ข้ามไปเนื้อหา

มอสส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มอสส์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 300–0Ma
"Muscinae" จาก Ernst Haeckel's Kunstformen der Natur, 1904
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
เคลด: Embryophytes
หมวด: มอสส์
ชั้น

มอสส์เป็นพืชขนาดเล็ก พุ่มสูงประมาณ 1–10 เซนติเมตร (0.4–4 นิ้ว) แต่อาจมีบางชนิดที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก ปกติจะเจริญเติบโตในหมู่ต้นไม้หรือบริเวณที่เปียกชื้นใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ไม่มีดอกและเมล็ด โดยทั่วไปใบที่ปกคลุมลำต้นจะบางเล็กคล้ายลวด มอสส์แพร่พันธุ์ด้วยสปอร์ ซึ่งสร้างขึ้นที่จะงอยปลายก้านเล็ก ๆ คล้ายแคปซูล

มอสส์มีประมาณ 12,000 สปีชีส์ และถูกจัดอยู่ในส่วนไบรโอไฟตา[1] ใน ไบรโอไฟตา นั้นปกติไม่ได้มีแค่มอสส์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงลิเวอร์เวิร์ตและฮอร์นเวิร์ตด้วย แล้วยังมีไบรโอไฟต์อีก 2 กลุ่มที่มักถูกจัดอยู่ในส่วนเดียวกัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

ในทางพฤกษศาสตร์ มอสส์เป็นพืชจำพวกมอสหรือพืชไม่มีท่อลำเลียง มีลักษณะแตกต่างจากลิเวอร์เวิร์ตที่คล้ายคลึงกับมันคือส่วนคล้ายรากมีหลายเซลล์ นอกจากนี้ลำต้นและใบยังแสดงถึงความแตกต่างได้ ถ้าใบไม่เป็นแฉกลึกหรือเป็นข้อบ่งบอกถึงพืชชนิดนี้เป็นมอสส์ ส่วนความแตกต่างอื่น ๆ นั้นไม่สามารถแยกมอสส์และลิเวอร์เวิร์ตออกจากกันได้

มอสส์เป็นพืชที่ไม่มีท่อลำเลียง ทำให้ส่วนเพิ่มเติมขึ้นมานั่นคือมีแกมีโทไฟต์ที่เด่นชัดในวงจรชีวิต คือเซลล์ของพืชมีโครโมโซมหนึ่งชุด (haploid) ส่วนสปอโรไฟต์ (คือมีโครโมโซมสองชุด (diploid)) มีชีวิตที่สั้นกว่าและขึ้นกับแกมีโทไฟต์ ถ้าจะเปรียบกับพืชชั้นสูงก็คือ ในพืชมีเมล็ด โครโมโซมหนึ่งชุดที่ใช้สืบพันธุ์ก็คือเกสรและออวุล ขณะที่โครโมโซมสองชุดเป็นพืชดอกทั้งต้น

วงจรชีวิต

[แก้]
วงจรชีวิตของมอสส์ (Polytrichum commune)

พืชส่วนมากมีดิพลอยด์ (โครโมโซมสองชุด) ในเซลล์ของพวกมัน (โครโมโซมหนึ่งชุดที่อยู่คู่กันนั้นบรรจุข้อมูลพันธุ์กรรมที่เหมือนกัน) ขณะที่มอสส์ (และไบรโอไฟต์อื่น ๆ) มีโครโมโซมหนึ่งชุด (คือโครโมโซมหนึ่งชุดในสำเนาหนึ่งเดียวภายในเซลล์) เมื่อระยะในวงจรชีวิตของมอสส์เมื่อมันสมบูรณ์จะมีการจับคู่กันของโครโมโซมแต่เกิดแค่ในขั้นสปอโรไฟต์

วงจรชีวิตของมอสส์เป็นแบบสลับ (alternation of generation) เริ่มจากสปอร์ที่มีโครโมโซมหนึ่งชุดซึ่งเริ่มงอกเป็นโพรโทนีมาซึ่งเป็นแขนงสีเขียว (แบนและคล้ายกับแทลลัส) นี้เป็นขั้นตอนสั้น ๆ ของวงจรชีวิตมอสส์ จากโพรโทนีมาเจริญมาเป็นแกมีโทฟอร์ (ผู้ถือเซลล์สืบพันธุ์) ซึ่งมีส่วนประกอบคล้ายกับลำต้น (caulid), ใบ (phyllid) และราก (rhizoid) จากปลายของลำต้นหรือกิ่งจะพัฒนาเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของมอสส์ อวัยวะเพศเมียหรืออาร์คิโกเนียมถูกปกป้องโดยใบที่พัฒนามาที่ชื่อว่า perichaetum อาร์คิโกเนียมจะมีคอที่เรียกว่ากระเปาะอาร์คิโกเนียม (venter) ที่มีไข่อยู่ในนั้น อวัยวะเพศผู้หรือแอนเทอริเดียมถูกล้อมรอบโดยใบที่พัฒนามาที่เรียกว่า perigonium ที่สร้างสเปิร์มที่มีแฟลเจลลาว่ายน้ำได้

