ข้ามไปเนื้อหา

พระราม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราม
ชื่อในอักษรเทวนาครีराम
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตRāma
ส่วนเกี่ยวข้องอวตารที่ 7 ในทศาวตารในพระวิษณุ, พรหมัน (ลัทธิไวษณพ)
ที่ประทับVaikunta, อโยธยา, Saket
อาวุธธนู
คัมภีร์รามายณะ, รามจารตมนะ
เทศกาลRama Navami, Vivaha Panchami, ทีปวลี, Dusshera
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
คู่ครองนางสีดา[1]
บุตร - ธิดาลวะ
กุษ
บิดา-มารดาท้าวทศรถ (พระบิดา)[1]
พระนางเกาสุริยา (พระมารดา)[1]
พระนางไกยเกษี (step-mother)
พระนางสุมิตรา (step-mother)
พี่น้องพระลักษมณ์
พระพรต
พระสัตรุด
Shanta
ราชวงศ์รฆูวันษี-อิศวกุ-สุรยวังษา

พระราม (/ˈrɑːmə/;[2] IAST: Rāma, ออกเสียง [ˈraːmɐ] ; สันสกฤต: राम อักษรโรมัน: Rama), รามา,[α] หรือชื่อเต็มของปางนี้คือ รามจันทรา (/ˌrɑːməˈʌndrə/;[4] IAST: Rāmacandra, สันสกฤต: रामचन्द्र, อักษรโรมัน: Ramachandra), เป็นเทพเจ้าองค์สำคัญในศาสนาฮินดู ในฐานะอวตารปางที่เจ็ดและเป็นหนึ่งในอวตารที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของพระวิษณุ ในศาสนาฮินดูนับถือพระรามเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยถือว่า พระราม เป็นสิ่งมีชีวิตสูงสุด เรียกว่า พรหมิณ[5]

ตำนานเล่าว่า พระรามเป็นพระโอรสของ ท้าวทศรถ และ นางเกาสุริยา แห่งกรุงอโยธยา กษัตริย์ผู้ครองแคว้นโกศล พระรามมีพระอนุชา 3 พระองค์ คือ พระลักษณ์, พระพรต และ พระสัตรุด พระรามอภิเษกสมรสกับนางสีดา แม้จะเกิดในราชวงศ์ที่สูงส่ง แต่ชีวิตของพระรามที่มีบรรยายไว้กลับระบุว่าเปลี่ยนแปลงไปในทางตรงข้ามอย่างคาดไม่ถึง เช่น การเนรเทศไปสู่สถานที่ที่ยากไร้และกันดาร ทำให้เกิดคำถามด้านจริยธรรม และประเด็นขัดแย้งทางศีลธรรมในภายหลัง[6] ในช่วงเวลาที่พระรามเดินป่าเกือบ 14 ปีนั้น ช่วงเวลาที่โดดเด่นมากที่สุดคือการลักพาตัวนางสีดาโดยจอมอสูรอย่างทศกัณฐ์ ตามด้วยความพยายามอย่างยิ่งยวดของพระรามและพระลักษมณ์ เพื่อการชิงนางสีดากลับมา และสังหารทศกัณฐ์ที่ชั่วร้าย เรื่องราวชีวิตทั้งหมดของพระราม นางสีดา และบุคคลต่างในรามายณะ เปรียบเทียบได้กับหน้าที่ สิทธิ และความรับผิดชอบต่อสังคมของแต่ละบุคคล แสดงให้เห็นถึงการดำเนินชีวิตด้วยธรรมะ โดยมีตัวละครฝ่ายพระรามเป็นแบบอย่าง[6][7]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 James G. Lochtefeld 2002, p. 555.
  2. "Rama". Webster's Dictionary (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.
  3. "Why we put 'a' after each Hindu name". Hinduism.Stackexchange. 16 October 2016. สืบค้นเมื่อ 8 March 2021.
  4. แม่แบบ:Cite LPD
  5. Tulasīdāsa (1999). Sri Ramacaritamanasa. แปลโดย Prasad, RC. Motilal Banarsidass. pp. 871–872. ISBN 978-81-208-0762-4.
  6. 6.0 6.1 William H. Brackney (2013). Human Rights and the World's Major Religions, 2nd Edition. ABC-CLIO. pp. 238–239. ISBN 978-1-4408-2812-6.
  7. Roderick Hindery (1978). Comparative Ethics in Hindu and Buddhist Traditions. Motilal Banarsidass. pp. 95–124. ISBN 978-81-208-0866-9.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-greek" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-greek"/> ที่สอดคล้องกัน

pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy