาจนกระทั่งถึงเดือนเมษายน หรืออาจถึงเดือนมิถุนายน และเริ่มหย่านมเมื่ออายุประมาณ 5 เดือน และเริ่มเรียนรู้ว่า พืชหรือสัตว์ประเภทไหนที่ใช้เป็นอาหาร ลูกหมีจะอยู่กับแม่อย่างน้อยอีก 1 ปี หรือมากกว่านั้น จากนั้นจึงเริ่มแยกตัวออกไป ส่วนในฤดูหนาว หมีสีน้ำตาลจะจำศีลในถ้ำเป็นระยะเวลาราว 2 เดือน โดยใช้พลังงานจากไขมันที่สะสมไว้[3][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. McLellan, B.N.; Proctor, M.F.; Huber, D.; Michel, S. (2017). "Ursus arctos". The IUCN Red List of Threatened Species. IUCN. 2017: e.T41688A121229971. doi:10.2305/IUCN.UK.2017-3.RLTS.T41688A121229971.en.
  2. Ursus arctos Linnaeus, 1758. (ภาษาอังกฤษ) itis.gov.
  3. Kingsley, M. C. S.; Nagy, J. A.; Russell, R. H. (1983). "Patterns of weight gain and loss for grizzly bears in northern Canada". Bears: Their Biology and Management. 5: 174–178. doi:10.2307/3872535. JSTOR 3872535. S2CID 90555276.
  4. Hissa, R.; Hohtola, E.; Tuomala-Saramäki, T.; Laine, T. (1998). "Seasonal changes in fatty acids and leptin contents in the plasma of the European brown bear (Ursus arctos arctos)". Annales Zoologici Fennici. 35 (#4): 215–224. JSTOR 23735612.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Heptner V.G.; Sludskii, A.A. (1992). Mammals of the Soviet Union, Volume II, Part 2. Leiden u.a.: Brill. ISBN 978-90-04-08876-4.
  • Vaisfeld, M.A. and Chestin I. E., บ.ก. (1993). Bears: Brown Bear, Polar Bear, Asian Black Bear. Distribution, ecology, use and protection (ภาษารัสเซีย และ อังกฤษ). Moscow: Nauka. ISBN 978-5020035676.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy