ทอมัส อไควนัส
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ทอมัส อไควนัส | |
---|---|
เกิด | ประมาณ ค.ศ. 1225 ใน อิตาลี |
เสียชีวิต | 7 มีนาคม, ค.ศ. 1274 ใน อิตาลี |
ยุค | ปรัชญาสมัยกลาง |
แนวทาง | นักปรัชญาตะวันตก |
สำนัก | อัสสมาจารย์นิยม ลัทธิทอมัส |
ความสนใจหลัก | อภิปรัชญา (รวมทั้ง เทววิทยา) ตรรกศาสตร์ จิต ญาณวิทยา จริยศาสตร์ ปรัชญาการเมือง |
แนวคิดเด่น | Five Proofs for God's Existence, Principle of double effect |
ได้รับอิทธิพลจาก | |
เป็นอิทธิพลต่อ |
นักบุญทอมัส อไควนัส[1] (อังกฤษ: Thomas Aquinas (/əˈkwaɪnəs/, ค.ศ. 1225-1274) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกสังกัดคณะดอมินิกัน เกิดในตระกูลขุนนางชาวอิตาลี สนใจศึกษาสิ่งต่าง ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง อไควนัสได้พัฒนาแนวความคิดของเขาโดยได้รับอิทธิพลจากอาริสโตเติล ในขณะที่นักคิดคนอื่นมีความเห็นตรงกันข้าม อควีนาสได้ดำเนินการศึกษา สรุปผลที่เป็นแบบตรรกศาสตร์ที่สมบูรณ์ โดยไม่มีข้อสงสัยหรือข้อขัดแย้ง ตามแนวความคิดของอไควนัส ระเบียบวิธีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่ออควีนาสเริ่มหันมาสนใจศึกษาค้นคว้าแนวความคิดของอาริสโตเติล และได้มีอิทธิพลตลอดชีวิตการทำงานของอไควนัส
จุดมุ่งหมายอีกประการหนึ่งของอไควนัสคือ การผสมผสานเทววิทยาศาสนาคริสต์ให้เข้ากับตรรกศาสตร์ของอาริสโตเติล ในที่สุดแนวความคิดของอาริสโตเติลก็กลับมามีชื่อเสียงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง นักคิดชาวตะวันตกก็เริ่มหันมาศึกษางานของอริสโตเติลกันมากขึ้น มีผู้กล่าวว่าอาริสโตเติลเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ที่มีความรอบรู้ พระเจ้าพึงพอใจยอมอนุญาตให้เป็นผู้สรุปความรู้ทุกสาขาวิชา เท่ากับยอมรับว่าอาริสโตเติลเป็นเหมือนคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นนักบวชของศาสนา เป็นตัวบทกฎหมาย และเป็นนักวินัยทางศาสนา เปรียบเสมือนเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่กำหนดความสัมพันธ์ของมนุษย์ กำหนดความรู้ทุกสาขาวิชา
งานเขียนของอไควนัส ในระยะนี้พยายามอธิบายสังคมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนา และพระผู้เป็นเจ้า อไควนัสพยายามกำหนดความสำคัญและหน้าที่ใหม่ของศาสนาที่มีต่อสังคม โดยให้ศาสนายังคงมีอำนาจทางธรรมตามคำสอนของศาสนา อไควนัสก็เหมือนกับนักปราชญ์คนอื่น คือมีความเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมมีจุดมุ่งหมายเพื่อดำรงชีวิตอยู่ในสังคม มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีความสามารถกำหนดควบคุมการกระทำของตนเองได้ด้วยสติปัญญา มนุษย์จะตกอยู่ในอันตราย ถ้าไม่ยอมรับระบบสังคม อไควนัสจึงเน้นเอกภาพในสังคมมนุษย์ที่มีพลังอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกภาพทางการเมืองเป็นสิ่งสำคัญ จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้สังคมมีเอกภาพอย่างสันติไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น
วิธีการดังกล่าวเปรียบเสมือนมนุษย์ได้รับการอบรมทางจิต จิตที่อบรมแล้ว จะสั่งการให้ร่างกายกระทำสิ่งต่าง ๆ ตามหน้าที่ในสังคม ดังนั้น การปกครองโดยรัฐบาลที่มีผู้นำเพียงคนเดียวจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด กษัตริย์อันเป็นราชาแห่งปราชญ์คนเดียวจะปกครองประชาชนอย่างยุติธรรม โครงสร้างทางสังคมก็เหมือนกับธรรมชาติที่พระเจ้าปกครอง คนในสังคมจะทำหน้าที่ได้ดีที่สุด ถ้าสัมคมมีเอกภาพโดยมีผู้นำเพียงคนเดียว
กฎสังคม 4 ประการ
[แก้]อไควนัส ศึกษาปัจจัยหลายประการที่มีอิทธิพลกำหนดเอกภาพของสังคมและทำให้เกิดการพัฒนาการของมนุษย์ พระเจ้าและธรรมชาติมีความสำคัญเป็นส่วนหนึ่งของสังคม สิ่งเหล่านี้รวมตัวกันด้วยกฎ 4 ประการคือ
- กฎจักรวาล (Eternal Law) หมายถึง กฎของพระเจ้าที่ควบคุมจักรวาล
- กฎธรรมชาติ (Natural Law) หมายถึง กฎของสิ่งมีชีวิต เป็นส่วนหนึ่งของพระเป็นเจ้า
- กฎสังคมมนุษย์ (Human Law) เป็นกฎของสาธารณชน เป็นขบวนการสถาบันสังคม
- กฎพระเจ้า (Divine Law) เป็นกฎที่กำหนดแรงจูงใจภายในของมนุษย์
กฎทั้งสี่มีความสัมพันธ์กันเหมือนกับอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การกระทำของมนุษย์จะถูกควบคุมจากจิตหรือสติปัญญา และวิญญาณหรือความสำนึกทางศีลธรรม ต้องมีการตรวจสอบความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ และการต่อต้านของมนุษย์ในสังคม ประการสุดท้ายผู้ที่มีหน้าที่ตราตัวบทกฎหมายต้องประยุกต์กฎหมายทุกชนิดให้สมาชิกในสังคมทุกคนได้รับประโยชน์สูงสุด มีผู้สรุปความคิดของอควีนาสไว้ว่าในหนังสือ "Summa Theologica" ที่เขียนราวปี พ.ศ. 1739 พูดถึงลัทธิกฎธรรมชาติของนักปรัชญากลุ่มลัทธิสโตอิก (ถือหลักธรรมเพื่อกำจัดตัณหา) นำไปผสมกับการสอนใน ศาสนาคริสต์ว่าด้วยกฎของพระเจ้า รวมทั้งรับแนวความคิดของอาริสโตเติลเกี่ยวกับบรรทัดฐานหรือกฎของมนุษย์ และจุดกำเนิดของหลักกฎหมายโรมันด้วย ทำให้มนุษย์มีความสามารถและมีสติปัญญาอย่างสูงสุด ประการสุดท้ายก็คือ ทำให้เกิดระบบลัทธิรัฐธรรมนูญ
อไควนัสเป็นนักปราชญ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดคนหนึ่ง พยายามประสานหลักเหตุผลที่มีอยู่ในธรรมชาติเข้ากับความศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า โดยแสดงออกมาในรูปของอำนาจเหนือธรรมชาติที่แท้จริง ปรัชญาเป็นผลิตผลของเทววิทยาและเหตุผลเป็นรากฐานของความศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า
เมื่อเทียบกันยุคในประวัติศาสตร์ไทย ท่านมีชีวิตอยู่ระหว่างก่อนสมัยสุโขทัยเล็กน้อย และเสียชีวิตในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เมื่ออายุได้เพียง 49 ปี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 210, 584