มอสส์อาจจะสร้างอวัยวะสืบพันธุ์แยกกัน (เหมือนดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นในพืชมีเมล็ด) หรืออยู่ด้วยกัน (เหมือนดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น) ในมอสส์ที่สร้างอวัยวะสืบพันธุ์แยกกันอวัยวะเพศผู้และเพศเมียจะอยู่บนพืชแกมีโทไฟต์ที่ต่างกัน ในมอสส์อวัยวะสืบพันธุ์อยู่ด้วยกัน (หรือที่เรียกว่ามีช่อดอกเพศผู้และเพศเมียร่วมต้น) จะมีอวัยวะเพศผู้และเมียบนต้นเดียวกัน สเปิร์มจากแอนเทอริเดียมจะว่ายไปสู่อาร์คิโกเนียมและการปฏิสนธิจะเกิดขึ้น ได้เป็นไซโกต ต่อมาเจริญเป็นเอ็มบริโอ แล้วนำไปสู่สปอโรไฟต์ที่มีโครโมโซมสองชุด สเปิร์มของมอสส์มีสองแส้เซลล์คือมีสองแฟลเจลใช้ในการเคลื่อนที่ ตั้งแต่สเปิร์มว่ายสู่อาร์คิโกเนียมการปฏิสนธิจะไม่เกิดขึ้นได้ถ้าไม่มีน้ำ หลังการปฏิสนธิ สปอโรไฟต์ที่ยังไม่สุกจะถูกดันออกจากกระเปาะอาร์คิโกเนียม มันอาจใช้เวลา ¼ ถึงครึ่งปีสำหรับสปอโรไฟต์จะเจริญเติบโตเต็มที่ สปอโรไฟต์ประกอบไปด้วยส่วนที่ยึดติดกับแกมีโทไฟต์ที่เรียกว่าฟุต ก้านชูอัปสปอร์ที่เรียกว่า seta และอับสปอร์โดยหมวกของมันเรียกว่าฝาปิด (operculum) อับสปอร์และฝาปิดอยู่ในฝักบิดโดยหมวกโครโมโซมหนึ่งชุดซึ่งเป็นส่วนที่เหลือของกระเปาะอาร์คิโกเนียม หมวกจะหลุดออกเมื่ออับสปอร์สุก ปากของอัปสปอร์มีรูปฟันเป็นรูปแหวนที่เรียกว่าเพอริสโตม ในอับสปอร์ เซลล์สปอร์ที่สร้างขึ้นโดยการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่งกลายเป็นสปอร์โครโมโซมหนึ่งชุด และเมื่อสปอร์แกและอัปสปอร์แตกออก สปอร์กระจายออกและเริ่มต้นวงจรชีวิตอีกครั้ง

ในมอสส์บางชนิด โครงสร้างของพืชสีเขียวที่เรียกว่าหน่อ (gemmae) ที่สร้างจากใบหรือกิ่งจะเจริญไปเป็นต้นใหม่โดยไม่ต้องการการปฏิสนธิ เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

ถิ่นอาศัย

[แก้]
มอสส์ในอุทยาน Allegheny รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา
สปอโรไฟต์ที่ยังเล็กของมอสส์ธรรมดา Tortula muralis (wall screw-moss)

มอสส์ส่วนมากพบในพื้นที่ชื้นและได้รับแสงน้อย โดยปกติจะพบในป่าและริมแหล่งน้ำลำธาร และสามารถพบได้ตามอิฐหินในถนนที่เปียกชื้นในเมือง บางชนิดเหมาะกับสภาวะอย่างกำแพงเฉพาะในเมือง อีก 2–3 ชนิดอยู่ในน้ำเช่น Fontinalis antipyretica และ Sphagnum ที่อาศัยอยู่ในโคลนตม หนองบึงและในทางน้ำที่ไหลช้า อย่างมอสส์น้ำหรือกึ่งน้ำสามารถยาวเกินกว่าความยาวปกติของมอสส์บก บางชนิดยาว 20–30 ซม. (8–12 นิ้ว) หรือยาวกว่าปกติใน Sphagnum มอสส์เป็นต้น

มอสส์ต้องการความชื้นเพื่อความมีชีวิตรอดเพราะขนาดที่เล็กและเนื้อเยื่อที่ผอมบางของมัน ด้วยความที่ไม่มีผิวเคลือบคิวทิน (ขี้ผึ้งที่เคลือบเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ) และต้องการของเหลวเพื่อการสืบพันธุ์ มอสส์บางชนิดสามารถมีชีวิตรอดจากความแห้งแล้งและสามารถกลับคืนมีชีวิตในไม่กี่ชั่วโมงเมื่อได้รับน้ำ

ในทางเหนือละติจูด ด้านเหนือของต้นไม้และหินจะเกิดมอสส์มากกว่าบริเวณอื่น สันนิษฐานว่าไม่มีน้ำพอเพียงสำหรับเจริญเติบโตบนต้นไม้ด้านที่แสงแดดส่อง ใต้เส้นศูนย์สูตรจะตรงข้ามกัน ในป่าลึกที่แสงอาทิตย์ไม่สามารถลอดผ่านได้ มอสส์จะเจริญเติบโตเท่ากันทุกด้านของต้นไม้

อ้างอิง

[แก้]
  1. Goffinet, Bernard (2004). "Systematics of the Bryophyta (Mosses): From molecules to a revised classification". Monographs in Systematic Botany. Missouri Botanical Garden Press. 98: 205–239. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy